ฉบับที่ ๑๒ สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๘๘ วรรคสอง วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๔.๓๐ นาฬิกา นายโสภณ ซารัมย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคชาติไทย ได้มีการอภิปรายถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ - การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องการแต่งตั้งผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ควรเร่งดำเนินการแต่งตั้ง เนื่องจาก ผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าวไม่มีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปการศึกษา และควรมีการกระจายอำนาจ การปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปยังท้องถิ่น โดยใช้ อบต. เป็นหลักและจัดตั้งเป็นกลุ่มโรงเรียนขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีศูนย์ประสานงาน ระหว่างอำเภอ - ลำมาด* ในฤดูฝนจะมีน้ำไหลแรงตลอด ส่วนในฤดูแล้งจะไม่มีน้ำส่งผลให้ ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้ เนื่องจากไม่มีเขื่อนกั้นน้ำ ดังนั้นจึงอยากให้กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เข้ามาดูแหล่งน้ำหลักที่ชาวบ้านใช้ร่วมกัน ซึ่งจะต้องมี การวางแผนแม่บทในการพัฒนาการเกษตรและพัฒนาแหล่งน้ำ - ยางพารา จากการที่นายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้เกษตรกรภาคอีสานปลูก ยางพารามากขึ้น ทางกระทรวงเกษตรฯ จึงควรส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพ ในการทำปศุสัตว์ด้วย โดยให้กระทรวงเกษตรฯ จัดทำโครงการโคเอื้ออาทร ให้ชาวบ้านนำไปเลี้ยงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว* ลำมาด คือ แม่น้ำสายเล็ก ๆ - แรงานที่จะเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ เนื่องจากในอดีตไม่มี มาตรการกวดขัน จึงมีการหลอกลวงแรงงานเกิดขึ้น แต่ในปัจจุบันรัฐบาล เข้มงวดในการปราบปรามแรงงานเถื่อนและการปล่อยเงินกู้นอกระบบ จึงส่งผลให้แรงงานที่จะเดินทางไปต่างประเทศไม่มีเงินทุน จึงอยากให้ กระทรวงแรงงานจัดเงินทุนให้แก่แรงงานได้กู้ยืม - ถนน จากการปฏิรูประบบราชการส่งผลให้ในปัจจุบันมี อบจ. และกรมทาง หลวงชนบท มาดูแลในเรื่องการสร้างถนน เพื่อไม่ให้เกิดความซับซ้อนใน การใช้งบประมาณ แต่ในการปฏิรูประบบราชการนั้น ถนนบางสายยังไม่ ได้อยู่ในความดูแลของ อบจ. และกรมทางหลวงชนบท ดังนั้น เมื่อถนน เหล่านั้นชำรุด จึงไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม นายมุข สุไลมาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี พรรคไทยรักไทยได้อภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวกับยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจและทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายแสนล้านบาท โดยยางพาราปลูกมากในภาคใต้ถึงร้อยละ ๙๐ และเป็นอาชีพหลักของภาคใต้ โดยเศรษฐกิจของภาคใต้ขึ้นอยู่กับราคายางพารา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ที่รัฐบาลเข้ามาแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ส่งผลให้ราคายางพาราสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ ๔๐ บาท ซึ่งราคายางที่สูงขึ้นนี้มีผลมาจากการปฏิรูประบบยางภายในประเทศของรัฐบาล โดยรัฐบาลไทยได้ร่วมกับรัฐบาลมาเลเซียและอินโดนีเซียจัดตั้งบริษัทกลางรับซื้อยางพาราทั้งหมดของทั้ง ๓ ประเทศ จึงสามารถกำหนดราคายางและกีดกันไม่ให้พ่อค้า คนกลางมากดราคาได้ดังเช่นในอดีต ดังนั้นรัฐบาลควรเพิ่มพื้นที่ในการปลูกยาง เพราะยางมีราคาดีและตลาดโลกยังต้องการอีกมาก ในส่วนตัวมีข้อสงสัยว่า โครงการยางเอื้ออาทรจะมีผลในทางปฏิบัติเมื่อใด ส่วนข้อผิดพลาดในอดีตที่ทำให้ราคายางตก ซึ่งรัฐบาลต้องรีบแก้ไขดังต่อไปนี้ - ผิดพลาด เนื่องจากเข้าใจผิดว่ายางพาราล้นตลาด ทำให้ลดพื้นที่ในการ ปลูกยางและเกษตรกรต้องรีบขายยางราคาจึงตก - การแทรกแซงราคายางผิดพลาด เงินของรัฐบาลที่เข้าไปแทรกแซงราคายาง ไม่ถึงมือเกษตรกร แต่ตกอยู่กับพ่อค้าคนกลาง รัฐจึงสูญเสียงบประมาณ เป็นจำนวนมาก และจากรายงานการแทรกแซงราคายางพบว่ามีการซื้อ ยางจากพ่อค้าคนกลางและนำไปขายต่ำกว่าต้นทุนให้กับต่างประเทศ รัฐบาลจึงมีการสอบสวนพบว่าการดำเนินโครงการแทรกแซงราคายาง มีการทุจริตซับซ้อนข้ามชาติและแสวงหาผลประโยชน์อย่างแยบยล รัฐจึง ต้องนำเงินงบประมาณไปชดเชยการขาดทุนดังกล่าว ดังนั้นจึงมีความคิด ว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรมีการสอบสวน และเร่งดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเจ้าหน้าที่ได้ส่งเรื่องการ สอบสวนไปให้กระทรวงเกษตรดำเนินการนานแล้ว แต่รัฐมนตรีช่วยฯ ยัง ไม่ดำเนินการใด ๆ นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงกรณีที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯ ดังนี้ - ความคืบหน้าของโครงการสวนยางเอื้ออาทร ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลทำขึ้น เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกรที่เข้าไปปลูกยางในป่ามานานเป็น ๑๐ ปี และ ผลผลิตที่ได้จากต้นยางมีน้อย เกษตรกรจึงต้องทำการตัดต้นยางที่แก่ เพื่อ ปลูกใหม่ แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากในอดีตมีการจำกัดพื้นที่ในการ ปลูกยางและห้ามเช่าพื้นที่ป่า ดังนั้นนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเกษตรกรปลูก ยางพารามานานแล้ว และเป็นอาชีพสุจริต จึงเห็นว่าควรที่จะเพิ่มพื้นที่ ในการปลูกยาง โดยจัดทำโครงการส่วนยางเอื้ออาทรขึ้น และให้เกษตรกร เช่าพื้นที่ป่าในการปลูกยางให้ถูกต้อง โดยรัฐบาลได้เร่งให้กรมป่าไม้ส่ง มอบพื้นที่ให้กับองค์การสวนยางโดยเร็ว ซึ่งจะตั้งคณะกรรมการร่วม ระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ในการ จัดสรรพื้นที่ให้กับเกษตรกรและอนุญาตให้เกษตรกรเข้าไปใช้พื้นที่ป่า อย่างถูกกฎหมาย