รู้ทันอาการกวนใจของคุณผู้หญิงทุกช่วงวัย

ข่าวทั่วไป Thursday August 19, 2010 11:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ส.ค.--โรงพยาบาลบีเอ็นเอช การไม่เป็นโรคคือลาภอันประเสริฐ ถือเป็นสุภาษิตไทยที่มีความหมายดีอยู่ในตัวเอง คงไม่มีใครอยากเป็นโรคร้าย แต่เราจะทำอย่างไร ให้ห่างไกลโรคร้ายมากที่สุด วิธีที่ดีที่สุดนั้นก็คือ การหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสุภาพสตรีทั้งหลายที่เป็นกังวลทั้งในเรื่องความสวยความงามรวมถึงการมีสุขภาพที่ดีควบคู่กันไปด้วย ในกลุ่มของผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีความกังวลใจในเรื่องสุขภาพด้านโรคมะเร็งต่างๆเป็นหลัก รวมไปถึงอาการความผิดปกติจากการมีประจำเดือน ปวดท้องประจำเดือนอย่างไรที่เรียกได้ว่าอันตราย จึงมีวิธีการสังเกตุความผิดปกติในแต่ละช่วงวัยต่อไปนี้ โดยนายแพทย์วรชัย ชื่นชมพูนุท.สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย อธิบายว่า ในกลุ่มสุภาพสตรีนั้น สามาถแบ่งช่วงวัยของสุภาพสตรีออกเป็น 2 ช่วงวัยคือ วัยเจริญพันธ์ และ วัยหมดประจำเดือน โดยวัยเจริญพันธ์ แบ่งออกเป็น วัยรุ่น และ วัยทำงาน (หรือวัยผู้ใหญ่) วัยรุ่น : คือช่วงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 13-19 ปี มักมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมาย ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สอดคล้องกับระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นระยะที่มีการพัฒนาทางจิตใจมาจากความเป็นเด็ก ไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น การมีเต้านมใหญ่ขึ้น เข้าสู่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน เอวคอด สะโพกผาย เริ่มสนใจเพศตรงข้าม เป็นวัยแห่งความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลองเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งถ้าขาดความรู้และการป้องกันจะก่อให้เเกิดปัญหาตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคที่พบบ่อยในวัยนี้คือ โรคเริ่ม หูด รวมถึงโรคเอดส์ ปัญหากวนใจ : เด็กสาววัยรุ่นส่วนใหญ่มักมีความกังวลในเรื่องของการมีประจำเดือน การมีเลือดออกกระปริกระปอย ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ลักษณะเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ควรหมั่นสังเกตุตัวเองไปสักระยะ โดยปกติประจำเดือนจะมากระปริกระปอยเพียงแค่1-2 ปีแรก หลังจากนั้นจะกลับเข้าสู่ปกติ หากยังมีเลือดออกหรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ควรรีบปรึกษาแพทย์ วัยทำงาน : หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัยเจริญพันธุ์ มักเกิดความผิดปกติของการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธ์ อาทิ ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง เป็นวัยแห่งการเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ โดยผู้หญิงวัยทำงานจะเป็นวัยแห่งการดูแลสุขภาพเด่นชัดมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มโรคมะเร็งสำหรับคุณผู้หญิง อาทิ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ปัญหากวนใจ : ในด้านการตรวจเช็คมะเร็งต่างๆ ในส่วนของมะเร็งปากมดลูก ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ที่สามารถป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ มะเร็งเต้านมวิธีที่ดีที่สุดคือการหมั่นคล่ำเต้านมของตนเอง แนะนำให้ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในช่วงหลังหมดประจำเดือน ซึ่งถือเป็นช่วงที่ดีที่สุด อีกหนึ่งปัญหากวนใจนั้นก็คือ อาการปวดท้องประจำเดือน พบว่าผู้หญิงวัยทำงานร้อยละ 30 มักมีอาการปวดท้องประจำเดือน ซึ่งอาการปวดท้องประจำเดือนนั้นหากปวดเพียง 1 วันแรกของการมีประจำเดือน ถือว่าปกติ แต่หากปวดทุกวัน หรือ ปวดไม่ตรงรอบฤดูนั้น เรียกได้ว่ามีความผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ หรือการติดเชื้อจากอุ้งเชิงกราน ควรปรึกษาแพทย์ทันที วัยหมดประจำเดือน : หรือวัยทอง โดยเฉลี่ยคนไทยจะอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี เป็นช่วงที่การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายลดน้อยลง ส่งผลต่อผิวพรรณ และสภาพอารมณ์ที่ปวนแปรงอยู่ตลอดเวลา อีกสิ่งที่เห็นเด่นชัดมากนั้นก็คือ ความเปราะบางของกระดูก พบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเป็นโรคกระดูกบาง กระดูกพรุนถึง 20 % เนื่องจากขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ จึงควรหมั่นตรวจเช็กความหนาแน่นของอยู่เสมอ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอวัยวะเพศเนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อส่งผลให้มีอาการช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดปัสสาวะบ่อย มีปํญหาด้านการหย่าร้างตามมา ปํญหากวนใจ : เนื่องจากวัยหมดประจำเดือนจะมีสภาพจิตใจที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา หลายครั้งมักเกิดอาการวูบวาบตามตัว เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว นอนหลับยาก ตื่นเร็ว อาการเหล่านี้หากเป็นมากจนส่งผลกระทบต่อตนเองและคนรอบข้าง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษา ด้วยวิธีการทานยาปรับฮอร์โมนต่างๆ การต้านเศร้า รวมถึงการหมั่นตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยคลอยความกังวลใจให้กับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้เป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงในช่วงวัยใดนั้น ก็มักมีปัญหากวนใจ แต่หากเราหมั่นสังเกตุความผิดปกติก่อการเกิดโรค ทุกอย่างยอมมีการแก้ไขเสมอ อย่าปล่อยให้โรคร้ายมาหาคุณอยู่อีกเลย ดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คุณก็จะสุขภาพดีสวยสมวัยอย่างแน่นอน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-6862700 โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ