กรุงเทพ--8 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีบูร์กินาฟาโซและภริยา ระหว่างวันที่ 8-11 เมษายน 2548
นายเบลส กอมเปาโอเร (Mr. Blaise Compaore) ประธานาธิบดีแห่งบูร์กินาฟาโซ และนางชองตัล กอมเปาโอเร (Mrs. Chantal Compaore) ภริยา จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลระหว่างวันที่ 8 —11 เมษายน 2548 ในโอกาสการเยือนครั้งนี้ประธานาธิบดีแห่ง
บูร์กินาฟาโซ และภริยาได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน ในวันที่ 8 เมษายน 2548 และประธานาธิบดีแห่งบูร์กินาฟาโซจะพบและหารือข้อราชการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลในวันเดียวกัน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยรามคำแหงจะทำพิธีมอบมอบปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประธานาธิบดีแห่งบูร์กินาฟาโซในระหว่างการเยือนด้วย
ไทยกับบูร์กินาฟาโซมีความสัมพันธ์ทางการทูตจนถึงปัจจุบันมาเป็นเวลา 20 ปี การปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองในอดีตมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 —24 พฤศจิกายน 2547
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสที่กรุงวากาดูกู เมืองหลวงของบูร์กินาฟาโซ ซี่งเป็นครั้งแรกที่ผู้นำระดับสูงของไทยเดินทางไปเยือนบูร์กินาฟาโซและได้มีโอกาสหารือกับผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบูร์กินาฟาโซ และต่อมาเมื่อวันที่ 19 — 22 กรกฎาคม 2547 และวันที่ 24 — 31 ธันวาคม 2547 นายยูสซุป เวดราโอโก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบูร์กินาฟาโซได้เดินทางมาเยือนไทย ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจึงมีความใกล้ชิดมากขึ้นเป็นลำดับ ความเป็นมิตรประเทศระหว่างทั้งสองฝ่ายเห็นได้จากกรณีที่เมื่อช่วงปลายปี 2547 ฝูงตั๊กแตนจำนวนมหึมาได้ทำลายพืชผลต่างๆในบูร์กินาฟาโซ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ไทยในฐานะมิตรประเทศจึงส่งข้าวจำนวน 1,000 ตัน ไปช่วยเหลือประเทศบูร์กินาฟาโซ
สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างสองฝ่ายนั้น ฝ้ายเป็นสินค้าออกหลักของ
บูร์กินาฟาโซ ซึ่งไทยนำเข้าฝ้ายจากบูร์กินาฟาโซเป็นจำนวนมาก ในขณะที่สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังบูร์กินาฟาโซ ได้แก่ รถจักรยานยนต์ รถยนต์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้นระหว่างไทยกับบูร์กินาฟาโซแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลปัจจุบันที่จะแสวงหามิตรประเทศไม่ว่าใกล้หรือไกลจากไทย ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภูมิภาคแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2548 นี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับภูมิภาคแอฟริกาโดยรัฐบาลจะเร่งดำเนินการในเชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตร (partnership)กับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน
ประเทศบูร์กินาฟาโซเป็นประเทศเล็กๆตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก มีจำนวนประชากรประมาณ 13 ล้านคน ได้รับเอกราชจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2503 ชื่อเดิมของประเทศบูร์กินาฟาโซคือ Upper Volta ซึ่งในปี พ.ศ. 2526 ได้เปลี่ยนจากชื่อเดิมเป็นบูร์กินาฟาโซ ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า ดินแดนแห่งคนซื่อสัตย์ ภาษาราชการของประเทศบูร์กินาฟาโซ คือ ภาษาฝรั่งเศส ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศบูร์กินาฟาโซ ใน พ.ศ.2528 โดยสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศเซเนกัลดูแลความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบูร์กินาฟาร์ด้วย ปี 2548 นี้จึงเป็นการครบรอบ 20 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับบูร์กินาฟาโซ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-
การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีบูร์กินาฟาโซและภริยา ระหว่างวันที่ 8-11 เมษายน 2548
นายเบลส กอมเปาโอเร (Mr. Blaise Compaore) ประธานาธิบดีแห่งบูร์กินาฟาโซ และนางชองตัล กอมเปาโอเร (Mrs. Chantal Compaore) ภริยา จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลระหว่างวันที่ 8 —11 เมษายน 2548 ในโอกาสการเยือนครั้งนี้ประธานาธิบดีแห่ง
บูร์กินาฟาโซ และภริยาได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน ในวันที่ 8 เมษายน 2548 และประธานาธิบดีแห่งบูร์กินาฟาโซจะพบและหารือข้อราชการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลในวันเดียวกัน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยรามคำแหงจะทำพิธีมอบมอบปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประธานาธิบดีแห่งบูร์กินาฟาโซในระหว่างการเยือนด้วย
ไทยกับบูร์กินาฟาโซมีความสัมพันธ์ทางการทูตจนถึงปัจจุบันมาเป็นเวลา 20 ปี การปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองในอดีตมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 —24 พฤศจิกายน 2547
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสที่กรุงวากาดูกู เมืองหลวงของบูร์กินาฟาโซ ซี่งเป็นครั้งแรกที่ผู้นำระดับสูงของไทยเดินทางไปเยือนบูร์กินาฟาโซและได้มีโอกาสหารือกับผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบูร์กินาฟาโซ และต่อมาเมื่อวันที่ 19 — 22 กรกฎาคม 2547 และวันที่ 24 — 31 ธันวาคม 2547 นายยูสซุป เวดราโอโก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบูร์กินาฟาโซได้เดินทางมาเยือนไทย ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจึงมีความใกล้ชิดมากขึ้นเป็นลำดับ ความเป็นมิตรประเทศระหว่างทั้งสองฝ่ายเห็นได้จากกรณีที่เมื่อช่วงปลายปี 2547 ฝูงตั๊กแตนจำนวนมหึมาได้ทำลายพืชผลต่างๆในบูร์กินาฟาโซ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ไทยในฐานะมิตรประเทศจึงส่งข้าวจำนวน 1,000 ตัน ไปช่วยเหลือประเทศบูร์กินาฟาโซ
สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างสองฝ่ายนั้น ฝ้ายเป็นสินค้าออกหลักของ
บูร์กินาฟาโซ ซึ่งไทยนำเข้าฝ้ายจากบูร์กินาฟาโซเป็นจำนวนมาก ในขณะที่สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังบูร์กินาฟาโซ ได้แก่ รถจักรยานยนต์ รถยนต์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้นระหว่างไทยกับบูร์กินาฟาโซแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลปัจจุบันที่จะแสวงหามิตรประเทศไม่ว่าใกล้หรือไกลจากไทย ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภูมิภาคแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2548 นี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับภูมิภาคแอฟริกาโดยรัฐบาลจะเร่งดำเนินการในเชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตร (partnership)กับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน
ประเทศบูร์กินาฟาโซเป็นประเทศเล็กๆตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก มีจำนวนประชากรประมาณ 13 ล้านคน ได้รับเอกราชจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2503 ชื่อเดิมของประเทศบูร์กินาฟาโซคือ Upper Volta ซึ่งในปี พ.ศ. 2526 ได้เปลี่ยนจากชื่อเดิมเป็นบูร์กินาฟาโซ ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า ดินแดนแห่งคนซื่อสัตย์ ภาษาราชการของประเทศบูร์กินาฟาโซ คือ ภาษาฝรั่งเศส ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศบูร์กินาฟาโซ ใน พ.ศ.2528 โดยสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศเซเนกัลดูแลความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบูร์กินาฟาร์ด้วย ปี 2548 นี้จึงเป็นการครบรอบ 20 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับบูร์กินาฟาโซ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-