การพัฒนาฝีมือแรงงานในประเทศไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 20, 2004 14:36 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานในประเทศไทย 1. ความเป็นมา ในปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจเสรีทำให้มีการแข่งขันกันอย่างมาก ทั้งธุรกิจที่อยู่ในประเทศและธุรกิจระหว่างประเทศ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันก็คือแรงงานที่มีฝีมือ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้วิทยาการและเทคโนโลยีการผลิต แม้ว่าในระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจะได้ใช้งบประมาณในด้านนี้เป็นจำนวนมาก แต่ผลการดำเนินงานก็ยังไม่ได้ทำให้แรงงานไทยมีคุณภาพตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งการพัฒนาฝีมือและทักษะของแรงงานไทยก็มีหน่วยงานราชการเข้ามาเกี่ยวข้องหลายแห่ง ทำให้การพัฒนาฝีมือแรงงานขาดเอกภาพ และเกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน คณะทำงานการแรงงานและสวัสดิการสังคม สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เล็งเห็นปัญหาอุปสรรคดังกล่าว ซึ่งทำให้การพัฒนาฝีมือแรงงานไม่เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่รัฐธรรมนูญกำหนด จึงได้ยกปัญหาการพัฒนาฝีมือแรงงานในส่วนการทำงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานขึ้นมาศึกษาเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป 2. การดำเนินการของคณะทำงานฯ ในการศึกษาการพัฒนาฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานนั้น คณะทำงานการแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการดังนี้ 2.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานในประเทศไทยทั้งของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและหน่วยงานอื่นของนักวิชาการต่าง ๆ 2.2 ศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานใน 4 ภาค คือ - ภาคใต้ จังหวัดสงขลา และสุราษฎร์ธานี - ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง และพิษณุโลก - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น และนครพนม - ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี และระยอง 2.3 สอบถามและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและคนงานที่เกี่ยวข้อง 3. ภาพรวมของแรงงานไทย 3.1 ประชากรและกำลังแรงงาน (1) การมีงานทำ จากการสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในเดือนพฤศจิกายน 2546 (ตารางที่ 1) ปรากฏว่า มีผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 35.28 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 34.5 ล้านคน ผู้ว่างงาน 0.54 ล้านคน หรืออัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.7 นอกนั้นเป็นผู้รอทำงานตามฤดูกาล 0.24 ล้านคนตารางที่ 1 ภาวะการมีงานทำของประชากร พ.ศ. 2546 จำนวน (ล้านคน) ประชากรทั้งประเทศ 64.24 ผู้มีอายุต่ำกว่า 15 ปี 15.67 ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 48.57 ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 35.28 ผู้มีงานทำ 34.5 ผู้ว่างงาน 0.54 ผู้รอฤดูกาล 0.24 ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 13.29 ทำงานบ้าน 3.75 เรียนหนังสือ 4.57 อื่น ๆ 4.97 ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ย.2546 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในจำนวนผู้มีงานทำนั้นแยกเป็นชาย 19.03 ล้านคน และหญิง 15.47 ล้านคน โดยทำงานในสาขาเกษตรกรรม 14.18 ล้านคน (ร้อยละ 41.10) และสาขานอกภาคเกษตรกรรม 20.32 ล้านคน (ร้อยละ 58.9) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต พาณิชยกรรมและบริการ การเติบโตของผู้มีงานทำในสาขานอกภาคเกษตรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยเพิ่มจาก 16.7 ล้านคน ในปี 2541 เป็น 17.6 ล้านคน ในปี 2543 เพิ่มเป็น 19.1 ล้านคนในปี 2545 และ 20.3 ล้านคน ในปี 2546 แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเร่งการพัฒนาฝีมือแรงงานของแรงงานรุ่นใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น (2) ระดับการศึกษา จากจำนวนผู้มีงานทำ 33.7 ล้านคนในเดือนพฤศจิกายน 2545 ปรากฏว่าเป็นผู้มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาร้อยละ 37.8 ระดับประถมศึกษาร้อยละ 22.8 มัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 13.7 มัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 10.1 และระดับอุดมศึกษาร้อยละ 11.6 นอกนั้นเป็นผู้ไม่มีการศึกษา แสดงให้เห็นว่าแรงงานไทยกว่าครึ่งหนึ่งมีการศึกษาระดับต่ำเพียงระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ซึ่งย่อมเป็นอุปสรรคประการหนึ่งในการพัฒนาฝีมือแรงงานของไทย ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ พ.ศ.2544-2545 ระดับการศึกษา 2544* 2545* จำนวนพันคน ร้อยละ จำนวนพันคน ร้อยละ รวม 33194.2 100.0 33746.9 100.0ไม่มีการศึกษา 1137.8 3.4 1259.3 3.7ต่ำกว่าประถมศึกษา 13050.0 39.3 12759.2 37.8ประถมศึกษา 7635.5 23.0 7688.4 22.8มัธยมศึกษาตอนต้น 4360.6 13.1 4609.1 13.7มัธยมศึกษาตอนปลาย 3296.9 9.9 3423.0 10.1สายสามัญ 2234.5 6.7 2265.5 6.7อาชีวศึกษา 1044.2 3.1 1135.5 3.4วิชาการศึกษา 18.2 0.1 22.0 0.1อุดมศึกษา 3603.1 10.9 3914.9 11.6สายวิชาการ 1788.3 5.4 1955.0 5.8สายวิชาชีพ 1034.1 3.1 1230.6 3.6สายวิชาการศึกษา 780.8 2.4 729.3 2.2อื่น ๆ 24.8 0.1 10.3 0.0ไม่ทราบ 85.4 0.3 82.6 0.2 ที่มา : โครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ * เป็นข้อมูลเดือนพฤศจิกายน (3) อาชีพ ข้อมูลจากรายงานสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจบริการ พ.ศ. 2545 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปรากฏว่าแรงงานไทยอยู่ในภาคการผลิต ร้อยละ 39.8 รองลงไปเป็นการขายปลีก ซ่อมของใช้ ร้อยละ 17.8 โรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 12.0 การขายส่งและการค้าเพื่อค่านายหน้า ร้อยละ 6.5 การให้เช่าเครื่องจักรรวมการวิจัยและพัฒนา ร้อยละ 5.1 การขายบำรุงรักษาและซ่อมยานยนต์ ร้อยละ 4.9 นันทนาการ ร้อยละ 4.4 การก่อสร้าง ร้อยละ 2.8 อสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 2.3 จากข้อมูลด้านประชากรและแรงงาน เห็นได้ชัดเจนว่า ภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นภาคที่มีการรองรับการมีงานทำได้มากกว่าภาคเกษตรกรรม โดยสาขาที่มีผู้ทำงานอยู่มากคือสาขาการผลิต ขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมแซมยานยนต์ ซึ่งมีการเติบโตในอัตราสูง แต่การที่แรงงานไทยมีการศึกษาพื้นฐานค่อนข้างต่ำ ทำให้มีความจำเป็นต้องเร่งรัดในการพัฒนาฝีมือแรงงานไปพร้อมๆ กับการยกมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาดแรงงาน และเป็นการเพิ่มผลผลิตพร้อมกับการยกขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3.2 สถานการณ์ด้านฝีมือแรงงานของไทย จากรายงานการวิเคราะห์ผลิตภาพแรงงาน ปี 2545 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน (แผนภูมิที่ 1) ปรากฏว่าในช่วงปี 2534-2544 ผลิตภาพแรงงานในภาพรวมทุกอุตสาหกรรมมีอัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.0 ต่อปี โดยเมื่อพิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรมแล้ว พบว่า อุตสาหกรรมการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา มีอัตราการเพิ่มโดยเฉลี่ยต่อปีของผลิตภาพแรงงานมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 10.6 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน และอุตสาหกรรมเกษตรกรรมล่าสัตว์ ป่าไม้ และประมง คิดเป็นร้อยละ 9.3 และ 5.8 ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมการก่อสร้างมีอัตราการเพิ่มโดยเฉลี่ยต่อปีลดลง คิดเป็นร้อยละ 7.1 และเมื่อพิจารณาผลิตภาพแรงงาน ณ ราคาคงที่ จำแนกตามโครงสร้างการผลิตเป็นภาคการเกษตร และภาคนอกการเกษตร พบว่า ผลิตภาพแรงงานในภาคการเกษตรมีอัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยต่อปี คิดเป็นร้อยละ 5.8 และนอกภาคการเกษตรมีอัตราการเพิ่มโดยเฉลี่ยต่อปีลดลงร้อยละ 0.1 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในปี 2544 (ณ ราคาคงที่ปี 2531) มีค่าเท่ากับ 169.6 ลดลงร้อยละ 0.1 จากปี 2543 โดยดัชนีผลิตภาพแรงงานในอุตสาหกรรมการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา มีอัตราการเพิ่มมากที่สุด ร้อยละ 79.7 ขณะที่ดัชนีผลิตภาพแรงงานในด้านพานิชยกรรมลดลงถึงร้อยละ 16.3 จากการวิเคราะห์ดัชนีผลิตภาพแรงงานดังกล่าว เห็นได้ว่า การพัฒนาฝีมือแรงงานในช่วงปี 2534-2544 ไม่ได้ทำให้แรงงานมีฝีมือสูงขึ้น โดยเฉพาะแรงงานนอกภาคเกษตร ขณะที่ดัชนีผลิตภาพแรงงานที่สูงขึ้นในภาคอุตสาหกรรมการไฟฟ้า ก๊าซและการประปา ก็เป็นผลมาจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีมากกว่ามาจากการเพิ่มของฝีมือแรงาน จึงทำให้น่าเป็นห่วงว่า หากไม่มีการพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างจริงจังแล้ว ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศคงลดต่ำลงไปอย่างแน่นอน รายงานการวิจัยของสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องทัศนคติของแรงงานไทยต่อการทำงานในยุคโลกาภิวัฒน์ ในปี 2544 ยังเป็นการย้ำผลการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภาพแรงงานด้วย โดยการวิจัยดังกล่าวได้สรุปผลว่าแรงงานไทยไม่สนใจในการใฝ่รู้และการพัฒนาตนเอง ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผลของการฝึกอบรมกับการมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่ให้ความสำคัญและพึงพอใจต่อการเพิ่มความรู้ ทักษะและความสามารถตลอดจนโอกาสก้าวหน้าในการทำงานซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้แรงงานไทยขาดความใส่ใจในประสิทธิภาพของการทำงาน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน แม้ว่าจะมีความพึงพอใจต่อการเพิ่มรายได้ก็ตาม รายงานการวิจัยดังกล่าวได้เสนอให้มีการปรับปรุงรายได้ของแรงงานในระดับที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้แรงงานไทยมีทัศนคติต่องานดีขึ้น และสนใจในการพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้นด้วย ตารางที่ 2 ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมปี 2534-2544 หน่วย : บาท/คน/ปี ปี 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544p อุตสาหกรรม รวม 135.4 146.3 158.4 172.6 188.6 199.7 197.0 176.3 184.1 192.6 196.4 เกษตรกรรม ล่าสัตว์ ป่าไม้ ประมง 112 17.4 114.6 120.2 124.4 129.5 128.3 126.4 129.0 135.3 126.0 เหมืองหิน 135.7 142.7 153.3 164.8 168.2 198.8 225.5 211.5 228.82 241.3 242.9 การผลิต 149.9 166.9 185.6 203.2 228.5 244.0 247.9 220.1 47.3 262.2 275.6 การก่อสร้าง 178.0 186.3 202.4 231.1 246.6 264.0 196.3 121.2 113.0 102.4 101.2 การขนส่ง และคมนาคม 135.2 148.2 164.2 182.9 205.2 229.2 240.1 218.2 231.5 249.4 266.0 พานิชยกรรม 139.1 152.9 170.4 188.5 204.2 209.7 199.6 167.1 162.6 162.3 205.1 บริการและอื่น ๆ 116.6 199.2 124.3 129.4 139.6 149.1 152.8 154.9 162.6 169.9 108.4 P = ข้อมูลเบื้องต้นที่มา : สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 3.3 หน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนาฝีมือแรงงาน หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานในปัจจุบันได้กระจัดกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน ได้แก่ 3.3.1 กระทรวงแรงงาน ดำเนินการโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยจัดอบรมหลักสูตรพื้นฐานเพื่อเตรียมแรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมและบริการ และมีหลักสูตรสำหรับแรงงานกึ่งฝีมือทางด้านช่าง เช่น ช่างก่อสร้าง ช่างเชื่อม ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างกลโรงงาน ช่างอีเล็กทรอนิกส์ ช่างเขียนแบบ และช่างอุตสาหกรรมศิลป์ นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมร่วมกับสถานประกอบการด้วย 3.3.2 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีกรมประชาสงเคราะห์จัดหลักสูตรฝึกอาชีพเพื่อไปประกอบอาชีพส่วนตัว หรือเพื่อเป็นรายได้เสริมโดยเน้นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสมากกว่ากลุ่มอื่น 3.3.3 กระทรวงศึกษาธิการ มีการจัดการฝึกอบรมโดยสถาบันการศึกษาในสังกัด มีทั้งหลักสูตรทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เช่น การบริหารจัดการ ภาษา คอมพิวเตอร์ รวมทั้งหลักสูตรการฝึกอาชีพ เช่น หลักสูตรเกษตรกรรม ช่างอุตสาหกรรม อาชีพในสถานบริการ 3.3.4 กระทรวงมหาดไทย มีการพัฒนาอาชีพโดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท และกรมพัฒนาชุมชน กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในชนบท และต้องการมีรายได้เสริมจากงานนอกภาคเกษตร หรือการผลิตสินค้าในครัวเรือน 3.3.5 กระทรวงอุตสาหกรรม มีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดอบรมระดับพื้นฐานและระดับกึ่งฝีมือในสาขาอุตสาหกรรมต่าง ๆ และยังมีสถาบันเฉพาะทาง เช่น สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันยานยนต์ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันอาหาร สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่จัดอบรมช่างระดับฝีมือเฉพาะทางตามความต้องการของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมนั้น ๆ 3.3.6 กรุงเทพมหานคร จัดอบรมด้านช่างต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3.3.7 หน่วยงานเอกชน เช่น สถาบันอุดมศึกษาเอกชน สถาบันส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งมีบทบาทในการฝึกอบรมด้านบริหารจัดการและช่างเทคนิคระดับมีฝีมือ นอกจากนี้ยังมีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคเอกชน มูลนิธิ องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานฝึกอบรมของสถานประกอบการขนาดใหญ่ซึ่งจัดการฝึกอบรมพนักงานตนเอง ส่วนสถานประกอบการขนาดเล็กนั้นมักขาดการฝึกอบรมภายในสถานประกอบการและยังต้องการความช่วยเหลือด้านนี้อีกมาก 4. การพัฒนาฝีมือแรงงานไทย 4.1 เป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและคุ้มครองทางสังคม แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้วางแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ - ผลิตและพัฒนากำลังคนระดับกลาง โดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิตกับความรู้พื้นฐาน เช่น ภาษา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การจัดการ เป็นต้น - สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา และฝึกอบรมกับสถานประกอบการทั้งในประเทศและที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในการแลกเปลี่ยนทรัพยากร การประสานพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการปรับหลักสูตร และการกำหนดเป้าหมายการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน - สนับสนุนและเปิดโอกาสให้มีการนำประสบการณ์ในการทำงานมาเทียบโอน เพื่อเข้ารับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพที่เน้นสมรรถนะในการปฏิบัติงานควบคู่กับการส่งเสริมให้แรงงานในสถานประกอบการมีพื้นฐานการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น - ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันจัดการฝึกอบรมเพิ่มเติม ให้กับผู้ที่กำลังทำงานอยู่ในสถานประกอบการในสาขาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แรงงานมีผลิตภาพสูงขึ้น มีทักษะทันต่อการเปลี่ยนแปลงของการค้าเสรี และนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ - ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ มาพัฒนาการเรียนและการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจยุคใหม่ และการพัฒนาเทคโนโลยีอนาคตบนพื้นฐานการพึ่งตนเอง 2. การส่งเสริมให้คนมีงานทำ โดยมุ่งสร้างอาชีพแก่แรงงานให้สามารถประกอบอาชีพส่วนตัว และเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก กระจายโอกาสการมีงานทำในทุก ๆ พื้นที่ทั่วประเทศ ส่งเสริมการจ้างงานนอกภาคเกษตรและส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในต่างประเทศ เป็นการขยายตลาดแรงงานใหม่ ๆ ให้แก่ แรงงานไทยควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน และตัวชี้วัดด้านแรงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับ 2.1 สร้างผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวและผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดย - ส่งเสริมให้ผู้ที่ตกงานและผู้ว่างงาน โดยเฉพาะผู้ที่สำเร็จอาชีวศึกษา หรืออุดมศึกษามีความรู้ในการประกอบอาชีพส่วนตัวหรือธุรกิจขนาดเล็ก โดยให้การฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านเทคนิคการทำธุรกิจ การเงิน การตลาด การจัดการ แหล่งเงินทุนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง - เพิ่มทักษะความรู้ความสามารถแก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ตลอดจนแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงานที่มีฝีมือและกึ่งฝีมือให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง - สนับสนุนแหล่งเงินกู้ เพื่อประกอบอาชีพทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนรวมกันจัดตั้งกองทุนหรือสหกรณ์ - สนับสนุนให้แรงงานไทยทำงานในภาคการผลิตที่ขาดแคลนแรงงาน โดยกำหนดมาตรการจูงใจให้มีการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการจัดระบบการทำงานของแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมายความมั่นคงของประเทศ และการมีงานทำของแรงงานไทย โดยคำนึงถึงข้อผูกพันระหว่างประเทศ 2.2 กระจายโอกาสการมีงานทำ โดย - ขยายการจ้างงานนอกภาคเกษตร โดยส่งเสริมการฝึกอาชีพที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และตามศักยภาพให้แก่เกษตรกร และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน - สร้างโอกาสการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มยากจน โดยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกิจกรรมทางธุรกิจที่ใช้แรงงานมีทักษะฝีมือน้อย และกระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ - ส่งเสริมการจ้างงานในต่างประเทศ โดยการฝึกอบรมทักษะอาชีพใหม่ ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศให้กับแรงงานไทย โดยเฉพาะอาชีพในภาคบริการ เช่น พนักงานดูแลผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาหารไทย เป็นต้น เพื่อสร้างโอกาสให้คนไทยมีงานทำในต่างประเทศมากขึ้น สนับสนุนเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำแก่แรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศ และหาลู่ทางเปิดตลาดแรงงานใหม่ ๆ ในต่างประเทศรวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติในการไปทำงานในแต่ละประเทศด้วย 4.2 นโยบายกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน กำหนดนโยบายการพัฒนาขีดความสามารถให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ โดยเน้นการจัดทำแผนแม่บทพัฒนากำลังคนของประเทศให้สามารถคาดการณ์ความต้องการแรงงานในอนาคต เพื่อส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศรวมทั้งการดำเนินการเรื่องมาตรฐานฝีมือแรงงานอย่างจริงจัง และให้มีครบทุกอาชีพ นอกจากนี้จะต้องมีการจัดทำระบบข้อมูลตลาดแรงงาน เพื่อให้ผู้ว่างงานทุกพื้นที่เข้าถึงตลาดแรงงานได้ การจัดทำมาตรฐานแรงงานไทยเพื่อเสริมสภาพการจ้างให้ได้มาตรฐานและช่วยลดการกีดกันทางการค้าการขยายตลาดแรงงานไทยสำหรับอาชีพใหม่ โดยพิจารณาอาชีพที่เป็นความได้เปรียบของภูมิปัญญาไทย เช่น นวดแผนไทย พ่อครัวไทย และการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาได้มีงานทำยามว่างจากภารกิจด้วยการพิจารณาให้มีการกำหนดค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงกระทรวงแรงงานจึงกำหนดนโยบายดำเนินการ ดังนี้ 1. การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนากำลังคน ที่สามารถชี้นำการผลิต การพัฒนาบุคลากรรวมทั้งการคาดคะเนความต้องการกำลังคน หรืออาชีพใหม่ที่จะเกิดขึ้นและเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศในอนาคตได้อย่างชัดเจน รวมทั้งผลักดันให้มีการเปลี่ยนแผนสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งนี้ โดยการร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และสำนักงานสถิติแห่งชาติในการหาข้อมูลความจำเป็นในการใช้แรงงานแต่ละกิจการ 2. เพิ่มศักยภาพของบุคคลให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น โดยการจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงแรงงานเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และการปฏิรูปภาคราชการ 3. การจัดทำระบบข้อมูลตลาดแรงงานที่มีข้อมูลตำแหน่งว่าง และทะเบียนกำลังแรงงานที่เป็นปัจจุบันเพื่อสามารถประสานการบรรจุงาน (Matching) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. การพัฒนาขีดความสามารถของกระทรวงแรงงานในบริบทของความเป็นนานาชาติ โดยการเป็นจ้าภาพและเข้าร่วมดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีระดับนานาชาติ เป็นกระทรวงที่ทันสมัยมีโอกาสได้รับข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับมาตรการทางการค้า การแรงงาน สามารถนำมาใช้เป็นสิ่งบอกเหตุเตือนภัยล่วงหน้าได้อย่างทันท่วงที 5. การส่งเสริมการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยการยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานร่วมกับสถานประกอบการ และการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกอาชีพ สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งผลักดันให้มาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นที่ยอมรับของภาคการว่าจ้างงาน โดยเฉพาะการพิจารณารับเข้าทำงาน การจ่ายค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน 6. การพัฒนาฝีมือแรงงานและการสร้างผู้ประกอบการ โดยการยกระดับฝีมือแรงงานและให้การสนับสนุนลูกจ้างให้สามารถเป็นผู้ประกอบการอิสระ จนถึงเป็นผู้ประกอบการขนาดย่อม โดยเน้นเพิ่มทักษะในด้านการจัดการ การตลาด ภาษา การสนับสนุนเงินทุนประกันสังคมผ่านสถาบันการเงินทั้งนี้กองทุนประกันสังคมสามารถดำเนินการได้โดยได้รับผลตอบแทนและมีเสถียรภาพ 7. เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถจ้างนักเรียน นักศึกษา ทำงานได้ โดยเสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณากำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นรายชั่วโมงได้สำหรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา 8. การส่งเสริมการมีงานทำในต่างประเทศ และการสร้างตลาดแรงงานใหม่ในต่างประเทศ 9. ให้ความสำคัญต่อการจ้างคนพิการ โดยขอความร่วมมือนายจ้างให้รับคนพิการเข้าทำงานให้มากขึ้น จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐานสำหรับลูกจ้างพิการรวมทั้งเร่งรัดเปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการให้ครบทุกภาค 4.3 การดำเนินงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไว้ว่า “มุ่งมั่นพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ ความสามารถพิเศษเฉพาะทาง ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในด้านการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการของโลกและของภูมิภาค” ซึ่งจะมีทั้งการแข่งขันและการร่วมมือมากขึ้น โดยมีศักยภาพและแนวทางดำเนินงานดังนี้ 1. กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) 12 แห่ง และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) 50 แห่ง โดยมีการดำเนินงานดังนี้ 1) หลักสูตรเตรียมเข้าทำงาน เป็นหลักสูตรที่ใช้สำหรับฝึกอาชีพให้แก่แรงงานใหม่ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ให้มีความรู้ ความสามารถ และความพร้อมที่จะทำงานในธุรกิจ อุตสาหกรรม ตามความต้องการของนายจ้าง ระยะเวลาฝึก 2-10 เดือน (สาขาช่าง) โดยยึดภาคทฤษฎีร้อยละ 20 และภาคปฏิบัติร้อยละ 80 ของการฝึก ผู้ผ่านการฝึกในศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจะได้รับการฝากฝึกในสถานประกอบการเป็นเวลา 1-4 เดือน 2) หลักสูตรยกระดับฝีมือ เป็นหลักสูตรฝึกอาชีพสำรับผู้มีงานทำอยู่แล้วในตลาดแรงงานได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาฝีมือให้ทันต่อวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถยกระดับฝีมือและฐานะของตนให้ดีขึ้น หลักสูตรยกระดับฝีมือแตกสาขาช่างจำแนกเป็นหัวข้อย่อย ๆเพื่อให้ผู้สนใจเลือกเข้าฝึก และหาความรู้ความชำนาญเพิ่มเติมในส่วนที่ตนจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ระยะเวลาฝึกเฉลี่ย 60 ชั่วโมง 3) การส่งเสริมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ก. การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นการทดสอบความสามารถตามมาตรฐานฝีมือแรงงานที่กำหนดในแต่ละประเภท ที่กำหนดโดยคณะกรรมการส่งเสริมการฝีกอาชีพ ซึ่งแบ่งเป็นขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง ข. การทดสอบฝีมือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน ปี 2528 มาตรา 36 ซึ่งกำหนดให้ผู้รับการอนุญาตจัดหางานไปทำงานต่างประเทศจะต้องคัดเลือกและทดสอบคนหางานก่อนไปทำงาน 4) ส่งเสริมและประสานการพัฒนาฝีมือแรงงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เช่นกรมราชทัณฑ์ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กรมการปกครอง กระทรวงยุติธรรม และส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานของภาคเอกชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ.2537 ซึ่งกำหนดให้มีกองทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน 5) โครงการอื่น ๆ ได้แก่ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ การจัดทำหลักสูตรเฉพาะพื้นที่หลักสูตรการพัฒนาฝีมือแรงงาน 1) การฝึกเตรียมเข้าทำงานในสถาบันก กลุ่มอาชีพช่างไม้และก่อสร้าง (1) ช่างสีเครื่องเรือน (2) ช่างประกอบโครงอลูมิเนียม (3) ช่างไม้เครื่องเรือน (ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ