ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมิถุนายน 2550 อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน เช่นเดียวกับการส่งออกที่ยังคงขยายตัวสูง สำหรับด้านอุปทาน ผลผลิตหลักชะลอตัวจากเดือนก่อนหลังจากที่ขยายตัวสูงต่อเนื่องในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนการท่องเที่ยวชะลอลงจากความกังวลในเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบและเหตุระเบิดในภาคใต้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงและอัตราเงินเฟ้อทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน
โดยรวมไตรมาสที่ 2 ปี 2550 อุปสงค์ในประเทศมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักขยายตัวในเกณฑ์สูง แต่ราคาชะลอตัวลง ทำให้รายได้เกษตรกรชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนโดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก ด้านการท่องเที่ยวชะลอลงจากไตรมาสก่อนเนื่องจากปัจจัยลบต่าง ๆ อาทิ ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ พายุดีเปรสชั่น การประท้วงทางการเมืองและความไม่สงบในภาคใต้ อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งเสถียรภาพภายในและต่างประเทศ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ อาทิ หมวดผลิตภัณฑ์เหล็กและหมวดวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งหมวดเครื่องดื่มที่มีสต็อกสูง ขณะที่หมวดอาหารลดลงตามการผลิตอาหารทะเลกระป๋อง สับปะรดกระป๋องและน้ำมันพืช ที่ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและมีราคาแพง อย่างไรก็ดี หมวดที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลักยังขยายตัวได้ดี โดยหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ตามการส่งออก Hard Disk Drive หมวดเครื่องหนัง เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อพิเศษจากสหรัฐอเมริกา และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าตามการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตเร่งผลิตสินค้ารุ่นใหม่เพื่อวางจำหน่ายในต่างประเทศ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.3 ลดลงจากเดือนก่อนตามการทยอยปิดหีบอ้อยของอุตสาหกรรมน้ำตาลในหมวดอาหาร และการปิดซ่อมโรงงานในหมวดปิโตรเลียม หมวดปิโตรเคมี หมวดยาสูบและหมวดเหล็ก อย่างไรก็ดี อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับฤดูกาลในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
โดยรวมไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนตามการผลิตที่ขยายตัวในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ หมวดเครื่องหนัง หมวดอาหาร และหมวดเครื่องดื่มที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ร้อยละ 75.2 ลดลงจากร้อยละ 76.0 ในไตรมาสก่อน จากการผลิตที่ลดลงในหมวดอาหาร หมวดเครื่องดื่ม หมวดผลิตภัณฑ์ยาง และหมวดก่อสร้างเป็นสำคัญ
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้ทั้งในหมวดสินค้าคงทนและไม่คงทนหลายรายการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับ ที่อยู่อาศัย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ เครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับตัวดีขึ้นจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่เครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างยังคงชะลอตัว แม้ว่าปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น
โดยรวมไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวเท่ากับระยะเดียวกันปีก่อนและปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนจากเครื่องชี้หลายตัวที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนโดยเฉพาะเครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่หมวดก่อสร้างยังคงชะลอตัว
3. ภาคการคลัง ในเดือนมิถุนายน 2550 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 121.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ตามภาษีจากฐานรายได้ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการจัดเก็บภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เพิ่มขึ้นจากค่าบริการ ค่าจำหน่ายกำไร และภาษีหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ภาษีจากฐานการบริโภคหดตัวตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่ลดลงเนื่องจากภาษีที่เก็บจากการนำเข้าลดลงตามการนำเข้าที่ชะลอตัวลงและจากผลของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงเนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้นำส่งรายได้ไปแล้วในเดือนก่อน ดุลเงินสด รัฐบาลเกินดุล 87.4 พันล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเพิ่มขึ้น 54.5 พันล้านบาท อยู่ที่ 109.2 พันล้านบาท
โดยรวมไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2550 รายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 โดยรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษีขยายตัวร้อยละ 5.3 และ 4.7 ตามลำดับ รัฐบาลเกินดุลเงินสดทั้งสิ้น 44.8 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 1,099 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 12,714 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 11,616 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะหมวดวัตถุดิบและสินค้าทุน รวมทั้งหมวดเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง เมื่อรวมกับ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ที่เกินดุล 103 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการท่องเที่ยวที่เกินดุลเพิ่มขึ้น รวมทั้งในเดือนนี้ไม่ได้ตกช่วงการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของภาคเอกชน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,202 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงิน เกินดุล 1,877 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550 อยู่ที่ระดับ 73.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 9.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ดุลการค้า เกินดุล 1,489 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 18.3 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 36,182 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.4 คิดเป็นมูลค่า 34,693 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการฯ ที่ขาดดุล 166 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,322 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 2,344 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เท่ากับเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานลดลงตามการปรับลดค่าไฟฟ้าและการปรับลดราคาน้ำมันเบนซิน ช่วยชดเชยราคาสินค้าในหมวดอาหารสดที่สูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 เท่ากับเดือนก่อน เนื่องจากมีการปรับขึ้นราคาค่าเช่าบ้านและเครื่องประกอบอาหารใกล้เคียงกับการปรับลดราคาของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารบริโภคในบ้านนอกบ้าน และการตรวจรักษา ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เท่ากับเดือนก่อนจากราคาสินค้าเกษตรกรรมที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากราคาปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ เป็นสำคัญ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากไตรมาสแรก โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 และ 0.8 ตามลำดับ เทียบกับไตรมาสแรกที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4 และ 1.4 ตามลำดับ
6. ภาวะการเงิน ในเดือนมิถุนายน 2550 เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน1/ (Depository Corporations) ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 5.7 ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเพราะปัจจัยฤดูกาล ได้แก่ การลดฐานเงินฝากเพื่อลดภาระ เงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในช่วงกลางปี ส่วนสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในเดือนก่อน โดยสินเชื่อภาคครัวเรือนเร่งตัวขึ้น แต่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 3.5 และยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนมิถุนายน 2550 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับลดลงจากเดือนพฤษภาคมมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.50 และ 3.54 ต่อปี ตามลำดับ ก่อนปรับลดลงอีกในช่วงวันที่ 1-25 กรกฎาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 3.42 และ 3.41 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.84 และ 3.88 ต่อปี ตามลำดับ ลดลงจากร้อยละ 4.69 และ 4.73 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ตามลำดับ
7. ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนมิถุนายน 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 34.58 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยอุปสงค์และอุปทานของเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างสมดุล แม้ว่ายังมีเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันผู้นำเข้าและบริษัทน้ำมันมีการซื้อดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 79.1 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 78.8ในเดือนก่อน เนื่องจากค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นพร้อม ๆ กับค่าเงินบาท จากการไหลเข้าของเงินลงทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์ทั้งภูมิภาค
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 34.68 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นจากค่าเฉลี่ย 35.59 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก ขณะที่ NEER แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 1.5 จากค่าเฉลี่ยของไตรมาสก่อน
ระหว่างวันที่ 1-25 กรกฎาคม 2550 เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 33.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากการไหลเข้าของเงินทุนที่มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับความกังวลของผู้ส่งออกทำให้มีการเร่งขายดอลลาร์ สรอ.
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์ โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
โดยรวมไตรมาสที่ 2 ปี 2550 อุปสงค์ในประเทศมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักขยายตัวในเกณฑ์สูง แต่ราคาชะลอตัวลง ทำให้รายได้เกษตรกรชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนโดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก ด้านการท่องเที่ยวชะลอลงจากไตรมาสก่อนเนื่องจากปัจจัยลบต่าง ๆ อาทิ ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ พายุดีเปรสชั่น การประท้วงทางการเมืองและความไม่สงบในภาคใต้ อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งเสถียรภาพภายในและต่างประเทศ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ อาทิ หมวดผลิตภัณฑ์เหล็กและหมวดวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งหมวดเครื่องดื่มที่มีสต็อกสูง ขณะที่หมวดอาหารลดลงตามการผลิตอาหารทะเลกระป๋อง สับปะรดกระป๋องและน้ำมันพืช ที่ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและมีราคาแพง อย่างไรก็ดี หมวดที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลักยังขยายตัวได้ดี โดยหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ตามการส่งออก Hard Disk Drive หมวดเครื่องหนัง เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อพิเศษจากสหรัฐอเมริกา และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าตามการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตเร่งผลิตสินค้ารุ่นใหม่เพื่อวางจำหน่ายในต่างประเทศ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.3 ลดลงจากเดือนก่อนตามการทยอยปิดหีบอ้อยของอุตสาหกรรมน้ำตาลในหมวดอาหาร และการปิดซ่อมโรงงานในหมวดปิโตรเลียม หมวดปิโตรเคมี หมวดยาสูบและหมวดเหล็ก อย่างไรก็ดี อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับฤดูกาลในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
โดยรวมไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนตามการผลิตที่ขยายตัวในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ หมวดเครื่องหนัง หมวดอาหาร และหมวดเครื่องดื่มที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ร้อยละ 75.2 ลดลงจากร้อยละ 76.0 ในไตรมาสก่อน จากการผลิตที่ลดลงในหมวดอาหาร หมวดเครื่องดื่ม หมวดผลิตภัณฑ์ยาง และหมวดก่อสร้างเป็นสำคัญ
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้ทั้งในหมวดสินค้าคงทนและไม่คงทนหลายรายการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับ ที่อยู่อาศัย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ เครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับตัวดีขึ้นจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่เครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างยังคงชะลอตัว แม้ว่าปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น
โดยรวมไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวเท่ากับระยะเดียวกันปีก่อนและปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนจากเครื่องชี้หลายตัวที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนโดยเฉพาะเครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่หมวดก่อสร้างยังคงชะลอตัว
3. ภาคการคลัง ในเดือนมิถุนายน 2550 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 121.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ตามภาษีจากฐานรายได้ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการจัดเก็บภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เพิ่มขึ้นจากค่าบริการ ค่าจำหน่ายกำไร และภาษีหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ภาษีจากฐานการบริโภคหดตัวตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่ลดลงเนื่องจากภาษีที่เก็บจากการนำเข้าลดลงตามการนำเข้าที่ชะลอตัวลงและจากผลของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงเนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้นำส่งรายได้ไปแล้วในเดือนก่อน ดุลเงินสด รัฐบาลเกินดุล 87.4 พันล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเพิ่มขึ้น 54.5 พันล้านบาท อยู่ที่ 109.2 พันล้านบาท
โดยรวมไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2550 รายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 โดยรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษีขยายตัวร้อยละ 5.3 และ 4.7 ตามลำดับ รัฐบาลเกินดุลเงินสดทั้งสิ้น 44.8 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 1,099 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 12,714 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 11,616 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะหมวดวัตถุดิบและสินค้าทุน รวมทั้งหมวดเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง เมื่อรวมกับ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ที่เกินดุล 103 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการท่องเที่ยวที่เกินดุลเพิ่มขึ้น รวมทั้งในเดือนนี้ไม่ได้ตกช่วงการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของภาคเอกชน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,202 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงิน เกินดุล 1,877 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550 อยู่ที่ระดับ 73.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 9.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ดุลการค้า เกินดุล 1,489 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 18.3 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 36,182 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.4 คิดเป็นมูลค่า 34,693 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการฯ ที่ขาดดุล 166 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,322 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 2,344 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เท่ากับเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานลดลงตามการปรับลดค่าไฟฟ้าและการปรับลดราคาน้ำมันเบนซิน ช่วยชดเชยราคาสินค้าในหมวดอาหารสดที่สูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 เท่ากับเดือนก่อน เนื่องจากมีการปรับขึ้นราคาค่าเช่าบ้านและเครื่องประกอบอาหารใกล้เคียงกับการปรับลดราคาของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารบริโภคในบ้านนอกบ้าน และการตรวจรักษา ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เท่ากับเดือนก่อนจากราคาสินค้าเกษตรกรรมที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากราคาปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ เป็นสำคัญ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากไตรมาสแรก โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 และ 0.8 ตามลำดับ เทียบกับไตรมาสแรกที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4 และ 1.4 ตามลำดับ
6. ภาวะการเงิน ในเดือนมิถุนายน 2550 เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน1/ (Depository Corporations) ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 5.7 ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเพราะปัจจัยฤดูกาล ได้แก่ การลดฐานเงินฝากเพื่อลดภาระ เงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในช่วงกลางปี ส่วนสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในเดือนก่อน โดยสินเชื่อภาคครัวเรือนเร่งตัวขึ้น แต่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 3.5 และยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนมิถุนายน 2550 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับลดลงจากเดือนพฤษภาคมมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.50 และ 3.54 ต่อปี ตามลำดับ ก่อนปรับลดลงอีกในช่วงวันที่ 1-25 กรกฎาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 3.42 และ 3.41 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.84 และ 3.88 ต่อปี ตามลำดับ ลดลงจากร้อยละ 4.69 และ 4.73 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ตามลำดับ
7. ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนมิถุนายน 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 34.58 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยอุปสงค์และอุปทานของเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างสมดุล แม้ว่ายังมีเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันผู้นำเข้าและบริษัทน้ำมันมีการซื้อดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 79.1 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 78.8ในเดือนก่อน เนื่องจากค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นพร้อม ๆ กับค่าเงินบาท จากการไหลเข้าของเงินลงทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์ทั้งภูมิภาค
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 34.68 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นจากค่าเฉลี่ย 35.59 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก ขณะที่ NEER แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 1.5 จากค่าเฉลี่ยของไตรมาสก่อน
ระหว่างวันที่ 1-25 กรกฎาคม 2550 เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 33.71 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากการไหลเข้าของเงินทุนที่มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับความกังวลของผู้ส่งออกทำให้มีการเร่งขายดอลลาร์ สรอ.
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์ โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--