กรุงเทพ--4 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 นายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐฯ และนางนงนุช เพชรรัตน์ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ และรองหัวหน้าคณะผู้เจรจาฯ ได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 3 ซึ่งจะมีขึ้นที่ พัทยา จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 4-9 เมษายน 2548 สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมทั่วไป
1.1 คณะผู้เจรจาฝ่ายไทยจะหารือกับคณะผู้เจรจาสหรัฐฯ คลอบคลุมในทุกสาขา (comprehensive) เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในระยะยาวระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแนวทางของคณะมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนไทย
1.2 การกำหนดท่าที/นโยบายของคณะผู้เจรจาฝ่ายไทยกระทำโดยคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ (กนศ.) คณะผู้เจรจาฯ ไม่มีอำนาจที่จะยอมรับข้อเสนอหรือตกลงเรื่องใดกับฝ่ายสหรัฐฯ โดยพลการ แต่จะต้องนำผลการหารือกลับมาเสนอให้ กนศ. พิจารณาตัดสินใจว่าฝ่ายไทยจะมี ท่าทีในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไร
1.3 คณะผู้เจรจาฝ่ายไทยจะการดำเนินการเจรจาฯ เพื่อประโยชน์ในภาพรวม มิใช่
รายสินค้าแต่ละชนิด โดยไม่มีเงื่อนไขในเรื่องเวลา จึงไม่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าการเจรจาฯ จะต้องแล้วเสร็จเมื่อใด ซึ่งมีหลายฝ่ายเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่าต้องรีบเจรจาให้เสร็จโดยเร็วเพื่อที่ฝ่ายสหรัฐฯ จะได้นำความตกลง FTA เสนอรัฐสภาของเขาได้ทันตามกฎหมาย Trade Promotion Authority (TPA) Act เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วเรื่อง TPA เป็นกฎหมายภายในของสหรัฐฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับไทยแต่อย่างใด
1.4 สำหรับประเด็นข้อโต้แย้งที่ปรากฏในสื่อมวลชนว่า เหตุใดรัฐบาลไทยจึงไม่เสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติการเจรจา FTA นั้น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุไว้อย่าง ชัดเจนว่าฝ่ายบริหารไม่จำเป็นต้องขออนุมัติรัฐสภาในการเจรจาความตกลงใดๆ แต่หากความตกลงฯ ทำให้ต้องมีการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศแล้ว ฝ่ายบริหารต้องเสนอให้รัฐสภาอนุมัติเรื่องดังกล่าว
1.5 ที่ผ่านมาคณะผู้เจรจาฝ่ายไทยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคเอกชนและนักวิชาการเกี่ยวกับการเจรจา FTA อย่างต่อเนื่อง สำหรับความเห็นของภาคประชาสังคมและ NGOs คณะผู้เจรจาฯ ได้รวบรวมข้อมูลในเรื่องนี้มาโดยตลอด และจะพบหารือกับภาคประชาสังคมและ NGOs ที่เกี่ยวข้องในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป
1.6 การเจรจาจัดทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ที่
เอื้อประโยชน์แก่ทั้ง 2 ฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นที่ยอมรับได้ของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งในที่สุดแล้วหากรัฐบาลไทยเห็นว่าไทยเป็นฝ่ายเสียมากกว่าได้ ก็ไม่จำเป็นต้องมีการลงนามความตกลงในเรื่องนี้แต่อย่างใด
2. การประชุมฯ รอบที่ 3
2.1 การประชุมจะแบ่งออกเป็น 20 กลุ่ม ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน (เอกสารแนบ) โดยประเด็นที่จะไม่มีการเจรจาในการประชุมฯ ครั้งนี้คือ การเปิดเสรีภาคการเงิน และระเบียบพิธีการด้านศุลกากร เนื่องจากฝ่ายไทยยังไม่พร้อมที่จะเจรจาประเด็นทั้งสอง
2.2 การเจรจารอบนี้ก็เช่นเดียวกับ 2 ครั้งที่ผ่านมา (ครั้งที่ 1 : 28 มิถุนายน-2 กรกฎาคม 2547 และ ครั้งที่ 2 : 11-15 ตุลาคม 2547) กล่าวคือ จะไม่มีการเจรจาตกลงผูกผัน (commit) ในเรื่องใดๆ กับฝ่ายสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นและข้อมูลเพื่อกำหนดกรอบเจรจาและทำความเข้าใจระบบของแต่ละฝ่าย รวมทั้งศึกษาร่างข้อบท (text) และร่างโต้ตอบที่ฝ่ายไทยและฝ่ายสหรัฐฯ ได้ยื่นในบางกลุ่มเจรจา ทั้งนี้ การประชุมฯ รอบที่ 3 คณะผู้เจรจาไทยและสหรัฐฯ จะเจรจากัน 22 เรื่อง
2.3 ประเด็นสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อไทยคือความร่วมมือในกลุ่มเจรจาการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Trade Capacity Building/ SMEs) ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอให้การเจรจา FTA เสร็จสิ้น ทั้งนี้ ล่าสุดฝ่ายไทยได้เสนอ 17 โครงการให้ฝ่ายสหรัฐฯ พิจารณาให้ความสนับสนุนในลักษณะหุ้นส่วนด้านค่าใช้จ่าย (shared cost)
2.4 ในโอกาสที่การประชุมฯ รอบที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศไทย หัวหน้าคณะผู้เจรจา FTA
ไทย และสหรัฐฯ (Ms. Barbara Weisel, Assistant USTR) และคณะจะเดินทางไปเยือนจังหวัดภูเก็ตและพังงา ระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2548 โดยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
(สึนามิ) โดยเฉพาะการฟื้นฟู SMEs และภาคเกษตร (การทำนากุ้ง) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่าย
2.5 ขอเชิญสื่อมวลชนรับฟังแถลงข่าวร่วมของหัวหน้าคณะผู้เจรจาฯ ไทย และสหรัฐฯ เกี่ยวกับผลการประชุมฯ รอบที่ 3 ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช พัทยา ในช่วงบ่ายของวันที่ 8 เมษายน 2548
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 นายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐฯ และนางนงนุช เพชรรัตน์ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ และรองหัวหน้าคณะผู้เจรจาฯ ได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 3 ซึ่งจะมีขึ้นที่ พัทยา จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 4-9 เมษายน 2548 สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมทั่วไป
1.1 คณะผู้เจรจาฝ่ายไทยจะหารือกับคณะผู้เจรจาสหรัฐฯ คลอบคลุมในทุกสาขา (comprehensive) เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในระยะยาวระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแนวทางของคณะมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนไทย
1.2 การกำหนดท่าที/นโยบายของคณะผู้เจรจาฝ่ายไทยกระทำโดยคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ (กนศ.) คณะผู้เจรจาฯ ไม่มีอำนาจที่จะยอมรับข้อเสนอหรือตกลงเรื่องใดกับฝ่ายสหรัฐฯ โดยพลการ แต่จะต้องนำผลการหารือกลับมาเสนอให้ กนศ. พิจารณาตัดสินใจว่าฝ่ายไทยจะมี ท่าทีในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไร
1.3 คณะผู้เจรจาฝ่ายไทยจะการดำเนินการเจรจาฯ เพื่อประโยชน์ในภาพรวม มิใช่
รายสินค้าแต่ละชนิด โดยไม่มีเงื่อนไขในเรื่องเวลา จึงไม่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าการเจรจาฯ จะต้องแล้วเสร็จเมื่อใด ซึ่งมีหลายฝ่ายเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่าต้องรีบเจรจาให้เสร็จโดยเร็วเพื่อที่ฝ่ายสหรัฐฯ จะได้นำความตกลง FTA เสนอรัฐสภาของเขาได้ทันตามกฎหมาย Trade Promotion Authority (TPA) Act เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วเรื่อง TPA เป็นกฎหมายภายในของสหรัฐฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับไทยแต่อย่างใด
1.4 สำหรับประเด็นข้อโต้แย้งที่ปรากฏในสื่อมวลชนว่า เหตุใดรัฐบาลไทยจึงไม่เสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติการเจรจา FTA นั้น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุไว้อย่าง ชัดเจนว่าฝ่ายบริหารไม่จำเป็นต้องขออนุมัติรัฐสภาในการเจรจาความตกลงใดๆ แต่หากความตกลงฯ ทำให้ต้องมีการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศแล้ว ฝ่ายบริหารต้องเสนอให้รัฐสภาอนุมัติเรื่องดังกล่าว
1.5 ที่ผ่านมาคณะผู้เจรจาฝ่ายไทยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคเอกชนและนักวิชาการเกี่ยวกับการเจรจา FTA อย่างต่อเนื่อง สำหรับความเห็นของภาคประชาสังคมและ NGOs คณะผู้เจรจาฯ ได้รวบรวมข้อมูลในเรื่องนี้มาโดยตลอด และจะพบหารือกับภาคประชาสังคมและ NGOs ที่เกี่ยวข้องในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป
1.6 การเจรจาจัดทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ที่
เอื้อประโยชน์แก่ทั้ง 2 ฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นที่ยอมรับได้ของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งในที่สุดแล้วหากรัฐบาลไทยเห็นว่าไทยเป็นฝ่ายเสียมากกว่าได้ ก็ไม่จำเป็นต้องมีการลงนามความตกลงในเรื่องนี้แต่อย่างใด
2. การประชุมฯ รอบที่ 3
2.1 การประชุมจะแบ่งออกเป็น 20 กลุ่ม ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน (เอกสารแนบ) โดยประเด็นที่จะไม่มีการเจรจาในการประชุมฯ ครั้งนี้คือ การเปิดเสรีภาคการเงิน และระเบียบพิธีการด้านศุลกากร เนื่องจากฝ่ายไทยยังไม่พร้อมที่จะเจรจาประเด็นทั้งสอง
2.2 การเจรจารอบนี้ก็เช่นเดียวกับ 2 ครั้งที่ผ่านมา (ครั้งที่ 1 : 28 มิถุนายน-2 กรกฎาคม 2547 และ ครั้งที่ 2 : 11-15 ตุลาคม 2547) กล่าวคือ จะไม่มีการเจรจาตกลงผูกผัน (commit) ในเรื่องใดๆ กับฝ่ายสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นและข้อมูลเพื่อกำหนดกรอบเจรจาและทำความเข้าใจระบบของแต่ละฝ่าย รวมทั้งศึกษาร่างข้อบท (text) และร่างโต้ตอบที่ฝ่ายไทยและฝ่ายสหรัฐฯ ได้ยื่นในบางกลุ่มเจรจา ทั้งนี้ การประชุมฯ รอบที่ 3 คณะผู้เจรจาไทยและสหรัฐฯ จะเจรจากัน 22 เรื่อง
2.3 ประเด็นสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อไทยคือความร่วมมือในกลุ่มเจรจาการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Trade Capacity Building/ SMEs) ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอให้การเจรจา FTA เสร็จสิ้น ทั้งนี้ ล่าสุดฝ่ายไทยได้เสนอ 17 โครงการให้ฝ่ายสหรัฐฯ พิจารณาให้ความสนับสนุนในลักษณะหุ้นส่วนด้านค่าใช้จ่าย (shared cost)
2.4 ในโอกาสที่การประชุมฯ รอบที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศไทย หัวหน้าคณะผู้เจรจา FTA
ไทย และสหรัฐฯ (Ms. Barbara Weisel, Assistant USTR) และคณะจะเดินทางไปเยือนจังหวัดภูเก็ตและพังงา ระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2548 โดยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย
(สึนามิ) โดยเฉพาะการฟื้นฟู SMEs และภาคเกษตร (การทำนากุ้ง) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่าย
2.5 ขอเชิญสื่อมวลชนรับฟังแถลงข่าวร่วมของหัวหน้าคณะผู้เจรจาฯ ไทย และสหรัฐฯ เกี่ยวกับผลการประชุมฯ รอบที่ 3 ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช พัทยา ในช่วงบ่ายของวันที่ 8 เมษายน 2548
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-