กรุงเทพ--5 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2547 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกประจำปี 2547 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ
โดยการประชุมฯ ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 4 ของรัฐบาลชุดปัจจุบันจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม 2547 โอกาสนี้ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับการประชุมฯ ว่า รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินภารกิจด้านการต่างประเทศอย่างมาก และการดำเนินวิเทโศบายด้านต่างประเทศของไทยได้ขยายตัวออกไปในทุกมิติ ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การศึกษา การท่องเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรม สาธารณสุข สังคม วัฒนธรรม และการกีฬา ขณะที่บทบาทของเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากเช่นกันกล่าวคือ ต้องทำหน้าที่เป็นทั้งนักการทูต หัวหน้าคณะผู้บริหารทีมประเทศไทย และนักยุทธศาสตร์
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้เคยมอบนโยบายไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว สำหรับการประชุมฯ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ รวม 9 ประการได้แก่ 1) การเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อรับพระราชทานพระบรมราโชวาทและ การเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์ 2) การเข้าร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติและถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินผลการบริหารในลักษณะบูรณาการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ 4) การส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด CEO กับเอกอัครราชทูต CEO ของไทยในประเทศเพื่อนบ้านรวม 9 ประเทศ 5) การประชุมหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านบริหารซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายและแนวทางใหม่ๆ ออกมา 6) การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปส่วนราชการในต่างประเทศ 7) การศึกษาดูงานนอกสถานที่ 8) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารในระดับสูงทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับความคืบหน้าในการผลักดันยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของไทย และ 9) การรับฟังภาพรวมเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและการเงินการคลังของไทย
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมฯ โดยขอให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่เป็นนักคิดและนักยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศต่างๆ ตลอดจนปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่จะต้องเข้าใจกระแสโลกาภิวัตน์ที่นำมาซึ่งการไหลเวียนอย่างเสรีของปัจจัยหลัก 4 ประการคือ 1) คน ซึ่งหมายถึงการดำเนินการที่จะให้ได้มาซึ่งแรงงานมีฝีมือในสาขาที่ประเทศไทยต้องการ และการป้องกันการเข้ามาของแรงงานส่วนที่เป็นปัญหา 2) การเงิน ซึ่งหมายถึงการชิงไหวชิงพริบเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบ เช่น การจัดตั้งพันธบัตรเอเชียเพื่อระดมเงินทุนระหว่างประเทศในเอเชีย 3) ข่าวสารความรู้ในด้านต่างๆ และ 4) สินค้าและเทคโนโลยี โดยปัจจัยเหล่านี้จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับวัฒนธรรมในการทำงานเพื่อสร้าง “ภาวะความเป็นผู้นำ” ซึ่งสำคัญมากกว่าสถานะผู้นำตามกฎระเบียบ/กฎหมาย นอกจากนี้ข้าราชการทั้งในส่วนกลางและในต่างประเทศที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ยังต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม แทนที่จะยึดติดอยู่กับกรอบในเรื่องลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อตอบสนองต่อสังคมในปัจจุบันที่เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันก็ได้นำระบบ e-government มาใช้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสชัดเจนในกระบวนการด้านงบประมาณและการจัดซื้อ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการทำให้ประชาชนมีความรู้ ตลอดจนมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2547 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกประจำปี 2547 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ
โดยการประชุมฯ ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 4 ของรัฐบาลชุดปัจจุบันจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม 2547 โอกาสนี้ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับการประชุมฯ ว่า รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินภารกิจด้านการต่างประเทศอย่างมาก และการดำเนินวิเทโศบายด้านต่างประเทศของไทยได้ขยายตัวออกไปในทุกมิติ ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การศึกษา การท่องเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรม สาธารณสุข สังคม วัฒนธรรม และการกีฬา ขณะที่บทบาทของเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากเช่นกันกล่าวคือ ต้องทำหน้าที่เป็นทั้งนักการทูต หัวหน้าคณะผู้บริหารทีมประเทศไทย และนักยุทธศาสตร์
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้เคยมอบนโยบายไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว สำหรับการประชุมฯ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ รวม 9 ประการได้แก่ 1) การเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อรับพระราชทานพระบรมราโชวาทและ การเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์ 2) การเข้าร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติและถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินผลการบริหารในลักษณะบูรณาการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ 4) การส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด CEO กับเอกอัครราชทูต CEO ของไทยในประเทศเพื่อนบ้านรวม 9 ประเทศ 5) การประชุมหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านบริหารซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายและแนวทางใหม่ๆ ออกมา 6) การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปส่วนราชการในต่างประเทศ 7) การศึกษาดูงานนอกสถานที่ 8) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารในระดับสูงทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับความคืบหน้าในการผลักดันยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของไทย และ 9) การรับฟังภาพรวมเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและการเงินการคลังของไทย
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมฯ โดยขอให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่เป็นนักคิดและนักยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศต่างๆ ตลอดจนปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่จะต้องเข้าใจกระแสโลกาภิวัตน์ที่นำมาซึ่งการไหลเวียนอย่างเสรีของปัจจัยหลัก 4 ประการคือ 1) คน ซึ่งหมายถึงการดำเนินการที่จะให้ได้มาซึ่งแรงงานมีฝีมือในสาขาที่ประเทศไทยต้องการ และการป้องกันการเข้ามาของแรงงานส่วนที่เป็นปัญหา 2) การเงิน ซึ่งหมายถึงการชิงไหวชิงพริบเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบ เช่น การจัดตั้งพันธบัตรเอเชียเพื่อระดมเงินทุนระหว่างประเทศในเอเชีย 3) ข่าวสารความรู้ในด้านต่างๆ และ 4) สินค้าและเทคโนโลยี โดยปัจจัยเหล่านี้จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับวัฒนธรรมในการทำงานเพื่อสร้าง “ภาวะความเป็นผู้นำ” ซึ่งสำคัญมากกว่าสถานะผู้นำตามกฎระเบียบ/กฎหมาย นอกจากนี้ข้าราชการทั้งในส่วนกลางและในต่างประเทศที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ยังต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม แทนที่จะยึดติดอยู่กับกรอบในเรื่องลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อตอบสนองต่อสังคมในปัจจุบันที่เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันก็ได้นำระบบ e-government มาใช้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสชัดเจนในกระบวนการด้านงบประมาณและการจัดซื้อ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการทำให้ประชาชนมีความรู้ ตลอดจนมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-