กรุงเทพ--30 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2548 นาย Xu Dun Xin ผู้แทนพิเศษรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการหารือ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ สื่อมวลชนสรุปได้ดังนี้
1. นาย Xu Dun Xin ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศให้ความสำคัญ และขณะนี้มีข้อเสนอปฏิรูปจาก เลขาธิการสหประชาชาติและข้อเสนอจากประเทศกลุ่ม G 4 ซึ่งประกอบด้วย อินเดีย บราซิล ญี่ปุ่น และเยอรมนี
2. ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันในประเด็นการปฏิรูปสหประชาชาติ ดังนี้
- การปฏิรูปควรพิจารณาในภาพรวมของภารกิจสหประชาชาติทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสหประชาชาติในการทำงานเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของ ประชาคมโลก
- การปฏิรูปไม่ควรปฏิรูปเพียงหน่วยงานคณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปกลไกองค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติ โดยเฉพาะเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของ สหประชาชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา
- กระบวนการปฏิรูปต้องเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เกิด ฉันทามติของประเทศสมาชิก
- การปฏิรูปต้องสนองตอบต่อผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งขณะนี้สมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา
- ทั้งสองฝ่ายจะประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องการปฏิรูป สหประชาชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2548 นาย Xu Dun Xin ผู้แทนพิเศษรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการหารือ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ สื่อมวลชนสรุปได้ดังนี้
1. นาย Xu Dun Xin ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศให้ความสำคัญ และขณะนี้มีข้อเสนอปฏิรูปจาก เลขาธิการสหประชาชาติและข้อเสนอจากประเทศกลุ่ม G 4 ซึ่งประกอบด้วย อินเดีย บราซิล ญี่ปุ่น และเยอรมนี
2. ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันในประเด็นการปฏิรูปสหประชาชาติ ดังนี้
- การปฏิรูปควรพิจารณาในภาพรวมของภารกิจสหประชาชาติทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสหประชาชาติในการทำงานเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของ ประชาคมโลก
- การปฏิรูปไม่ควรปฏิรูปเพียงหน่วยงานคณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปกลไกองค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติ โดยเฉพาะเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของ สหประชาชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา
- กระบวนการปฏิรูปต้องเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เกิด ฉันทามติของประเทศสมาชิก
- การปฏิรูปต้องสนองตอบต่อผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งขณะนี้สมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา
- ทั้งสองฝ่ายจะประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องการปฏิรูป สหประชาชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-