ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ “ธ. พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ” เท่าเดิมที่ “AA-/Stable”

ข่าวทั่วไป Friday March 2, 2007 17:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 มี.ค.--ทริสเรทติ้ง
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศยืนยันอันดับเครดิตองค?กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน (SME087A) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย?อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ที่ระดับ “AA-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท?อนถึงการสนับสนุนทางการเงินที่แข็งแกร่งที่ ธพว. ได้รับจากรัฐบาลผ?านทางกระทรวงการคลังในฐานะที่ ธพว. มีบทบาทสําคัญในการเป?นผู?ให?การสนับสนุนหลักแก?ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย?อมซึ่งเป?นหนึ่งในป?จจัยที่สร?างความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้ผลประกอบการของธนาคารจะอ่อนแอลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่อันดับเครดิตของธนาคารยังคงอยู่ในระดับเดิมจากการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของรัฐบาล และแม้ว่าธนาคารจะมีความพยายามที่ชัดเจนยิ่งขึ้นที่จะพัฒนากรอบแนวทางของระบบบริหารความเสี่ยงและแก?ป?ญหาคุณภาพสินทรัพย์อย่างจริงจังในปี 2548 แต่ปัญหาเรื้อรังในเรื่องการปฏิบัติงานที่ขาดประสิทธิภาพและปัญหาความหละหลวมในการปฏิบัติการภายในของธนาคารได้ส่งผลให้ความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น ปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งผลักดันให้ธนาคารต้องปรับโครงสร้างภายในองค์กรภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการและผู้บริหารชุดใหม่ในช่วงปลายปี 2549 ทั้งนี้ อันดับเครดิตยังได้พิจารณาถึงความผันผวนของผลประกอบการของธนาคารในช่วงระหว่างการปรับโครงสร?างองค?กร รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารที่เอื้ออำนวยลดลงด้วย
แนวโน?มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท?อนถึงสถานภาพที่มีบทบาทของ ธพว. ในฐานะเป?นหนึ่งในธนาคารเชิงนโยบายที่สําคัญที่ช?วยกระตุ?นการเติบโตของเศรษฐกิจโดยผ?านการให?เงินทุนระยะยาวแก?ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย?อม แนวโน?มอันดับเครดิตอยู?บนพื้นฐานการคาดการณ์ในระยะปานกลางว่าคณะกรรมการและผู้บริหารชุดใหม่ของธนาคารจะสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานและสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีการกำกับดูแลที่ดีเพื่อควบคุมความเสียหายอันเกิดจากการดำเนินงานภายใน แนวโน้มอันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความคาดหวังว่าความสัมพันธ?ของธนาคารกับรัฐบาลและหน?วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสนับสนุนทางการเงินในรูปของการให?ทุนและเงินชดเชยจากรัฐบาลจะไม?เปลี่ยนแปลงในอนาคต
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ธพว. ก?อตั้งในป? 2545 ภายใต?พระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย?อมแห?งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยการรับโอนย?ายงานสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย?อม รวมทั้งงานด้านการเงินและปฏิบัติการจากบรรษัทเงินทุนอุตสาห-กรรมขนาดกลางและขนาดย?อมแห?งประเทศไทย (บอย.) ซึ่งก?อตั้งภายใต?พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย?อมแห?งประเทศไทย พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ ก?อนที่จะมีการยกระดับ บอย. ให?เป?น ธพว. กระทรวงการคลังได?ทําการเพิ่มทุนให?แก? บอย. 2 ครั้งและได?เพิ่มทุนให?อีกครั้งภายหลังจากที่ได้ยกระดับเป?น ธพว. ไปแล?ว 2 ป? ความสำเร็จในการเพิ่มทุนจำนวน 2,500 ล้านบาทในเดือนตุลาคม 2548 และการที่กระทรวงการคลังมีความตั้งใจที่จะเพิ่มทุนอีกจำนวน 2,700 ล้านบาทให?แก?ธนาคารในปี 2550 เป?นสิ่งยืนยันให?เห็นถึงการสนับสนุนทางการเงินอย่างเต็มที่ของรัฐบาลที่มีต?อธนาคารเพื่อสนับสนุนนโยบายการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ธพว. มีผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ที่อ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญซึ่งทำให้ธนาคารประสบภาวะขาดทุนจำนวน 388 ล้านบาท ปัญหาสำคัญคือการเพิ่มขึ้นของระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ซึ่งทำให้ธนาคารมีค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นถึง 712 ล้านบาท สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารเพิ่มขึ้นจาก 23% ในปี 2548 เป็น 37% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 อย่างไรก็ตาม สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 88% เกิดจากสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติก่อนปี 2548 ในปี 2548 ธนาคารได้พัฒนากรอบแนวทางของระบบบริหารความเสี่ยงขึ้น แต่ปัญหาเรื้อรังจากการปฏิบัติงานที่หย่อนประสิทธิภาพและปัญหาภายในองค์กรได้ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานลดลง และนำมาซึ่งการปรับโครงสร้างภายในองค์กร การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังทำให้ระดับความแข็งแกร่งของเงินกองทุนและเงินสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของธนาคารเมื่อเทียบกับหนี้เสียถดถอยลง โดยระดับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อเงินกองทุนและสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของธนาคารเพิ่มขึ้นจาก 2.3 เท่าในปี 2548 เป็น 3.1 เท่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยที่ 1.1 เท่าสำหรับธนาคารพาณิชย์ทั้ง 14 แห่งและสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง
ความท?าทายของ ธพว. ในการก?าวไปข?างหน?าคือการรักษาสมดุลระหว?างภารกิจในการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย?อมในฐานะที่เป็นหน่วยงานเชิงนโยบายของรัฐบาลและความพยายามในการปรับปรุงผลและประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยการปฏิบัติตามระบบบริหารความเสี่ยงที่มีมาตรฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ความสำเร็จดังกล่าวคาดว่าจะช?วยให?ธนาคารสามารถดํารงสถานภาพเชิงกลยุทธ?เอาไว?ได?แม?ในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล?อมทางการเมืองในอนาคต ทริสเรทติ้งกล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ