กรุงเทพ--22 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้ประสานงาน ACD ได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการสัมมนาระหว่างนักวิชาการของประเทศ ACD ภายใต้ชื่อว่า ACD High Level Seminar on Asia Cooperation and Development จัดโดย Boao Forum for Asia เครือข่ายคลังสมองของเอเชียตะวันออก และสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ของกระทรวงการต่างประเทศที่เมืองชิงต่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน การสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมทางวิชาการครั้งแรกของ ACD และผลที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ACD ครั้งที่ 3 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 2547
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวว่า เราจะต้องจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบโลกาภิวัตน์ เพื่อให้แน่ใจว่าผลของโลกาภิวัตน์จะนำมาซึ่งประโยชน์และความสำเร็จของประเทศต่าง ๆ มากกว่าความล้มเหลวและความทุกข์ยาก ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำถึงความจำเป็นที่ประเทศในเอเชียจะต้องรวมพลังกันเพื่อจัดการความท้าทายซึ่งเป็นผลเสียของระบบโลกาภิวัตน์ รวมทั้งร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเอเชีย ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนด้วยการรวมพลังและจุดเด่นจากความแตกต่างและความหลากหลายในภูมิภาคเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันของเอเชีย และความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุผลนี้เอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย จึงได้ริเริ่ม ACD ขึ้นในปี 2545 ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เรียกร้องให้บรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการสัมมนาฯ ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นความท้าทายใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในพัฒนาการของโลกปัจจุบัน อันจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของเอเชีย คือ การส่งเสริม ขีดความสามารถในการแข่งขันของเอเชีย โดยการขยายการค้าระหว่างกัน การพัฒนาทรัยากรมนุษย์ การสร้างความมั่นคงทางการเงินการคลังของเอเชีย เพื่อให้เอเชียเป็นหุ้นส่วนด้านการค้าและการลงทุน ที่เข้มแข็งกับภูมิภาคอื่น ๆ ความร่วมมือด้านความมั่นคงและยุทธศาสตร์ทางพลังงานของเอเชีย และการมีความร่วมมือทางด้านการเกษตรเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในโอกาสนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ขอให้ประเทศสมาชิก ACD มอบหมายให้สถาบันวิชาการของแต่ละประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ACD เนื่องจากสถาบันต่างๆ นี้ จะสามารถเสนอแนะข้อคิดเห็นที่สำคัญในเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ในการที่จะช่วยให้ ACD เป็นกรอบ ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย
ในวันเดียวกันนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีอาเซียน-จีน โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องต่างๆ รวมทั้งสถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะหุ้นส่วน และบทบาทของจีนในการส่งเสริมความมั่นคงในภูมิภาค นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ยังได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ปากีสถาน สิงคโปร์ คาซัคสถาน บาเรนห์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้ประสานงาน ACD ได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการสัมมนาระหว่างนักวิชาการของประเทศ ACD ภายใต้ชื่อว่า ACD High Level Seminar on Asia Cooperation and Development จัดโดย Boao Forum for Asia เครือข่ายคลังสมองของเอเชียตะวันออก และสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ของกระทรวงการต่างประเทศที่เมืองชิงต่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน การสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมทางวิชาการครั้งแรกของ ACD และผลที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ACD ครั้งที่ 3 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 2547
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวว่า เราจะต้องจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบโลกาภิวัตน์ เพื่อให้แน่ใจว่าผลของโลกาภิวัตน์จะนำมาซึ่งประโยชน์และความสำเร็จของประเทศต่าง ๆ มากกว่าความล้มเหลวและความทุกข์ยาก ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำถึงความจำเป็นที่ประเทศในเอเชียจะต้องรวมพลังกันเพื่อจัดการความท้าทายซึ่งเป็นผลเสียของระบบโลกาภิวัตน์ รวมทั้งร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเอเชีย ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนด้วยการรวมพลังและจุดเด่นจากความแตกต่างและความหลากหลายในภูมิภาคเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันของเอเชีย และความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุผลนี้เอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย จึงได้ริเริ่ม ACD ขึ้นในปี 2545 ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เรียกร้องให้บรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการสัมมนาฯ ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นความท้าทายใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในพัฒนาการของโลกปัจจุบัน อันจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของเอเชีย คือ การส่งเสริม ขีดความสามารถในการแข่งขันของเอเชีย โดยการขยายการค้าระหว่างกัน การพัฒนาทรัยากรมนุษย์ การสร้างความมั่นคงทางการเงินการคลังของเอเชีย เพื่อให้เอเชียเป็นหุ้นส่วนด้านการค้าและการลงทุน ที่เข้มแข็งกับภูมิภาคอื่น ๆ ความร่วมมือด้านความมั่นคงและยุทธศาสตร์ทางพลังงานของเอเชีย และการมีความร่วมมือทางด้านการเกษตรเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในโอกาสนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ขอให้ประเทศสมาชิก ACD มอบหมายให้สถาบันวิชาการของแต่ละประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ACD เนื่องจากสถาบันต่างๆ นี้ จะสามารถเสนอแนะข้อคิดเห็นที่สำคัญในเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ในการที่จะช่วยให้ ACD เป็นกรอบ ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย
ในวันเดียวกันนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีอาเซียน-จีน โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องต่างๆ รวมทั้งสถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะหุ้นส่วน และบทบาทของจีนในการส่งเสริมความมั่นคงในภูมิภาค นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ยังได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ปากีสถาน สิงคโปร์ คาซัคสถาน บาเรนห์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-