รพ.บำรุงราษฎร์เลือกติดตั้ง APC InfraStruXure เพิ่มประสิทธิภาพความต่อเนื่องด้านบริการผู้ป่วย

ข่าวทั่วไป Wednesday May 24, 2006 13:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--พีอาร์ พลัส ทู
เสริมพลังด้วยซอฟต์แวร์จัดการอัจฉริยะ สามารถตรวจสอบความบกพร่องของส่วนไอทีแบบเรียลไทม์
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศเดินหน้าพัฒนาด้านระบบไอทีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเลือกติดตั้งโซลูชั่น InfraStruXure สถาปัตยกรรมโครงสร้างพื้นฐานอันสำคัญทางกายภาพสำหรับห้องศูนย์ข้อมูลที่เพียบพร้อมด้วยมาตรฐานของบริษัท อเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) ระบุมั่นใจอย่างยิ่งต่อโซลูชั่นปกป้องพลังงานและโปรแกรมการจัดการยอดอัจฉริยะของเอพีซี ที่จะช่วยให้โรงพยาบาลบริการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถเช็คความบกพร่องของชิ้นส่วนไอทีได้แบบอัตโนมัติ
นายมณฑล วรนารถ ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ฯ เปิดเผย ทางโรงพยาบาลฯ มีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่อง พร้อมการหานวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ภายในโรงพยาบาล โดยมุ่งเน้นให้มีความรวดเร็วและสามารถให้บริการแก่ผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการลงทะเบียนคนไข้ การตรวจรักษา หรือการจ่ายยา ทั้งนี้ ในแต่ละปีโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีทะเบียนประวัติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งคณะผู้บริหารของโรงพยาบาลฯ ต่างเล็งเห็นความสำคัญของการสำรองระบบข้อมูลต่างๆ และการสร้างความต่อเนื่องให้แก่งานบริการ จึงได้ทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบงานไอทีมาโดยตลอดในระยะเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดได้ปรับปรุงระบบสำรองกระแสไฟฟ้าภายในห้องศูนย์ข้อมูล (Data Center) โดยเลือกติดตั้งโซลูชั่น InfraStruXure ของเอพีซี เนื่องจากเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีแบบโมดูลาร์ (Modular) ที่ออกแบบตรงกับความต้องการใช้งาน มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถปรับขยายตามความต้องการในอนาคตได้ เป็นอย่างดี
ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลฯ เชื่อมั่นในความรวดเร็วของการให้บริการจากทีมซัพพอร์ตของเอพีซี จึงตัดสินใจโซลูชั่นดังกล่าว โดยมั่นใจว่าภายหลังการติดตั้งโซลูชั่นของเอพีซี โรงพยาบาลจะสามารถตอบสนองความต้องการกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นของอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ที่นำมาติดตั้งเพิ่มเติมภายในห้องศูนย์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ สวิทช์ และอุปกรณ์สำรองข้อมูล นอกจากนี้ จะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องแบบ 24 X 7
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เปิดให้บริการ 24 ชม.ใน 7 วัน โดยไม่มีวันหยุด ซึ่งระบบไฟฟ้าถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก หากไม่มีกระแสไฟฟ้าระบบไอทีจะทำงานไม่ได้เลย เดิมทีเราซื้อยูพีเอส ขนาด15KVA มาใช้งาน แต่พอนานเข้าเราไม่สามารถทราบได้เลยว่าแบตเตอรี่จะเสื่อมลงเมื่อใด และหากเกิดกรณีระบบไฟฟ้าดับ นั่นหมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์จะ shut down ทันที และส่งผลเสียหายต่ออุปกรณ์และข้อมูลทั้งหมดภายในห้องศูนย์ข้อมูล เราจึงได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ จนมาสรุปที่เอพีซี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความลงตัวและตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด” นายมณฑลกล่าวเพิ่มเติม
นายมณฑลยังกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในการพัฒนาระบบไอที เพื่อรองรับและเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการผู้ป่วยในอนาคตอันใกล้นี้ว่า โรงพยาบาลมีแผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานภายในองค์กร และสามารถพัฒนษประสิทธิภาพงานบริการให้อยู่เหนือกว่าคู่แข่งตลอดเวลา โดยขณะนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ขยายการลงทุนเข้าไปยังประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อให้บริการคนไข้ในท้องถิ่น และคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จะสามารถขยายสาขาไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ประมาณ 2-3 ประเทศ
“เป้าหมายของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในการนำระบบไอทีมาใช้ นั่นคือ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง ผมมองว่าระบบไอทีเปรียบเสมือนอาวุธสำคัญของผู้บริหาร หากผู้บริหารได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องตัดสินใจหรือวางแผนการตลาดได้อย่างรวดเร็ว ช่วยพัฒนาตัวเองให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน และสามารถยกระดับการให้บริการผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเราเองมีจุดแข็งในเรื่องคุณภาพงานบริการ และเครื่องมือรักษาผู้ป่วยที่ทันสมัย” นายมณฑลกล่าวทิ้งท้าย
สำหรับโซลูชั่น InfraStruXure ของเอพีซีซึ่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เลือกติดตั้งนั้น ประกอบด้วย ระบบยูพีเอสขนาด 40 KVA ด้วยคุณสมบัติแบบ เอ็น พลัส วัน (N+1) Redundancy จำนวน 2 ชุด โดยทำหน้าที่เป็นแบบ Load Sharing ระบบยูพีเอสแต่ละชุดจะได้พลังงานกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟที่มาจากคนละด้านของอาคาร ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้มากกว่าในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟด้านใดด้านหนึ่งประสบปัญหาระบบไฟฟ้าขัดข้อง และเมื่อระบบของยูพีเอสตัวแรกหยุดทำงาน ยูพีเอสอีกตัวที่เหลืออยู่จะสามารถทำงานทดแทนได้ในทันที ช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าความเสียหายของข้อมูลและอุปกรณ์ไอทีต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นเลย ส่งผลให้การบริการผู้ป่วยในทุกขั้นตอนมีความรวดเร็วและสามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การลงทะเบียนผู้ป่วย การตรวจรักษา การจ่ายค่าบริการและรับยา
นอกจากนี้ ระบบสำรองพลังงานของเอพีซียังทำงานควบคู่ไปกับซอฟต์แวร์อัจฉริยะ PowerChute ซึ่งมีระบบทดสอบด้วยตัวเอง หรือ self test โดยจะทำการทดสอบอุปกรณ์ภายในแบบอัตโนมัติ หากมีการชำรุดหรือเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง ระบบจะแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลห้องศูนย์ข้อมูลทราบและสามารถถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ที่บกพร่องได้ทันที โดยไม่ต้องดาวน์ระบบ
ด้านนายอดิศร อาศิรกานต์ ผู้จัดการทั่วไป อเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น สำนักงานประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มของเทคโนโลยีที่องค์กรต่างๆ ได้ให้ความสนใจและตัดสินใจติดตั้ง จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ จะต้องเป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างมูลค่า และสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจได้ ขณะเดียวกัน เป็นเทคโนโลยีที่สามารถ Plug & Play หรือบำรุงรักษาได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ ยังต้องเป็นเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลระบบ ตลอดจนผู้ใช้ในองค์กร สามารถบริหารและจัดการฮาร์ดแวร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประการสำคัญ ต้องสามารถปรับเปลี่ยนและตอบสนองทุกความต้องการของงานธุรกิจ ซึ่งผลิตภัณฑ์ระบบสำรองกระแสไฟฟ้าของเอพีซี หนึ่งในองค์ประกอบของโซลูชั่น InfrastruXure มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น และสามารถรองรับกับความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
เกี่ยวกับเอพีซี
สำนักงานประจำประเทศไทย อเมริกัน เพาเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) นำเสนอระบบคุ้มครองและป้องกันการเสียหายของข้อมูล การเสียหายของฮาร์ดแวร์และการหยุดชะงักของระบบงาน เอพีซีสำนักงานใหญ่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2524 เป็นผู้นำระดับโลกในการนำเสนอและให้บริการระบบสำรองพลังงานไฟฟ้า เอพีซีเป็นที่รู้จักด้านความน่าชื่อถือภายใต้นิยามว่า “ตำนานแห่งความไว้วางใจในระบบป้องกันปัญหาไฟฟ้า (Legendary Reliability) ทั้งในด้านมาตรฐานแห่งคุณภาพ นวัตกรรม และการให้การสนับสนุนโซลูชั่น เพื่อปกป้องพลังงาน ให้แก่องค์กรในทุกๆ ระดับ
เอพีซีนำเสนอผลิตภัณฑ์ระดับคุณภาพหลากหลายรุ่น สำหรับโครงสร้างทางกายภาพพื้นฐานที่ช่วยสนับสนุนอุปกรณ์เครือข่ายในการทำธุรกิจ รวมทั้ง InfraStruXure สถาปัตยกรรมที่ปฏิวัติรูปแบบสำหรับห้องศูนย์ข้อมูล (ดาต้า เซ็นเตอร์ ออน ดีมานด์) ตลอดจนนำเสนอโซลูชั่นสำหรับการติดตามตรวจสอบภาพจากวีดีโอ และตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ทำงานบนเครือข่าย IP ของ NetBotz หนึ่งในหน่วยธุรกิจของเอพีซี ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ระบบงานและการใช้ทรัพยากรเครือข่ายที่สำคัญของลูกค้า สำนักงานใหญ่เอพีซีตั้งอยู่ที่เขตเวสต์ คิงส์ตัน ในเกาะโร้ด สหรัฐอเมริกา จากข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เอพีซีมีรายได้รวมทั่วโลก 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เอพีซีมีชื่ออยู่ใน Fortune 1000 และ S&P 500 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในประเทศไทย ติดต่อสำนักงานประจำประเทศไทย อเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) โทร. 02-636-7707
ข่าวประชาสัมพันธ์จัดทำโดย :
ภิญญลักษณ์ ธนาสินมนตรี
บริษัท พีอาร์ พลัส ทู จำกัด
โทร. 02-972 6100 แฟ็กซ์ 02-972 7415
อี-เมล์ pim@prplus2.com
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่น กรุณาติดต่อ:
ศศิธร แซ่เอี้ยว Marketing Executive
สำนักงานประจำประเทศไทย อเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น
โทร. 02-636 7707 แฟ็กซ์ 02-636 7702
อีเมล์ : ssaeiao@apcc.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ