นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าไทยมีการใช้สิทธิส่งออก
ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียนไตร
มาสแรกของ
ปี 2547 (ม.ค. — มี.ค.) ไทย ส่งออกไปอาเซียน 9 ประเทศ มีมูลค่า 4,866 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ มีการใช้สิทธิ
ส่งออกภายใต้ CEPT มูลค่า 827 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2546
ซึ่งมีมูลค่า 510
ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 62
ประเทศที่ไทยส่งออกภายใต้ CEPT มากที่สุด คือ อินโดนีเซีย ซึ่งมีมูลค่า 286 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งมีมูลค่า 239 , 151 และ 121
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สำหรับอัตราภาษีที่ได้รับการลดหย่อนของประเทศสมาชิกเดิมจะอยู่ ระหว่างร้อย
ละ 10 — 40 ส่วนประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา จะได้รับ
การลดหย่อนอัตราภาษีระหว่างร้อยละ 2.5 —10
โครงสร้างสินค้าที่ใช้สิทธิ CEPT ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการ
ใช้สิทธิฯ คิดเป็นร้อยละ 89 ของมูลค่าการใช้สิทธิ ส่วนสินค้าเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 11
สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ ขยายตัวสูงแยกเป็น ประเภทสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่ ยานยนต์
เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ กระดาษที่ใช้เพื่อการอนามัย สินค้าประเภทวัตถุดิบ ได้แก่ เม็ด
พลาสติกโพลิ(ไวนิลคลอไรด์) แผ่นหรือฟิล์มทำจากพลาสติก กระดาษพิมพ์ หลอดหรือท่อเหล็ก ลวดเกลียวและ
สริง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าเนื่องจากในปี 2547 ประเทศสมาชิกเดิม
อาเซียนได้ลดภาษีเหลือ 0-5% เป็นจำนวนร้อยละ 99.60 โดยมีสินค้ารวมถึง 49,218 รายการ
ผู้ส่งออกหรือ
ผู้ประกอบการจึงควรติดตามรายละเอียดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถใช้สิทธิได้อย่างถูกต้องและได้
รับ
ประโยชน์สูงสุด และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ
โทร. 0-2547-4872
โทรสาร 0-2547-4816 www.dft.moc.go th , e-mail :
[email protected]
--กรมการค้าต่างประเทศ มิถุนายน 2547--
-สส-
ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียนไตร
มาสแรกของ
ปี 2547 (ม.ค. — มี.ค.) ไทย ส่งออกไปอาเซียน 9 ประเทศ มีมูลค่า 4,866 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ มีการใช้สิทธิ
ส่งออกภายใต้ CEPT มูลค่า 827 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2546
ซึ่งมีมูลค่า 510
ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 62
ประเทศที่ไทยส่งออกภายใต้ CEPT มากที่สุด คือ อินโดนีเซีย ซึ่งมีมูลค่า 286 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งมีมูลค่า 239 , 151 และ 121
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สำหรับอัตราภาษีที่ได้รับการลดหย่อนของประเทศสมาชิกเดิมจะอยู่ ระหว่างร้อย
ละ 10 — 40 ส่วนประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา จะได้รับ
การลดหย่อนอัตราภาษีระหว่างร้อยละ 2.5 —10
โครงสร้างสินค้าที่ใช้สิทธิ CEPT ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการ
ใช้สิทธิฯ คิดเป็นร้อยละ 89 ของมูลค่าการใช้สิทธิ ส่วนสินค้าเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 11
สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ ขยายตัวสูงแยกเป็น ประเภทสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่ ยานยนต์
เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ กระดาษที่ใช้เพื่อการอนามัย สินค้าประเภทวัตถุดิบ ได้แก่ เม็ด
พลาสติกโพลิ(ไวนิลคลอไรด์) แผ่นหรือฟิล์มทำจากพลาสติก กระดาษพิมพ์ หลอดหรือท่อเหล็ก ลวดเกลียวและ
สริง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าเนื่องจากในปี 2547 ประเทศสมาชิกเดิม
อาเซียนได้ลดภาษีเหลือ 0-5% เป็นจำนวนร้อยละ 99.60 โดยมีสินค้ารวมถึง 49,218 รายการ
ผู้ส่งออกหรือ
ผู้ประกอบการจึงควรติดตามรายละเอียดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถใช้สิทธิได้อย่างถูกต้องและได้
รับ
ประโยชน์สูงสุด และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ
โทร. 0-2547-4872
โทรสาร 0-2547-4816 www.dft.moc.go th , e-mail :
[email protected]
--กรมการค้าต่างประเทศ มิถุนายน 2547--
-สส-