1. เสถียรภาพในประเทศ
เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งด้านราคา ภาวะการจ้างงาน และหนี้สาธารณะ
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนมิถุนายน 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.3 เป็นผลจากราคาผักสดและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการบริโภค สำหรับราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินลิตรละ 60 สตางค์จำนวน 2 ครั้ง และการขึ้นค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปและค่าเล่าเรียนของสถานศึกษาเอกชนในเดือนที่ผ่านมา
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนพฤษภาคม 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ซึ่งใกล้เคียงกับร้อยละ 2.7 ของเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรหดตัวต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง อย่างไรก็ดี การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวดีตามภาวะเศรษฐกิจ โดยสาขาที่ขยายตัวดีในเดือนนี้ ได้แก่ การก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิต และการค้าส่งค้าปลีก
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,871.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 20.8 พันล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินลดลงเล็กน้อยส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44.0 ในเดือนมีนาคมมาอยู่ที่ร้อยละ 44.4 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 มีจำนวน 49.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากเดือนก่อน 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการชำระคืนหนี้ของภาครัฐเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากเงินเยนมีค่าแข็งขึ้น เมื่อตีราคาเป็นสกุลดอลลาร์ สรอ.ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศจึงลดลงเพียง 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.5 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.1 ในเดือนก่อนจากการนำเข้าสินเชื่อการค้าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน ขณะที่หนี้ระยะยาวลดลงจากการชำระคืนเงินกู้ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
หนี้ภาคเอกชนมีจำนวน 34.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวของกิจการวิเทศธนกิจและภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจน้ำมันและธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ยังคงมีการนำเข้าสินเชื่อการค้าของธุรกิจน้ำมันอย่างต่อเนื่อง
หนี้ภาคทางการลดลงจากเดือนก่อน โดยในเดือนนี้มีการชำระคืนเงินกู้ของทั้งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.โดยส่วนหนึ่งรีไฟแนนซ์ด้วยการออกตราสารหนี้ระยะยาว Floating Rate Notes (FRNs) จำนวน 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้ซื้อคืนตราสารหนี้ระยะยาวของรัฐบาลในตลาดรองต่างประเทศซึ่งมีผลทำให้หนี้ต่างประเทศลดลงอีกจำนวน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สุทธิแล้วจึงมีการชำระคืนหนี้ในภาครัฐจำนวน 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมผลของค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น ทำให้หนี้ภาครัฐเมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.ลดลงเพียง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 เท่ากับ 43.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีโดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าลดลงเล็กน้อย จากมูลค่าการนำเข้าที่สูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่สัดส่วนดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-
เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งด้านราคา ภาวะการจ้างงาน และหนี้สาธารณะ
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนมิถุนายน 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.3 เป็นผลจากราคาผักสดและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการบริโภค สำหรับราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินลิตรละ 60 สตางค์จำนวน 2 ครั้ง และการขึ้นค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปและค่าเล่าเรียนของสถานศึกษาเอกชนในเดือนที่ผ่านมา
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนพฤษภาคม 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ซึ่งใกล้เคียงกับร้อยละ 2.7 ของเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรหดตัวต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง อย่างไรก็ดี การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวดีตามภาวะเศรษฐกิจ โดยสาขาที่ขยายตัวดีในเดือนนี้ ได้แก่ การก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิต และการค้าส่งค้าปลีก
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,871.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 20.8 พันล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินลดลงเล็กน้อยส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44.0 ในเดือนมีนาคมมาอยู่ที่ร้อยละ 44.4 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 มีจำนวน 49.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากเดือนก่อน 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการชำระคืนหนี้ของภาครัฐเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากเงินเยนมีค่าแข็งขึ้น เมื่อตีราคาเป็นสกุลดอลลาร์ สรอ.ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศจึงลดลงเพียง 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.5 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.1 ในเดือนก่อนจากการนำเข้าสินเชื่อการค้าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน ขณะที่หนี้ระยะยาวลดลงจากการชำระคืนเงินกู้ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
หนี้ภาคเอกชนมีจำนวน 34.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวของกิจการวิเทศธนกิจและภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจน้ำมันและธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ยังคงมีการนำเข้าสินเชื่อการค้าของธุรกิจน้ำมันอย่างต่อเนื่อง
หนี้ภาคทางการลดลงจากเดือนก่อน โดยในเดือนนี้มีการชำระคืนเงินกู้ของทั้งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.โดยส่วนหนึ่งรีไฟแนนซ์ด้วยการออกตราสารหนี้ระยะยาว Floating Rate Notes (FRNs) จำนวน 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้ซื้อคืนตราสารหนี้ระยะยาวของรัฐบาลในตลาดรองต่างประเทศซึ่งมีผลทำให้หนี้ต่างประเทศลดลงอีกจำนวน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สุทธิแล้วจึงมีการชำระคืนหนี้ในภาครัฐจำนวน 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมผลของค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น ทำให้หนี้ภาครัฐเมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.ลดลงเพียง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 เท่ากับ 43.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีโดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าลดลงเล็กน้อย จากมูลค่าการนำเข้าที่สูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่สัดส่วนดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-