กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม และปี 2549 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2549 เท่ากับ 115.3 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2549 เท่ากับ 115.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2549 ลดลงร้อยละ 0.1
2.2 เดือนธันวาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 3.5
2.3 เฉลี่ยทั้งปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 4.7
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2549 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2549 ลดลงร้อยละ 0.1 เป็นอัตราลดลงเท่ากับเดือนที่แล้ว ปัจจัยหลักยังคงเป็นการลดลงของราคาผักบางชนิด และผลไม้ เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกผักโดยเฉพาะผักใบ นอกจากนี้ราคาเนื้อสุกรลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4 สำหรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง และยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.1
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.4 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดผักสดและผลไม้ร้อยละ 2.2 ที่สำคัญ ได้แก่ ผักคะน้า ผักชี ต้นหอม ถั่วลันเตา และส้มเขียวหวาน นอกจากนี้เป็นการลดลงของราคาเนื้อสุกร ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะ 5 เดือนที่ผ่านมา
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 สาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 1.4 โดยราคาน้ำมันเบนซินปรับสูงขึ้น 2 ครั้ง ส่วนดีเซลขึ้น 1 ครั้ง ลดลง 2 ครั้ง และดัชนีราคาค่าโดยสารเครื่องบินในประเทศสูงขึ้นร้อยละ 6.6 ส่วนบริการที่ปรับอัตราลดลงได้แก่ อัตราค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 และ 2 ของรัฐบาล ที่ให้เป็นของขวัญเนื่องจากวันพ่อแห่งชาติ คือ ลดลงในอัตราร้อยละ 15 จากราคาเดิมเป็นเวลา 15 วัน (1 - 15 ธันวาคม 2549) นอกจากนี้ค่าโดยสารรถร่วม บขส. ของเอกชนปรับอัตราลดลง 3 สตางค์ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2549
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนธันวาคม 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.5 เป็นอัตราที่สูงขึ้นเท่ากับเดือนก่อนหน้า จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.0 โดยการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเหนียวร้อยละ 47.2 ผักและผลไม้ร้อยละ 24.0 เป็นสำคัญ ส่วนดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.9 จากการสูงขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 10.2 น้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 2.8 และยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.9
5. ถ้าพิจารณาดัชนีเฉลี่ยทั้งปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 4.7 ถึงแม้ในช่วงครึ่งแรกของปีดัชนีจะมีอัตราสูงขึ้นค่อนข้างมาก จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าโดยสารสาธารณะ ผักสดและผลไม้ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะฝนแล้ง รวมทั้งราคาน้ำตาลทราย น้ำอัดลม และสินค้าบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ บางรายการ นอกจากนี้ผลของการเปรียบเทียบราคาน้ำมันที่ลอยตัวแล้วกับราคาน้ำมันที่ถูกควบคุมในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ทำให้ราคาช่วงครึ่งแรกปี 2549 สูงขึ้น แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีเป็นการเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันที่ลอยตัวทำให้ราคาน้ำมันลดลงประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มลดลงทำให้แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้ออ่อนตัวลง และจากมาตรการบริหารจัดการด้านราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 4.7 โดยดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม 2549 เท่ากับ 105.0 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนพฤศจิกายน 2549 โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
6.2 เดือนธันวาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 1.5
6.3 ดัชนีเฉลี่ยทั้งปี สูงขึ้นร้อยละ 2.3
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2549 เท่ากับ 115.3 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2549 เท่ากับ 115.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2549 ลดลงร้อยละ 0.1
2.2 เดือนธันวาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 3.5
2.3 เฉลี่ยทั้งปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 4.7
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2549 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2549 ลดลงร้อยละ 0.1 เป็นอัตราลดลงเท่ากับเดือนที่แล้ว ปัจจัยหลักยังคงเป็นการลดลงของราคาผักบางชนิด และผลไม้ เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกผักโดยเฉพาะผักใบ นอกจากนี้ราคาเนื้อสุกรลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4 สำหรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง และยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.1
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.4 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดผักสดและผลไม้ร้อยละ 2.2 ที่สำคัญ ได้แก่ ผักคะน้า ผักชี ต้นหอม ถั่วลันเตา และส้มเขียวหวาน นอกจากนี้เป็นการลดลงของราคาเนื้อสุกร ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะ 5 เดือนที่ผ่านมา
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.1 สาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 1.4 โดยราคาน้ำมันเบนซินปรับสูงขึ้น 2 ครั้ง ส่วนดีเซลขึ้น 1 ครั้ง ลดลง 2 ครั้ง และดัชนีราคาค่าโดยสารเครื่องบินในประเทศสูงขึ้นร้อยละ 6.6 ส่วนบริการที่ปรับอัตราลดลงได้แก่ อัตราค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 และ 2 ของรัฐบาล ที่ให้เป็นของขวัญเนื่องจากวันพ่อแห่งชาติ คือ ลดลงในอัตราร้อยละ 15 จากราคาเดิมเป็นเวลา 15 วัน (1 - 15 ธันวาคม 2549) นอกจากนี้ค่าโดยสารรถร่วม บขส. ของเอกชนปรับอัตราลดลง 3 สตางค์ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2549
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนธันวาคม 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.5 เป็นอัตราที่สูงขึ้นเท่ากับเดือนก่อนหน้า จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.0 โดยการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเหนียวร้อยละ 47.2 ผักและผลไม้ร้อยละ 24.0 เป็นสำคัญ ส่วนดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.9 จากการสูงขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 10.2 น้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 2.8 และยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.9
5. ถ้าพิจารณาดัชนีเฉลี่ยทั้งปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 4.7 ถึงแม้ในช่วงครึ่งแรกของปีดัชนีจะมีอัตราสูงขึ้นค่อนข้างมาก จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าโดยสารสาธารณะ ผักสดและผลไม้ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะฝนแล้ง รวมทั้งราคาน้ำตาลทราย น้ำอัดลม และสินค้าบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ บางรายการ นอกจากนี้ผลของการเปรียบเทียบราคาน้ำมันที่ลอยตัวแล้วกับราคาน้ำมันที่ถูกควบคุมในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ทำให้ราคาช่วงครึ่งแรกปี 2549 สูงขึ้น แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีเป็นการเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันที่ลอยตัวทำให้ราคาน้ำมันลดลงประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มลดลงทำให้แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้ออ่อนตัวลง และจากมาตรการบริหารจัดการด้านราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 4.7 โดยดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม 2549 เท่ากับ 105.0 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนพฤศจิกายน 2549 โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
6.2 เดือนธันวาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 1.5
6.3 ดัชนีเฉลี่ยทั้งปี สูงขึ้นร้อยละ 2.3
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--