โรงงานรีไซเคิลวัสดุก่อสร้างและซากสิ่งปลูกสร้างออสเตรเลีย หวังลดคาร์บอนลงได้ถึง 65% ใช้ออโตเดสก์ออกแบบเครื่องบดอัด และบดละเอียด

ข่าวทั่วไป Friday February 12, 2010 16:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ก.พ.--พิตอน คอมมิวนิเคชั่น ออโตเดสก์, อิงค์ (NASDAQ: ADSK) ได้ให้บริษัท ideas* ผู้ให้บริการงานวิศวกรรมจากประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ชนะรางวัล Auotdesk Inventor of the Month สำหรับเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 นี้ บริษัท ideas* ใช้ซอฟท์แวร์ Autodesk Inventor ออกแบบพัฒนา the world’s most advanced construction recycling facility. ตั้งอยู่ ณ รัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย รองรับการทำรีไซเคิลของซากจากวัสดุก่อสร้างได้หนึ่งล้านตันต่อปี บริษัท ideas* ออกแบบและวางงานวิศวกรรมโรงงานนี้ให้ อเล็กซ์เฟรเซอร์กรุ๊ป (Alex Fraser Group) โรงงานมีขนาดกว้างเท่าสนามฟุตบอลสี่สนาม ใช้เทคโนโลยีล่าสุดเพื่อประสิทธิภาพในการรีไซเคิลปริมาณเศษซากจากสิ่งปลูกสร้างและวัสดุก่อสร้างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน โรงงานรีไซเคิลคาดว่าจะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากโครงการก่อสร้างทั่วออสเตรเลียลงได้มหาศาลเนื่องจากโปรดักส์ที่ทำจากคอนกรีตรีไซเคิลมีคาร์บอนลดลงถึง 65 เปอร์เซ็นต์เทียบกับโปรดักส์ที่ทำจากหินก่อสร้างทั่วไป งานออกแบบโครงการสร้างฝันนี้กระจายงานออกไปยัง 14 บริษัท โดยใช้ซอฟท์แวร์ Autodesk Inventor ในการบริหาร ควบคุมเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงงานออกแบบจากต่างทีม อำนวยความสะดวกในการแก้ไขงานสำคัญหลักที่ใช้ร่วมกันระหว่าง 14 ทีม “การออกแบบโครงการใหญ่ขนาดนี้คงไม่มีทางเป็นไปได้ถ้าไม่มี Autodesk Inventor” ไมเคิล เพอร์ซีย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ideas* กล่าว “สมาชิกของทุกทีมต่างใช้ Inventor สร้างแบบจำลองดิจิตัล (digital prototype) สะดวกในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เร็วและทันการณ์ ดูแลได้ทุกขั้นตอน โดยละเอียด ผลลัพธ์คือระบบกระบวนการที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ไม่มีการทำงานซ้ำ และไม่เสียค่าใช้จ่ายมากมายไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมระหว่างการติดตั้ง และช่วงทดสอบการใช้งานของระบบ” โรงงานรีไซเคิลนี้มีฟีเจอร์หลักที่ใช้ซอฟท์แวร์ Autodesk Inventor ในการออกแบบ ได้แก่ ‘dual jaw crusher’ หรือ ‘คู่บดมหากาฬ’ สำหรับบีบอัด บดขยี้ซากวัสดุก่อสร้างให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งเป็นระบบคัดแยกแบบหลายชั้นกรอง และมีเครื่องโม่บดละเอียดพร้อมผสมวัสดุให้กลายเป็นวัสดุสำหรับทำถนนคุณภาพดีได้อีกด้วย โครงการที่มาจากความร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายภายใต้การดำเนินการของบริษัท idea* ผลักดันโครงการนี้ให้เป็นผลสำเร็จ ใช้งานได้ตามเป้าประสงค์ภายในเวลา 10 เดือนนับจากลงมือออกแบบชิ้นแรกเท่านั้นเอง ข้อมูลประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: พิตอน คอมมิวนิเคชั่น: รัตติยา โตสูงเนิน, บูรณี จันทรปรรณิก, ชลวรรณ วงษ์อินทร์, 02 690 56 81-4 อีเมล์: rattiya@piton.biz, buranii@PITON.biz, chonlawon@PITON.biz

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ