1. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
ในเดือนตุลาคม 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนชะลอตัวลงค่อนข้างมากจากเดือนก่อน ขณะที่การอุปโภคบริโภคสินค้าคงทนเร่งตัวขึ้นทั้งนี้ การชะลอตัวโดยรวมของดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่มีแนวโน้มลดลง อัตราเงินเฟ้อที่โน้มสูง อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นรวมทั้งผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในทิศทางลดลง
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าคงทน (ยานพาหนะ) ปรับดีขึ้นในเดือนตุลาคม ตามการเร่งตัวของปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ขณะที่ปริมาณจำนวนรถยนต์นั่งก็ขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเพราะมาตรการส่งเสริมการขายและการปรับลดราคารถยนต์นั่งในช่วงที่ผ่านมาจากผลของการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าไม่คงทน (ไม่ใช่ยานพาหนะ) โดยรวมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าสะท้อนแนวโน้มการอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนที่เริ่มชะลอลง
หมายเหตุ: *ธปท. ได้มีการปรับปรุงการจัดทำดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม 2536 โดยเปลี่ยนข้อมูลใหม่จากประมาณการภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งในส่วนกลางปรับด้วยดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค มาเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บจริงทั้งประเทศปรับด้วยดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคที่หักราคาในหมวดอาหารสด เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคภาคเอกชนสูงกว่า และเปลี่ยนองค์ประกอบใหม่เหลือ 6 ตัว จาก 9 ตัว โดยตัดปริมาณการจำหน่ายเบียร์ ปริมาณการจำหน่ายสุราและปริมาณการจำหน่ายเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ออก เนื่องจากความล่าช้ามากของข้อมูล และสะท้อนอยู่แล้วผ่านทางเครื่องชี้อื่น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
2. การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนตุลาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 67.0 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่ชะลอลงมากเป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาเครื่องจักรนำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยชะลอตัวลง นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่อยู่ในระดับ 47.4 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดีขึ้น
การลงทุนในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักรชะลอลงตามมูลค่าสินค้าทุนนำเข้า ณ ราคาคงที่ ซึ่งลดลงร้อยละ 2.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะเครื่องจักรนำเข้าที่ขยายตัวสูง ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและความเสี่ยงด้านราคาวัสดุก่อสร้างที่เร่งตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศยังเร่งตัว ส่วนหนึ่งจากการก่อสร้างของภาครัฐ
แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะมีแนวโน้มชะลอตัว แต่เมื่อพิจารณาเครื่องชี้อื่นของการลงทุนภาคเอกชน ได้แก่ เงินทุนธุรกิจจดทะเบียนตั้งใหม่จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการที่รับบัตรส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผลกำไรของธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไปยังขยายตัวต่อไปได้
3. ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล เดือนตุลาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่ง 63.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนเนื่องจากมีการถอนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 17.4 พันล้านบาท (หากไม่รวมการถอนคืนดังกล่าว รายได้จะลดลงร้อยละ 1.7) โดยรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 23.8 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ
รายได้ภาษีที่สำคัญได้แก่ ภาษีจากฐานรายได้ ซึ่งนำส่งใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ภาษีจากฐานการบริโภคลดลงมาก (ร้อยละ 35.3) โดยมีสาเหตุมาจากการถอนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อโอนให้แก่ อปท.สำหรับภาษีสรรพสามิตลดลงจากเดือนก่อน (ร้อยละ 2.0) ตามการลดลงของภาษีเบียร์ (ร้อยละ 19.4) และภาษีน้ำมัน (ร้อยละ 6.8) สำหรับภาษีรถยนต์นำส่งใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการซื้อรถในช่วงนี้ เพราะจะมีงานมอเตอร์โชว์ในเดือนธันวาคม ส่วนภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 เป็นผลจากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรตามข้อตกลง AFTA
รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 5.2 ตามรายได้ของรัฐวิสาหกิจและรายได้อื่นๆ ซึ่งลดลงร้อยละ 19.5 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ การนำส่งรายได้ที่สำคัญได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่ง 0.7 พันล้านบาท
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนตุลาคม 2547 มีมูลค่า 99.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.6 อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.3 (เทียบกับร้อยละ 6.3 ในช่วงเดียวกันปีก่อน) โดยมีรายจ่ายในงบประมาณที่สำคัญ คือ (1) กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 17.9 พันล้านบาท (2) เงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6.9 พันล้านบาท (3) ค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งทั่วประเทศ 3.3 พันล้านบาท และ(4) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ของ รฟท.2.1 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การโอนเงินภาษีให้แก่ อปท.จำนวน 12.5 พันล้านบาท
ดุลเงินสด การจัดทำงบประมาณปี 2548 แบบสมดุลทำให้ไม่มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล แต่รัฐบาลสามารถกู้เงินในรูปตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารเงินสด (Cash Management) ได้ภายในวงเงิน 170.0 พันล้านบาท ซึ่งเป็นยอดคงค้างของตั๋วเงินคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2547 ในเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 11.3 พันล้านบาท (เป็นผลจากการขาดดุลเงินในงบประมาณ 36.0 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 24.7 พันล้านบาท เนื่องจากมีเงินที่เบิกจากงบประมาณมาพักไว้ที่เงินนอกงบประมาณแล้วเบิกจ่ายไปไม่หมด ได้แก่ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่โอนให้ อปท.ประมาณ 17.0 และ 9.6 พันล้านบาท ตามลำดับ) ทั้งนี้ รัฐบาลได้ใช้เงินคงคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลและชำระคืนเงินกู้ โดยได้ชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 42.8 พันล้านบาท (เป็นการออกตั๋วเงินคลัง 16.0 พันล้านบาท ไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 59.4 พันล้านบาท ในขณะที่ยอดเงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัดเพิ่มขึ้น 0.7 พันล้านบาท) และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 5.9 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคมลดลงจากเดือนก่อน 59.9 พันล้านบาท เป็น 87.3 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในเดือนตุลาคม 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนชะลอตัวลงค่อนข้างมากจากเดือนก่อน ขณะที่การอุปโภคบริโภคสินค้าคงทนเร่งตัวขึ้นทั้งนี้ การชะลอตัวโดยรวมของดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่มีแนวโน้มลดลง อัตราเงินเฟ้อที่โน้มสูง อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นรวมทั้งผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในทิศทางลดลง
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าคงทน (ยานพาหนะ) ปรับดีขึ้นในเดือนตุลาคม ตามการเร่งตัวของปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ขณะที่ปริมาณจำนวนรถยนต์นั่งก็ขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเพราะมาตรการส่งเสริมการขายและการปรับลดราคารถยนต์นั่งในช่วงที่ผ่านมาจากผลของการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าไม่คงทน (ไม่ใช่ยานพาหนะ) โดยรวมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าสะท้อนแนวโน้มการอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนที่เริ่มชะลอลง
หมายเหตุ: *ธปท. ได้มีการปรับปรุงการจัดทำดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม 2536 โดยเปลี่ยนข้อมูลใหม่จากประมาณการภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งในส่วนกลางปรับด้วยดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค มาเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บจริงทั้งประเทศปรับด้วยดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคที่หักราคาในหมวดอาหารสด เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคภาคเอกชนสูงกว่า และเปลี่ยนองค์ประกอบใหม่เหลือ 6 ตัว จาก 9 ตัว โดยตัดปริมาณการจำหน่ายเบียร์ ปริมาณการจำหน่ายสุราและปริมาณการจำหน่ายเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ออก เนื่องจากความล่าช้ามากของข้อมูล และสะท้อนอยู่แล้วผ่านทางเครื่องชี้อื่น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
2. การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนตุลาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 67.0 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่ชะลอลงมากเป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาเครื่องจักรนำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยชะลอตัวลง นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่อยู่ในระดับ 47.4 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดีขึ้น
การลงทุนในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักรชะลอลงตามมูลค่าสินค้าทุนนำเข้า ณ ราคาคงที่ ซึ่งลดลงร้อยละ 2.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะเครื่องจักรนำเข้าที่ขยายตัวสูง ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและความเสี่ยงด้านราคาวัสดุก่อสร้างที่เร่งตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศยังเร่งตัว ส่วนหนึ่งจากการก่อสร้างของภาครัฐ
แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะมีแนวโน้มชะลอตัว แต่เมื่อพิจารณาเครื่องชี้อื่นของการลงทุนภาคเอกชน ได้แก่ เงินทุนธุรกิจจดทะเบียนตั้งใหม่จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการที่รับบัตรส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผลกำไรของธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไปยังขยายตัวต่อไปได้
3. ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล เดือนตุลาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่ง 63.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนเนื่องจากมีการถอนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 17.4 พันล้านบาท (หากไม่รวมการถอนคืนดังกล่าว รายได้จะลดลงร้อยละ 1.7) โดยรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 23.8 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ
รายได้ภาษีที่สำคัญได้แก่ ภาษีจากฐานรายได้ ซึ่งนำส่งใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ภาษีจากฐานการบริโภคลดลงมาก (ร้อยละ 35.3) โดยมีสาเหตุมาจากการถอนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อโอนให้แก่ อปท.สำหรับภาษีสรรพสามิตลดลงจากเดือนก่อน (ร้อยละ 2.0) ตามการลดลงของภาษีเบียร์ (ร้อยละ 19.4) และภาษีน้ำมัน (ร้อยละ 6.8) สำหรับภาษีรถยนต์นำส่งใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการซื้อรถในช่วงนี้ เพราะจะมีงานมอเตอร์โชว์ในเดือนธันวาคม ส่วนภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 เป็นผลจากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรตามข้อตกลง AFTA
รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 5.2 ตามรายได้ของรัฐวิสาหกิจและรายได้อื่นๆ ซึ่งลดลงร้อยละ 19.5 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ การนำส่งรายได้ที่สำคัญได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่ง 0.7 พันล้านบาท
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนตุลาคม 2547 มีมูลค่า 99.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.6 อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.3 (เทียบกับร้อยละ 6.3 ในช่วงเดียวกันปีก่อน) โดยมีรายจ่ายในงบประมาณที่สำคัญ คือ (1) กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 17.9 พันล้านบาท (2) เงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6.9 พันล้านบาท (3) ค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งทั่วประเทศ 3.3 พันล้านบาท และ(4) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ของ รฟท.2.1 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การโอนเงินภาษีให้แก่ อปท.จำนวน 12.5 พันล้านบาท
ดุลเงินสด การจัดทำงบประมาณปี 2548 แบบสมดุลทำให้ไม่มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล แต่รัฐบาลสามารถกู้เงินในรูปตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารเงินสด (Cash Management) ได้ภายในวงเงิน 170.0 พันล้านบาท ซึ่งเป็นยอดคงค้างของตั๋วเงินคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2547 ในเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 11.3 พันล้านบาท (เป็นผลจากการขาดดุลเงินในงบประมาณ 36.0 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 24.7 พันล้านบาท เนื่องจากมีเงินที่เบิกจากงบประมาณมาพักไว้ที่เงินนอกงบประมาณแล้วเบิกจ่ายไปไม่หมด ได้แก่ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่โอนให้ อปท.ประมาณ 17.0 และ 9.6 พันล้านบาท ตามลำดับ) ทั้งนี้ รัฐบาลได้ใช้เงินคงคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลและชำระคืนเงินกู้ โดยได้ชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 42.8 พันล้านบาท (เป็นการออกตั๋วเงินคลัง 16.0 พันล้านบาท ไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 59.4 พันล้านบาท ในขณะที่ยอดเงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัดเพิ่มขึ้น 0.7 พันล้านบาท) และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 5.9 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคมลดลงจากเดือนก่อน 59.9 พันล้านบาท เป็น 87.3 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--