แท็ก
อุตสาหกรรม
หัตถอุตสาหกรรม ที่ได้นำมาศึกษานี้ มีความหมายถึงงานอุตสาหกรรมหัตถกรรมในครัวเรือนที่ทำกันอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นชนบทและอุตสาหกรรมหัตถกรรมที่พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิตบางขั้นตอนหรือเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยพิจารณาแบ่งประเภทสินค้าหัตถอุตสาหกรรมตามลักษณะของการผลิตและวัตถุดิบ ได้แก่ ผ้าและผลิตภัณฑ์ผ้า ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และหวาย เครื่องรัก ผลิตภัณฑ์เส้นใยพืช เครื่องปั้นดินเผา เครื่องโลหะ เครื่องไม้ เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องจากเปลือกหอย ผลิตภัณฑ์จากเขาสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากกระดูกสัตว์ เครื่องแก้ว ผลิตภัณฑ์หินและผลิตภัณฑ์เรซิ่น หัถอุตสาหกรรมมีการพัฒนาระบบการผลิตเรื่อยมา จากที่ไว้ใช้ในครัวเรือนจนปัจจุบันเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่สามารถส่งออกนำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก การส่งออกสินค้าหัตถอุตสาหกรรมเป็นนโยบายหนึ่งที่รัฐให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจัยที่จะผลักดันให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะการส่งออกก่อให้เกิดการขยายการลงทุน สร้างความต้องการแรงงงานให้แก่ประเทศ ลดการขาดดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value added) ให้แก่ทรัพยากรช่วยลดต้นทุนการผลิต (Economy of Scale) และช่วยสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิต จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจและการเงินในกลางปี 2540 และจากการปฏิบัติเงื่อนไขของ IMF รวมทั้งการปล่อยให้ค่าเงินลอยตัว มีผลทำให้ยอดการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งรวมสินค้าหัตถอุตสาหกรรมของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2541 เป็นต้นมา ทั้งนี้เป็นเพราะค่าเงินบาทที่ลดลงจึงทำให้การสั่งซื้อของจากต่างประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกสินค้าหัตถอุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน บางประเภทมีการส่งออกเพิ่มขึ้น บางประเภทส่งออกน้อยลง ขึ้นอยู่กับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าหัตถอุตสาหกรรมแต่ละประเภทนั้นๆ ถึงแม้ว่าภาครัฐจะให้การสนับสนุนกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการส่งออก นับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในปี 2504 จนถึงแผนฯ ปัจจุบันคือแผน ฯ ฉบับที่ 8 (2540-2544) นโยบายการส่งเสริมการส่งออกเริ่มเห็นได้และเป็นรูปธรรมขึ้นตั้งแต่แผนที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) เป็นต้นมา แต่ก็ยังเกิดปัญหาข้อจำกัดต่างๆ ขึ้น เช่น ในด้านการผลิต มีปัญาหาขาดแคลนวัตถุดิบ กรรมวิธีที่ล้าสมัย การขาดากรพัฒนาเทคโนโลยีคุณภาพ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยังขาดความรู้และทักษะในการบริหารที่เป็นระบบ ทำให้ผลิตภาพ (Productivity) การผลิตต่ำ ในด้านการตลาดประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น ค่าจ้างแรงงาน รูปแบบสินค้ายังมีการพัฒนาน้อยขาดการส่งเสริมออกแบบอย่างจริงจัง ระบบข่าวสารข้อมูลยังขาดประสิทธิภาพ ในด้านบุคลากรก็มีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือและบุคคลที่มีทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีการจัดการและการตลาด นอกจากนี้โครงสร้างทางด้านภาษีอากร กฏระเบียบของรัฐที่เกี่ยวข้องและบริการพื้นฐานทางด้านสาธารณูปโภค ก้ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งออก จากการศึกษาสภาวะ การส่งออกสินค้าหัตถอุตสาหกรรมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคที่เป็นอยู่ รวมถึงแนวนโยบายการส่งเสริมภาครัฐและข้อเสนอแนะมาตรการในการส่งเสริมที่กล่าวมาแล่วนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการที่สนใจจะดำเนินธุรกิจการส่งออกที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะผุ้ผลิตผู้ประกอบการรายใหม่ งานศึกษานี้ยังได้เสนอแนวทางการเข้าสู่ธุรกิจส่งออกที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงจะต้องคำนึงในเบื้องต้นที่มีอยู่ 3 ประการคือ ความพร้อมของผู้ส่งออก สินค้าและตลาด ดังนี้ 1. ผู้ส่งออกจะต้องมีความพร้อมในด้านเงินทุน มีสถานที่ดำเนินการ มีความพร้อมของเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ความพร้อมของตัวสินค้า และต้องทราบกำลังการผลิตและความสามารถในการส่งออกของตนเอง 2. ผู้ส่งออกควรทำการศึกษาวิจัยตลาดของสินค้าแต่ละชนิดและเลือกสินค้าเพียงจำนวนน้อยชนิดก่อนรวมถึงต้องศึกษาข้อจำกัดให้ถ่องแท้ ต้องทราบปัญหาในการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก มีความเข้าใจในหลักเกณฑ์การตั้งราคาเพื่อการส่งออก มีมาตรการในการควบคุมคุณภาพสินค้า และมีความพร้อมในการออกแบบสินค้าหรือปรับปรุงสินค้าให้เหมาะสม
3. ในการเลือกตลาดอาจกระทำได้ 2 วิธีคือการวิจัยบนโต๊ะ (Desk Research) โดยหาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและองค์เอกชนที่เกี่ยวข้องในด้านข้อมูลสถิติ รายชื่อ การแข่งขันของประเทศอื่นๆ กฏระเบียบของประเทศที่จะทำการค้าด้วย ฯลฯ อีกวิธีคือการวิจัยโดยการออกไปเก็บข้อมูล (Field Research) เพื่อให้เห็นสภาวะที่แท้จริงของตลาดและมีโอกาสได้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง 4. เมื่อเลือกตลาดได้แล้ว ก็ควรจะทดลองตลาดโดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า ทั้งร่วมงานแสดงด้วยตนเอง หรือจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ การเข้าร่วมกับคณะผู้แทนการค้าที่เดินทางไปเยี่ยมตลาดซึ่งอาจจะอุปถัมภ์โดยรัฐบาลหรือสมาคมการค้า หรืออาจจะประชาสัมพันธ์สินค้าของตนโดยวิธีอื่นๆ เช่น จัดทำจดหมายพร้อมสื่อโฆษณาสินค้าตนส่งไปให้ลูกค้าสนใจโดยตรง หรือส่งให้หน่วยงานทีรับผิดชอบช่วยเผยแพร่ หรือจะโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้คนรู้จัก เป็นต้น สิ่งสำคัญอีกอันหนึ่งที่ผู้ผลิตผู้ส่งออกควรจะรู้และทำความเข้าใจคือ กฏระเบียบ ข้อควรปฏิบัติและขั้นตอนการส่งออกของสินค้าหัตถอุตสาหกรรม เช่น สินค้าที่ควบคุมในการส่งออกต่างประเทศ สินค้ามาตรฐาน การเสียภาษีอากรและสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรเพื่อการส่งออก กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นต้น ซึ่งในรายงานการศึกษานี้ได้รวบรวมเสนอ พร้อมทั้งได้รวมวิธีการ ขั้นตอนการส่งออก เอกสาร กฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าหัตถอุตสาหกรรมไว้เพื่อเป็นความรู้และเป็นแนวทางให้ผู้ที่จะดำเนินธุรกิจส่งออกได้ทราบและเตรียมปฏิบัติได้ถูกต้อง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
3. ในการเลือกตลาดอาจกระทำได้ 2 วิธีคือการวิจัยบนโต๊ะ (Desk Research) โดยหาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและองค์เอกชนที่เกี่ยวข้องในด้านข้อมูลสถิติ รายชื่อ การแข่งขันของประเทศอื่นๆ กฏระเบียบของประเทศที่จะทำการค้าด้วย ฯลฯ อีกวิธีคือการวิจัยโดยการออกไปเก็บข้อมูล (Field Research) เพื่อให้เห็นสภาวะที่แท้จริงของตลาดและมีโอกาสได้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง 4. เมื่อเลือกตลาดได้แล้ว ก็ควรจะทดลองตลาดโดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า ทั้งร่วมงานแสดงด้วยตนเอง หรือจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ การเข้าร่วมกับคณะผู้แทนการค้าที่เดินทางไปเยี่ยมตลาดซึ่งอาจจะอุปถัมภ์โดยรัฐบาลหรือสมาคมการค้า หรืออาจจะประชาสัมพันธ์สินค้าของตนโดยวิธีอื่นๆ เช่น จัดทำจดหมายพร้อมสื่อโฆษณาสินค้าตนส่งไปให้ลูกค้าสนใจโดยตรง หรือส่งให้หน่วยงานทีรับผิดชอบช่วยเผยแพร่ หรือจะโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้คนรู้จัก เป็นต้น สิ่งสำคัญอีกอันหนึ่งที่ผู้ผลิตผู้ส่งออกควรจะรู้และทำความเข้าใจคือ กฏระเบียบ ข้อควรปฏิบัติและขั้นตอนการส่งออกของสินค้าหัตถอุตสาหกรรม เช่น สินค้าที่ควบคุมในการส่งออกต่างประเทศ สินค้ามาตรฐาน การเสียภาษีอากรและสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรเพื่อการส่งออก กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นต้น ซึ่งในรายงานการศึกษานี้ได้รวบรวมเสนอ พร้อมทั้งได้รวมวิธีการ ขั้นตอนการส่งออก เอกสาร กฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าหัตถอุตสาหกรรมไว้เพื่อเป็นความรู้และเป็นแนวทางให้ผู้ที่จะดำเนินธุรกิจส่งออกได้ทราบและเตรียมปฏิบัติได้ถูกต้อง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-