กรุงเทพ--20 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 นาย Tadao Chino ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank-ADB) ได้เข้าพบและหารือกับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนสรุปได้ดังนี้
1. ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีภายใต้ยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ขึ้นที่จังหวัดกระบี่ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาชิก ACMECS ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า ไทย รวมทั้งเวียดนาม ซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้เชิญหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners) มาเข้าร่วมประชุมด้วย เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในการนี้ นาย Tadao Chino ประธานธนาคาร ADB ได้แจ้งให้ทราบว่า ADB จะส่งรองประธาน ADB เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
2. การประชุมระดับรัฐมนตรี ACMECS ในครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศจากสมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศจะทบทวนว่าโครงการของ ACMECS คืบหน้า ไปเพียงใด และมีโครงการใดบ้าง ที่เวียดนามซึ่งเป็นสมาชิกใหม่จะร่วมดำเนินการได้บ้าง เนื่องจากเวียดนามจะเข้าร่วมทั้งในฐานะผู้รับและผู้ให้ หลังจากนั้นสมาชิก ACMECS ทั้งหมด จะหารือกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ว่ามีโครงการใดที่เป็นรูปธรรมที่หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา จะเข้ามาช่วยได้ทางด้านการเงิน ดังนั้น สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ริเริ่มไว้ ในเรื่อง ACMECS นั้น ขณะนี้ได้รับการตอบสนองจากทั้งองค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ และประเทศต่างๆ ที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับประเทศไทยในการช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งเมื่อประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน มีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้นปัญหาต่างๆ ที่ประเทศไทยประสบอยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหายาเสพติด ก็จะหมดไปและความเข้าใจระหว่างกันก็จะดีขึ้นด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ประธานธนาคาร ADB ได้แจ้งว่า ทุกโครงการภายใต้ ACMECS ที่นายกรัฐมนตรีริเริ่มนั้นธนาคาร ADB จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ และในการประชุม ACMECS ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 นี้ ธนาคาร ADB จะมีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการสนับสนุนโครงการดังกล่าว ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งกับประธาน ADB ว่า ถึงแม้ว่าไทย จะไม่ได้กู้เงินจากธนาคาร ADB แต่การที่ธนาคาร ADB มาช่วยประเทศเพื่อนบ้าน ก็เท่ากับช่วยประเทศไทยด้วย และขณะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับธนาคาร ADB ได้พัฒนามาเป็น หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) ซึ่งกันและกันแล้ว
3. ประธานธนาคาร ADB ได้แจ้งว่าธนาคาร ADB ได้ให้ความสนใจกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในกรอบ BIMSTEC มาก โดยธนาคาร ADB มีแผนกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ แผนกเอเชียใต้ เพื่อดูแลในเรื่องการเชื่อมโยงความร่วมมือกันระหว่างอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ภายใต้กรอบ BIMSTEC และผลจากการประชุม BIMSTEC ระดับผู้นำ ที่จัดขึ้นในประเทศไทยที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานที่ผ่านมานั้น ADB ก็พร้อมที่จะเข้าไปเสริม ในโครงการต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ดังนั้นความร่วมมือในกรอบ BIMSTEC จะมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อธนาคาร ADB เข้ามาเป็นหุ้นส่วนเต็มที่เช่นนี้
4. ประธานธนาคาร ADB แจ้งให้ทราบว่าธนาคาร ADB สนับสนุนแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในเรื่องการประชุมความร่วมมือในกรอบ ACD และมีความเห็นตรงกันกับไทยว่า การเริ่มนโยบายจากกรอบ ACMECS กับประเทศเพื่อนบ้านจะ ทำให้ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลให้อาเซียนเข้มแข็ง และต่อไป อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีก็จะเข้มแข็งด้วย นอกจากนั้นเมื่อมีประเทศเอเชียใต้เข้ามาร่วมในกรอบ BIMSTEC และมีความร่วมมือในกรอบ ACD ซึ่งเป็นความร่วมมือในทุก อนุภูมิภาคของเอเชียก็จะเห็นภาพว่าทุกกรอบความร่วมมือจะเปรียบเสมือนตัวต่อ (jigsaw) และทำให้มองเห็นในภาพรวม คืออนาคตของประชาคมเอเชีย หรือ Asian Community ซึ่งเป็นสิ่งที่ประธานธนาคาร ADB เห็นด้วยกับภาพการมองและความพยายามของไทยในการดำเนินการดังกล่าว และได้ย้ำหลายครั้งว่าธนาคาร ADB พร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่และประธาน ADB คนใหม่ที่จะเข้ามารับหน้าที่ภายหลังเดือนมกราคม 2548 แทนนั้นก็จะสานต่อนโยบายของประธาน ADB คนปัจจุบันเช่นเดียวกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 นาย Tadao Chino ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank-ADB) ได้เข้าพบและหารือกับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนสรุปได้ดังนี้
1. ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีภายใต้ยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ขึ้นที่จังหวัดกระบี่ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาชิก ACMECS ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า ไทย รวมทั้งเวียดนาม ซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้เชิญหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners) มาเข้าร่วมประชุมด้วย เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในการนี้ นาย Tadao Chino ประธานธนาคาร ADB ได้แจ้งให้ทราบว่า ADB จะส่งรองประธาน ADB เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
2. การประชุมระดับรัฐมนตรี ACMECS ในครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศจากสมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศจะทบทวนว่าโครงการของ ACMECS คืบหน้า ไปเพียงใด และมีโครงการใดบ้าง ที่เวียดนามซึ่งเป็นสมาชิกใหม่จะร่วมดำเนินการได้บ้าง เนื่องจากเวียดนามจะเข้าร่วมทั้งในฐานะผู้รับและผู้ให้ หลังจากนั้นสมาชิก ACMECS ทั้งหมด จะหารือกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ว่ามีโครงการใดที่เป็นรูปธรรมที่หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา จะเข้ามาช่วยได้ทางด้านการเงิน ดังนั้น สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ริเริ่มไว้ ในเรื่อง ACMECS นั้น ขณะนี้ได้รับการตอบสนองจากทั้งองค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ และประเทศต่างๆ ที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับประเทศไทยในการช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งเมื่อประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน มีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้นปัญหาต่างๆ ที่ประเทศไทยประสบอยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหายาเสพติด ก็จะหมดไปและความเข้าใจระหว่างกันก็จะดีขึ้นด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ประธานธนาคาร ADB ได้แจ้งว่า ทุกโครงการภายใต้ ACMECS ที่นายกรัฐมนตรีริเริ่มนั้นธนาคาร ADB จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ และในการประชุม ACMECS ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 นี้ ธนาคาร ADB จะมีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการสนับสนุนโครงการดังกล่าว ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งกับประธาน ADB ว่า ถึงแม้ว่าไทย จะไม่ได้กู้เงินจากธนาคาร ADB แต่การที่ธนาคาร ADB มาช่วยประเทศเพื่อนบ้าน ก็เท่ากับช่วยประเทศไทยด้วย และขณะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับธนาคาร ADB ได้พัฒนามาเป็น หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) ซึ่งกันและกันแล้ว
3. ประธานธนาคาร ADB ได้แจ้งว่าธนาคาร ADB ได้ให้ความสนใจกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในกรอบ BIMSTEC มาก โดยธนาคาร ADB มีแผนกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ แผนกเอเชียใต้ เพื่อดูแลในเรื่องการเชื่อมโยงความร่วมมือกันระหว่างอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ภายใต้กรอบ BIMSTEC และผลจากการประชุม BIMSTEC ระดับผู้นำ ที่จัดขึ้นในประเทศไทยที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานที่ผ่านมานั้น ADB ก็พร้อมที่จะเข้าไปเสริม ในโครงการต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ดังนั้นความร่วมมือในกรอบ BIMSTEC จะมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อธนาคาร ADB เข้ามาเป็นหุ้นส่วนเต็มที่เช่นนี้
4. ประธานธนาคาร ADB แจ้งให้ทราบว่าธนาคาร ADB สนับสนุนแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในเรื่องการประชุมความร่วมมือในกรอบ ACD และมีความเห็นตรงกันกับไทยว่า การเริ่มนโยบายจากกรอบ ACMECS กับประเทศเพื่อนบ้านจะ ทำให้ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลให้อาเซียนเข้มแข็ง และต่อไป อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีก็จะเข้มแข็งด้วย นอกจากนั้นเมื่อมีประเทศเอเชียใต้เข้ามาร่วมในกรอบ BIMSTEC และมีความร่วมมือในกรอบ ACD ซึ่งเป็นความร่วมมือในทุก อนุภูมิภาคของเอเชียก็จะเห็นภาพว่าทุกกรอบความร่วมมือจะเปรียบเสมือนตัวต่อ (jigsaw) และทำให้มองเห็นในภาพรวม คืออนาคตของประชาคมเอเชีย หรือ Asian Community ซึ่งเป็นสิ่งที่ประธานธนาคาร ADB เห็นด้วยกับภาพการมองและความพยายามของไทยในการดำเนินการดังกล่าว และได้ย้ำหลายครั้งว่าธนาคาร ADB พร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่และประธาน ADB คนใหม่ที่จะเข้ามารับหน้าที่ภายหลังเดือนมกราคม 2548 แทนนั้นก็จะสานต่อนโยบายของประธาน ADB คนปัจจุบันเช่นเดียวกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-