ส. เครื่องเรือนไทย ชี้ผู้ผลิตเฟอร์ฯเร่งพัฒนาเทคโนและบุคลากร ชูศักยภาพเหนือคู่แข่ง หนีผลกระทบ FTA เผยยุทธศาสตร์ เน้นตลาดระดับบน ร่วมทุนแหล่งวัตถุดิบราคาถูก อเมริกา รัสเซีย ยุโรปตะวันออก

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday March 15, 2006 13:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--รี้ด เทรดเด็กซ์
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย เผยกลยุทธ์เน้นพัฒนาการผลิตมุ่งตลาดระดับบน หาแหล่งร่วมทุนวัตถุดิบราคาถูก โดยเฉพาะรัสเซีย และยุโรปตะวันออก รวมถึงมุ่งเน้นการใช้เครื่องจักร พัฒนาเทคโนโลยี เพื่อลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แก่การส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
นายวรรธนะ เจริญนวรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมได้วางแผนรุกตลาดส่งออกและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน โดยมีเป้าหมายการส่งออกปี 2549 มูลค่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2548 โดยมีกลยุทธ์ต่างๆ ดังนี้ 1. มุ่งเน้นตลาดระดับบน เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป แคนาดา และไต้หวัน ได้ย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามจำนวนมาก ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ ประเทศไทยจึงควรเน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบน รวมถึงหาผู้ร่วมทุนจากประเทศสหภาพยุโรปพัฒนาในด้านรูปแบบสู่ตลาดระดับบน เพื่อให้ได้กำไรต่อชิ้นสูงขึ้น แทนการขายเน้นปริมาณ 2. ลดต้นทุนการผลิตจากแหล่งวัตถุดิบ โดยหาแหล่งวัตถุดิบในประเทศที่ถูกกว่าเดิม รวมถึงการร่วมทุน หาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ จากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกา รัสเซีย และยุโรปตะวันออก 3. มุ่งเน้นแครื่องจักรพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตไม้ และเฟอร์นิเจอร์ วิธีในการใช้ไม้ พัฒนาประสิทธิภาพในการใช้ไม้ให้คุ้มค่าที่สุด โดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดการสูญเสีย 4 วัสดุอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ (Fitting) ปัจจุบันผู้ผลิตส่วนมากมองข้ามความสำคัญของวัสดุอุปกรณ์ อาทิ บานพับ โช็คอัพ กันชน ลูกล้อ กันกระแทก ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ให้ต่อสินค้า ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องถึงระดับราคา และตราสินค้าได้มากเป็นหลายเท่าตัว
นายวรรธนะ กล่าวเน้นย้ำเพิ่มเติมว่าหลังจากที่เราทำสนธิสัญญาเปิดเขตการค้าเสรี FTA โอกาสทางการค้า รวมถึงผลกระทบต่างๆ ได้เกิดขึ้นมากมาย การมีจุดยืนการแข่งขัน ด้านวัตถุดิบ และแรงงานถูก มีฝีมือ สามารถส่งสินค้าได้ตามกำหนดเวลา ไม่สามารถเป็นจุดแข็งในการแข่งขันได้อีกต่อไป สิ่งที่เราสามารถปรับ
ตัวให้อยู่เหนือประเทศคู่แข่ง อาทิ จีน เวียดนาม และมาเลเซีย คือ การมีเทคโนโลยีที่สูงกว่าและบุคลากรที่มีศักยภาพเหนือกว่า
โดยล่าสุดสมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรด้านการผลิตไม้และเฟอร์นิเจอร์จากทั่วโลก อาทิ EUMABOIS (European Federation of Woodworking Machinery Manufacturer) ซึ่งเป็นสมาพันธ์ที่
รวม 12 องค์กรหลักของยุโรปด้านเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตไม้ VDMA และ ACIMALL รวมถึงในระดับภูมิภาคได้รับการสนับสนุนจากองค์ด้านการผลิตและส่งออกเครื่องจักรของประเทศไต้หวัน TAMI และ TWMA เพื่อจัดงาน Furnitech Woodtech งานแสดงและการประชุมด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับไม้ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นครั้งที่ 10 ซึ่งในครั้งนี้มีการจัดบริเวณการแสดง International Pavilion จากประเทศเยอรมัน อิตาลี ไต้หวัน และจีน ร่วมแสดงนวัตกรรมและเปิดโลกทัศน์ร่วมกันแก่ผู้คนในวงการ รวมถึงมีแบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่จะมาร่วมต่อยอดทางธุรกิจแก่อุตสาหกรรมการผลิตงานไม้และเฟอร์นิเจอร์ อาทิ Homag, Holzma, Weeke, Brandt และ Michael Weinig
งาน Furnitech Woodtech งานแสดงและการประชุมเครื่องจักร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิตไม้ และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งจะจัดร่วมกับงาน Asean Furniture& Interior Fittings ระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2549 ณ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา โดยใช้พื้นที่กว่า 15,000 ตารางเมตร มีบริษัททั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมแสดงสินค้ากว่า 150 บริษัท เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดการสูญเสียในการผลิตงานไม้ และเฟอร์นิเจอร์ คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 20,000 คน เงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฉานนิภา วลาพล
0-2686-7251
09-222-7173

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ