กรุงเทพ--15 ส.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
ไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia—Latin America Cooperation - FEALAC) ระหว่างวันที่ 22 — 23 สิงหาคม 2550 ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
15 สิงหาคม 2550 14:39:49
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia—Latin America Cooperation : FEALAC) ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ระหว่างวันที่ 22 — 23 สิงหาคม 2550 โดยจะมีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก FEALAC จากทั้งสองภูมิภาค จำนวน 32 ประเทศ และจากสาธารณรัฐโดมินิกันซึ่งจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดยหัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้ได้แก่เรื่องโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาค (Bi-regional Trade and Investment Opportunities) ทั้งนี้จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ระหว่างวันที่ 20 — 21 สิงหาคม 2550 โดยนางนงนุช เพ็ชรรัตน์ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ภายหลังการประชุม บราซิลจะจัดให้รัฐมนตรีของประเทศสมาชิกเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานเอทานอลของบราซิลในรัฐเซา เปาโล เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านนี้ระหว่างประเทศสมาชิกด้วย นอกจากนี้ บราซิลจะจัดกิจกรรมคู่ขนานกับการประชุมภาครัฐ ได้แก่ การประชุมและการพบหารือทางธุรกิจ และการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน พลังงานทดแทน และการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเวทีระหว่างประเทศ ระหว่างวันที่ 20 — 24 สิงหาคม 2550 ใน 4 เมืองสำคัญของบราซิล ได้แก่ กรุงบราซิเลีย นครเซาเปาโล นครริโอ เดอ จาเนโร และนครเบโล ฮอริซอนจ์ ในการนี้ นายปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จะเดินทางไปร่วมบรรยายในการสัมมนาทางวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหัวข้อ "East Asian Alternative Energy Initiatives and Collaboration Potential with FEALAC Member Economies" ในวันที่ 20 สิงหาคม 2550 ด้วย
การประชุมและการเข้าร่วมกิจกรรมใน FEALAC เป็นช่องทางที่ไทยจะสามารถขยายโอกาสทางธุรกิจ การค้า และการลงทุนในตลาดของประเทศสมาชิก FEALAC ทั้งสองภูมิภาครวม 33 ประเทศ โดยเฉพาะในตลาดลาตินอเมริกาซึ่งโอกาสที่นักธุรกิจไทยและลาตินอเมริกาจะได้พบและสร้างเครือข่ายระหว่างกันมีไม่มากนัก และเป็นโอกาสให้นักวิชาการของประเทศสมาชิก FEALAC ในทั้งสองภูมิภาคได้พบหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกัน
FEALAC เป็นเวทีเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกาในทุกด้าน รวมถึงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเน้นการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเป็นหลัก ปัจจุบันมีสมาชิก 32 ประเทศ เป็นฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล โบลิเวีย โคลอมเบีย ชิลี เอกวาดอร์ เม็กซิโก ปารากวัย เปรู ปานามา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา คิวบา อุรุกวัย เวเนซุเอลา นิคารากัว และกัวเตมาลา และจะเพิ่มประเทศสมาชิกฝ่ายลาตินอเมริกาอีกหนึ่งประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐโดมินิกัน
ปัจจุบันไทยดำรงตำแหน่งประธานคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับคอสตาริกา ภายใต้คณะทำงานนี้ ไทยได้ผลักดันความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน ด้านการรับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติ และโรคระบาด อาทิ โรคเอดส์ SARS และไข้หวัดนก นอกจากนี้ ไทยยังมีบทบาทในการผลักดันความร่วมมือในคณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรมและการศึกษา และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย โดยเป็นเจ้าภาพดำเนินโครงการในด้านที่ไทยมีประสบการณ์ อาทิ โครงการความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โครงการความร่วมมือด้านการขจัดความยากจน และโครงการฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการโรงแรม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia—Latin America Cooperation - FEALAC) ระหว่างวันที่ 22 — 23 สิงหาคม 2550 ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
15 สิงหาคม 2550 14:39:49
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia—Latin America Cooperation : FEALAC) ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ระหว่างวันที่ 22 — 23 สิงหาคม 2550 โดยจะมีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก FEALAC จากทั้งสองภูมิภาค จำนวน 32 ประเทศ และจากสาธารณรัฐโดมินิกันซึ่งจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดยหัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้ได้แก่เรื่องโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาค (Bi-regional Trade and Investment Opportunities) ทั้งนี้จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ระหว่างวันที่ 20 — 21 สิงหาคม 2550 โดยนางนงนุช เพ็ชรรัตน์ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ภายหลังการประชุม บราซิลจะจัดให้รัฐมนตรีของประเทศสมาชิกเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานเอทานอลของบราซิลในรัฐเซา เปาโล เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านนี้ระหว่างประเทศสมาชิกด้วย นอกจากนี้ บราซิลจะจัดกิจกรรมคู่ขนานกับการประชุมภาครัฐ ได้แก่ การประชุมและการพบหารือทางธุรกิจ และการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน พลังงานทดแทน และการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเวทีระหว่างประเทศ ระหว่างวันที่ 20 — 24 สิงหาคม 2550 ใน 4 เมืองสำคัญของบราซิล ได้แก่ กรุงบราซิเลีย นครเซาเปาโล นครริโอ เดอ จาเนโร และนครเบโล ฮอริซอนจ์ ในการนี้ นายปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จะเดินทางไปร่วมบรรยายในการสัมมนาทางวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหัวข้อ "East Asian Alternative Energy Initiatives and Collaboration Potential with FEALAC Member Economies" ในวันที่ 20 สิงหาคม 2550 ด้วย
การประชุมและการเข้าร่วมกิจกรรมใน FEALAC เป็นช่องทางที่ไทยจะสามารถขยายโอกาสทางธุรกิจ การค้า และการลงทุนในตลาดของประเทศสมาชิก FEALAC ทั้งสองภูมิภาครวม 33 ประเทศ โดยเฉพาะในตลาดลาตินอเมริกาซึ่งโอกาสที่นักธุรกิจไทยและลาตินอเมริกาจะได้พบและสร้างเครือข่ายระหว่างกันมีไม่มากนัก และเป็นโอกาสให้นักวิชาการของประเทศสมาชิก FEALAC ในทั้งสองภูมิภาคได้พบหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกัน
FEALAC เป็นเวทีเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกาในทุกด้าน รวมถึงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเน้นการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเป็นหลัก ปัจจุบันมีสมาชิก 32 ประเทศ เป็นฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล โบลิเวีย โคลอมเบีย ชิลี เอกวาดอร์ เม็กซิโก ปารากวัย เปรู ปานามา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา คิวบา อุรุกวัย เวเนซุเอลา นิคารากัว และกัวเตมาลา และจะเพิ่มประเทศสมาชิกฝ่ายลาตินอเมริกาอีกหนึ่งประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐโดมินิกัน
ปัจจุบันไทยดำรงตำแหน่งประธานคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับคอสตาริกา ภายใต้คณะทำงานนี้ ไทยได้ผลักดันความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน ด้านการรับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติ และโรคระบาด อาทิ โรคเอดส์ SARS และไข้หวัดนก นอกจากนี้ ไทยยังมีบทบาทในการผลักดันความร่วมมือในคณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรมและการศึกษา และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย โดยเป็นเจ้าภาพดำเนินโครงการในด้านที่ไทยมีประสบการณ์ อาทิ โครงการความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โครงการความร่วมมือด้านการขจัดความยากจน และโครงการฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการโรงแรม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-