การผลิต
ภาคเกษตร
จากข้อมูลเบื้องต้นผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือในปี 2546 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 4.6ตามการเพิ่มขึ้นของ
ผลผลิตข้าวและพืชไร่เป็นสำคัญโดยผลผลิตข้าวนาปีและข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ13.0 และ11.1เนื่องจากปริมาณน้ำฝนเพียงพอ
และกระจายตัวดีในช่วงเพาะปลูก ประกอบกับเกษตรกรเพิ่มการปลูกข้าวนาปรังทดแทนส่วนที่เสียหายจากน้ำท่วมเมื่อปลายปีก่อน
ด้านพืชไร่ทั้งผลผลิตอ้อยโรงงานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 7.2 ตามลำดับ
เป็นผลจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามผลผลิตพืชสวนประเภทกระเทียม หอมแดง และหอมหัวใหญ่
ลดลงร้อยละ 18.3 ร้อยละ 6.7และร้อยละ 43.6 ตามลำดับเนื่องจากกระทบฝนช่วงเก็บเกี่ยวทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายขณะ
ที่ผลไม้สำคัญ เช่นลำไย และลิ้นจี่ ผลผลิตลดลงร้อยละ 28.9 และร้อยละ 8.0 ตามวัฏจักรที่มักจะให้ผลผลิตมากปีเว้นปี
ด้านราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 5.7 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี5%ข้าวเปลือก
เจ้านาปรัง 14-15% และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ9.7 ร้อยละ 3.7 และร้อยละ 4.8ตามแนวโน้มราคาในตลาด
โลกและมาตรการแทรกแซงราคาของภาครัฐ ด้านราคาพืชสวนและผลไม้เพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงโดยราคากระเทียมแห้งใหญ่
หอมหัวใหญ่ ลำไย และลิ้นจี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ร้อยละ 193.1ร้อยละ 31.7 และร้อยละ 55.0 ตามลำดับส่วนราคาอ้อย
โรงงานลดลงร้อยละ 8.2 ตามกำหนดราคาขั้นต้นที่ลดลงเป็นสำคัญ
จากปริมาณผลผลิตและราคาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากพืชสำคัญดังกล่าวในเขตภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตภาคเกษตร
และราคาพืชผลสำคัญในภาคเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
2545 E 2546 E
ผลผลิต -5.7 4.6
ราคา 3.1 5.7
มูลค่า -2.6 10.3
หมายเหตุ : E ตัวเลขประมาณการ
ที่มา : จากการคำนวณ
ข้าว ผลผลิตข้าวในภาคเหนือปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เป็น 7.4 ล้านเมตริกตันตามผลผลิตข้าวนาปีฤดูกาลผลิต
2546/47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ13.0 เป็น 5.5 ล้านเมตริกตันเนื่องจากปริมาณน้ำฝนเพียงพอและกระจายตัวดีในช่วงต้นฤดูเพาะปลูก
ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นด้านผลผลิตข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เป็น1.9 ล้านเมตริกตัน ส่วนหนึ่งจากการปลูกทดแทนผลผลิตที่
เสียหายจากน้ำท่วมเมื่อปลายปีก่อนประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
ด้านราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ปี 2546 สูงกว่าปีก่อนโดยราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% และข้าว
นาปรังความชื้น 14-15% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.7 และร้อยละ 3.7เป็นเมตริกตันละ 4,987และ 4,557 บาท ตามลำดับ
ตามแนวโน้มราคาข้าวในตลาดโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับมาตรการแทรกแซงราคาของภาครัฐช่วยรักษาระดับราคาที่เกษตรกร
ขายได้ให้อยู่ในเกณฑ์ดี
ผลผลิตและราคาข้าวในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน)
รวม 7,962,064 6,603,406 7,429,843
(9.6) (-17.1) (12.5)
ข้าวนาปี 5,760,935 ,871,102 5,505,390
(6.4) (-15.4) (13.0)
ข้าวนาปรัง 2,201,129 1,732,304 1,924,453
(18.8) (-21.3) (11.1)
ราคา (บาท/เมตริกตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% 4,341 4,548 4,987
(-3.3) (4.8) (9.7)
ข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาว 5,543 5,481 5,661
(10.1) (-1.1) (3.3)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 14-15% 4,009 4,394 4,557
(-1.5) (9.6) (3.7)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พื้นที่เพาะปลูกใกล้เคียงกับปีก่อนผลผลิตผลิตข้าวโพดฤดูกาลผลิต 2546/47เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ
2.4 เป็น 2,393,867 เมตริกตันจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นด้านราคาที่เกษตรกรขายได้ปี 2546 ราคา
เฉลี่ยข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14% กิโลกรัมละ 4.33 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.8 ตามความต้องการรับซื้อที่เพิ่มขึ้นและ
แนวโน้มราคาในตลาดโลก
ผลผลิตและราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 2,333,212 2,338,493 2,393,867
(-0.5) (0.2) (2.4)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 3.79 4.13 4.33
(-8.8) (9.1) (4.8)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อ้อยโรงงาน ผลผลิตอ้อยโรงงานในภาคเหนือผลผลิตและราคาอ้อยโรงงานในภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46 เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนร้อยละ 21.7เป็น 15,652,206 เมตริกตันเนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับการระบาดของหนอนกอและ
โรคใบขาวลดลงทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นด้านราคาเฉลี่ยลดลงร้อยละ 8.2เหลือเมตริกตันละ 529 บาทจากการกำหนดราคาอ้อย
ขั้นต้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2546 และแนวโน้มราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างไรก็ตามปริมาณ
ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมากทำให้มูลค่ารับซื้ออ้อยที่เข้าหีบในโรงงานน้ำตาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.3 เป็น
8,877.8 ล้านบาท
ผลผลิตและราคาอ้อยโรงงานในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 1,391,682 2,863,333 15,652,206
(-13.0) (23.8) (21.7)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 709 576 529
(35.5) (-18.8) (-8.2)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริมาณอ้อยเข้าหีบของโรงงานน้ำตาลในภาคเหนือ
2543/44 2544/45 2544/45
ปริมาณอ้อยเข้าหีบ * (เมตริกตัน) 11,497,745 13,987,975 16,793,197
(-4.1) (21.7) (20.1)
อ้อยสด 3,705,171 3,709,750 4,551,849
(4.0) (37.1) (22.7)
อ้อยไฟไหม้ 8,792,574 10,278,224 12,241,349
(-6.3) (16.9) (19.1)
ราคาอ้อยเฉลี่ย ** (บาท/เมตริกตัน) 709 576 529
(35.5) (-18.8) (-8.2)
มูลค่ารับซื้ออ้อย ** (ล้านบาท) 8,151.8 8,052.0 8,877.8
(30.0) (-1.2) (10.3)
ความหวานเฉลี่ย ** (C.C.S.) 11.34 11.44 10.97
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
* ประกอบด้วยโรงงานเชียงใหม่ แม่วัง อุตรดิตถ์ไทยเอกลักษณ์ กำแพงเพชร นครเพชร พิษณุโลก รวมผล
ไทยรุ่งเรืองและน้ำตาลกาญจนบุรี
** จากการคำนวณ
ที่มา : กองวิชาการ บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด
มันสำปะหลังพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาในปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ผลผลิต
ต่อไร่ใกล้เคียงปีก่อน ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังของภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.2 เป็น
2,463,377 เมตริกตันด้านราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยในปี2546ลดลงจากปีก่อนราคาเฉลี่ยมันสำปะหลังสดคละ
กิโลกรัมละ0.88 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.2 ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
ผลผลิตและราคามันสำปะหลังในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 2,549,433 2,298,346 2,463,377
(-4.5) (-9.8) (7.2)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 0.66 0.93 0.88
(26.9) (40.3) (-5.2)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ราคารับซื้ออ้อยจำแนกรายเขตของโรงงานน้ำตาลในภาคเหนือ
2545/46 2546/47
เขต โรงงาน ราคาอ้อยที่ ราคาเพิ่ม/ลด C.C.S.เฉลี่ย ราคาอ้อยเฉลี่ย ราคาอ้อยที่ ราคาเพิ่ม/ลด C.C.S.เฉลี่ย ราคาอ้อยเฉลี่ย
10 C.C.S.* ต่อ 1 C.C.S.* 10 C.C.S.** ต่อ 1 C.C.S.**
(บาท) (บาท) (C.C.S.) (บาท/เมตริกตัน) (บาท) (บาท) (C.C.S.) (บาท/เมตริกตัน)
เหนือ 1 เชียงใหม่ 530 31.8 12.85 620.6 500 29.4 11.50 544.1
แม่วัง 530 31.8 12.35 604.7 500 29.4 11.32 538.8
อุตรดิตถ์ 530 31.8 11.76 586.0 500 29.4 11.01 529.7
ไทยเอกลักษณ์ 530 31.8 11.63 581.8 500 29.4 11.27 537.3
เหนือ 2 กำแพงเพชร 530 31.8 10.08 532.5 500 29.4 10.37 510.9
นครเพชร 530 31.8 10.53 546.9 500 29.4 11.19 535.0
เหนือ 3 พิษณุโลก 530 31.8 11.12 565.6 500 29.4 11.00 529.4
เหนือ 4 เกษตรไทย 530 31.8 11.81 587.6 500 29.4 11.08 531.8
เหนือ 5 รวมผล 530 31.8 11.31 571.7 500 29.4 10.91 526.8
กลาง 2 ไทยรุ่งเรือง 530 31.8 11.82 587.9 500 29.4 10.90 526.5
กลาง 3 กาญจนบุรี 530 31.8 11.91 590.7 500 29.4 10.46 513.5
หมายเหตุ : * ราคาขั้นต้น ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544
** ราคาขั้นต้น ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2546
ที่มา : กองวิชาการ บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด
กระเทียม ผลผลิตกระเทียมของภาคเหนือฤดูกาลผลผลิตและราคากระเทียมในภาคเหนือผลิต 2545/46 ลดลงจาก
ปีก่อนร้อยละ18.3 เหลือ96,634 เมตริกตันเนื่องจากช่วงเพาะปลูกฝนตกชุกทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายด้านราคากระเทียม
ที่เกษตรกรขายได้ในปี 2546 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนโดยราคาเฉลี่ยกระเทียมแห้งใหญ่คละกิโลกรัมละ 29.41 บาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 5.4 ตามปริมาณผลผลิต
ผลผลิตและราคากระเทียมในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 122,995 118,312 96,634
(0.2) (-3.8) (-18.3)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 21.16 27.90 29.41
(-2.3) (31.9) (5.4)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หอมแดง ผลผลิตหอมแดงของภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46 ลดลงร้อยละ 6.7 เหลือ126,909เมตริกตันจากภาวะ
ฝนตกชุกทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายและคุณภาพด้อยลง ด้านราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2546 ราคาเฉลี่ยหอมแดงแห้งใหญ่คละ
กิโลกรัมละ 17.47 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 23.2ตามคุณภาพผลผลิตและความต้องการรับซื้อเพื่อส่งออกลดลงจากปีก่อน
ผลผลิตและราคาหอมแดงในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 146,522 136,061 126,909
(-10.1) (-7.1) (-6.7)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 17.93 22.74 17.47
(35.8) (26.8) (-23.2)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หอมหัวใหญ่ พื้นที่เพาะปลูกลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายภาครัฐที่ไม่สนับสนุนให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่ปลูกเนื่องจากที่
ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำอยู่เสมอ ประกอบกับภาวะฝนตกชุกทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายจากโรคระบาด
ผลผลิตหอมหัวใหญ่ในภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 43.6 เหลือ 38,916 เมตริกตัน ด้านราคาที่เกษตรกร
ขายได้ปี 2546 ราคาเฉลี่ยหอมหัวใหญ่เบอร์ 1 กิโลกรัมละ 21.42 บาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัวตามปริมาณผลผลิตที่ลดลง
ผลผลิตและราคาหอมหัวใหญ่ในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 75,104 69,023 38,916
(-14.8) (-8.1) (-43.6)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 6.97 7.31 21.42
(-2.6) (4.8) (193.1)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ลำไยปริมาณผลผลิตลำไยปี 2546 ลดลงจากปีก่อนตามวัฏจักรที่มักให้ผลผลิตมากปีเว้นปีผลผลิตลำไยในภาคเหนือลดลง
ร้อยละ 28.9 เหลือ 279,762เมตริกตันคุณภาพผลผลิตโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีราคาเฉลี่ยลำไยสดคละกิโลกรัมละ 11.92 บาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 31.7 ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงประกอบกับความต้องการรับซื้อเพื่อนำมาแปรรูปและส่งออกเป็นลำไยอบแห้ง
เพิ่มขึ้น ขณะที่มาตรการแทรกแซงราคาจากภาครัฐโดยการรับจำนำในปีนี้เข้มงวดมากขึ้น
ผลผลิตและราคาลำไยในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 174,371 393,662 279,762
(-48.2) (125.8) (-28.9)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 22.29 9.06 11.92
(-14.3) (-59.4) (31.7)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ลิ้นจี่ ผลผลิตจากแหล่งผลิตสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายฤดูกาลผลิต 2546 มีปริมาณประมาณ 59,000 เมตริกตัน
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.0 เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยทำให้การติดผลลดลงราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นโดยราคาเฉลี่ย
ลิ้นจี่คละกิโลกรัมละ 15.50 บาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 55.5ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงและคุณภาพผลผลิตที่อยู่ในเกณฑ์ดี
ผลผลิตและราคาลิ้นจี่ในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 35,519 64,121 59,000
(-9.3) (80.5) (-8.0)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 13.79 10.00 15.50
(-35.9) (-27.5) (55.0)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดภาคเหนือ
ใบยาเวอร์จิเนีย ปริมาณรับซื้อใบยาสูบเวอร์จิเนียในภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46 มีจำนวน 8,736,047กิโลกรัม
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 ตามปริมาณสต็อกของโรงงานยาสูบด้านคุณภาพผลผลิตใกล้เคียงปีก่อนราคารับซื้อเฉลี่ยลดลงเล็กน้อย
ร้อยละ 1.4 เป็นกิโลกรัมละ 65.7 บาท
ใบยาเบอร์เลย์ ปริมาณการรับซื้อในยาเบอร์เลย์ฤดูกาลผลิต 2544/45 มีจำนวน 28,692,414 กิโลกรัมใกล้เคียง
ปีก่อนด้านคุณภาพผลผลิตด้อยกว่าปีก่อนราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ในปีนี้กิโลกรัมละ 37.4 บาทลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.8
การรับซื้อใบยาเวอร์จิเนียของสำนักงานยาสูบในภาคเหนือ
2543/44 2544/45 2545/46
สำนักงานยาสูบ ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า
(กิโลกรัม) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท) (กิโลกรัม) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท) (กิโลกรัม) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท)
เชียงใหม่ 3,494,111 64.8 226.3 3,078,166 66.4 204.4 2,775,337 65.4 181.6
(-7.2) (-0.8) (-7.9) (-11.9) (2.5) (-9.7) (-9.8) (-1.5) (-11.2)
เชียงราย 2,637,747 66.1 174.4 2,738,601 67.5 184.8 2,221,590 66.9 148.6
(-5.1) (-2.0) (-7.1) (3.8) (2.1) (6.0) (-18.9) (-0.9) (-19.6)
แพร่ 4,253,232 64.2 272.9 5,443,987 66.4 361.5 3,739,120 65.2 243.8
(-20.9) (-1.6) (19.0) (28.0) (3.5) (32.5) (-31.3) (-1.8) (-32.5)
รวม 10,385,089 64.9 673.5 11,260,754 66.7 750.7 8,736,047 65.7 574.0
(-3.9) (-1.5) (-5.3) (8.4) (2.8) (11.5) (-22.4) (-1.4) (-23.5)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานยาสูบในภาคเหนือ
การรับซื้อใบยาแห้งพันธุ์เบอร์เลย์ของสำนักงานยาสูบในภาคเหนือ
2543/44 2544/45 2545/46
จังหวัด ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า
(เมตริกตัน) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท) (เมตริกตัน) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท) (เมตริกตัน) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท)
เพชรบูรณ์ 10,669,917 39.8 424.4 11,330,708 41.4 469.6 7,617,687 39.4 300.1
(25.3) (4.5) (30.9) (6.2) (4.2) (10.6) (-32.8) (-4.9) (-36.1)
สุโขทัย 12,542,670 38.2 478.9 16,915,580 40.8 690.8 20,257,751 36.9 746.9
(90.6) (6.7) (103.3) (34.9) (7.0) (44.3) (19.8) (-9.7) (8.1)
อุตรดิตถ์ 466,299 32.7 15.3 518,167 35.7 18.5 816,976 30.8 25.1
(29.8) 5.0) (23.3) (11.1) (8.9) (21.1) (57.7) (-13.7) (36.0)
รวม 23,678,886 38.8 918.5 28,764,455 41.0 1,178.8 28,692,414 37.4 1,072.1
(53.2) (4.8) (60.6) (21.5) (5.6) (28.3) (-0.3) (-8.8) (-9.1)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดในภาคเหนือ
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือปี 2546 ขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนทั้งการผลิตของอุตสาหกรรมส่งออกและ
อุตสาหกรรมผลิตเพื่อบริโภคในประเทศโดยอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูน มีมูลค่าการส่งออก
ผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.4 เป็น 1,266.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.เร่งตัวจากปีก่อนที่
ขยายตัวร้อยละ 15.0 ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ขยายตัวจากเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นสินค้าส่งออกสำคัญประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า
ทรานสฟอร์เมอร์และมอเตอร์ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตาอัญมณีเกมของเล่นและอุปกรณ์กีฬา เป็นต้น ด้านประเทศผู้นำเข้าที่มีมูลค่านำเข้า
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาก ได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และอิสราเอลการส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้
โรงงานต้องนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรและวัตถุดิบเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายกำลัง
การผลิตมากขึ้น มูลค่านำเข้าสินค้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.4เป็น 1,044.4 ล้านดอลลาร์
สรอ. ด้านอุตสาหกรรมส่งออกที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลักได้แก่การส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปและแช่แข็งมูลค่าส่งออกขยายตัวตาม
อุปสงค์จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นประกอบกับผู้ผลิตในจีนประสบปัญหาสารตกค้างและการระบาดของ SARS ขณะที่ผู้ผลิตในภาคเหนือ
สามารถรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าได้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการทำให้โอกาสในการส่งออกเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมเซรามิกสามารถหา
ตลาดส่งออกใหม่เพิ่มและได้รับผลดีจากการที่ผู้ผลิตในจีนถูกจำกัดโควตานำเข้าในประเทศแถบยุโรป ทำให้ยอดส่งออกขยายตัว ขณะที่
โรงงานหลายแห่งขยายกำลังผลิตหัตถอุตสาหกรรมในปีนี้ ยอดการส่งออกขยายตัว ผู้ส่งออกเน้นทำการตลาดโดยออกงานแสดงสินค้าทั้ง
ในและต่างประเทศ รวมทั้งขยายตลาดในระดับสูงเพิ่มขึ้น และพัฒนาช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง
ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตบริโภคในประเทศขยายตัวจากผลผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นมากร้อยละ 30.1เป็น
1.8 ล้านเมตริกตันตามปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นประกอบกับความเสียหาย
จากศัตรูพืชและโรคระบาดมีไม่มากนักด้านผลผลิตสังกะสีเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เป็น 113,685 เมตริกตันตามความต้องการใช้ใน
อุตสาหกรรมผลิตแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี ท่อโลหะอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และส่วนประกอบของยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามการ
ผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานในภาคเหนือลดลงซึ่งเป็นผลจากภาพรวมการส่งออกที่ลดลงประกอบกับภาครัฐไม่มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
เช่นปีก่อน
ภาคเหมืองแร่
ภาพรวมผลผลิตแร่ในภาคเหนือปี 2546 อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงปีก่อนโดยเลขดัชนีผลผลิตแร่ในภาคเหนือลดลงเล็กน้อย
ร้อยละ 0.9 ตามการลดลงของปริมาณผลผลิตแร่สำคัญ ได้แก่ผลผลิตลิกไนต์ลดลงร้อยละ3.5 และน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 6.9
อย่างไรก็ตามผลผลิตแร่อื่นส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลผลิตแร่สังกะสีเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.3 ตามความต้องการวัตถุดิบของอุตสาหกรรม
วัสดุก่อสร้างและอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ขยายตัว ผลผลิตดินขาวและบอลเคลย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 101.3 และ 34.5 ตามการขยายตัวของ
อุตสาหกรรมเซรามิกที่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นส่วนผลผลิตหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างและแร่ยิปซัมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และ
10.6 ตามภาพรวมการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัว
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีจากรายได้และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น สภาพแวดล้อมทางการเงินที่เอื้ออำนวย
อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ
ในปี 2546 กิจกรรมในกลุ่มยานพาหนะอยู่ในระดับดีภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
และมีช่องทางเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ตลอดจนเงื่อนไขการผ่อนชำระ ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ขยายตัวร้อยละ 34.0 โดยแม้ว่า
จะชะลอลงจากปีก่อน แต่มีปริมาณสูงถึง 49,489 คัน ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยเร่งตัวมากในไตรมาส 2 จากรายได้
เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจ
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
ภาคเกษตร
จากข้อมูลเบื้องต้นผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือในปี 2546 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 4.6ตามการเพิ่มขึ้นของ
ผลผลิตข้าวและพืชไร่เป็นสำคัญโดยผลผลิตข้าวนาปีและข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ13.0 และ11.1เนื่องจากปริมาณน้ำฝนเพียงพอ
และกระจายตัวดีในช่วงเพาะปลูก ประกอบกับเกษตรกรเพิ่มการปลูกข้าวนาปรังทดแทนส่วนที่เสียหายจากน้ำท่วมเมื่อปลายปีก่อน
ด้านพืชไร่ทั้งผลผลิตอ้อยโรงงานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 7.2 ตามลำดับ
เป็นผลจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามผลผลิตพืชสวนประเภทกระเทียม หอมแดง และหอมหัวใหญ่
ลดลงร้อยละ 18.3 ร้อยละ 6.7และร้อยละ 43.6 ตามลำดับเนื่องจากกระทบฝนช่วงเก็บเกี่ยวทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายขณะ
ที่ผลไม้สำคัญ เช่นลำไย และลิ้นจี่ ผลผลิตลดลงร้อยละ 28.9 และร้อยละ 8.0 ตามวัฏจักรที่มักจะให้ผลผลิตมากปีเว้นปี
ด้านราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 5.7 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี5%ข้าวเปลือก
เจ้านาปรัง 14-15% และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ9.7 ร้อยละ 3.7 และร้อยละ 4.8ตามแนวโน้มราคาในตลาด
โลกและมาตรการแทรกแซงราคาของภาครัฐ ด้านราคาพืชสวนและผลไม้เพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงโดยราคากระเทียมแห้งใหญ่
หอมหัวใหญ่ ลำไย และลิ้นจี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ร้อยละ 193.1ร้อยละ 31.7 และร้อยละ 55.0 ตามลำดับส่วนราคาอ้อย
โรงงานลดลงร้อยละ 8.2 ตามกำหนดราคาขั้นต้นที่ลดลงเป็นสำคัญ
จากปริมาณผลผลิตและราคาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากพืชสำคัญดังกล่าวในเขตภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตภาคเกษตร
และราคาพืชผลสำคัญในภาคเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
2545 E 2546 E
ผลผลิต -5.7 4.6
ราคา 3.1 5.7
มูลค่า -2.6 10.3
หมายเหตุ : E ตัวเลขประมาณการ
ที่มา : จากการคำนวณ
ข้าว ผลผลิตข้าวในภาคเหนือปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เป็น 7.4 ล้านเมตริกตันตามผลผลิตข้าวนาปีฤดูกาลผลิต
2546/47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ13.0 เป็น 5.5 ล้านเมตริกตันเนื่องจากปริมาณน้ำฝนเพียงพอและกระจายตัวดีในช่วงต้นฤดูเพาะปลูก
ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นด้านผลผลิตข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เป็น1.9 ล้านเมตริกตัน ส่วนหนึ่งจากการปลูกทดแทนผลผลิตที่
เสียหายจากน้ำท่วมเมื่อปลายปีก่อนประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
ด้านราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ปี 2546 สูงกว่าปีก่อนโดยราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% และข้าว
นาปรังความชื้น 14-15% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.7 และร้อยละ 3.7เป็นเมตริกตันละ 4,987และ 4,557 บาท ตามลำดับ
ตามแนวโน้มราคาข้าวในตลาดโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับมาตรการแทรกแซงราคาของภาครัฐช่วยรักษาระดับราคาที่เกษตรกร
ขายได้ให้อยู่ในเกณฑ์ดี
ผลผลิตและราคาข้าวในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน)
รวม 7,962,064 6,603,406 7,429,843
(9.6) (-17.1) (12.5)
ข้าวนาปี 5,760,935 ,871,102 5,505,390
(6.4) (-15.4) (13.0)
ข้าวนาปรัง 2,201,129 1,732,304 1,924,453
(18.8) (-21.3) (11.1)
ราคา (บาท/เมตริกตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% 4,341 4,548 4,987
(-3.3) (4.8) (9.7)
ข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาว 5,543 5,481 5,661
(10.1) (-1.1) (3.3)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 14-15% 4,009 4,394 4,557
(-1.5) (9.6) (3.7)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พื้นที่เพาะปลูกใกล้เคียงกับปีก่อนผลผลิตผลิตข้าวโพดฤดูกาลผลิต 2546/47เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ
2.4 เป็น 2,393,867 เมตริกตันจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นด้านราคาที่เกษตรกรขายได้ปี 2546 ราคา
เฉลี่ยข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14% กิโลกรัมละ 4.33 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.8 ตามความต้องการรับซื้อที่เพิ่มขึ้นและ
แนวโน้มราคาในตลาดโลก
ผลผลิตและราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 2,333,212 2,338,493 2,393,867
(-0.5) (0.2) (2.4)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 3.79 4.13 4.33
(-8.8) (9.1) (4.8)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อ้อยโรงงาน ผลผลิตอ้อยโรงงานในภาคเหนือผลผลิตและราคาอ้อยโรงงานในภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46 เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนร้อยละ 21.7เป็น 15,652,206 เมตริกตันเนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับการระบาดของหนอนกอและ
โรคใบขาวลดลงทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นด้านราคาเฉลี่ยลดลงร้อยละ 8.2เหลือเมตริกตันละ 529 บาทจากการกำหนดราคาอ้อย
ขั้นต้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2546 และแนวโน้มราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างไรก็ตามปริมาณ
ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมากทำให้มูลค่ารับซื้ออ้อยที่เข้าหีบในโรงงานน้ำตาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.3 เป็น
8,877.8 ล้านบาท
ผลผลิตและราคาอ้อยโรงงานในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 1,391,682 2,863,333 15,652,206
(-13.0) (23.8) (21.7)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 709 576 529
(35.5) (-18.8) (-8.2)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริมาณอ้อยเข้าหีบของโรงงานน้ำตาลในภาคเหนือ
2543/44 2544/45 2544/45
ปริมาณอ้อยเข้าหีบ * (เมตริกตัน) 11,497,745 13,987,975 16,793,197
(-4.1) (21.7) (20.1)
อ้อยสด 3,705,171 3,709,750 4,551,849
(4.0) (37.1) (22.7)
อ้อยไฟไหม้ 8,792,574 10,278,224 12,241,349
(-6.3) (16.9) (19.1)
ราคาอ้อยเฉลี่ย ** (บาท/เมตริกตัน) 709 576 529
(35.5) (-18.8) (-8.2)
มูลค่ารับซื้ออ้อย ** (ล้านบาท) 8,151.8 8,052.0 8,877.8
(30.0) (-1.2) (10.3)
ความหวานเฉลี่ย ** (C.C.S.) 11.34 11.44 10.97
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
* ประกอบด้วยโรงงานเชียงใหม่ แม่วัง อุตรดิตถ์ไทยเอกลักษณ์ กำแพงเพชร นครเพชร พิษณุโลก รวมผล
ไทยรุ่งเรืองและน้ำตาลกาญจนบุรี
** จากการคำนวณ
ที่มา : กองวิชาการ บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด
มันสำปะหลังพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาในปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ผลผลิต
ต่อไร่ใกล้เคียงปีก่อน ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังของภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.2 เป็น
2,463,377 เมตริกตันด้านราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยในปี2546ลดลงจากปีก่อนราคาเฉลี่ยมันสำปะหลังสดคละ
กิโลกรัมละ0.88 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.2 ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
ผลผลิตและราคามันสำปะหลังในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 2,549,433 2,298,346 2,463,377
(-4.5) (-9.8) (7.2)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 0.66 0.93 0.88
(26.9) (40.3) (-5.2)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ราคารับซื้ออ้อยจำแนกรายเขตของโรงงานน้ำตาลในภาคเหนือ
2545/46 2546/47
เขต โรงงาน ราคาอ้อยที่ ราคาเพิ่ม/ลด C.C.S.เฉลี่ย ราคาอ้อยเฉลี่ย ราคาอ้อยที่ ราคาเพิ่ม/ลด C.C.S.เฉลี่ย ราคาอ้อยเฉลี่ย
10 C.C.S.* ต่อ 1 C.C.S.* 10 C.C.S.** ต่อ 1 C.C.S.**
(บาท) (บาท) (C.C.S.) (บาท/เมตริกตัน) (บาท) (บาท) (C.C.S.) (บาท/เมตริกตัน)
เหนือ 1 เชียงใหม่ 530 31.8 12.85 620.6 500 29.4 11.50 544.1
แม่วัง 530 31.8 12.35 604.7 500 29.4 11.32 538.8
อุตรดิตถ์ 530 31.8 11.76 586.0 500 29.4 11.01 529.7
ไทยเอกลักษณ์ 530 31.8 11.63 581.8 500 29.4 11.27 537.3
เหนือ 2 กำแพงเพชร 530 31.8 10.08 532.5 500 29.4 10.37 510.9
นครเพชร 530 31.8 10.53 546.9 500 29.4 11.19 535.0
เหนือ 3 พิษณุโลก 530 31.8 11.12 565.6 500 29.4 11.00 529.4
เหนือ 4 เกษตรไทย 530 31.8 11.81 587.6 500 29.4 11.08 531.8
เหนือ 5 รวมผล 530 31.8 11.31 571.7 500 29.4 10.91 526.8
กลาง 2 ไทยรุ่งเรือง 530 31.8 11.82 587.9 500 29.4 10.90 526.5
กลาง 3 กาญจนบุรี 530 31.8 11.91 590.7 500 29.4 10.46 513.5
หมายเหตุ : * ราคาขั้นต้น ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544
** ราคาขั้นต้น ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2546
ที่มา : กองวิชาการ บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด
กระเทียม ผลผลิตกระเทียมของภาคเหนือฤดูกาลผลผลิตและราคากระเทียมในภาคเหนือผลิต 2545/46 ลดลงจาก
ปีก่อนร้อยละ18.3 เหลือ96,634 เมตริกตันเนื่องจากช่วงเพาะปลูกฝนตกชุกทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายด้านราคากระเทียม
ที่เกษตรกรขายได้ในปี 2546 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนโดยราคาเฉลี่ยกระเทียมแห้งใหญ่คละกิโลกรัมละ 29.41 บาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 5.4 ตามปริมาณผลผลิต
ผลผลิตและราคากระเทียมในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 122,995 118,312 96,634
(0.2) (-3.8) (-18.3)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 21.16 27.90 29.41
(-2.3) (31.9) (5.4)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หอมแดง ผลผลิตหอมแดงของภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46 ลดลงร้อยละ 6.7 เหลือ126,909เมตริกตันจากภาวะ
ฝนตกชุกทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายและคุณภาพด้อยลง ด้านราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2546 ราคาเฉลี่ยหอมแดงแห้งใหญ่คละ
กิโลกรัมละ 17.47 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 23.2ตามคุณภาพผลผลิตและความต้องการรับซื้อเพื่อส่งออกลดลงจากปีก่อน
ผลผลิตและราคาหอมแดงในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 146,522 136,061 126,909
(-10.1) (-7.1) (-6.7)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 17.93 22.74 17.47
(35.8) (26.8) (-23.2)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หอมหัวใหญ่ พื้นที่เพาะปลูกลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายภาครัฐที่ไม่สนับสนุนให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่ปลูกเนื่องจากที่
ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำอยู่เสมอ ประกอบกับภาวะฝนตกชุกทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายจากโรคระบาด
ผลผลิตหอมหัวใหญ่ในภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 43.6 เหลือ 38,916 เมตริกตัน ด้านราคาที่เกษตรกร
ขายได้ปี 2546 ราคาเฉลี่ยหอมหัวใหญ่เบอร์ 1 กิโลกรัมละ 21.42 บาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัวตามปริมาณผลผลิตที่ลดลง
ผลผลิตและราคาหอมหัวใหญ่ในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 75,104 69,023 38,916
(-14.8) (-8.1) (-43.6)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 6.97 7.31 21.42
(-2.6) (4.8) (193.1)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ลำไยปริมาณผลผลิตลำไยปี 2546 ลดลงจากปีก่อนตามวัฏจักรที่มักให้ผลผลิตมากปีเว้นปีผลผลิตลำไยในภาคเหนือลดลง
ร้อยละ 28.9 เหลือ 279,762เมตริกตันคุณภาพผลผลิตโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีราคาเฉลี่ยลำไยสดคละกิโลกรัมละ 11.92 บาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 31.7 ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงประกอบกับความต้องการรับซื้อเพื่อนำมาแปรรูปและส่งออกเป็นลำไยอบแห้ง
เพิ่มขึ้น ขณะที่มาตรการแทรกแซงราคาจากภาครัฐโดยการรับจำนำในปีนี้เข้มงวดมากขึ้น
ผลผลิตและราคาลำไยในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 174,371 393,662 279,762
(-48.2) (125.8) (-28.9)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 22.29 9.06 11.92
(-14.3) (-59.4) (31.7)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ลิ้นจี่ ผลผลิตจากแหล่งผลิตสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายฤดูกาลผลิต 2546 มีปริมาณประมาณ 59,000 เมตริกตัน
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.0 เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยทำให้การติดผลลดลงราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นโดยราคาเฉลี่ย
ลิ้นจี่คละกิโลกรัมละ 15.50 บาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 55.5ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงและคุณภาพผลผลิตที่อยู่ในเกณฑ์ดี
ผลผลิตและราคาลิ้นจี่ในภาคเหนือ
2544 2545 2546
ผลผลิต (เมตริกตัน) 35,519 64,121 59,000
(-9.3) (80.5) (-8.0)
ราคา (บาท/กิโลกรัม) 13.79 10.00 15.50
(-35.9) (-27.5) (55.0)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดภาคเหนือ
ใบยาเวอร์จิเนีย ปริมาณรับซื้อใบยาสูบเวอร์จิเนียในภาคเหนือฤดูกาลผลิต 2545/46 มีจำนวน 8,736,047กิโลกรัม
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 ตามปริมาณสต็อกของโรงงานยาสูบด้านคุณภาพผลผลิตใกล้เคียงปีก่อนราคารับซื้อเฉลี่ยลดลงเล็กน้อย
ร้อยละ 1.4 เป็นกิโลกรัมละ 65.7 บาท
ใบยาเบอร์เลย์ ปริมาณการรับซื้อในยาเบอร์เลย์ฤดูกาลผลิต 2544/45 มีจำนวน 28,692,414 กิโลกรัมใกล้เคียง
ปีก่อนด้านคุณภาพผลผลิตด้อยกว่าปีก่อนราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ในปีนี้กิโลกรัมละ 37.4 บาทลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.8
การรับซื้อใบยาเวอร์จิเนียของสำนักงานยาสูบในภาคเหนือ
2543/44 2544/45 2545/46
สำนักงานยาสูบ ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า
(กิโลกรัม) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท) (กิโลกรัม) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท) (กิโลกรัม) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท)
เชียงใหม่ 3,494,111 64.8 226.3 3,078,166 66.4 204.4 2,775,337 65.4 181.6
(-7.2) (-0.8) (-7.9) (-11.9) (2.5) (-9.7) (-9.8) (-1.5) (-11.2)
เชียงราย 2,637,747 66.1 174.4 2,738,601 67.5 184.8 2,221,590 66.9 148.6
(-5.1) (-2.0) (-7.1) (3.8) (2.1) (6.0) (-18.9) (-0.9) (-19.6)
แพร่ 4,253,232 64.2 272.9 5,443,987 66.4 361.5 3,739,120 65.2 243.8
(-20.9) (-1.6) (19.0) (28.0) (3.5) (32.5) (-31.3) (-1.8) (-32.5)
รวม 10,385,089 64.9 673.5 11,260,754 66.7 750.7 8,736,047 65.7 574.0
(-3.9) (-1.5) (-5.3) (8.4) (2.8) (11.5) (-22.4) (-1.4) (-23.5)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานยาสูบในภาคเหนือ
การรับซื้อใบยาแห้งพันธุ์เบอร์เลย์ของสำนักงานยาสูบในภาคเหนือ
2543/44 2544/45 2545/46
จังหวัด ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า ปริมาณรับซื้อ ราคาเฉลี่ย มูลค่า
(เมตริกตัน) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท) (เมตริกตัน) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท) (เมตริกตัน) (บาท/ก.ก.) (ล้านบาท)
เพชรบูรณ์ 10,669,917 39.8 424.4 11,330,708 41.4 469.6 7,617,687 39.4 300.1
(25.3) (4.5) (30.9) (6.2) (4.2) (10.6) (-32.8) (-4.9) (-36.1)
สุโขทัย 12,542,670 38.2 478.9 16,915,580 40.8 690.8 20,257,751 36.9 746.9
(90.6) (6.7) (103.3) (34.9) (7.0) (44.3) (19.8) (-9.7) (8.1)
อุตรดิตถ์ 466,299 32.7 15.3 518,167 35.7 18.5 816,976 30.8 25.1
(29.8) 5.0) (23.3) (11.1) (8.9) (21.1) (57.7) (-13.7) (36.0)
รวม 23,678,886 38.8 918.5 28,764,455 41.0 1,178.8 28,692,414 37.4 1,072.1
(53.2) (4.8) (60.6) (21.5) (5.6) (28.3) (-0.3) (-8.8) (-9.1)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดในภาคเหนือ
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือปี 2546 ขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนทั้งการผลิตของอุตสาหกรรมส่งออกและ
อุตสาหกรรมผลิตเพื่อบริโภคในประเทศโดยอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูน มีมูลค่าการส่งออก
ผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.4 เป็น 1,266.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.เร่งตัวจากปีก่อนที่
ขยายตัวร้อยละ 15.0 ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ขยายตัวจากเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นสินค้าส่งออกสำคัญประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า
ทรานสฟอร์เมอร์และมอเตอร์ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตาอัญมณีเกมของเล่นและอุปกรณ์กีฬา เป็นต้น ด้านประเทศผู้นำเข้าที่มีมูลค่านำเข้า
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาก ได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และอิสราเอลการส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้
โรงงานต้องนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรและวัตถุดิบเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายกำลัง
การผลิตมากขึ้น มูลค่านำเข้าสินค้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.4เป็น 1,044.4 ล้านดอลลาร์
สรอ. ด้านอุตสาหกรรมส่งออกที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลักได้แก่การส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปและแช่แข็งมูลค่าส่งออกขยายตัวตาม
อุปสงค์จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นประกอบกับผู้ผลิตในจีนประสบปัญหาสารตกค้างและการระบาดของ SARS ขณะที่ผู้ผลิตในภาคเหนือ
สามารถรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าได้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการทำให้โอกาสในการส่งออกเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมเซรามิกสามารถหา
ตลาดส่งออกใหม่เพิ่มและได้รับผลดีจากการที่ผู้ผลิตในจีนถูกจำกัดโควตานำเข้าในประเทศแถบยุโรป ทำให้ยอดส่งออกขยายตัว ขณะที่
โรงงานหลายแห่งขยายกำลังผลิตหัตถอุตสาหกรรมในปีนี้ ยอดการส่งออกขยายตัว ผู้ส่งออกเน้นทำการตลาดโดยออกงานแสดงสินค้าทั้ง
ในและต่างประเทศ รวมทั้งขยายตลาดในระดับสูงเพิ่มขึ้น และพัฒนาช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง
ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตบริโภคในประเทศขยายตัวจากผลผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นมากร้อยละ 30.1เป็น
1.8 ล้านเมตริกตันตามปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นประกอบกับความเสียหาย
จากศัตรูพืชและโรคระบาดมีไม่มากนักด้านผลผลิตสังกะสีเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เป็น 113,685 เมตริกตันตามความต้องการใช้ใน
อุตสาหกรรมผลิตแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี ท่อโลหะอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และส่วนประกอบของยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามการ
ผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานในภาคเหนือลดลงซึ่งเป็นผลจากภาพรวมการส่งออกที่ลดลงประกอบกับภาครัฐไม่มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
เช่นปีก่อน
ภาคเหมืองแร่
ภาพรวมผลผลิตแร่ในภาคเหนือปี 2546 อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงปีก่อนโดยเลขดัชนีผลผลิตแร่ในภาคเหนือลดลงเล็กน้อย
ร้อยละ 0.9 ตามการลดลงของปริมาณผลผลิตแร่สำคัญ ได้แก่ผลผลิตลิกไนต์ลดลงร้อยละ3.5 และน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 6.9
อย่างไรก็ตามผลผลิตแร่อื่นส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลผลิตแร่สังกะสีเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.3 ตามความต้องการวัตถุดิบของอุตสาหกรรม
วัสดุก่อสร้างและอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ขยายตัว ผลผลิตดินขาวและบอลเคลย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 101.3 และ 34.5 ตามการขยายตัวของ
อุตสาหกรรมเซรามิกที่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นส่วนผลผลิตหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างและแร่ยิปซัมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และ
10.6 ตามภาพรวมการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัว
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีจากรายได้และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น สภาพแวดล้อมทางการเงินที่เอื้ออำนวย
อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ
ในปี 2546 กิจกรรมในกลุ่มยานพาหนะอยู่ในระดับดีภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
และมีช่องทางเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ตลอดจนเงื่อนไขการผ่อนชำระ ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ขยายตัวร้อยละ 34.0 โดยแม้ว่า
จะชะลอลงจากปีก่อน แต่มีปริมาณสูงถึง 49,489 คัน ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยเร่งตัวมากในไตรมาส 2 จากรายได้
เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจ
(ยังมีต่อ)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-