กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้อุตสาหกรรมปี46 ขยายตัวสูงร้อยละ 13.7 ขณะที่แนวโน้มปี 2547 อุตสาหกรรมไทยมีโอกาสขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 14.5 ผลมาจากการบริโภคและการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่อาจกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในปี 2547 คือภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาของญี่ปุ่น และ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนไทยที่จะแข็งค่าขึ้น
นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจ- อุตสาหกรรม (สศอ.) ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2546 และแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2547 พบว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2546 มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.3-6.4 โดยภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.7 มีมูลค่าผลผลิตรวม 2.08 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.1 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ของไทย
ผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2546 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมจะพบว่า เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 8.7 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2546เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 1.9 โดยมีการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยร้อยละ 66 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และ การกลั่นปิโตรเลียมเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ผลผลิต และอัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ส่วนการลงทุนในปี 2546 ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (บีโอไอ) มีมูลค่าการลงทุน 265,800 ล้านบาท ( ในกรณีที่โครงการที่จะนำเข้า กกท. ในวันที่ 30 อีก 8 โครงการได้รับอนุมัติ จะทำให้มีมูลค่าการลงทุนที่ได้รับอนุมัติ รวมทั้งสิ้น 284, 200 ล้านบาท ) เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนที่ได้รับอนุมัติ 162,500 ล้านบาท ส่วนคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน ปี 2546 มี มูลค่าถึง 320,000 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2547 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยจะมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระดับสูงที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 14.5 โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนคือ การบริโภคและการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าการบริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 มากกว่าในปี 2546 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เนื่องจาก รายได้ประชาชนยังอยู่ระดับสูง และการลงทุนคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 มากกว่า ปี 2546 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เพราะไทยมีศักยภาพหลายๆ ด้านรองรับการขยายการลงทุน
นอกจากนี้การเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะส่งผลบวกกับภาคอุตสาหกรรมของไทยโดยในปี 2547 คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะเติบโตสูงถึงร้อยละ 4.1 จากร้อยละ 3.2 ในปี 2546 จะมีผลให้ไทยสามารถขยายการ ส่งออกไปยังตลาดหลักๆ ได้ทั้งสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) โดยคาดว่า การส่งออกของไทยยังจะมีการเติบโตในระดับสูงที่ร้อยละ 14 ในปี 2547
ขณะเดียวกันนโยบายของรัฐบาลที่มีการผลักดันในเรื่องทิศทางเศรษฐกิจอย่างครบถ้วนและมี ประสิทธิภาพทั้งด้านการเงิน การคลัง การค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ กับต่างประเทศ ทั้งจีน อินเดีย ฯลฯ จะเปิดโอกาสให้กับสินค้าของไทยเข้าสู่ตลาดที่มีอำนาจซื้อสูงเหล่านี้ได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่อาจกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในปี 2547 คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ ซบเซาของญี่ปุ่น และการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนของไทยที่จะแข็งค่าขึ้นตามความมั่นคงของภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนของจีนอาจทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันที่ต้องเน้นการใช้ประโยชน์จากความรู้ ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้มากขึ้น
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขา ปี 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ จะมีอัตราขยายตัว ต่อเนื่อง เพราะมีหลายค่ายย้ายฐานการผลิตเพื่อการส่งออกมายังไทยและยังคงมีการขยายการผลิตเพิ่มเติม , อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก , อุตสาหกรรมอาหาร อาจต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีมาตรการป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ (Bioterrorism Act)
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าจะขยายตัวตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็จะมีปัจจัยลบในเรื่องของวัตถุดิบที่ราคาสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้การผลิตทั่วไปอยู่ในภาวะที่ทรงตัว , อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่าจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปี 2546 เพราะตลาดส่งออกฟื้นตัว แต่มีคู่แข่งที่น่าติดตาม คือ อินเดีย จีน และ เวียดนาม และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5-6 เนื่องจากความต้องการตลาดโลกได้เริ่มสูงขึ้น เป็นต้น
นายพินิจ กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมในปี 2547 จะมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ และนาโนเทคโนโลยี ตามนโยบายของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าไทยมีศักยภาพทางด้านวัตถุดิบอยู่แล้วนั่นคือ เกษตรกรรม
“ ขณะนี้ใครๆ เขาก็พูดกันถึงเรื่องนาโนเทคโนโลยีทั้งนั้น เราต้องให้ความสำคัญ ไม่เช่นนั้นเราจะ ตกรถ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆ นี้ ” นายพินิจกล่าว
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2202-4274 , 0-2644-8604--
-พห-
นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจ- อุตสาหกรรม (สศอ.) ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2546 และแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2547 พบว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2546 มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.3-6.4 โดยภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.7 มีมูลค่าผลผลิตรวม 2.08 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.1 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ของไทย
ผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2546 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมจะพบว่า เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 8.7 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2546เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 1.9 โดยมีการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยร้อยละ 66 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และ การกลั่นปิโตรเลียมเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ผลผลิต และอัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ส่วนการลงทุนในปี 2546 ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (บีโอไอ) มีมูลค่าการลงทุน 265,800 ล้านบาท ( ในกรณีที่โครงการที่จะนำเข้า กกท. ในวันที่ 30 อีก 8 โครงการได้รับอนุมัติ จะทำให้มีมูลค่าการลงทุนที่ได้รับอนุมัติ รวมทั้งสิ้น 284, 200 ล้านบาท ) เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนที่ได้รับอนุมัติ 162,500 ล้านบาท ส่วนคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน ปี 2546 มี มูลค่าถึง 320,000 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2547 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยจะมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระดับสูงที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 14.5 โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนคือ การบริโภคและการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าการบริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 มากกว่าในปี 2546 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เนื่องจาก รายได้ประชาชนยังอยู่ระดับสูง และการลงทุนคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 มากกว่า ปี 2546 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เพราะไทยมีศักยภาพหลายๆ ด้านรองรับการขยายการลงทุน
นอกจากนี้การเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะส่งผลบวกกับภาคอุตสาหกรรมของไทยโดยในปี 2547 คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะเติบโตสูงถึงร้อยละ 4.1 จากร้อยละ 3.2 ในปี 2546 จะมีผลให้ไทยสามารถขยายการ ส่งออกไปยังตลาดหลักๆ ได้ทั้งสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) โดยคาดว่า การส่งออกของไทยยังจะมีการเติบโตในระดับสูงที่ร้อยละ 14 ในปี 2547
ขณะเดียวกันนโยบายของรัฐบาลที่มีการผลักดันในเรื่องทิศทางเศรษฐกิจอย่างครบถ้วนและมี ประสิทธิภาพทั้งด้านการเงิน การคลัง การค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ กับต่างประเทศ ทั้งจีน อินเดีย ฯลฯ จะเปิดโอกาสให้กับสินค้าของไทยเข้าสู่ตลาดที่มีอำนาจซื้อสูงเหล่านี้ได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่อาจกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในปี 2547 คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ ซบเซาของญี่ปุ่น และการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนของไทยที่จะแข็งค่าขึ้นตามความมั่นคงของภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนของจีนอาจทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันที่ต้องเน้นการใช้ประโยชน์จากความรู้ ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้มากขึ้น
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขา ปี 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ จะมีอัตราขยายตัว ต่อเนื่อง เพราะมีหลายค่ายย้ายฐานการผลิตเพื่อการส่งออกมายังไทยและยังคงมีการขยายการผลิตเพิ่มเติม , อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก , อุตสาหกรรมอาหาร อาจต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีมาตรการป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ (Bioterrorism Act)
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าจะขยายตัวตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็จะมีปัจจัยลบในเรื่องของวัตถุดิบที่ราคาสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้การผลิตทั่วไปอยู่ในภาวะที่ทรงตัว , อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่าจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปี 2546 เพราะตลาดส่งออกฟื้นตัว แต่มีคู่แข่งที่น่าติดตาม คือ อินเดีย จีน และ เวียดนาม และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5-6 เนื่องจากความต้องการตลาดโลกได้เริ่มสูงขึ้น เป็นต้น
นายพินิจ กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมในปี 2547 จะมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ และนาโนเทคโนโลยี ตามนโยบายของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าไทยมีศักยภาพทางด้านวัตถุดิบอยู่แล้วนั่นคือ เกษตรกรรม
“ ขณะนี้ใครๆ เขาก็พูดกันถึงเรื่องนาโนเทคโนโลยีทั้งนั้น เราต้องให้ความสำคัญ ไม่เช่นนั้นเราจะ ตกรถ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆ นี้ ” นายพินิจกล่าว
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2202-4274 , 0-2644-8604--
-พห-