1. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 มียอดคงค้าง 699.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จาก 632.7 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2545
ในปี 2546 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านอุปทานของฐานเงิน ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของธปท.เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและการรับซื้อเงินตราต่างประเทศของ ธปท.จากเงินทุนไหลเข้า แม้ในขณะเดียวกันจะมีการชำระคืนหนี้เงินกู้ทั้งจากภาครัฐและเอกชนก็ตาม (2)สินเชื่อสุทธิที่ ธปท.ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนตามการลดลงของเงินฝากของรัฐบาลที่ ธปท. (3)สินเชื่อสุทธิที่ ธปท.ให้แก่สถาบันการเงินลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจาก ธปท.ทำการดูดซับสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นจากธุรกรรมการซื้อเงินตราต่างประเทศ
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ในปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 5.1 และ 4.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินทั้ง M2A และ M3 อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง โดยขยายตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.4 และ 2.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีการถอนเงินฝากในบัญชีของประชาชนไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติตั้งแต่เดือนกันยายน 2545 อย่างไรก็ดี ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินได้โน้มสูงขึ้นมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนการออกพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ
2. อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
2.1 อัตราการแลกเปลี่ยน
ในปี 2546 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องโดยเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 39.21-43.15 บาทต่อดอลลาร์สรอ.และค่าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.6 จากค่าเฉลี่ยของปีก่อน
ในช่วงครึ่งแรกของปี ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนทั้งภายนอกและภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ.ที่เปราะบางจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรักขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯก็ยังมิได้ฟื้นตัวอย่างชัดเจน นอกจากนั้น ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ดีอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและการส่งออกทำให้มีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปีมีความผันผวนและอ่อนค่าลงเป็นบางช่วงสั้นๆ จากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ที่สำคัญคือความกังวลเกี่ยวกับสงครามและการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) และการปรับตัวตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะค่าเงินเยน
สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจน โดยแข็งค่าสูงสุดในรอบปีในเดือนตุลาคมที่ระดับ 39.21 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินบาท ได้แก่ (1) ปัจจัยพื้นฐานในประเทศที่ดีและความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย (2) การปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (3) การปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยจากสถาบันจัดอันดับในต่างประเทศและ (4) Sentiment ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ยังคงเปราะบางทั้งนี้ ธปท. ได้ออกมาตรการป้องปราบการเก็งกำไรค่าเงินบาทในวันที่ 11 กันยายน และ 14 ตุลาคม 2546 เพื่อดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไม่ให้เป็นไปในลักษณะการเก็งกำไร
2.2 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินโน้มต่ำลงในปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 1 ได้ปรับลดลงตามสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสภาพคล่องที่กลับเข้าสู่ระบบหลังผ่านช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในเดือนมีนาคมตึงตัวขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรักทำให้เกิดความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโดยรวมเฉลี่ยทั้งไตรมาสแรกอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 1.65 ต่อปีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank) ระยะ 1 วันอยู่ที่ร้อยละ 1.49 ต่อปี เทียบร้อยละ 1.76 ต่อปีในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2545
ในไตรมาสที่ 2 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้นจากการเตรียมเงินสำหรับการเบิกจ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้ ในวันที่ 27 มิถุนายน ธปท.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นปรับลดลงตามทิศทางการส่งสัญญาณของ ธปท. อย่างไรก็ตามเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเกิดขึ้นในช่วงท้ายไตรมาส ค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารระยะ 1 วันจึงยังไม่ลดลง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.66 และ 1.59 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับในไตรมาสที่ 3 ผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวข้างต้นทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับลดลงค่อนข้างมาก โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.11 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.07 ต่อปี
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินยังโน้มลดลงและอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากในเดือนพฤศจิกายนธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายกองทุนวายุภักษ์ได้นำเงินรอโอนมาลงทุนในตลาดซื้อคืนค่อนข้างมาก รวมทั้งสภาพคล่องก็เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม จากเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ยังไม่ถูกเบิกถอนและเงินกู้ยืมที่ภาครัฐชำระคืนแก่สถาบันการเงิน ดังนั้น เฉลี่ยทั้งไตรมาสอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันจึงอยู่ที่ร้อยละ 1.06 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารระยะ 1 วันอยู่ที่ร้อยละ 1.09 ต่อปี
2.3 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในไตรมาสที่ 1 ของปี 2546 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากปลายปี 2545 โดยเป็นผลจากแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์และความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง ขณะที่ปริมาณพันธบัตรออกใหม่มีค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ดี ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลได้ปรับเพิ่มขึ้นจากการขายทำกำไรของนักลงทุนเป็นหลัก
ในไตรมาสที่ 2 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายนตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีในเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้ปรับลดลงโดยเฉพาะในระยะยาวเนื่องจากการคาดการณ์ว่าอุปทานพันธบัตรรัฐบาลจะลดลงจากการปรับประมาณการฐานะการคลังจากการขาดดุลเป็นการเกินดุล ประกอบกับการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ย federal funds rate จะลดลงและอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลดลงด้วย ซึ่งต่อมาเมื่อ ธปท. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 ต่อปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลก็ปรับลดลงอีกในช่วงปลายเดือนมิถุนายน
ในไตรมาสที่ 3 ของปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมจากผลต่อเนื่องของการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังจากนั้นอัตราผลตอบแทนได้ปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะในพันธบัตรระยะยาว ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การประกาศมาตรการผ่อนคลายการแลกเปลี่ยนเงินตราของ ธปท.ในเดือนกรกฎาคม และการประกาศอนุญาตให้นักลงทุนสถาบัน 6 ประเภทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ของต่างประเทศในเดือนสิงหาคม รวมทั้งความไม่แน่นอนเรื่องการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี โดยเฉพาะระยะกลางและระยะยาวปรับตัวขึ้นชันมาก สาเหตุสำคัญ คือ (1) ข่าวการออกพันธบัตรระยะ 7 ปี เพื่อชดเชยความเสียหายให้ FIDF (2)อุปทานที่เพิ่มขึ้นของพันธบัตรออกใหม่จากทั้งภาครัฐและเอกชน และ (3)การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่จูงใจให้นักลงทุนย้ายการลงทุนออกจากตลาดพันธบัตรไปตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตามตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงจากการเลื่อนการประมูลพันธบัตร FIDF ไปเป็นต้นปี 2547 และการงดออกพันธบัตร ธปท. ในเดือนธันวาคม
3.เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
3.1 เงินฝากธนาคารพาณิชย์
ในปี 2546 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราต่ำต่อเนื่องระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมโดยเป็นผลจากฐานเงินฝากที่ลดลงตั้งแต่เดือนกันยายน 2545 เมื่อมีการถอนเงินฝากส่วนหนึ่งเพื่อไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ อย่างไรก็ดี เมื่อผลของปัจจัยดังกล่าวหมดลงในเดือนกันยายน 2546 อัตราการขยายตัวของเงินฝากจึงกลับมาอยู่ในระดับปกติในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี โดย ณ สิ้นปี 2546 เงินฝากขยายตัวร้อยละ 4.4 จากสิ้นปีก่อน
3.2 สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน)ของธนาคารพาณิชย์
ในปี 2546 สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาวะการผลิตในประเทศโดยในไตรมาสที่ 1 การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ของรัฐตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สำหรับในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม สินเชื่อยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย โดยเฉลี่ย 9 เดือนหลังของปีขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจทั้งจากธนาคารพาณิชย์เอกชนและของรัฐทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2546 สินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากสิ้นปีก่อน ในส่วนของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัด หนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์แต่ ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหาร สินทรัพย์ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ในปี 2546
เมื่อพิจารณาแยกตามสาขาเศรษฐกิจพบว่าสินเชื่อาสำหรับสาขาเศรษฐกิจหลักที่มีการเติบโตสูงในปี 2546 ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการส่งออก การค้าส่งผลิตผลทางการเกษตร การพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ในขณะที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงสินเชื่อบัตรเครดิต ที่มีสัดส่วนโดยรวมประมาณร้อยละ 13 ของสินเชื่อทั้งหมด ขยายตัวสูงต่อเนื่องจากปีก่อนส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำและสภาวะการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเป็นการขยายตัวตามสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี ธปท. ได้ติดตามดูแลแนวทางการปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้ผู้บริโภคสร้างภาระหนี้มากเกินความสามารถที่จะชำระคืน
3.3 อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์
ในปี 2546 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและการเงินให้กู้ในช่วงเดือนมีนาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวตามการส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. และสอดคล้องกับการบริหารสภาพคล่องของแต่ละธนาคาร โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ประเภทเงินฝากประจำระยะ 3 เดือนลดลงจากร้อยละ 1.75 ต่อปี ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2545 เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 12 เดือนลดลงร้อยละ 2.00 ต่อปีเป็นร้อยละ 1.00 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลดลงจากร้อยละ 6.69 ต่อปีเป็นร้อยละ 5.69 ต่อปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยืมที่แท้จริงในปี 2546 ปรับลดลงตามการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การโน้มลดลงของอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงมีส่วนช่วยส่งเสริมการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ และ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.20 และ 4.46 ต่อปีตามลำดับ
4.การดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์
ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 โดยธนาคารพาณิชย์ไทยมีผลการดำเนินการงานที่ดีต่อเนื่องแม้ในไตรมาสที่ 3 ผลประกอบการเป็นขาดทุนสุทธิแต่ก็เนื่องมาจากการกันสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง สำหรับกำไรจากการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ (ก่อนหักการกันสำรองหนี้สูญ) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 อยู่ที่ 67.35 พันล้านบาทเทียบกับ 54.03 พันล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยธนาคารพาณิชย์ไทยมีกำไรจากการดำเนินงาน 61.30 พันล้านบาทเทียบกับ 42.31 พันล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากการลดลงของรายจ่ายดอกเบี้ยกอปรกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ทั้งจากค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และกำไรจากการปริวรรตเงินตรา
สำหรับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีกำไรจากการดำเนินงานลดลงเหลือ 6.05 พันล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 เทียบกับ 11.72 พันล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลเป็นสำคัญ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (Effective Interest Rate Spread) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2546 โดย ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 เท่ากับร้อยละ 2.73 เทียบกับร้อยละ 2.62 ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 จากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นสำคัญ เนื่องจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายจากเงินฝากลดลงมากกว่าดอกเบี้ยรับที่ได้จากสินเชื่อ ในขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศปรับลดลงเล็กน้อย
อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 13.41 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 เทียบกับร้อยละ 14.06 ในปี 2545 ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทยอยปรับลดลง โดย ณ สิ้นปี 2546 อยู่ที่ 641.58 พันล้านบาทเทียบกับ 772.56 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2545 ทั้งนี้ สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2546 อยู่ร้อยละ 12.72 เทียบกับร้อยละ 15.79 ณ สิ้นปีก่อน
2.12 ตลาดทุน
แหล่งเงินทุนที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ของภาคเอกชน
ในปี 2546 ภาคธุรกิจและครัวเรือนมีแหล่งเงินทุนสำคัญที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ คือ
1. การออกตราสารทุนและตราสารหนี้ โดยหุ้นทุนสามัญที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มทุนของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ขนส่ง และบริษัทที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ส่วนตราสารหนี้เป็นการออกหุ้นกู้ของกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ และขนส่ง ที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
2. การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งในปี 2546 (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน) เพิ่มขึ้น 108.3 พันล้านบาทจาก ณ สิ้นปี 2545 ส่วนหนึ่งเพราะนโยบายสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อของรัฐบาลที่มีผลต่อเนื่องจากปีก่อน ที่สำคัญคือ โครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน สินเชื่อตามมาตรการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และสินเชื่อตามมาตรการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
3. สินเชื่อเพื่อการอุปโภคและบริโภค สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อการค้า ซึ่งขยายตัวสูงต่อเนื่องโดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อเพื่อการอุปโภคและบริโภค และสินเชื่อบัตรเครดิต เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจและรายได้ที่คาดว่าจะมั่นคงขึ้น กอปรกับได้รับแรงจูงใจจากการเสนอบริการของบริษัทผู้ให้สินเชื่อที่มักจะให้ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และโทรศัพท์มือถือ นอกจากนั้น สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อการกู้ยืมส่วนบุคคลโดยตรงก็มีการแข่งขันให้บริการสูงขึ้นด้วย
ภาวะตลาดรองตลาดตราสารหนี้
ในปี 2546 การซื้อขายตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 2,606.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 21.5 ทั้งนี้เป็นผลจากการออกตราสารหนี้ของภาครัฐและเอกชนที่เพิ่มขึ้นเพื่อขยายทางเลือกให้กับนักลงทุนในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองได้ลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีเพราะนักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนไปยังตลาดหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ทั้งนี้ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 10.3 พันล้านบาทในไตรมาสที่ 1 เป็น 11.8 พันล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ก่อนจะลดลงเป็น 10.6 พันล้านบาทและ 9.7 พันล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-วย-/-ดพ-
ฐานเงินขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 มียอดคงค้าง 699.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จาก 632.7 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2545
ในปี 2546 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านอุปทานของฐานเงิน ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของธปท.เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและการรับซื้อเงินตราต่างประเทศของ ธปท.จากเงินทุนไหลเข้า แม้ในขณะเดียวกันจะมีการชำระคืนหนี้เงินกู้ทั้งจากภาครัฐและเอกชนก็ตาม (2)สินเชื่อสุทธิที่ ธปท.ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนตามการลดลงของเงินฝากของรัฐบาลที่ ธปท. (3)สินเชื่อสุทธิที่ ธปท.ให้แก่สถาบันการเงินลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจาก ธปท.ทำการดูดซับสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นจากธุรกรรมการซื้อเงินตราต่างประเทศ
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ในปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 5.1 และ 4.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินทั้ง M2A และ M3 อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง โดยขยายตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.4 และ 2.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีการถอนเงินฝากในบัญชีของประชาชนไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติตั้งแต่เดือนกันยายน 2545 อย่างไรก็ดี ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินได้โน้มสูงขึ้นมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนการออกพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ
2. อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
2.1 อัตราการแลกเปลี่ยน
ในปี 2546 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องโดยเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 39.21-43.15 บาทต่อดอลลาร์สรอ.และค่าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.6 จากค่าเฉลี่ยของปีก่อน
ในช่วงครึ่งแรกของปี ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนทั้งภายนอกและภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ.ที่เปราะบางจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรักขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯก็ยังมิได้ฟื้นตัวอย่างชัดเจน นอกจากนั้น ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ดีอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและการส่งออกทำให้มีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปีมีความผันผวนและอ่อนค่าลงเป็นบางช่วงสั้นๆ จากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ที่สำคัญคือความกังวลเกี่ยวกับสงครามและการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) และการปรับตัวตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะค่าเงินเยน
สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจน โดยแข็งค่าสูงสุดในรอบปีในเดือนตุลาคมที่ระดับ 39.21 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินบาท ได้แก่ (1) ปัจจัยพื้นฐานในประเทศที่ดีและความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย (2) การปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (3) การปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยจากสถาบันจัดอันดับในต่างประเทศและ (4) Sentiment ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ยังคงเปราะบางทั้งนี้ ธปท. ได้ออกมาตรการป้องปราบการเก็งกำไรค่าเงินบาทในวันที่ 11 กันยายน และ 14 ตุลาคม 2546 เพื่อดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไม่ให้เป็นไปในลักษณะการเก็งกำไร
2.2 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินโน้มต่ำลงในปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 1 ได้ปรับลดลงตามสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสภาพคล่องที่กลับเข้าสู่ระบบหลังผ่านช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในเดือนมีนาคมตึงตัวขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรักทำให้เกิดความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโดยรวมเฉลี่ยทั้งไตรมาสแรกอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 1.65 ต่อปีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank) ระยะ 1 วันอยู่ที่ร้อยละ 1.49 ต่อปี เทียบร้อยละ 1.76 ต่อปีในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2545
ในไตรมาสที่ 2 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้นจากการเตรียมเงินสำหรับการเบิกจ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้ ในวันที่ 27 มิถุนายน ธปท.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นปรับลดลงตามทิศทางการส่งสัญญาณของ ธปท. อย่างไรก็ตามเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเกิดขึ้นในช่วงท้ายไตรมาส ค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารระยะ 1 วันจึงยังไม่ลดลง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.66 และ 1.59 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับในไตรมาสที่ 3 ผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวข้างต้นทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับลดลงค่อนข้างมาก โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.11 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.07 ต่อปี
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินยังโน้มลดลงและอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากในเดือนพฤศจิกายนธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายกองทุนวายุภักษ์ได้นำเงินรอโอนมาลงทุนในตลาดซื้อคืนค่อนข้างมาก รวมทั้งสภาพคล่องก็เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม จากเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ยังไม่ถูกเบิกถอนและเงินกู้ยืมที่ภาครัฐชำระคืนแก่สถาบันการเงิน ดังนั้น เฉลี่ยทั้งไตรมาสอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันจึงอยู่ที่ร้อยละ 1.06 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารระยะ 1 วันอยู่ที่ร้อยละ 1.09 ต่อปี
2.3 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในไตรมาสที่ 1 ของปี 2546 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากปลายปี 2545 โดยเป็นผลจากแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์และความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง ขณะที่ปริมาณพันธบัตรออกใหม่มีค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ดี ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลได้ปรับเพิ่มขึ้นจากการขายทำกำไรของนักลงทุนเป็นหลัก
ในไตรมาสที่ 2 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายนตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีในเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้ปรับลดลงโดยเฉพาะในระยะยาวเนื่องจากการคาดการณ์ว่าอุปทานพันธบัตรรัฐบาลจะลดลงจากการปรับประมาณการฐานะการคลังจากการขาดดุลเป็นการเกินดุล ประกอบกับการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ย federal funds rate จะลดลงและอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลดลงด้วย ซึ่งต่อมาเมื่อ ธปท. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 ต่อปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลก็ปรับลดลงอีกในช่วงปลายเดือนมิถุนายน
ในไตรมาสที่ 3 ของปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมจากผลต่อเนื่องของการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังจากนั้นอัตราผลตอบแทนได้ปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะในพันธบัตรระยะยาว ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การประกาศมาตรการผ่อนคลายการแลกเปลี่ยนเงินตราของ ธปท.ในเดือนกรกฎาคม และการประกาศอนุญาตให้นักลงทุนสถาบัน 6 ประเภทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ของต่างประเทศในเดือนสิงหาคม รวมทั้งความไม่แน่นอนเรื่องการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี โดยเฉพาะระยะกลางและระยะยาวปรับตัวขึ้นชันมาก สาเหตุสำคัญ คือ (1) ข่าวการออกพันธบัตรระยะ 7 ปี เพื่อชดเชยความเสียหายให้ FIDF (2)อุปทานที่เพิ่มขึ้นของพันธบัตรออกใหม่จากทั้งภาครัฐและเอกชน และ (3)การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่จูงใจให้นักลงทุนย้ายการลงทุนออกจากตลาดพันธบัตรไปตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตามตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงจากการเลื่อนการประมูลพันธบัตร FIDF ไปเป็นต้นปี 2547 และการงดออกพันธบัตร ธปท. ในเดือนธันวาคม
3.เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
3.1 เงินฝากธนาคารพาณิชย์
ในปี 2546 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราต่ำต่อเนื่องระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมโดยเป็นผลจากฐานเงินฝากที่ลดลงตั้งแต่เดือนกันยายน 2545 เมื่อมีการถอนเงินฝากส่วนหนึ่งเพื่อไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ อย่างไรก็ดี เมื่อผลของปัจจัยดังกล่าวหมดลงในเดือนกันยายน 2546 อัตราการขยายตัวของเงินฝากจึงกลับมาอยู่ในระดับปกติในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี โดย ณ สิ้นปี 2546 เงินฝากขยายตัวร้อยละ 4.4 จากสิ้นปีก่อน
3.2 สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน)ของธนาคารพาณิชย์
ในปี 2546 สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาวะการผลิตในประเทศโดยในไตรมาสที่ 1 การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ของรัฐตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สำหรับในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม สินเชื่อยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย โดยเฉลี่ย 9 เดือนหลังของปีขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจทั้งจากธนาคารพาณิชย์เอกชนและของรัฐทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2546 สินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากสิ้นปีก่อน ในส่วนของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัด หนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์แต่ ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหาร สินทรัพย์ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ในปี 2546
เมื่อพิจารณาแยกตามสาขาเศรษฐกิจพบว่าสินเชื่อาสำหรับสาขาเศรษฐกิจหลักที่มีการเติบโตสูงในปี 2546 ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการส่งออก การค้าส่งผลิตผลทางการเกษตร การพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ในขณะที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงสินเชื่อบัตรเครดิต ที่มีสัดส่วนโดยรวมประมาณร้อยละ 13 ของสินเชื่อทั้งหมด ขยายตัวสูงต่อเนื่องจากปีก่อนส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำและสภาวะการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเป็นการขยายตัวตามสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี ธปท. ได้ติดตามดูแลแนวทางการปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้ผู้บริโภคสร้างภาระหนี้มากเกินความสามารถที่จะชำระคืน
3.3 อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์
ในปี 2546 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและการเงินให้กู้ในช่วงเดือนมีนาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวตามการส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. และสอดคล้องกับการบริหารสภาพคล่องของแต่ละธนาคาร โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ประเภทเงินฝากประจำระยะ 3 เดือนลดลงจากร้อยละ 1.75 ต่อปี ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2545 เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 12 เดือนลดลงร้อยละ 2.00 ต่อปีเป็นร้อยละ 1.00 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลดลงจากร้อยละ 6.69 ต่อปีเป็นร้อยละ 5.69 ต่อปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยืมที่แท้จริงในปี 2546 ปรับลดลงตามการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การโน้มลดลงของอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงมีส่วนช่วยส่งเสริมการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ และ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.20 และ 4.46 ต่อปีตามลำดับ
4.การดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์
ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 โดยธนาคารพาณิชย์ไทยมีผลการดำเนินการงานที่ดีต่อเนื่องแม้ในไตรมาสที่ 3 ผลประกอบการเป็นขาดทุนสุทธิแต่ก็เนื่องมาจากการกันสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง สำหรับกำไรจากการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ (ก่อนหักการกันสำรองหนี้สูญ) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 อยู่ที่ 67.35 พันล้านบาทเทียบกับ 54.03 พันล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยธนาคารพาณิชย์ไทยมีกำไรจากการดำเนินงาน 61.30 พันล้านบาทเทียบกับ 42.31 พันล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากการลดลงของรายจ่ายดอกเบี้ยกอปรกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ทั้งจากค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และกำไรจากการปริวรรตเงินตรา
สำหรับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีกำไรจากการดำเนินงานลดลงเหลือ 6.05 พันล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 เทียบกับ 11.72 พันล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลเป็นสำคัญ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (Effective Interest Rate Spread) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2546 โดย ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 เท่ากับร้อยละ 2.73 เทียบกับร้อยละ 2.62 ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 จากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นสำคัญ เนื่องจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายจากเงินฝากลดลงมากกว่าดอกเบี้ยรับที่ได้จากสินเชื่อ ในขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศปรับลดลงเล็กน้อย
อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 13.41 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 เทียบกับร้อยละ 14.06 ในปี 2545 ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทยอยปรับลดลง โดย ณ สิ้นปี 2546 อยู่ที่ 641.58 พันล้านบาทเทียบกับ 772.56 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2545 ทั้งนี้ สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2546 อยู่ร้อยละ 12.72 เทียบกับร้อยละ 15.79 ณ สิ้นปีก่อน
2.12 ตลาดทุน
แหล่งเงินทุนที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ของภาคเอกชน
ในปี 2546 ภาคธุรกิจและครัวเรือนมีแหล่งเงินทุนสำคัญที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ คือ
1. การออกตราสารทุนและตราสารหนี้ โดยหุ้นทุนสามัญที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มทุนของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ขนส่ง และบริษัทที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ส่วนตราสารหนี้เป็นการออกหุ้นกู้ของกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ และขนส่ง ที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
2. การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งในปี 2546 (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน) เพิ่มขึ้น 108.3 พันล้านบาทจาก ณ สิ้นปี 2545 ส่วนหนึ่งเพราะนโยบายสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อของรัฐบาลที่มีผลต่อเนื่องจากปีก่อน ที่สำคัญคือ โครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน สินเชื่อตามมาตรการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และสินเชื่อตามมาตรการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
3. สินเชื่อเพื่อการอุปโภคและบริโภค สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อการค้า ซึ่งขยายตัวสูงต่อเนื่องโดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อเพื่อการอุปโภคและบริโภค และสินเชื่อบัตรเครดิต เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจและรายได้ที่คาดว่าจะมั่นคงขึ้น กอปรกับได้รับแรงจูงใจจากการเสนอบริการของบริษัทผู้ให้สินเชื่อที่มักจะให้ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และโทรศัพท์มือถือ นอกจากนั้น สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อการกู้ยืมส่วนบุคคลโดยตรงก็มีการแข่งขันให้บริการสูงขึ้นด้วย
ภาวะตลาดรองตลาดตราสารหนี้
ในปี 2546 การซื้อขายตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 2,606.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 21.5 ทั้งนี้เป็นผลจากการออกตราสารหนี้ของภาครัฐและเอกชนที่เพิ่มขึ้นเพื่อขยายทางเลือกให้กับนักลงทุนในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองได้ลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีเพราะนักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนไปยังตลาดหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ทั้งนี้ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 10.3 พันล้านบาทในไตรมาสที่ 1 เป็น 11.8 พันล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ก่อนจะลดลงเป็น 10.6 พันล้านบาทและ 9.7 พันล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-วย-/-ดพ-