(ต่อ2) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติและ 25 แม่น้ำสำคัญของประเทศ รวม 9 กลุ่มลุ่มน้ำ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 26, 2004 13:05 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ทั้งระดับปฏิบัติงาน ระดับผู้ชำนาญการ และระดับผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้/ฐานความรู้ด้านน้ำ
และทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์
วิจัย และสรุปผลเป็นฐานความรู้ในระดับต่างๆ อาทิเช่น ฐานความรู้สำหรับนักวิชาการ/นักวิจัยที่จะสามารถนำ
ไปใช้ ฐานความรู้ที่ช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำสำหรับผู้บริหารหรือระดับนโยบาย
เป็นต้น นอกจากนั้นสมควรที่จะมีการเชื่อมโยงติดต่อกับฐานความรู้ในต่างประเทศที่ทันสมัย อาทิเช่น การนำ
แบบจำลองคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ หรือพัฒนาใช้ขึ้นเองในปัจจุบัน การนำเทคนิคการพยากรณ์และคาดการณ์
ภัยทางน้ำต่างๆ ทั้งอุทกภัยและมลภาวะทางน้ำ มาประยุกต์ใช้ ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีการฝึกอบรมในด้านการใช้
ข้อมูลทรัพยากรน้ำในระดับต่างๆ และการใช้แบบจำลองหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย
4.2.10 การจัดกลุ่มลุ่มน้ำหลักเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเฉพาะในแต่ละลุ่มน้ำหลัก อาจทำให้เห็นภาพไม่ถูกต้องสมบูรณ์
หรือยังไม่สอดคล้องในเชิงการจัดการเป็นระบบทั้งลุ่มน้ำจนถึงจุดออกทะเลหรือไหลลงสู่แม่น้ำนานาชาติ ดังนั้น
จึงสมควรจัดกลุ่มลุ่มน้ำเป็น 9 กลุ่ม ตามการไหลลงเพื่อให้มองภาพได้ถูกต้องชัดเจนทั้งระบบ และมีรายละเอียด
แยกแต่ละลุ่มน้ำหลัก ทั้ง 25 ลุ่มน้ำสำคัญของประเทศ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำ
ที่มีความเชื่อมต่อและเกี่ยวเนื่องกัน
5. แนวทางการจัดการ 25 แม่น้ำสำคัญของประเทศ
จากการศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกี่ยวกับแนวทางการจัดการ
25 แม่น้ำสำคัญของประเทศ สรุปได้ดังนี้
1) จัดกลุ่มลุ่มน้ำเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพโดยสมควรจัดเป็น
9 กลุ่มลุ่มน้ำตามลักษณะภูมิศาสตร์ หรือการไหลสู่จุดออกทะเลและแม่น้ำนานาชาติ
2) พิจารณาการจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการ
และพิจารณาพื้นที่การเกษตร ทั้งกรณีพื้นที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก และพื้นที่เหมาะสมหรือมีศักยภาพการพัฒนา
ระบบชลประทาน
3) ศึกษาดัชนีชี้วัดสถานภาพทรัพยากรน้ำทั้งในระดับลุ่มน้ำและกลุ่มลุ่มน้ำ โดยจัดกลุ่มดัชนี
เป็นกลุ่มเชิงพื้นที่ เชิงปริมาณน้ำ และเชิงชนิดของพืชที่ปลูก
4) ศึกษาสถานภาพทรัพยากรน้ำและแนวทางพัฒนาในแต่ละลุ่มน้ำและภาพรวมเป็นกลุ่มลุ่มน้ำ
5.1 การจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องทุกด้านในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการ
ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องดำเนินการบริหาร
จัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการ ซึ่งไม่เพียงเฉพาะภายในลุ่มน้ำหลัก และจำเป็นต้องครอบคลุม
กลุ่มลุ่มน้ำที่มีทรัพยากรเกี่ยวข้องกันด้วย และจำเป็นต้องครอบคลุมถึงการจัดการทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องอาทิเช่น
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ประชากรหรือทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ในประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตรรวมกันทั้งหมดถึง 269,497 ตร.กม. หรือประมาณร้อยละ
52.70 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยเป็นพื้นที่ที่ราษฎรใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั้งหมดจากแผนที่การ
ใช้ที่ดิน ซึ่งอาจมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก เช่น มีปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม
หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่บางส่วนราษฎรรุกล้ำเข้าไปในเขตป่าอนุรักษ์ที่
ประกาศตามกฎหมายอีกด้วย ดังนั้นในการศึกษาถึงพื้นที่การเกษตรที่มีศักยภาพในการพัฒนาจึงต้องพิจารณาพื้นที่
การเกษตรในปัจจุบันร่วมกับข้อมูลชนิดดิน ความลาดชันของพื้นที่ และขอบเขตป่าอนุรักษ์ ซึ่งในการพิจารณาพื้นที่
การเกษตรที่มีศักยภาพการพัฒนาได้พิจารณาใน 2 ระดับ ดังนี้
1) พื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก
2) พื้นที่ศักยภาพสำหรับการพัฒนาระบบชลประทาน
5.2 สถานภาพทรัพยากรน้ำและแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาเบื้องต้น
5.2.1 ดัชนีชี้วัดสถานภาพทรัพยากรน้ำ
ข้อมูลสภาพทั่วไปของพื้นที่ลุ่มน้ำ ศักยภาพของพื้นที่ที่เหมาะสมกับการพัฒนา โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
ที่ได้ดำเนินการไปแล้วและที่อยู่ในแผนการก่อสร้าง ปริมาณความต้องการใช้น้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆ พื้นที่ประสบ
อุกทกภัยและภัยแล้ง รวมถึงดัชนีชี้วัดต่างๆ ทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงปริมาณน้ำที่นำมาใช้ในการศึกษาสถานภาพ
ทรัพยากรน้ำรวมถึงแนวทางในการพัฒนาเบื้องต้นในแต่ละกลุ่มลุ่มน้ำหลักมีดังนี้
1) ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ชลประทานในปัจจุบัน พื้นที่เหมาะสมพัฒนาระบบชลประทาน
พื้นที่การเกษตรเหมาะสมต่อการเพาะปลูก พื้นที่การเกษตรปัจจุบัน และพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด
พื้นที่ (ตร.กม.)
กลุ่มลุ่มน้ำหลัก ทั้งลุ่มน้ำ การเกษตรปัจจุบัน เหมาะสมกับ ศักยภาพระบบ ชลประทานปัจจุบัน
การเพาะปลูก ชลประทาน
1.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง 188,645.00 118,763.19 75,492.54 44,443.31 9,360.0
2.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน 17,918.00 2,306.28 289.35 90.86 165.0
3.กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน 157,925.00 80,442.78 47,251.98 30,303.48 23,840.0
4.กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง 30,836.00 6,974.00 4,495.08 1,832.29 2,056.0
5.กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง 18,458.00 11,740.66 6,237.43 4,164.58 2,010.0
6.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออก 13,829.00 8,878.69 3,838.51 582.33 594.0
7.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก 12,347.00 5,162.14 2,892.53 1,175.91 1,251.0
8.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 50,930.00 27,669.23 16,051.25 7,824.34 3,456.0
9.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 20,473.00 7,560.29 4,063.24 1,012.36 282.0
รวมลุ่มน้ำทั้งประเทศ 511,361.00 269,497.28 160,611.91 91,429.48 43,013.0
2) ข้อมูลจำแนกประเภทพืชในพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ได้แก่ ข้าว พืชไร่
พืชผัก และไม้ผล ไม้ยืนต้น ดังนี้
พื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก (ตร.กม.)
กลุ่มลุ่มน้ำหลัก ข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผลไม้ยืนต้น รวม
1. กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง 57,807.14 17,285.70 34.58 365.11 75,492.54
2. กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน 203.84 82.07 2.22 1.23 289.35
3. กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน 33,281.27 12,187.74 111.10 1,671.87 47,251.98
4. กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง 1,342.60 2,599.50 29.31 523.67 4,495.08
5. กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง 4,034.80 1,909.35 - 293.28 6,237.43
6. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออก 519.77 1,712.64 2.77 1,603.34 3,838.51
7. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก 968.69 1,201.77 11.58 710.49 2,892.53
8. กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 6,038.57 10.98 0.31 10,001.39 16,051.25
9. กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 863.86 - 5.28 3,194.10 4,063.24
รวมลุ่มน้ำทั้งประเทศ 105,060.53 36,989.75 197.15 18,364.49 160,611.91
หมายเหตุ : พื้นที่ในแต่ละกลุ่มพืชที่แสดงเป็นพื้นที่การเพาะปลูกปัจจุบันที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่เหมาะสม
กับการเพาะปลูก
3) ข้อมูลเชิงปริมาณน้ำ ได้แก่ ปริมาณความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรมในปัจจุบัน ความจุ
ใช้งานของอ่างเก็บน้ำ ความจุเก็บกักของอ่างเก็บน้ำ และปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปีของกลุ่มลุ่มน้ำ
กลุ่มลุ่มน้ำหลัก ปริมาณน้ำ ความจุใช้งาน ความจุเก็บกัก ปริมาณน้ำ
ต้องการปัจจุบัน ของอ่าง ของอ่าง ท่าเฉลี่ยรายปี
1.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง 12,492.1 8,047.2 9,803.9 68,084.6
2.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน 1,583.6 14.3 15.7 8,375.8
3.กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน 29,470.2 18,725.3 25,602.2 33,132.4
4.กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง 5,821.2 13,361.6 26,653.0 15,129.5
5.กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง 2,179.5 84.0 189.7 8,508.0
6.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออก 617.0 431.9 517.5 12,979.6
7.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก 1,245.0 1,124.3 1,261.1 2,727.9
8.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 8,989.7 5,624.4 7,347.1 42,089.1
9.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 2,345.1 51.3 54.9 22,396.7
รวมลุ่มน้ำทั้งประเทศ 64,743.3 47,464.2 71,444.9 213,423.5
หมายเหตุ : หน่วยเป็น ล้าน ลบ.ม.
4) ข้อมูลปริมาณความต้องการใช้น้ำในปัจจุบัน และกรณีพัฒนาพื้นที่ชลประทานเต็มศักยภาพ
พื้นที่เหมาะสมชลประทาน ได้แก่ ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรม ชลประทาน
การรักษาระบบนิเวศ และความต้องการใช้น้ำรวมทุกกิจกรรม ดังนี้
กลุ่มลุ่มน้ำหลัก ปริมาณความต้องการใช้น้ำในปัจจุบัน, ล้าน ลบ.ม./ปี ปริมาณความต้องการใช้น้ำกรณีพัฒนาพื้นที่ชลประทานเต็มศักยภาพ, ล้าน ลบ.ม./ปี
อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม ชลประทาน รักษาระบบนิเวศ รวม อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม ชลประทาน รักษาระบบนิเวศ รวม
1.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง 571.1 310.4 8,090.4 3,520.2 12,492.1 646.1 628.1 45,112.2 3,520.0 49,906.6
2.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน 12.3 4.0 114.3 1,453.0 1,583.6 17.1 9.7 114.3 1,453.0 1,594.1
3.กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน 1,347.7 598.3 24,160.1 3,364.1 29,470.2 1,525.9 1,581.7 33,475.8 3,364.1 39,947.5
4.กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง 47.0 63.3 4,210.4 1,500.5 5,821.2 54.6 177.9 4,210.4 1,500.5 5,943.3
5.กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง 54.7 87.0 1,890.3 147.4 2,179.5 70.5 260.5 4,139.5 147.4 4,617.9
6.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออก 69.5 93.3 248.9 205.2 617.0 98.9 301.1 248.9 205.2 854.1
7.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก 27.4 34.1 914.1 269.4 1,245.0 31.2 164.2 1,551.2 269.4 2,016.0
8.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 180.6 91.6 1,672.0 7,045.6 8,989.7 230.2 317.6 8,971.3 7,045.6 16,564.7
9.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 52.9 34.4 164.3 2,0963.4 2,345.1 78.2 92.4 1,227.9 2,093.4 3,491.9
รวมลุ่มน้ำทั้งประเทศ 2,363.3 1,316.3 41,464.8 19,598.8 64,743.3 2,752.6 3,533.2 99,051.4 19,598.9 124,936.2
5) ข้อมูลดัชนีชี้วัดสถานภาพทรัพยากรน้ำในเชิงพื้นที่ ได้แก่ สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ / พื้นที่ลุ่มน้ำ
สัดส่วนพื้นที่ชลประทานปัจจุบัน / พื้นที่เหมาะสมต่อการพัฒนาระบบชลประทาน สัดส่วนพื้นที่ชลประทานปัจจุบัน
/ พื้นที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก สัดส่วนหมู่บ้านน้ำท่วม / หมู่บ้านทั้งหมด และสัดส่วนหมู่บ้านภัยแล้ง
/ หมู่บ้านทั้งหมด
หน่วย : ร้อยละ
กลุ่มลุ่มน้ำหลัก สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ สัดส่วนพื้นที่ชลประทาน สัดส่วนพื้นที่ชลประทาน สัดส่วนหมู่บ้านน้ำท่วม สัดส่วนหมู่บ้านภัยแล้ง
/พื้นที่ลุ่มน้ำ /พื้นที่เหมาะสมชลประทาน /พื้นที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก /หมู่บานทั้งหมด /หมู่บ้านทั้งหมด
1.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง 28.92 21.06 12.40 10.09 54.94
2.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน 86.03 181.52 57.01 10.94 70.00
3.กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน 42.02 78.67 50.45 10.92 56.59
4.กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง 68.84 112.21 45.73 7.85 60.71
5.กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง 31.05 48.26 32.22 16.48 52.09
6.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออก 26.20 102.01 15.47 0.67 53.28
7.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก 50.88 106.39 43.25 10.54 66.63
8.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 37.50 44.17 21.53 12.41 48.63
9.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 58.07 27.85 6.94 11.33 49.92
รวมลุ่มน้ำทั้งประเทศ 39.93 47.04 26.78 10.58 55.10
(6) ข้อมูลดัชนีชี้วัดสถานภาพทรัพยากรน้ำในเชิงปริมาณน้ำ ได้แก่ สัดส่วนความจุใช้งาน
/ ปริมาณน้ำท่า สัดส่วนปริมาณน้ำต้องการปัจจุบัน / ปริมาณน้ำท่า สัดส่วนปริมาณน้ำต้องการทั้งปีเต็มศักยภาพ
/ ปริมาณน้ำท่า สัดส่วนปริมาณน้ำต้องการฤดูแล้งปัจจุบัน / ความจุใช้งาน และสัดส่วนปริมาณน้ำต้องการ
ฤดูแล้งเต็มศักยภาพ / ความจุใช้งาน
หน่วย : ร้อยละ
กลุ่มลุ่มน้ำหลัก สัดส่วนความจุใช้งาน สัดส่วนปริมาณน้ำต้องการ สัดส่วนปริมาณน้ำต้องการทั้งปี สัดส่วนปริมาณน้ำต้องการช่วง สัดส่วนปริมาณน้ำต้องการช่วง
/ปริมาณน้ำท่า ทั้งปีปัจจุบัน/ปริมาณน้ำท่า เต็มศักยภาพ/ปริมาณน้ำท่า ฤดูแล้งปัจจุบัน/ความจุใช้งาน ฤดูแล้งเต็มศักยภาพ/ความจุใช้งาน
1.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง 11.82 18.35 73.30 46.78 277.34
2.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน 0.71 18.91 19.03 362.60 399.33
3.กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน 56.52 88.95 120.57 85.82 115.80
4.กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง 88.31 38.48 39.28 24.19 24.64
5.กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง 0.99 25.62 54.28 1,362.32 3,257.42
6.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออก 3.33 4.75 6.58 61.97 89.42
7.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก 41.21 45.64 73.90 26.22 69.28
8.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 13.36 21.36 39.36 13.13 63.08
9.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 0.23 10.47 15.59 230.85 1,299.68
รวมลุ่มน้ำทั้งประเทศ 22.24 30.34 58.54 54.11 116.86
6. สรุปศักยภาพทรัพยากรน้ำและแนวทางการพัฒนา 9 กลุ่มลุ่มน้ำ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาข้อมูลดัชนีชี้วัดสถานภาพทรัพยากรน้ำและ
ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำคัญของแต่ละกลุ่มลุ่มน้ำเทียบกับของประเทศ และจากการพิจารณาปัจจัยด้านอื่นประกอบ
พอสรุปสถานภาพทรัพยากรน้ำและแนวทางแก้ไขและพัฒนา 9 กลุ่มลุ่มน้ำได้ดังนี้
กลุ่มลุ่มน้ำ สถานภาพทรัพยากรน้ำและแนวทางปรับปรุงและพัฒนา
1. กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง - สภาพต้นน้ำลำธาร มีพื้นที่ป่าไม้ปกคลุมน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศ
- ปริมาณน้ำท่าในช่วงฤดูแล้งไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในลุ่มน้ำมูล
- มีพื้นที่ที่สามารถพัฒนาระบบชลประทานเพิ่มเติมได้อีกมาก
- ปัจจุบันมีการพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางค่อนข้างน้อย
เมื่อเทียบความจุใช้งานกับปริมาณน้ำท่าของลุ่มน้ำ
- การพัฒนามีข้อจำกัดมากในเรื่องสภาพภูมิประเทศ ทำให้หาที่ก่อสร้าง
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ได้ยาก
- แนวทางการพัฒนาเป็นการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และฝาย
ในลำน้ำ
- แนวทางผันน้ำจากแหล่งน้ำข้างเคียงที่มีศักยภาพ(แม่น้ำโขง) มาเสริมได้
2. กลุ่มลุ่มน้ำสาขา แม่น้ำสาละวิน - พื้นที่ต้นน้ำลำธารสมบูรณ์มาก มีสัดส่วนพื้นที่ป่าสูงมาก
- พื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกมีน้อย และส่วนใหญ่ได้
พัฒนาแล้ว
- มีการพัฒนาโครงการประเภทเก็บกักน้ำน้อยมาก และยังมีศักยภาพ
ในเชิงปริมาณน้ำที่จะสามารถพัฒนานำมาใช้ได้อีกมาก
- มีศักยภาพที่จะผันน้ำจากลุ่มน้ำนี้ไปเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่เขื่อนภูมิพลหรือ
กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน คุณภาพน้ำโดยรวมอยู่ในสภาพที่ดี
3. กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาท่าจีน - พื้นที่ป่าไม้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศและมีความต้องการใช้น้ำมาก
ในทุกกิจกรรม
- มีการพัฒนาโครงการเก็บกักน้ำไว้ค่อนข้างมากแต่ก็ยังมีศักยภาพที่จะ
สร้างโครงการขนาดใหญ่เพิ่มเติมได้อีกหลายแห่ง
- ในปัจจุบันมีปริมาณความต้องการใช้น้ำสูงมากจนปริมาณน้ำท่าที่มีอยู่ใน
พื้นที่ลุ่ม-น้ำไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการได้
- ควรสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพิ่มเติมในพื้นที่ตอนบน แต่ไม่ควรจะ
เน้นเปิดพื้นที่ชลประทานใหม่ตามศักยภาพปริมาณน้ำที่จะพัฒนาเพิ่มเติม
ตอนบน เพราะบริเวณพื้นที่ชลประทานตอนล่างยังขาดแคลนน้ำมาก
- ควรเน้นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานและลดสัดส่วนการ
ปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้งลง
- ควรเพิ่มปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำข้างเคียง มาเสริมกิจกรรมใช้น้ำช่วงฤดูแล้ง
4. กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง - พื้นที่ต้นน้ำลำธาร สัดส่วนพื้นที่ป่าค่อนข้างสูง แต่มีการกัดเซาะหน้าดิน
- มีการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำไว้จำนวนมากกว่ากลุ่มลุ่มน้ำอื่น
- มีปริมาณความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำไม่สูงนักจึงเป็นลุ่มน้ำที่ค่อนข้าง
สมบูรณ์ที่สุดของประเทศ
- มีศักยภาพผันน้ำไปช่วยการประปาของกรุงเทพมหานครได้บางส่วน
- ควรเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กและระบบกระจายน้ำ
ให้กับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำและอยู่ห่างจากลำน้ำสายหลัก
5. กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง - พื้นที่ต้นน้ำลำธารมีสัดส่วนพื้นที่ป่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าของประเทศและมี
ความต้องการใช้น้ำมาก
- มีการพัฒนาโครงการกักเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางอยู่ในเกณฑ์
น้อยมาก
- เร่งการพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางในลุ่มน้ำสาขาตอนบน
คือลุ่มน้ำปราจีนบุรีและลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งมีศักยภาพสูงมาก
- การสร้างโครงการกักเก็บน้ำเพิ่มเติมควรศึกษาถึงสมดุลระบบแหล่งน้ำ
ทั้งลุ่มน้ำ
6. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเล - สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ในบริเวณต้นน้ำลำธารต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของ
อ่าวไทยตะวันออก ประเทศ บริเวณที่มีปัญหามากที่สุดอยู่ที่จังหวัดชลบุรีและระยองและมีการ
พัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางเพิ่มขึ้น
- พิจารณาบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและ
อุตสาหกรรมบริเวณจังหวัดชลบุรีและระยองโดยเร่งด่วน
- พื้นที่ทางด้านตะวันออกเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศ และ
มีความต้องการน้ำช่วงปลายฤดูแล้งค่อนข้างมาก จึงมีความต้องการ
ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม
7. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเล - สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศ
อ่าวไทยตะวันตก - มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางพอสมควรแล้ว
- ควรเน้นการก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก
เพิ่มเติมในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายน้ำด้วย
8. กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก - สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศ
- มีปริมาณน้ำท่าที่จะสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ตามปริมาณความ
ต้องการน้ำในกิจกรรมต่างๆ ได้อีกมาก
- พื้นที่การเกษตรที่มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูกที่ยังไม่ได้พัฒนา
ระบบชล-ประทานส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราความจำเป็น
ในการพัฒนาพื้นที่ชล-ประทานเพิ่มเติมจึงไม่มากนัก
- แหล่งน้ำเพิ่มเติมควรเน้นไปที่การตอบสนองต่อปริมาณความต้องการ
ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และท่องเที่ยว โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งบริเวณที่อยู่ในแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
9. กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ ฝั่งตะวันตก - สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศ
- มีปริมาณน้ำท่าที่จะสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้อีกมาก
- พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นและยางพารา จึงไม่มีความจำเป็นที่จะพัฒนา
พื้นที่ชล-ประทานขนาดใหญ่และกลางเพิ่มเติม ควรเน้นโครงการ
ขนาดเล็กกระจายในบริเวณที่ขาดแคลนน้ำ
- แหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มเติม ควรเน้นเพื่อการอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม
และท่องเที่ยว
7. ความเห็น และข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ
1. ควรดำเนินการแบ่ง 25 แม่น้ำสำคัญเป็น 9 กลุ่มลุ่มน้ำ เพื่อให้สามารถดำเนินการ
บริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้เป็นระบบทั้งลุ่มน้ำที่เกี่ยวเนื่องกัน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังคงยึดการแบ่งตาม
ภูมิภาคเป็นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ของเขตการปกครองของประเทศ ซึ่งรวมถึงการแบ่ง
ของหน่วยงานต่างๆ อาทิ การแบ่งงานของสำนักชลประทานทั้ง 16 สำนัก ของกรมชลประทาน ดังนั้นความต่าง
หรือความสอดคล้องสัมพันธ์ของกลุ่มลุ่มน้ำกับการแบ่งงานของหน่วยงานต่างๆ สมควรที่จะพิจารณาให้ชัดเจน
2. มาตรการและการดำเนินการให้เกิดความเป็นรูปธรรมในการแบ่ง 25 แม่น้ำ
สำคัญเป็น 9 กลุ่มลุ่มน้ำตามลักษณะของการไหลลงสู่ทะเลหรือแม่น้ำนานาชาติ เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความ
เข้าใจ เป็นที่ยอมรับและนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกัน รวมทั้งควรจะเน้นการบริหารจัดการทั้งจากแหล่งน้ำที่มี
อยู่แล้วให้ประชาชน และเกษตรกรสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
3. เมื่อภาครัฐได้ดำเนินการแบ่ง 25 แม่น้ำสำคัญของประเทศเป็น 9 กลุ่มลุ่มน้ำ
ประเด็นที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการเพื่อความสอดคล้องกับการแบ่งกลุ่มลุ่มน้ำตามลักษณะของการไหลลง ดังนี้
รัฐควรดำเนินการให้มียุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำเพื่อสนองตอบความจำเป็นการใช้น้ำในกิจกรรม
ต่างๆโดยใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อร่วมรับผิดชอบการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำ เกิดความโปร่งใสในการจัดการ
คณะกรรมการลุ่มน้ำควรมีการเร่งดำเนินการในเรื่องสิทธิการใช้น้ำ แนวทางในการจัดสรรน้ำ
ทั้งภายในกลุ่มลุ่มน้ำ และนอกกลุ่มลุ่มน้ำ
4. กรอบการทำงานและการบริหารจัดการของกรมชลประทานเป็นการจัดการน้ำ
เพื่อการเกษตรซึ่งโดยข้อเท็จจริงในการปฏิบัติงานไม่ใช่มีกรอบการดำเนินงานเพียงการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
เท่านั้น แต่รวมถึง การพัฒนาน้ำทั้งด้านการเกษตร อุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรม ควบคู่กันไปด้วย จึง
เห็นสมควรให้มีการทบทวนให้เป็นไปตามความเป็นจริง
(ยังมีต่อ)

แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ