สนุกคิดไปกับกิจกรรมการวาดการ์ตูน Sci-Fi

ข่าวทั่วไป Tuesday April 20, 2010 12:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--มิกซ์ แอนด์ แมทซ์ คอมมิวนิเคชั่นส์ คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบการดูภาพยนตร์ประเภท Sci-fi หรือหนังแนววิทยาศาสตร์อย่าง X-MEN หรือ The Huck ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับสากล แล้วจะดีแค่ไหนถ้าหากในวงการภาพยนตร์ไทยจะมีการผลิตการ์ตูนในแนว Sci-fi ขึ้นมาสักเรื่อง? ... นี่อาจเป็นเพียงต้นเรื่องที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มเยาวชนต้นกล้าวิทย์ ที่มารวมตัวกันทำกิจกรรมการวาดการ์ตูนแนว Sci-fi ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 5 ซึ่ง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกันจัดขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เมื่อเร็ว ๆ นี้ ปัจจุบันมีกลุ่มผู้สนใจในการชมภาพยนตร์และการ์ตูนกันมากขึ้น ทำให้ตลาดภาพยนตร์และการ์ตูนเปิดกว้าง และมีความหลากหลายให้ได้เลือกชม ซึ่งภาพยนตร์หรือการ์ตูนในแนว Sci-Fi ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีส่วนที่ทำให้เกิดความคิดและจินตนาการที่กว้างไกล ซึ่งหากจะว่าไปภาพยนตร์แนว Sci-Fi จะต้องมีข้อบ่งชี้ทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Hard Sci-Fi เป็นเรื่องที่เข้มข้นเน้นการอธิบายที่เป็นขั้นเป็นตอนแบบมีหลักเกณฑ์ ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมเบื่อเพราะมีความเป็นเหตุเป็นผลมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีSoft Sci-Fi ซึ่งมีเนื้อหาที่ดูได้สบาย ๆ ไม่ซับซ้อน หากจะสังเกตง่าย ๆ ประเภทของภาพยนตร์แนว Sci- Fi จะมีรูปแบบของการนำเสนอเรื่องราวที่หลากหลาย อาทิ การเดินทางท่องเวลา (Time Traveling) เช่น The Time Machine, Back to the Future การเดินทางท่องอวกาศ (Space Traveling) เช่น Star Wars,Star Trek เป็นต้น เรื่องราวของโลกอนาคต (Future) เช่น 2012 และหุ่นยนต์ (Robot) เช่น I Robot ทำให้นักเขียนนิยายและหนังสือแนววิทยาศาสตร์ชื่อดังชาวอเมริกัน อย่าง ไอแซค อสิมอฟ กำหนดคุณสมบัติของหุ่นยนต์ขึ้นมา 3 ประการ ได้แก่ 1.หุ่นยนต์มิอาจทำการอันตรายใดๆต่อผู้ที่เป็นมนุษย์หรือนิ่งเฉย ปล่อยให้ผู้ที่เป็นมนุษย์ตกอยู่ในอันตรายได้ 2. หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งที่ได้รับจากผู้ที่เป็นมนุษย์เว้นแต่คำสั่งนั้นขัดแย้งต่อข้อกำหนดแรก 3. หุ่นยนต์ต้องป้องกันสถานะความเป็นตัวตนของตนไว้ตราบเท่าที่การกระทำนั้นมิได้ขัดแย้งต่อข้อกำหนดแรกหรือข้อสอง นอกจากนี้ยังมีเรืองราวของสัตว์ประหลาดและมนุษย์ต่างดาว (Alien & ET) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นั่นเป็นเพียงข้อสังเกตพื้นฐานเพียงเล็กน้อยที่นำมาบอกเล่าผ่านกิจกรรมวาดการ์ตูน Sci-Fi ที่ทำให้เราสามารถรับรู้ได้ว่าภาพยนตร์แนว Sci-fi นั้นเป็นอย่างไร โดยมีน้องๆ เยาวชน ทีม MMA จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ.ABAC รับหน้าที่มาเป็นวิทยากรและให้ความรู้เกี่ยวกับการวาดการ์ตูนในเบื้องต้น พร้อมนำกิจกรรมต่าง ๆมาให้ผู้ที่สนใจได้ร่วมสนุกชิงรางวัลอีกด้วย น้องเมย์ หนึ่งในตัวแทนของทีม MMA จากมหาวิทยาลับเอแบคที่รับหน้าที่เป็นวิทยากรครั้งนี้เล่าให้ฟังว่า “การวาดการ์ตูนแนว Sci-Fi มีความน่าสนใจตรงเรื่องราวที่มีความเป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อนำมาประยุกต์เข้ากับการวาดภาพก็ทำให้ดูน่าสนใจมากขึ้น และที่สำคัญยังทำให้เราเกิดจินตนาการที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแนวคิดใหม่ในการจะประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ในอนาคตได้ต่อไปอีกด้วย นอกจากนี้การได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ก็ทำให้ได้ประสบการณ์และได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นด้วย” นอกจากการได้นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาปรับเข้ากับรูปแบบการนำเสนอในเชิงศิลปะของการวาดการ์ตูน Sci-fi เพื่อความบันเทิงแล้ว ยังมีเสียงสะท้อนจากน้องๆ เยาวชนจากมหาวิทยาลัยมหิดลที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ฝากมาด้วยว่ากิจกรรมดังกล่าวมีความน่าสนใจและจะมีประโยชน์ไม่น้อย หากมีการปรับใช้ในการทำสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้เรื่องราวความรู้ในด้านต่างๆ สามารถถ่ายทอดไปยังเด็ก ๆ ได้ง่ายขึ้น...และทั้งหมดนี้ คือ ความคิดเห็นของเยาวชนไทยที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ... บรรยายภาพ 1. น้องเมย์ วิทยากร ตัวแทนจากทีม MMA มหาวิทยาลัยเอแบค 2. น้องเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการวาดการ์ตูน Sci-fi 3. ทีม MMA จากมหาวิทยาลัยเอแบค 4. ตัวอย่างภาพการ์ตูนแนว Sci-fi ผลงานของเยาวชนไทย สอบถามรายละเอียดข่าวเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ: ส่วนประชาสัมพันธ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โทร.02-712-3604,02-392-4021 หรือ www.ipst.ac.th บริษัท มิกซ์ แอนด์ แมทซ์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด โทร. 02 9677713-4 e-mail : ying_mandm@yahoo.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ