ธุรกิจเพลงปรับตัวครั้งใหญ่ เติบโตด้วยช่องทางใหม่ตามไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป

ข่าวบันเทิง Thursday January 25, 2007 16:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--แกรมมี่
แกรมมี่เป็นเจ้าภาพระดมความคิด จัดเสวนาดึงบริษัทชั้นนำของโลกและไทยร่วมกันชี้ว่า ธุรกิจเพลงถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ แม้ซีดีลด แต่จะทดแทนด้วยดิจิทัลมิวสิก โชว์บิซ การบริหารศิลปิน และ คอนเทนต์รูปแบบใหม่ มิวสิกมาร์เก็ตติ้งของสินค้า เป็นช่องทางใหม่ตามไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป
นางสาวบุษบา ดาวเรือง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวเปิดงานสัมมนา The Turning Point—Trend in Global and Thai Music Industry ซึ่งแกรมมี่เป็นเจ้าภาพจัดเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมาว่า
“2-3 ปีที่ผ่านมาเราคงได้เห็นการตลาดใหม่ๆ น่าทึ่ง เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพลง ไม่ว่าจะเป็น convergence ของทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย โชว์บิซหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการใช้มิวสิกมาร์เก็ตติ้งอย่างชาญฉลาดของบริษัทชั้นนำ หรือแกรมมี่เองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
“จากประสบการณ์กว่า 20 ปีของแกรมมี่ ทำให้เรารู้ว่า ณ วันนี้ธุรกิจดนตรีได้มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญแล้ว ทั้งไทยและสากล แกรมมี่จึงได้เรียนเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ มีประสบการณ์ และมีส่วนในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับธุรกิจเพลง รวมถึงองค์กรระดับสากลอย่างไพรซ์วอเตอร์เฮาส์มาช่วยกันให้ภาพจุดเปลี่ยนและแนวโน้มของอุตสาหกรรมดนตรี เพื่อให้วงการเพลงของเราได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง”
นเสวนาแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 Global Music Trend โดยไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ ช่วงที่ 2 แนวโน้มอุตสาหกรรมเพลงไทย โดยผู้ทรงคุณวุฒิมาถ่ายทอดประสบการณ์ของการทำตลาดเพลงด้วยช่องทางที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ส่วนช่วงสุดท้ายเป็นประสบการณ์การใช้ Music Marketing ของบริษัทชั้นนำ
ไพรซ์ฯ ชี้อุตสาหกรรมเพลงโลกมุ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยช่องทางใหม่จาก New Generation Technology และจะเกิดเทรนด์ Lifestyle Media ขึ้น
นายมาร์เซล เฟเนซ จาก Asia Pacific Leader-Entertainment and Media Practice PricewaterhouseCoopers ให้ภาพแนวโน้มอุตสาหกรรมเพลงโลกว่ากำลังจะดีขึ้น หลังจากรายได้ถดถอยต่อเนื่องมานาน ทั่วโลกมาถึงจุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ มุ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจโดยช่องทางใหม่ และการเสนอบริการ หรืออุปกรณ์ที่สนับสนุนและรองรับเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่มากขึ้น (New Generation Technology)
คาดว่า 5 ปีข้างหน้า การจำหน่ายเพลงในรูปแบบเทปและซีดีทั่วโลกจะลดลงอีกจากผลกระทบของการลักลอบจำหน่าย (Piracy) และการแข่งขันจากช่องทางการจำหน่ายเพลงรูปแบบดิจิทัล (Digital Music) อย่างถูกกฎหมาย แต่คาดว่ารายได้ของดิจิทัลมิวสิก ไม่ว่าจะผ่านมือถือหรืออินเทอร์เน็ตจะมากกว่าการถดถอยของรายได้จากเทปและซีดี การขยายตัวนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้อุตสาหกรรมเพลงฟื้นตัว
นอกจากนี้ การขยายตัวของผู้ใช้บรอดแบนด์จะทำให้ช่องทางการจำหน่ายดิจิทัล มิวสิคพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และการขยายตัวของการบริการโทรศัพท์ไร้สายและการอัพเกรดของบริการและอุปกรณ์เพื่อรองรับเครือข่ายไร้สายรุ่นใหม่ๆ (Next Generation Wireless Networks) จะส่งผลให้ Mobile Music เติบโตมากขึ้นเช่นกัน
กจากนี้การพัฒนาอุปกรณ์โทรศัพท์แบบใหม่ซึ่งรองรับบริการได้หลากหลาย (Multipurpose Devises) จะมีส่วนผลักดันให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์มือถือที่เป็นเสียงเพลงจริง (Ringtunes) แทนการดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์มือถือแบบธรรมดา (Ringtones) ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าของการใช้บริการด้านนี้มากขึ้นด้วย
ยสรุปคือแม้อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพลงต้องปรับ Business Model ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องให้ได้ด้วย
ยมาร์เซลยังกล่าวทิ้งท้ายว่าจะเกิดเทรนด์ที่เรียกว่า Lifestyle Media ขึ้น เป็นวิธีการใหม่ที่ช่วยให้ผู้บริโภคใช้เวลา และความสนใจซึ่งมีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสร้างสื่อที่มีค่าเป็นส่วนตัว และเกี่ยวข้องกับสังคมของตัวเอง ผู้ต้องการชนะในธุรกิจนั้น ต้องติดตามและสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด จึงจะตอบสนองได้แม่นยำขึ้น
ทัลมิวสิกยอดพุ่ง ตอบสนองไลฟ์สไตล์ใหม่คนไทย โหลดมือถือกินแชร์กว่า 90%
ยอาจกิจ สุนทรวัฒน์ Director & General Manager Multimedia Services บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ชี้ให้เห็นว่าดิจิทัลมิวสิกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคอมพิวเตอร์ เอ็มพี 3 แบบพกพา และโทรศัพท์มือถือนั้น ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเข้าถึงผู้บริโภคง่าย คนไทยนิยมดาวน์โหลดเพลงผ่านมือถือมากที่สุดถึงกว่าร้อยละ 90
ส่วนหัวใจของการให้บริการดิจิทัลมิวสิกคือ การเข้าถึงตัวผู้บริโภค การเพิ่มความสะดวกสบาย และให้ความมั่นใจในระบบการจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลดเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การดาวน์โหลดเพลงผ่านทางมือถือโดยเรียกเก็บเงินพร้อมค่าโทรศัพท์รายเดือน หรือทางอินเทอร์เน็ตโดยจ่ายผ่าน Cash Card ซึ่งไม่ต้องมีการให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขที่บัตรเครดิต จะทำให้คนใช้บริการมากขึ้น
นายอาจกิจยังเสริมด้วยว่าแม้เทคโนโลยีจะก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่ายขึ้น แต่มักเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่มีกำลังซื้ออยู่แล้ว ส่วนวัยทำงานหรือผู้ใหญ่ซึ่งมีกำลังซื้อนี้มีมากกว่าพวกละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย อย่างไรก็ตามรัฐควรมีบทบาทกำจัดเทปผีซีดีเถื่อน และการดาวน์โหลดแบบผิดกฎหมาย และส่งเสริมการลงทุนด้านสาธารณูปโภคการสื่อสารอย่างจริงจังเช่นที่รัฐบาลเกาหลีทำ จนธุรกิจดิจิทัล มิวสิกของเกาหลีเติบโตขึ้นมากกว่า 50% ของรายได้เพลงทั้งหมด
โชว์บิซมาแรง เป็นอีกหนึ่งความบันเทิงยอดนิยมของคนไทย
นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการบริษัทจีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีประสบการณ์จัดโชว์ บิซ มาหลายครั้ง กล่าวว่า โชว์บิซเป็นเทรนด์ของธุรกิจเพลงในโลก สมัยก่อนเวิลด์ทัวร์คอนเสิร์ตจะมีเมื่อโปรโมตอัลบั้มใหม่ แต่ปัจจุบันแม้ไม่มีอัลบั้มใหม่ก็จัดได้ นอกจากนั้นในต่างประเทศ การดูโชว์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน สำหรับเมืองไทยก็น่าจะเกิดขึ้นไลฟ์สไตล์ นี้เช่นกัน
การจัดโชว์ที่ผ่านมาได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก รูปแบบคอนเสิร์ตสามารถจัดได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น หรือแตกย่อยเป็นกลุ่มที่ชอบ Retro ผู้ใหญ่มากๆ เช่น ชรินทร์ นันทนาคร วัยกลางๆ เช่น เจ ติ๊นา หรือ แอม-เสาวลักษณ์ และยังเริ่มนิยมดูทอล์กโชว์ กับละครเวทีเพิ่มขึ้น หัวใจสำคัญของการจัดโชว์คือ ทำให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งที่ผ่านมาก็พบว่าผู้บริโภคมีกำลังซื้อ ขอให้พอใจและชื่นชอบเท่านั้น
นางสายทิพย์เสริมว่าการจัดโชว์ยังมีรายได้อื่นนอกจากการขายบัตร คือสปอนเซอร์ ซึ่งลูกค้าชอบเพราะตอบโจทย์ชัดเจน และสามารถ Tie in ได้ หรือมีการจัดบูธหน้างาน อีกทั้งยังสามารถต่อยอดด้วยการทำซีดีหรือวีซีดี แพร่ภาพทางทีวีแล้วขายโฆษณา หรือขยายพื้นที่โชว์ไปเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ซึ่งเรารีเสิร์ชพบว่าปัจจุบันคนต่างจังหวัดมีศักยภาพซื้อตั๋วราคาแพงมากขึ้น และเต็มใจจะซื้อเพื่อความสะดวกสบาย
AF บริหารศิลปิน (Artist Management) แนวใหม่สร้างมูลค่าเพิ่มจากหลากหลายช่องทาง
ส่วนนายกิติกร เพ็ญโรจน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ยูบีซีแฟนเทเชีย จำกัด กล่าวว่าหัวใจของความสำเร็จของ AF เป็นหลักการดั้งเดิมง่ายๆ คือสร้างความผูกพันระหว่างผู้ชมและศิลปินซึ่งใช้กันมากว่า 10 ปีแล้ว ผนวกกับจุดแข็งของยูบีซีที่มีรายการ 24 ชม.ให้ผู้ชมติดตามได้ใกล้ชิด และหลักการบริหารศิลปินหรือทรัพยากรบุคคลซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินสำคัญ จากนั้นจึงวางแผนต่อยอดธุรกิจเป็นอีกหลากหลายธุรกิจใหม่เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค
นายกิติกรอธิบายว่า AF ประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อเสริมธุรกิจ ทำ CRM หรือ Customer Relationship Management ต่างจากธุรกิจบันเทิงอื่นที่เน้นการผลิตหรือ Production Oriented แต่ก็ต้องรักษาความเป็นศิลปะไว้ด้วย เพราะเป็นหัวใจหลักของงานบันเทิง ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง แม้ว่า AF จะเป็นสินค้าแฟชั่น แต่ด้วยแนวคิดนี้จะทำให้อายุยาวนานขึ้น และยังกล่าวปิดท้ายว่าอนาคตเมืองไทยน่าจะออกไปแข่งขันในต่างประเทศได้เช่นเดียวกับที่เกาหลีมาเมืองไทย แต่อุปสรรคสำคัญคือยังขาดประตู ดังนั้นการร่วมมือกับค่ายต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียในการผลิตผลงานและศิลปิน น่าจะช่วยขยายตลาดและสร้าง Mutual Culture ของภูมิภาค
รายได้จากลิขสิทธิ์มีแนวโน้มเติบโตจากช่องทางการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
ด้านรายได้จากการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์นั้น นาย สุรชัย เสนศรี Managing Director, GMM International, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันสามารถจัดเก็บได้ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยเช่นที่แกรมมี่ทำได้ 2 ช่องทางใหญ่ คือ การนำเพลงไปใช้ในเชิงการค้า (Public Performance Collection) ในธุรกิจต่างๆ เช่น ธุรกิจคาราโอเกะทั้งในรูปแบบ Jukebox และControl room ธุรกิจวิทยุ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสายการบิน รวมถึงการเปิดเพลงใน Modern Trade เป็นต้น
อีกช่องทางซึ่งเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือ ดิจิทัล มิวสิค ทั้งริงโทน ริงแบคโทน ดาวน์โหลดแบบเต็มเพลง และแบบทั้งอัลบั้ม ที่ผ่านมารายได้จากการเก็บค่าลิขสิทธิ์จากทั้ง 2 ช่องทางทำรายได้อย่างมีนัยสำคัญประมาณ 15% ของรายได้การจำหน่ายสินค้าเพลงและค่าลิขสิทธิ์ของแกรมมี่
ส่วนต่างประเทศ เน้นการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ผู้ประพันธ์ (Publishing Rights) เพื่อนำไปใช้ประพันธ์เป็นเพลงในภาษาต่างๆ การจัดเก็บค่าเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ และ การร่วมมือกับบริษัทคู่ค้าเพื่อแนะนำศิลปินไทยในตลาดประเทศนั้นๆ
นอกจากนั้น การจัดเก็บค่าเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ (Public Performance Rights) ในต่างประเทศก็น่าสนใจ เพราะมีการนำเพลงไทยไปใช้ในการประกอบธุรกิจอยู่ทั่วโลก อาทิ ร้านอาหารไทย, สถานีวิทยุที่เปิดเพลงไทย, ร้านคาราโอเกะที่ใช้เพลงไทย รวมถึงลูกค้าที่ต้องการนำเพลงไทยไปประกอบภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์หรือภาพยนตร์เพราะอยากได้อารมณ์ของเพลงที่เป็นไทยๆ เป็นต้น รายได้ในส่วนนี้ถือว่าเป็นการนำเงินเข้าประเทศด้วย
แกรมมี่มั่นใจไลฟ์สไตล์ มาร์เก็ตติ้ง เพิ่มรายได้ปี 50 ต่อยอดคอนเทนต์ที่แข็งแรง เน้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแม่นยำ และมีพันธมิตรด้านเทคโนโลยีและพันธมิตรลูกค้าที่แข็งแกร่ง
นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรมได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมหลังการเสวนาว่า ตนมองว่าธุรกิจเพลงในช่วง 2-3 ปีเปลี่ยนไปในทางดีหลายเรื่อง คือเติบโตขึ้นกว่าเดิมด้วยเทคโนโลยีและการตลาดรูปแบบใหม่ มีตัวเล่นใหม่จากบริษัทด้านเทคโนโลยีบ้าง สินค้าใช้ศิลปินและเพลงมาทำแบรนดิ้ง ไม่ใช่เป็นเพียงสปอนเซอร์ หรืออย่าง AF ที่บริหารศิลปินได้โดดเด่น ประสบความสำเร็จ คนมักคิดว่าซีดีเถื่อนหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ธุรกิจนี้ตก แต่ความจริงแล้วไปเติบโตในช่องทางอื่นอีกมากมายตามไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปต่างหาก ซึ่งเป็นอีกสเต็ปต่อจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
นายไพบูลย์กล่าวว่าแกรมมี่จะใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์ คือฐานคอนเทนต์ (Content) ทาเลนต์ (Talent) ที่แข็งแรงมากที่สุดในวงการเพลง ประสบการณ์ Rights Management และ Artist Management มากว่า 20 ปี โดยมุ่งวิเคราะห์เกาะติดไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคอย่างละเอียดลึกซึ้งกว่าเดิม เพื่อสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ ช่องทางใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะ หรือยิงให้ตรงเป้า ไม่มีประโยชน์ที่จะยิงไปรอบโดยไม่เล็งให้แม่น หรือทำรอบด้านโดยไม่มีลำดับความสำคัญ
นอกจากนั้นจะมุ่งรวบรวมพันธมิตรที่จะคบหากันอย่างลึกซึ้งถึงระดับกลยุทธ์ (Strategics Partner) ให้ครบวงจรธุรกิจ โดยเฉพาะพาร์ตเนอร์ทางเทคโนโลยีและลูกค้า แกรมมี่จะไม่ทำเองในทุกเรื่อง แต่เป็นเลิศในเรื่องที่ถนัด และจะเซอร์วิสลูกค้าถึงระดับแบรนด์ Essence ซึ่งลูกค้าจะได้ประโยชน์สูงสุด
อย่างไรก็ตามนายไพบูลย์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าตนจะแถลงทิศทางของแกรมมี่กรุ๊ป ทั้งทางส่วนของเอนเตอร์เทนเมนต์กับมีเดียโดยละเอียดอีกครั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ