โคเอ็นไซม์ คิวเท็น กับสุขภาพหัวใจ เรื่องน่ารู้ก่อนถึงวันหัวใจโลก

ข่าวทั่วไป Monday September 6, 2010 11:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ก.ย.--เวิรฟ หัวใจ...อวัยวะที่ทำงานแสนเหน็ดเหนื่อยแต่ถูกมองข้าม หากถามว่าทุกวันนี้เราดูแลส่วนไหนในร่างกายบ้าง เชื่อได้ว่ามีน้อยคนที่จะตอบว่าดูแลหัวใจ ทั้งที่จริงแล้วหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญมากและอวัยวะหนึ่งที่ทำงานหนักที่สุดตลอดชีวิตแต่กลับถูกมองข้าม ไม่ว่าเราจะทำงาน หยุดงาน จะตื่นหรือจะนอน อวัยวะอื่นอาจได้พักในบางเวลาแต่หัวใจไม่ได้พักเลย กลับต้องเต้นเฉลี่ยถึง 100,000 ครั้งต่อวัน เพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อทั้งหมด และขับของเสียออกจากร่างกาย โรคหัวใจ...คร่าชีวิตผู้คนไม่หยุดหย่อน ปัจจุบันผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจในโลกและประเทศไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากสถิติของสมาพันธ์หัวใจโลก (World heart Federation) อัตราผู้ป่วยจากโรคหัวใจทั่วโลกสูงถึง 17.1 ล้านคนต่อปี สำหรับในไทยสถิติผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดของสำนักโรคไม่ติดต่อ พบว่าอัตราตายจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดยังติดอันดับ 1 ใน 3 มาโดยตลอด ซึ่งในปี 2545 พบผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวจำนวน 32,903 ราย และเพิ่มขึ้นเป็น 33,900 ราย ในปี 2548 ทั้งนี้ ในปี 2548 พบผู้ป่วยโรคดังกล่าวเฉลี่ย 30 คนต่อวัน ซึ่งนับเป็นอัตราที่น่ากังวล ดังนั้นหากใครที่ไม่เคยให้ความสนใจกับการดูแลหัวใจมาก่อน คงจะรอไม่ได้อีกต่อไป หมั่นคอยดูแลและรักษาหัวใจ เมื่อพูดถึงเรื่องการดูแลหัวใจ คงจะไม่พูดถึงสารชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อการทำงานของหัวใจและระบบต่างๆ ในร่างกายไม่ได้ สารที่ว่านี้ คือ โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (Coenzyme Q10) ที่เป็นที่คุ้นหูกันดี แต่คนจำนวนมากก็ยังไม่แน่ใจว่าโคเอ็นไซม์ คิวเท็นมีประโยชน์อย่างไรต่อหัวใจของเรา สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ (Nutrilite Health Institute) เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า โคเอ็นไซม์ คิวเท็น เป็นสารสังเคราะห์ในร่างกายได้เองตามธรรมชาติ พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย ส่วนใหญ่พบมากตามหัวใจ ตับ และตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะที่ต้องการพลังงานจำนวนมาก เป็นสารที่ช่วยเหลือการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายหลายชนิด ซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างวิตามินและเกลือแร่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย โคเอ็นไซม์ คิวเท็น สามารถได้รับจากอาหารได้ด้วย โดยอาหารที่มีปริมาณโคเอ็นไซม์ คิวเท็น อยู่มาก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล เนื้อสัตว์ ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา เป็นต้น โคเอ็นไซม์ คิวเท็น ช่วยหัวใจเราได้อย่างไร โคเอ็นไซม์ คิวเท็น สามารถลดอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวได้ มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อเมริกา (American Journal of Therapeutics) ระบุว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโคเอ็นไซม์ คิวเท็น ช่วยเพิ่มการส่งเลือดออกจากหัวใจ ได้มากกว่า 15.7% และเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายได้มากขึ้น 25.4% โคเอ็นไซม์ คิวเท็นยังมีบทบาทสำคัญมากในการลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว โดยจำกัดปริมาณของไขมันที่จะไปสะสมบนผนังหลอดเลือด และยังมีอีกหลายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าโคเอ็นไซม์ คิวเท็น สามารถลดจำนวนของแผลบนผนังหลอดเลือดได้และไม่เกิดการขยายตัวของภาวะการณ์ของโรคจนนำไปสู่หลอดเลือดอุดตัน อีกทั้งยังสามารถช่วยและลดการสะสมของคอเลสเตอรอลในเลือดและเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอลได้ด้วย ทำอย่างไรร่างกายจึงจะได้รับโคเอ็นไซม์ คิวเท็นเพียงพอ นอกจากที่ร่างกายของเราจะสามารถสังเคราะห์สารชนิดนี้ได้เองแล้ว ยังสามารถรับเพิ่มได้โดยการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยโคเอ็นไซม์ คิวเท็น ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยจากการวิจัยพบว่ามีสารบางชนิดที่จะช่วยเสริมการทำงานของ โคเอ็นไซม์ คิวเท็น ได้แก่ วิตามินอี แอล — คาร์นิทีน และทอรีน ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีสารสำคัญทั้ง 4 ชนิดนี้จะเป็นปราการสำคัญในการป้องกันหัวใจของเราให้แข็งแรงเต้นอยู่กับเราไปอีกนานเท่านาน แต่การจะบริโภคอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วนตามที่กล่าวไปนั้นอาจจะยากยิ่งสำหรับชีวิตปัจจุบันที่มีเวลาน้อยและรีบเร่ง การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของโคเอ็นไซม์ คิวเท็น ร่วมกับ วิตามินอี แอล — คาร์นิทีน และทอรีน อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเป็นตัวช่วยได้ มารักหัวใจในวันหัวใจโลกกันเถอะ ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกันยายนของทุกปี กว่า 100 ประเทศทั่วโลกจะมีการรณรงค์ร่วมกันในวันหัวใจโลก (World Heart Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักถึงภัยของโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากทุกปี ซึ่งในปีนี้จะจัดขึ้นเป็นปีที่ 11 ตรงกับวันที่ 26 กันยายน 2553 โดยจะมีกิจกรรมให้ความรู้ รวมถึงกิจกรรมการออกกำลังกายที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วม สำหรับประเทศไทยมูลนิธิโรคหัวใจแห่งประเทศไทยได้จัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับเราทุกคนแล้ว มิใช่เพียงการร่วมรณรงค์ในวันหัวใจโลกเท่านั้น แต่ในทุกๆ วันเราควรเพิ่มการดูแลหัวใจให้เป็นภารกิจหลักในชีวิตประจำวัน ง่ายๆ เพียงแค่ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น อาหารขยะ เนย ครีม เนื้อติดมัน ของทอด น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม และอาหารที่มีเกลือและน้ำตาลในปริมาณสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้หัวใจเต้นแรงและเลือดสูบฉีด อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ คอยดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน ไม่สูบบุหรี่ และควรเริ่มดูแลตั้งแต่อายุยังน้อย อย่ารอจนสายเกินไป... ข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ (Nutrilite Health Institute) สหรัฐอเมริกาและมูลนิธิโรคหัวใจแห่งประเทศไทย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ เวิรฟ : วรญา มณีวรรณ (เพชร) โทร.0-2204-8229 / พรชนันท์ มงคลกุล (กิฟท์) โทร.0-2204-8223

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ