กรุงเทพ--29 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โอกาสและลู่ทางการค้าและการลงทุนตามเส้นทางหมายเลข 9” ที่โรงแรมพลอยพาเลส จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งภายหลังการกล่าวต้อนรับของ ดร.นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “เส้นทางหมายเลข 9 กับการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ลาว” โดยเน้นถึงความสำคัญของเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเป็นเครือข่ายเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor:EWEC) ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ระหว่างเวียดนาม ลาว พม่า และไทย ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างไทย-ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร- สะหวันนะเขต) ที่ได้มีการวางศิลาฤกษ์โดยนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเมื่อเดือนมีนาคม 2547 และคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในปี 2548 ทั้งนี้ นอกจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานดังกล่าวแล้ว รัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องก็ยังให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปรับปรุง กฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและการสัญจรของประชาชนเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้กล่าวถึงความสำคัญที่รัฐบาลไทยให้ต่อโครงการพัฒนาสนามบินสะหวันนะเขตเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงฯ แห่งที่ 2 โครงการเมืองคู่แฝดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต และโครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนโครงการ EWEC ด้วย
ต่อจากนั้นนายสุจริต นันทมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทยกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “การพัฒนาพื้นที่จังหวัดของไทยตามเส้นทางหมายเลข 9 เพื่อความร่วมมือตามระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก” โดยระบุถึงนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในการร่วมมือและประสานงานกับกระทรวงอื่นๆ ตลอดจนองค์กรปกครองท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านในการส่งเสริมความมั่นคงและความกินดีอยู่ดีของประชาชนไทยในจังหวัดชายแดนต่างๆ ขณะที่นายสมมาด พนเสนา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขนส่ง ไปรษณีย์ และก่อสร้างและรองประธานสมาคมลาว-ไทยเพื่อมิตรภาพ กล่าวสุนทรพจน์ ในหัวข้อ “นโยบายและแผนงานสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามเส้นทางหมายเลข 9” โดยเน้นเรื่องวิสัยทัศน์ของรัฐบาลลาวในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในกรอบ EWEC, GMS และ ACMECS ประกอบด้วย การส่งเสริมการค้า การลงทุนและเส้นทางคมนาคมขนส่งข้ามแดน ความร่วมมือในความแตกต่าง (opportunity of being different) การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนในท้องถิ่น และการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของลาว
อนึ่ง เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางเชื่อมโยงลาวกับเวียดนามระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตร (อยู่ในเขตลาว 245 กิโลเมตร และในเขตเวียดนาม 255 กิโลเมตร) โดยธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินที่สำคัญเพื่อปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับไทยคือ การสร้างสะพานข้าม แม่น้ำโขงฯ แห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขตเพื่อไปเชื่อมกับเส้นทางหมายเลข 9 ทั้งนี้ โครงการ ปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 9 มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนนโยบายต่างประเทศของไทยในการ ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนงานพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) ภายใต้กรอบ GMS ตลอดจนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โอกาสและลู่ทางการค้าและการลงทุนตามเส้นทางหมายเลข 9” ที่โรงแรมพลอยพาเลส จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งภายหลังการกล่าวต้อนรับของ ดร.นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “เส้นทางหมายเลข 9 กับการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ลาว” โดยเน้นถึงความสำคัญของเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเป็นเครือข่ายเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor:EWEC) ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ระหว่างเวียดนาม ลาว พม่า และไทย ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างไทย-ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร- สะหวันนะเขต) ที่ได้มีการวางศิลาฤกษ์โดยนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเมื่อเดือนมีนาคม 2547 และคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในปี 2548 ทั้งนี้ นอกจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานดังกล่าวแล้ว รัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องก็ยังให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปรับปรุง กฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและการสัญจรของประชาชนเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้กล่าวถึงความสำคัญที่รัฐบาลไทยให้ต่อโครงการพัฒนาสนามบินสะหวันนะเขตเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงฯ แห่งที่ 2 โครงการเมืองคู่แฝดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต และโครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนโครงการ EWEC ด้วย
ต่อจากนั้นนายสุจริต นันทมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทยกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “การพัฒนาพื้นที่จังหวัดของไทยตามเส้นทางหมายเลข 9 เพื่อความร่วมมือตามระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก” โดยระบุถึงนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในการร่วมมือและประสานงานกับกระทรวงอื่นๆ ตลอดจนองค์กรปกครองท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านในการส่งเสริมความมั่นคงและความกินดีอยู่ดีของประชาชนไทยในจังหวัดชายแดนต่างๆ ขณะที่นายสมมาด พนเสนา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขนส่ง ไปรษณีย์ และก่อสร้างและรองประธานสมาคมลาว-ไทยเพื่อมิตรภาพ กล่าวสุนทรพจน์ ในหัวข้อ “นโยบายและแผนงานสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามเส้นทางหมายเลข 9” โดยเน้นเรื่องวิสัยทัศน์ของรัฐบาลลาวในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในกรอบ EWEC, GMS และ ACMECS ประกอบด้วย การส่งเสริมการค้า การลงทุนและเส้นทางคมนาคมขนส่งข้ามแดน ความร่วมมือในความแตกต่าง (opportunity of being different) การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนในท้องถิ่น และการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของลาว
อนึ่ง เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางเชื่อมโยงลาวกับเวียดนามระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตร (อยู่ในเขตลาว 245 กิโลเมตร และในเขตเวียดนาม 255 กิโลเมตร) โดยธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินที่สำคัญเพื่อปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับไทยคือ การสร้างสะพานข้าม แม่น้ำโขงฯ แห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขตเพื่อไปเชื่อมกับเส้นทางหมายเลข 9 ทั้งนี้ โครงการ ปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 9 มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนนโยบายต่างประเทศของไทยในการ ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนงานพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) ภายใต้กรอบ GMS ตลอดจนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-