อีกหนึ่งผู้เชี่ยวชาญของอนันตรา — ผู้อำนวยการช้าง

ข่าวทั่วไป Friday August 27, 2010 17:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--อนันตรา ในขณะที่คนมากมายมีอาชีพที่ไม่ได้เป็นไปตามความใฝ่ฝัน บางความใฝ่ฝันอาจจะยากเกินกว่าจะไปถึง หรือบางคนอาจฝันถึงการผจญภัยและท่องเที่ยวแต่ก็เป็นได้เพียงการพักผ่อนหย่อนใจ แต่สำหรับ มร จอห์น โรเบิร์ตส์ ผู้อำนวยการช้าง ณ อนันตรา สามเหลี่ยมทองคำ รีสอร์ทแอนด์สปา เขาได้มีบทบาทหน้าที่ที่น่าตื่นเต้นท่ามกลางป่าเขียวชอุ่มในแคมป์ช้างของอนันตรา ทุกๆวันเราจะได้เห็นภาพของจอห์นอุ้มลูกช้างตัวน้อยไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำ ซึ่งกิจวัตรประจำวันเช่นนี้กลายเป็นธรรมชาติของจอห์นไปแล้ว จอห์นเท้าความว่า “ผมเติบโตมาจากเมืองชนบทอย่างเดวอน ซึ่งทำให้ครอบครัวของเราสนใจในธรรมชาติเป็นอย่างมาก แต่ความใฝ่ฝันที่แท้จริงของผมนั้นถูกพี่ชายของผมแย่งไปเสียแล้ว เพราะเขาเป็นนักอนุรักษ์อยู่ในยุโรปซึ่งหนาวเหน็บและสัตว์ต่างๆที่ถูกอนุรักษ์นั้นก็ล้วนอยู่ห่างไกล ดังนั้น เมื่อมีโอกาสที่จะเดินทางโดยอาสาสมัครไปยังอุทยานแห่งชาติ ผมจะรีบอาสาอย่างไม่ลังเลเลย” ใครก็ตามที่เคยมาเยือนประเทศไทยย่อมคุ้นเคยว่าช้างเป็นสัตว์ที่สูงส่งของประเทศ และสัตว์อันสง่างามน้ำหนักตัวกว่าสามตันนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์และร่วมในพิธีเดินขบวนต่างๆอย่างน่าภาคภูมิใจ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเป็นห่วงว่า แม้ชาวไทยจะมีความผูกพันกับสัตว์อันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเพียงไร ก็ยังคงมีช้างจำนวนไม่น้อยที่ถูกบังคับจากควาญช้างให้เดินเร่ร่อนตามถนนใจกลางเมืองใหญ่เพื่อขอทานจากนักท่องเที่ยว นับแต่ปี 2546 แคมป์ช้างของอนันตรา สามเหลี่ยมทองคำ อันเกิดจากแรงบันดาลใจของจอห์น ได้ช่วยเหลือช้างถึง 32 เชือกพร้อมควาญช้างและครอบครัว ซึ่งนับเป็นความสำเร็จเพียงส่วนเล็กๆของจอห์นเท่านั้น “นอกเหนือจากการอุทิศตนเพื่อความเป็นอยู่ของช้างทั่วประเทศไทยแล้ว ผมยังรับตำแหน่งผู้พิทักษ์ทรัพย์สินขององค์กรทรัพย์สินนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย องค์กรนี้เป็นองค์กรการกุศลขนาดเล็กของอังกฤษที่ทำงานหลักๆในเนปาลและอินเดีย มีหน้าที่ดูแลและสนับสนุนโครงการดูแลเสือในอุทยานแห่งชาติจิตวันในเนปาล ซึ่งเป็นโครงการที่ยาวนานที่สุดโครงการหนึ่งในโลกและที่นั่นผมได้เรียนรู้หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ผมได้นำมาใช้กับโครงการช้างหลายโครงการที่ผมกำลังทำอยู่ด้วย” เมื่อมูลนิธิช้างสามเหลี่ยมทองคำประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จอห์นและทีมงานก็ได้พัฒนาบทบาทของพวกเขายิ่งขึ้นไปอีก “เรากำลังพยายามทำให้ศูนย์ของเรากลายเป็นศูนย์วิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีชื่อของเราปรากฏอยู่ในสิ่งพิมพ์หลายฉบับ และมีบางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมาก หนึ่งในโครงการที่มีชื่อเสียงคือโครงการช้างบำบัดโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ให้ช้างเป็นเสมือนผู้ช่วยในการบำบัดเด็กออทิสติก” แต่ดูเหมือนว่าจอห์นจะยังไม่หยุดเดินหน้าผจญภัยต่อไปเพียงแค่นั้น ความใฝ่ฝันในอนาคตของเขาคือปรารถนาที่จะบันทึกการเดินทางจากภาคเหนือลงภาคใต้ด้วยช้างน้ำหนักสามตันของเขา “ยังมีพื้นที่ป่าและชนบทอีกมากมายหลงเหลือในประเทศไทย เราจะเดินทางไปด้วยกันสักวันละ 10-15 กิโลเมตร เลี่ยงเมืองใหญ่ๆและถนนสายใหญ่ๆทั้งหลาย เพื่อเราจะได้เห็นเมืองไทยด้วยกันและทำให้ประเทศไทยได้เห็นช้างของพวกเขา” เขาสรุป ดังนั้น หากเราเดินทางอยู่ที่ไหนสักแห่งในประเทศไทยและพบชายผู้หนี่ง (ผู้ไม่ประสงค์บอกอายุเป็นตัวเลขที่แท้จริง) เดินเล่นไปตามถนนพร้อมช้างคู่ใจ นั่นอาจจะเป็นจอห์นผู้กำลังพิชิตความท้าทายของเขา หรืออีกที่หนึ่งที่จะได้พบกับผู้อำนวยการช้างผู้ไม่เหมือนใครคนนี้พร้อมกับช้างที่แสนอ่อนโยนและเป็นมิตร คือพาตัวเองหลบจากความวุ่นวายทั้งมวลมายังใจกลางสามเหลี่ยมทองคำที่แสนสงบเหมาะแก่การพักผ่อน แต่พร้อมให้คุณได้พบกับความผจญภัยในทุกรูปแบบที่คุณเคยใฝ่ฝันไว้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ