เศรษฐกิจภาคเหนือเดือนตุลาคม 2547 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่การส่งออกชะลอตัวจากอุปสงค์ในต่างประเทศประกอบกับโรงงานขนาดใหญ่บางแห่งอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกชะลอลงด้วย ด้านกิจกรรมการลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐตลอดจนภาคบริการชะลอตัว อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรยังเพิ่มขึ้นจากราคาข้าวเป็นสำคัญ ระดับราคาเร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการปรับขึ้นของอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) ส่วนเงินให้สินเชื่อยังขยายตัวสนับสนุนความต้องการเงินทุนของธุรกิจโรงสี และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม ปี 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 ตามผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เนื่องจากราคาในปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก ขณะที่ข้าวนาปีที่อยู่ในช่วงตั้งท้องและเก็บเกี่ยวบางส่วนได้รับความเสียหายจากฝนหมดเร็วกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 2.2 ด้านราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เนื่องจากราคาส่งออกสูงขึ้นและผลผลิตลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7
2. ภาคอุตสาหกรรม ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 เป็น 136.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากบางโรงงานอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนเครื่องจักรผลิตสินค้าชนิดใหม่แทนเครื่องจักรเก่าที่ย้ายการผลิตไปประเทศจีน แต่อุปสงค์จากต่างประเทศในสินค้าชนิดใหม่ยังไม่สามารถทดแทนสินค้าเก่าได้ ทั้งนี้สินค้าที่ยังมีความต้องการต่อเนื่องได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และเครื่องมือแพทย์ ขณะที่การผลิตทรานสฟอร์เมอร์และมอเตอร์ อัญมณี และผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน ลดลง
3. ภาคบริการ ขยายตัวตามฤดูกาลแต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนจากความกังวลของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และหวั่นเกรงว่าอาจมีการก่อการร้ายช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน และราคาห้องพักเฉลี่ยลดลงเป็น 738.07 บาทต่อห้อง จากราคา 744.40 บาทต่อห้องในปีก่อน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานยังขยายตัวต่อเนื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.8 ตามแรงจูงใจด้านราคาของสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) สำหรับภาษีของโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน อยู่ในเกณฑ์ขยายตัว โดยภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการขายส่ง/ขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามมูลค่าการจัดเก็บที่ขยายตัวเกือบทุกจังหวัด และการใช้จ่ายเพื่อซื้อรถยนต์ปรับตัวดีขึ้นตามยอดจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ทำให้ราคารถยนต์ปรับลดลงประกอบกับรถยนต์เชิงพาณิชย์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9
5. การลงทุนภาคเอกชน ความสนใจในการลงทุนก่อสร้างลดลง สะท้อนจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 โดยเฉพาะในภาคเหนือตอนล่าง และค่าธรรมเนียมขายที่ดินลดลงร้อยละ 7.0 ตามธุรกรรมการซื้อขายที่ดินที่ลดลงเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือตอนบน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการลงทุนผลิตขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเงินลงทุนของอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมอบพืชผลและผลิตอาหารสัตว์ และโรงสีข้าว ขณะที่มูลค่านำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน 1.3 เท่า จากการลงทุนการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ส่วนเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าหกเท่าตามการลงทุนผลิตสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเกษตรและเกี่ยวเนื่อง
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือจำนวน 6,482.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.3 เทียบกับลดลงร้อยละ 3.3 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากเป็นช่วงต้นปีงบประมาณและมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเบิกจ่าย (GFMIS) โดยบางรายการแม้จะใช้จ่ายในภูมิภาคแต่โอนไปเบิกที่ส่วนกลาง ทำให้หมวดรายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 35.2 โดยเฉพาะงบกลาง แต่หมวดลงทุนยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 ทางด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล จัดเก็บได้ 1,092.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 ระยะเดียวกันปีก่อน จากภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารที่ลดลงเป็นสำคัญ สำหรับรายได้จากภาษีประเภทอื่นๆ ชะลอตัว ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ทำให้ดุลในงบประมาณขาดดุล 5,806.4 ล้านบาท เทียบกับ 10,793.7 ล้านบาท เดือนก่อน และ 6,294.2 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เป็น 183.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมฯ ภาคเหนือ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 เป็น 136.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากบางโรงงานอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนเครื่องจักรผลิตสินค้าชนิดใหม่แทนเครื่องจักรเก่าที่ย้ายการผลิตไปประเทศจีน ทำให้ไม่สามารถเดินเครื่องผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และเครื่องมือแพทย์ ไปยังตลาดสำคัญคือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และจีน ขณะที่การส่งออกไป ญี่ปุ่น ฮ่องกง และอิสราเอล ลดลง ขณะที่การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 5.1 เหลือ 11.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 เป็น 35.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.1 เป็น 26.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อน จากปัจจัยชั่วคราวในช่วงการปรับเปลี่ยนผู้นำระดับสูงของรัฐบาลพม่าในช่วงปลายเดือน การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.9 เป็น 1.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกยานพาหนะและวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น และการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เป็น 6.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกยางแผ่นรมควันเพิ่มขึ้น
มูลค่านำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 เหลือ 108.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมฯ ลดลงร้อยละ 4.0 เหลือ 97.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องจักรลดลง หลังจากที่เร่งตัวมากในช่วงก่อนหน้า ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนลดลงร้อยละ 2.9 เหลือ 9.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากจีน ที่ลดลงร้อยละ 21.5 เหลือ 5.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากพ่อค้าหันไปนำเข้าที่ส่วนกลางทดแทน ขณะที่การนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 เป็น 3.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าประมงเพิ่มขึ้นมาก และการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เป็น 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าลิกไนต์ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้น
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนตุลาคม 2547 เกินดุล 74.4 ล้านดอลลาร์ สรอ.สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 56.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 เร่งตัวเมื่อเทียบกับร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อน เนื่องจากการปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและการปรับขึ้นของค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) ประกอบกับค่าบริการบำรุงรักษายานยนต์สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 สำหรับราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนเนื่องจากราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิลดลง ขณะที่ราคาผลไม้ลดลงตามปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เดือนกันยายน 2547 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.9 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.5 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 97.0 เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีกำลังแรงงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และการจ้างงานนอกภาคเกษตรสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.5 ตามความต้องการแรงงานของสาขาการผลิต การก่อสร้าง และการขายส่ง/ขายปลีก/ซ่อมแซม ส่งผลให้อัตราการว่างงานต่ำกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 เป็น 295,361 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของส่วนราชการและ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู สำหรับเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 210,460 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3 โดยขยายตัวอย่างต่อเนื่องในภาคอุตสาหกรรมของภาคเหนือตอนล่างเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกิจการโรงสีข้าว และการใช้สินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ที่เพิ่มมากได้แก่จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร สุโขทัย และพิจิตร สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 71.2 สูงกว่าร้อยละ 69.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ 1 ธันวาคม 2547--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม ปี 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 ตามผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เนื่องจากราคาในปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก ขณะที่ข้าวนาปีที่อยู่ในช่วงตั้งท้องและเก็บเกี่ยวบางส่วนได้รับความเสียหายจากฝนหมดเร็วกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 2.2 ด้านราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เนื่องจากราคาส่งออกสูงขึ้นและผลผลิตลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7
2. ภาคอุตสาหกรรม ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 เป็น 136.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากบางโรงงานอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนเครื่องจักรผลิตสินค้าชนิดใหม่แทนเครื่องจักรเก่าที่ย้ายการผลิตไปประเทศจีน แต่อุปสงค์จากต่างประเทศในสินค้าชนิดใหม่ยังไม่สามารถทดแทนสินค้าเก่าได้ ทั้งนี้สินค้าที่ยังมีความต้องการต่อเนื่องได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และเครื่องมือแพทย์ ขณะที่การผลิตทรานสฟอร์เมอร์และมอเตอร์ อัญมณี และผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน ลดลง
3. ภาคบริการ ขยายตัวตามฤดูกาลแต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนจากความกังวลของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และหวั่นเกรงว่าอาจมีการก่อการร้ายช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน และราคาห้องพักเฉลี่ยลดลงเป็น 738.07 บาทต่อห้อง จากราคา 744.40 บาทต่อห้องในปีก่อน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานยังขยายตัวต่อเนื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.8 ตามแรงจูงใจด้านราคาของสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) สำหรับภาษีของโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน อยู่ในเกณฑ์ขยายตัว โดยภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการขายส่ง/ขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามมูลค่าการจัดเก็บที่ขยายตัวเกือบทุกจังหวัด และการใช้จ่ายเพื่อซื้อรถยนต์ปรับตัวดีขึ้นตามยอดจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ทำให้ราคารถยนต์ปรับลดลงประกอบกับรถยนต์เชิงพาณิชย์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9
5. การลงทุนภาคเอกชน ความสนใจในการลงทุนก่อสร้างลดลง สะท้อนจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 โดยเฉพาะในภาคเหนือตอนล่าง และค่าธรรมเนียมขายที่ดินลดลงร้อยละ 7.0 ตามธุรกรรมการซื้อขายที่ดินที่ลดลงเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือตอนบน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการลงทุนผลิตขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเงินลงทุนของอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมอบพืชผลและผลิตอาหารสัตว์ และโรงสีข้าว ขณะที่มูลค่านำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน 1.3 เท่า จากการลงทุนการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ส่วนเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าหกเท่าตามการลงทุนผลิตสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเกษตรและเกี่ยวเนื่อง
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือจำนวน 6,482.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.3 เทียบกับลดลงร้อยละ 3.3 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากเป็นช่วงต้นปีงบประมาณและมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเบิกจ่าย (GFMIS) โดยบางรายการแม้จะใช้จ่ายในภูมิภาคแต่โอนไปเบิกที่ส่วนกลาง ทำให้หมวดรายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 35.2 โดยเฉพาะงบกลาง แต่หมวดลงทุนยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 ทางด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล จัดเก็บได้ 1,092.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 ระยะเดียวกันปีก่อน จากภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารที่ลดลงเป็นสำคัญ สำหรับรายได้จากภาษีประเภทอื่นๆ ชะลอตัว ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ทำให้ดุลในงบประมาณขาดดุล 5,806.4 ล้านบาท เทียบกับ 10,793.7 ล้านบาท เดือนก่อน และ 6,294.2 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เป็น 183.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมฯ ภาคเหนือ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 เป็น 136.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากบางโรงงานอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนเครื่องจักรผลิตสินค้าชนิดใหม่แทนเครื่องจักรเก่าที่ย้ายการผลิตไปประเทศจีน ทำให้ไม่สามารถเดินเครื่องผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และเครื่องมือแพทย์ ไปยังตลาดสำคัญคือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และจีน ขณะที่การส่งออกไป ญี่ปุ่น ฮ่องกง และอิสราเอล ลดลง ขณะที่การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 5.1 เหลือ 11.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 เป็น 35.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.1 เป็น 26.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อน จากปัจจัยชั่วคราวในช่วงการปรับเปลี่ยนผู้นำระดับสูงของรัฐบาลพม่าในช่วงปลายเดือน การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.9 เป็น 1.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกยานพาหนะและวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น และการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เป็น 6.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกยางแผ่นรมควันเพิ่มขึ้น
มูลค่านำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 เหลือ 108.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมฯ ลดลงร้อยละ 4.0 เหลือ 97.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องจักรลดลง หลังจากที่เร่งตัวมากในช่วงก่อนหน้า ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนลดลงร้อยละ 2.9 เหลือ 9.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากจีน ที่ลดลงร้อยละ 21.5 เหลือ 5.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากพ่อค้าหันไปนำเข้าที่ส่วนกลางทดแทน ขณะที่การนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 เป็น 3.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าประมงเพิ่มขึ้นมาก และการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เป็น 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าลิกไนต์ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้น
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนตุลาคม 2547 เกินดุล 74.4 ล้านดอลลาร์ สรอ.สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 56.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 เร่งตัวเมื่อเทียบกับร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อน เนื่องจากการปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและการปรับขึ้นของค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) ประกอบกับค่าบริการบำรุงรักษายานยนต์สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 สำหรับราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนเนื่องจากราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิลดลง ขณะที่ราคาผลไม้ลดลงตามปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เดือนกันยายน 2547 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.9 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.5 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 97.0 เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีกำลังแรงงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และการจ้างงานนอกภาคเกษตรสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.5 ตามความต้องการแรงงานของสาขาการผลิต การก่อสร้าง และการขายส่ง/ขายปลีก/ซ่อมแซม ส่งผลให้อัตราการว่างงานต่ำกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 เป็น 295,361 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของส่วนราชการและ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู สำหรับเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 210,460 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3 โดยขยายตัวอย่างต่อเนื่องในภาคอุตสาหกรรมของภาคเหนือตอนล่างเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกิจการโรงสีข้าว และการใช้สินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ที่เพิ่มมากได้แก่จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร สุโขทัย และพิจิตร สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 71.2 สูงกว่าร้อยละ 69.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ 1 ธันวาคม 2547--