เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคมยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ การลงทุนภาคเอกชนในภาคก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักรมีแนวโน้มขยายตัวดี การค้าระหว่างประเทศทั้งการส่งออกและนำเข้าขยายตัวสูง การใช้จ่ายภาครัฐในเดือนแรกของปีงบประมาณ 48 มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีงบประมาณก่อน การผลิตมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังขยายตัวต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนั้นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนตุลาคม 2547 ดังนี้
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อุปสงค์การบริโภคของประชาชนยังคงขยายตัวดีโดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนตุลาคมขยายตัวที่ร้อยละ 13.0 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน สอดคล้องกับการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวสูง การลงทุนภาคเอกชนทั้งจากการลงทุนใหม่และใช้ในการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยังคงขยายตัวสูง โดยมูลค่าโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI รวม 10 เดือนแรกของปี 2547 (มกราคม - ตุลาคม 2547) ขยายตัวสูงร้อยละ 76.9 เทียบกับปีก่อน สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนกันยายนที่ขยายตัวร้อยละ 24.4 ขณะที่การลงทุนภาคก่อสร้างยังคงมีแนวโน้มที่ดีตามการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ สะท้อนจากรายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 14.8 ในเดือนตุลาคม และปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 18.7 ในเดือนกันยายน
การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์ดี รายจ่ายรัฐบาลตามระบบ สศค. เดือนตุลาคมซึ่งเป็นเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 48 อยู่ที่ 89.15 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.8 และรายจ่ายลงทุนขยายตัวดีที่ร้อยละ 11.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง มูลค่าการส่งออกเดือนตุลาคมอยู่ที่ 9.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.5 สร้างสถิติการส่งออกสูงกว่า 9 พันล้านดออลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งการส่งออกรับเทศกาลคริสต์มาส ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนตุลาคมอยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ชะลอตัวจากร้อยละ 28.3 ในเดือนก่อน ผลจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างสูงและการขยายตัวของการนำเข้าที่ลดลงส่งผลให้ดุลการค้าเดือนตุลาคมเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จำนวน 673.2 ล้านดอลลาร์
การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อุปทานด้านการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนรองรับการเพิ่มขึ้นอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 7.7 โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมในกลุ่มยาสูบ กลุ่มเครื่องดื่ม กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 70.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 66.7
สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 11.8 ในเดือนกันยายน ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในเดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 12.1
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงจากร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อน โดยกลุ่มสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มอาหารสดโดยเฉพาะผักและผลไม้ และกลุ่มพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.8 ในเดือนกันยายน ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนกันยายนเกินดุลที่ 579 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากการเกินดุล 215 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 46.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนตุลาคม คิดเป็น 6.1 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,984 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.23 ของ GDP เพิ่มขึ้นจาก เดือนกรกฎาคม 2547 เท่ากับ 2,942 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.58 ของ GDP ทั้งนี้คิดเป็นหนี้ในประเทศ ร้อยละ 77.58 และหนี้ต่าง ประเทศ ร้อยละ 22.42
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนตุลาคม 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดย
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 13.0 ในเดือนตุลาคม สะท้อนความต้องการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (2) ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนหดตัวร้อยละ 12.0 ในเดือนตุลาคม เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2547 ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ขนาดเล็กและรถกระบะ ซึ่งเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในช่วงปลายปีจะมีงานมอเตอร์โชว์ ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีการชะลอการซื้อรถยนต์ในช่วงนี้ (3) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกันยายนปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 88.8 จุด เป็นผลจากความกังวลต่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก และปัญหาความไม่สงบของภาคใต้ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น (4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 13.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 18.9 สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 7.6 ในเดือนกันยายน และร้อยละ 8.0 ในไตรมาสที่ 3
การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย (1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนตุลาคมยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.8 (2) การลงทุนปรับปรุงการผลิตเพื่อรองรับการขยายตัวของอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 24.4 เดือนกันยายน และขยายตัวร้อยละ 25.9 ในไตรมาสที่ 3 (3) มูลค่าของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม - ตุลาคม อยู่ที่ 482.5 พันล้านบาทขยายตัวที่ร้อยละ 76.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (4) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 18.7 ในเดือนกันยายน ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 14.6
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง (1) มูลค่าการส่งออกเดือนตุลาคมอยู่ที่ 9.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 26.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.0 ในเดือนก่อน สร้างสถิตการส่งออกใหม่ การขยายตัวของการส่งออกที่สูงเป็นผลจากการเร่งส่งออกรับเทศการคริสต์มาส และปีใหม่(2) มูลค่าการนำเข้าเดือนตุลาคมอยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ลดลงจากขยายตัวที่ร้อยละ 28.3 ในเดือนกันยายน (3) ดุลการค้าเดือนตุลาคมเกินดุล 673.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเนื่องจากการเกินดุลที่ 483.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน (4) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานดอนเมืองเดือนกันยายนมีจำนวน 6.5 แสนราย ขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 สูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.7
การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยรายจ่ายรัฐบาลตามระบบสถิติเพื่อการศึกษา และวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนตุลาคมอยู่ที่ 89.15 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.7 โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวที่ร้อยละ 11.7
การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 7.7 อยู่ที่ 151.5 จุด ขณะที่ทั้งไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เฉลี่ยอยู่ที่ 149.4 จุดโดยหมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) หดตัวลงร้อยละ 0.3 ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึง ร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 5.1และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30 ขยายตัวร้อยละ 14.8 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 70.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.4 ในเดือนก่อน ขณะที่ทั้งไตรมาส 3 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 69.3
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่เงินฝากขยายตัวในอัตราชะลอตัว เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย (1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 3.8 (2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 11.8 ในเดือนกันยายน ตามความต้องการลงทุนของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย (1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.18 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 (2) สินเชื่อคงค้าง ขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.102 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนกรกฎาคม จำนวน 37.2 พันล้านบาท (3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2 อยู่ที่ 112.9 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 47 คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด (4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 (5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง อยู่ที่ 1.51 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนมิถุนายนกำไรสุทธิ จำนวน 3,399 ล้านบาท ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 6,305 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายใน และภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง (1) อัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงจากร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อน โดยกลุ่มสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มอาหารสดโดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ และกลุ่มพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.8 ในเดือนกันยายน (3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกันยายนเกินดุลทั้งสิ้น 579 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเกินดุล 215 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ขณะที่ทั้งไตรมาส 3 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,404 ล้านดอลลาร์สรอ. เกินดุล เพิ่มขึ้นจาก 635 ล้านดอลลาร์สรอ.ในไตรมาสก่อนหน้า (4) ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 46.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคม คิดเป็น 6.1 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 15/2547 25 พฤศจิกายน 2547--
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนตุลาคม 2547 ดังนี้
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อุปสงค์การบริโภคของประชาชนยังคงขยายตัวดีโดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนตุลาคมขยายตัวที่ร้อยละ 13.0 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน สอดคล้องกับการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวสูง การลงทุนภาคเอกชนทั้งจากการลงทุนใหม่และใช้ในการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยังคงขยายตัวสูง โดยมูลค่าโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI รวม 10 เดือนแรกของปี 2547 (มกราคม - ตุลาคม 2547) ขยายตัวสูงร้อยละ 76.9 เทียบกับปีก่อน สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนกันยายนที่ขยายตัวร้อยละ 24.4 ขณะที่การลงทุนภาคก่อสร้างยังคงมีแนวโน้มที่ดีตามการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ สะท้อนจากรายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 14.8 ในเดือนตุลาคม และปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 18.7 ในเดือนกันยายน
การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์ดี รายจ่ายรัฐบาลตามระบบ สศค. เดือนตุลาคมซึ่งเป็นเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 48 อยู่ที่ 89.15 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.8 และรายจ่ายลงทุนขยายตัวดีที่ร้อยละ 11.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง มูลค่าการส่งออกเดือนตุลาคมอยู่ที่ 9.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.5 สร้างสถิติการส่งออกสูงกว่า 9 พันล้านดออลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งการส่งออกรับเทศกาลคริสต์มาส ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนตุลาคมอยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ชะลอตัวจากร้อยละ 28.3 ในเดือนก่อน ผลจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างสูงและการขยายตัวของการนำเข้าที่ลดลงส่งผลให้ดุลการค้าเดือนตุลาคมเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จำนวน 673.2 ล้านดอลลาร์
การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อุปทานด้านการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนรองรับการเพิ่มขึ้นอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 7.7 โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมในกลุ่มยาสูบ กลุ่มเครื่องดื่ม กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 70.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 66.7
สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 11.8 ในเดือนกันยายน ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในเดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 12.1
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงจากร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อน โดยกลุ่มสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มอาหารสดโดยเฉพาะผักและผลไม้ และกลุ่มพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.8 ในเดือนกันยายน ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนกันยายนเกินดุลที่ 579 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากการเกินดุล 215 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 46.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนตุลาคม คิดเป็น 6.1 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,984 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.23 ของ GDP เพิ่มขึ้นจาก เดือนกรกฎาคม 2547 เท่ากับ 2,942 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.58 ของ GDP ทั้งนี้คิดเป็นหนี้ในประเทศ ร้อยละ 77.58 และหนี้ต่าง ประเทศ ร้อยละ 22.42
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนตุลาคม 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดย
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 13.0 ในเดือนตุลาคม สะท้อนความต้องการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (2) ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนหดตัวร้อยละ 12.0 ในเดือนตุลาคม เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2547 ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ขนาดเล็กและรถกระบะ ซึ่งเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในช่วงปลายปีจะมีงานมอเตอร์โชว์ ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีการชะลอการซื้อรถยนต์ในช่วงนี้ (3) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกันยายนปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 88.8 จุด เป็นผลจากความกังวลต่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก และปัญหาความไม่สงบของภาคใต้ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น (4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 13.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 18.9 สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 7.6 ในเดือนกันยายน และร้อยละ 8.0 ในไตรมาสที่ 3
การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย (1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนตุลาคมยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.8 (2) การลงทุนปรับปรุงการผลิตเพื่อรองรับการขยายตัวของอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 24.4 เดือนกันยายน และขยายตัวร้อยละ 25.9 ในไตรมาสที่ 3 (3) มูลค่าของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม - ตุลาคม อยู่ที่ 482.5 พันล้านบาทขยายตัวที่ร้อยละ 76.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (4) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 18.7 ในเดือนกันยายน ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 14.6
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง (1) มูลค่าการส่งออกเดือนตุลาคมอยู่ที่ 9.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 26.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.0 ในเดือนก่อน สร้างสถิตการส่งออกใหม่ การขยายตัวของการส่งออกที่สูงเป็นผลจากการเร่งส่งออกรับเทศการคริสต์มาส และปีใหม่(2) มูลค่าการนำเข้าเดือนตุลาคมอยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ลดลงจากขยายตัวที่ร้อยละ 28.3 ในเดือนกันยายน (3) ดุลการค้าเดือนตุลาคมเกินดุล 673.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเนื่องจากการเกินดุลที่ 483.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน (4) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานดอนเมืองเดือนกันยายนมีจำนวน 6.5 แสนราย ขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 สูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.7
การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยรายจ่ายรัฐบาลตามระบบสถิติเพื่อการศึกษา และวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนตุลาคมอยู่ที่ 89.15 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.7 โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวที่ร้อยละ 11.7
การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 7.7 อยู่ที่ 151.5 จุด ขณะที่ทั้งไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เฉลี่ยอยู่ที่ 149.4 จุดโดยหมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) หดตัวลงร้อยละ 0.3 ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึง ร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 5.1และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30 ขยายตัวร้อยละ 14.8 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 70.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.4 ในเดือนก่อน ขณะที่ทั้งไตรมาส 3 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 69.3
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่เงินฝากขยายตัวในอัตราชะลอตัว เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย (1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 3.8 (2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 11.8 ในเดือนกันยายน ตามความต้องการลงทุนของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย (1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.18 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 (2) สินเชื่อคงค้าง ขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.102 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนกรกฎาคม จำนวน 37.2 พันล้านบาท (3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2 อยู่ที่ 112.9 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 47 คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด (4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 (5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง อยู่ที่ 1.51 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนมิถุนายนกำไรสุทธิ จำนวน 3,399 ล้านบาท ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 6,305 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายใน และภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง (1) อัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงจากร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อน โดยกลุ่มสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นได้แก่ กลุ่มอาหารสดโดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ และกลุ่มพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.8 ในเดือนกันยายน (3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกันยายนเกินดุลทั้งสิ้น 579 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเกินดุล 215 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ขณะที่ทั้งไตรมาส 3 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,404 ล้านดอลลาร์สรอ. เกินดุล เพิ่มขึ้นจาก 635 ล้านดอลลาร์สรอ.ในไตรมาสก่อนหน้า (4) ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 46.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคม คิดเป็น 6.1 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 15/2547 25 พฤศจิกายน 2547--