กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2545 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 57 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงผลการหารือกับนาย Kofi Annan เลขาธิการ สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2545 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. บทบาทของประเทศไทยในติมอร์ตะวันออก เลขาธิการสหประชาชาติได้ขอบคุณประเทศไทยที่ได้มีบทบาทอย่างต่อเนื่องร่วมกับองค์กรของสหประชาชาติในการช่วยเหลือให้ติมอร์ตะวันออกให้สามารถพัฒนาประเทศไปได้ด้วยตนเองภายหลังการได้รับเอกราชด้วยการส่งกองกำลังรักษา สันติภาพเข้าไปร่วมปฏิบัติการในติมอร์ตะวันออกตั้งแต่ในระยะแรกและกำลังจะส่งกำลังพลเพิ่มเติมเป็น 500 นาย ในเดือนพฤศจิกายน 2545 เพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติใน ติมอร์ตะวันออก (UNMISET) เลขาธิการสหประชาชาติแสดงความชื่นชมแนวทางการดำเนินงานของทหารไทยซึ่งได้นำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้เป็นแนวทางในการช่วยฟื้นฟูติมอร์ตะวันออก เพราะสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้เลขาธิการ สหประชาชาติทราบถึงความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ที่ไทยได้ให้แก่ ติมอร์ตะวันออก รวมทั้งเรื่องที่ไทยกำลังจะเปิดสถานเอกอัครราชทูตในติมอร์ตะวันออกด้วย
2. บทบาทของไทยในอัฟกานิสถาน เลขาธิการสหประชาชาติแสดงความยินดีที่ไทยกำลังจะจัดส่งกองกำลังทหารช่างเข้าไปร่วมกับกองกำลังของสหประชาชาติในการช่วยฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถานในด้านการก่อสร้าง การแพทย์ และการกู้กับระเบิด ตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งกับเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบว่าจะนำประสบการณ์และแนวทางการการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นเดียวกับที่ได้ใช้ในติมอร์ตะวันออกมาใช้ในอัฟกานิสถานด้วย นอกจากนี้ ไทยพร้อมจะช่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติในเรื่องการปลูกพืชทดแทนซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริที่ได้รับความสำเร็จเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ เลขาธิการสหประชาชาติได้แจ้งให้ทราบว่าเคยได้รับทราบจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับแนวพระราชดำริของพระองค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดังนั้น ประสบการณ์และแนวทางการดำเนินงานของไทยในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยเหลือฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถาน
3. อิรัก เลขาธิการสหประชาชาติรับทราบด้วยความสนใจถึงผลการหารือเรื่องนี้ของที่ประชุมกลุ่มสมาชิกความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) และขอให้ฝ่ายไทยโน้มน้าว อิรักให้ปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ให้คณะผู้ตรวจการของสหประชาชาติเข้าไปตรวจสอบการมีอยู่หรือไม่ของอาวุธที่มีมีอำนาจทำลายร้ายแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่สหประชาชาติให้ความสำคัญอย่างสูง ทั้งนี้ สหประชาชาติจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องภายในอื่นๆ ของอิรัก เช่น ปัญหาชนกลุ่มน้อย หรือการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอิรัก ฝ่ายไทยเห็นพ้องว่าแนวทางความร่วมมือ ดังกล่าวในสหประชาชาติในปัจจุบันเป็นสิ่งที่เหมาะสม เพราะหากสหประชาชาติมุ่งเน้นในประเด็นอื่นๆ ด้วยในเวลาเดียวกัน จะทำให้อิรักไม่สามารถรับได้ อันอาจเป็นผลให้ประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น สหรัฐฯ ใช้กำลังทางทหารเพียงฝ่ายเดียว
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่อง HIV/Aids ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2547 และเลขาธิการสหประชาชาติได้รับที่จะกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมฯ ตามคำเชิญของฝ่ายไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-ศน-
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2545 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 57 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงผลการหารือกับนาย Kofi Annan เลขาธิการ สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2545 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. บทบาทของประเทศไทยในติมอร์ตะวันออก เลขาธิการสหประชาชาติได้ขอบคุณประเทศไทยที่ได้มีบทบาทอย่างต่อเนื่องร่วมกับองค์กรของสหประชาชาติในการช่วยเหลือให้ติมอร์ตะวันออกให้สามารถพัฒนาประเทศไปได้ด้วยตนเองภายหลังการได้รับเอกราชด้วยการส่งกองกำลังรักษา สันติภาพเข้าไปร่วมปฏิบัติการในติมอร์ตะวันออกตั้งแต่ในระยะแรกและกำลังจะส่งกำลังพลเพิ่มเติมเป็น 500 นาย ในเดือนพฤศจิกายน 2545 เพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติใน ติมอร์ตะวันออก (UNMISET) เลขาธิการสหประชาชาติแสดงความชื่นชมแนวทางการดำเนินงานของทหารไทยซึ่งได้นำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้เป็นแนวทางในการช่วยฟื้นฟูติมอร์ตะวันออก เพราะสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้เลขาธิการ สหประชาชาติทราบถึงความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ที่ไทยได้ให้แก่ ติมอร์ตะวันออก รวมทั้งเรื่องที่ไทยกำลังจะเปิดสถานเอกอัครราชทูตในติมอร์ตะวันออกด้วย
2. บทบาทของไทยในอัฟกานิสถาน เลขาธิการสหประชาชาติแสดงความยินดีที่ไทยกำลังจะจัดส่งกองกำลังทหารช่างเข้าไปร่วมกับกองกำลังของสหประชาชาติในการช่วยฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถานในด้านการก่อสร้าง การแพทย์ และการกู้กับระเบิด ตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งกับเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบว่าจะนำประสบการณ์และแนวทางการการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นเดียวกับที่ได้ใช้ในติมอร์ตะวันออกมาใช้ในอัฟกานิสถานด้วย นอกจากนี้ ไทยพร้อมจะช่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติในเรื่องการปลูกพืชทดแทนซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริที่ได้รับความสำเร็จเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ เลขาธิการสหประชาชาติได้แจ้งให้ทราบว่าเคยได้รับทราบจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับแนวพระราชดำริของพระองค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดังนั้น ประสบการณ์และแนวทางการดำเนินงานของไทยในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยเหลือฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถาน
3. อิรัก เลขาธิการสหประชาชาติรับทราบด้วยความสนใจถึงผลการหารือเรื่องนี้ของที่ประชุมกลุ่มสมาชิกความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) และขอให้ฝ่ายไทยโน้มน้าว อิรักให้ปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ให้คณะผู้ตรวจการของสหประชาชาติเข้าไปตรวจสอบการมีอยู่หรือไม่ของอาวุธที่มีมีอำนาจทำลายร้ายแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่สหประชาชาติให้ความสำคัญอย่างสูง ทั้งนี้ สหประชาชาติจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องภายในอื่นๆ ของอิรัก เช่น ปัญหาชนกลุ่มน้อย หรือการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอิรัก ฝ่ายไทยเห็นพ้องว่าแนวทางความร่วมมือ ดังกล่าวในสหประชาชาติในปัจจุบันเป็นสิ่งที่เหมาะสม เพราะหากสหประชาชาติมุ่งเน้นในประเด็นอื่นๆ ด้วยในเวลาเดียวกัน จะทำให้อิรักไม่สามารถรับได้ อันอาจเป็นผลให้ประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น สหรัฐฯ ใช้กำลังทางทหารเพียงฝ่ายเดียว
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่อง HIV/Aids ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2547 และเลขาธิการสหประชาชาติได้รับที่จะกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมฯ ตามคำเชิญของฝ่ายไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-ศน-