ชาวไทยร่วมกับประชาคมโลกกว่า 130 ประเทศ รวมพลังเรียกร้อง “ข้อตกลงที่แท้จริง” ในการแก้ไขภาวะโลกร้อนจากเหล่าผู้นำทั่วโลก

ข่าวทั่วไป Monday December 14, 2009 14:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ธ.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ ชาวไทยร่วมกับประชาชนทั่วโลกในกว่า 130 ประเทศ ร่วมจุดเทียนที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการเฝ้าระวังป้องกันสิ่งแวดล้อมของโลก เพื่อที่จะเรียกร้องให้เหล่าผู้นำทั้งหลายได้ออกมาตรการในต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่จริงจังและเพียงพอ โดยมี เดสมอนด์ ตูตู (Desmond Tutu) บาทหลวงชาวแอฟริกาใต้เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และ มารี โรบินสัน (Mary Robinson) อดีตข้าหลวงใหญ่แห่งองค์การสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหรือ OHCHR เป็นผู้นำในการจุดเทียนที่บริเวณด้านนอกของที่ประชุมว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่จัดขึ้น ณ กรุงโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก โดยสำหรับประเทศไทย ประชาชนที่อยู่อาศัยในอาณาบริเวณชายหาดจอมเทียน พัทยา ร่วมกันทำกิจกรรมทำความสะอาดชายหาดและจุดเทียนเพื่อแสดงออกถึงการต่อสู้ในการลดมลภาวะเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของโลกใบนี้ โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในวันแห่งการต่อสู้เพื่อกู้วิกฤติภาวะโลกร้อนที่จัดขึ้นในทั่วทุกมุมโลก 1. “ชาวจอมเทียนต้องการข้อตกลงที่แท้จริง” เกร้ก พอมเมอเร้งค์ (Greg Pommerenk) ตัวแทนจากคาซ่า วิลเลจ ชุมชนจอมเทียน และสมาชิกเครือข่ายออนไลน์เพื่อการรณรงค์ทางสังคม Avaaz.org กล่าว 2. “เราต้องการข้อตกลงที่มีเป้าหมายที่สูงเพียงพอที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับโลกใบนี้เพื่อพวกเราทุกๆ คน ยุติธรรมสำหรับประเทศที่ยากจนที่สุดซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใดๆ แต่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และข้อตกลงเหล่านั้นต้องมีผลผูกพันทางกฎหมาย” เกร้กกล่าวเสริม ริคเคน พาเทล (Ricken Patel) ผู้อำนวยการบริหารของ Avaaz.org กล่าวว่า “วันนี้เป็นวันแห่งการแสดงออกที่ยิ่งใหญ่ของภาคประชาชน ในการส่งสารยังผู้นำของพวกเราว่า สิ่งที่กำลังเจรจาในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่นั้น ยังไม่เพียงพอต่อการป้องกันภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อนอย่างแท้จริง ผู้นำของเราได้รับข้อมูลมากมายจากองค์กรใหญ่ๆ และผู้ก่อมลภาวะมาอย่างยาวนานแล้ว และในที่สุดวันนี้พวกเขาก็ได้ยินเสียงจากประชาชน ซึ่ง ”ข้อตกลงที่แท้จริง” ต้องเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขาในตอนนี้” การรวมตัวเพื่อการเรียกร้องทั่วโลกในวันนี้เกิดขึ้นท่ามกลางสัญญาณที่บ่งชี้ว่าผู้เจรจาจะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่มีเป้าหมายที่สูงเพียงพอได้ เพื่อนำความยุติธรรมให้แก่ประเทศที่ยากจนที่ต้องประสบกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลผูกพันทางกฎหมาย ดังนั้น “ข้อตกลงที่แท้จริง” ในแบบรูปธรรม จะต้องประกอบไปด้วย (3 ข้อที่ประชาชนทั่วโลกเรียกร้องต่อผู้นำประเทศทั่วโลก) 1) มีความยุติธรรม คือ มีเงินช่วยเหลือสำหรับชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับประเทศที่ยากจนเป็นจำนวน 2 แสนล้านเหรียญ (ความช่วยเหลือแก่ประเทศผู้รับผลกระทบ) 2) ปี 2015 จะเป็นปีสุดท้ายที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่สูงที่สุดและก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศจะอยู่ในระดับปลอดภัยที่ 350 ส่วนต่อล้านส่วน (ข้อกำหนดที่มีผลบังคับแก่องค์กรเอกชนและภาครัฐบาลของนานาประเทศที่พึงปฎิบัติตาม) 3) ผลักดันให้เกิดกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยผลกระทบของภาวะโลกร้อน (การตกลงร่วมกันในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ) ภาพแห่งการแสดงพลังทั่วโลกในวันแห่งการต่อสู้เพื่อกู้วิกฤติภาวะโลกร้อนจากทั่วโลก ที่รวมถึงชายหาดจอมเทียนของประเทศไทยในครั้งนี้ จะถูกนำไปแสดงในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กรุงโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Avaaz.org Avaaz.org เป็นเครือข่ายออนไลน์เพื่อการรณรงค์ทางสังคมระดับโลกในด้านต่างๆ มีสมาชิกจำนวนกว่า 3.6 ล้านคนทั่วโลกที่มีความต้องการในการเรียกร้องและแสดงออกในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกอย่างสันติ ซึ่งคำว่า “Avaaz” มีความหมายว่า เสียง ในหลายๆ ภาษา เว็บไซต์องค์กร: www.avaaz.org ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนติดต่อ ณภัทร กาญจนะจัย / ทิพย์สิริ เทวกุล ณ อยุธยา Email: napatk@jcpr.co.th, thipsirid@jcpr.co.th http://www.jcpr.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ