1.ฐานเงินและปริมาณเงิน
- ฐานเงินขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่การขยายตัวของปริมาณเงินทรงตัว
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 728.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 32.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 17.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ตามการลดลงของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท.และ (3) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินลดลงเนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรเพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ในเดือนตุลาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.4 7.4 และ 6.9 ตามลำคับ ซึ่งเป็นอัตราที่ทรงตัวจากเดือนก่อน
2. อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
- เงินบาทปรับแข็งค่าตามค่าเงินในภูมิภาคจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่เปราะบาง
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินปรับสูงขึ้นตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกระยะปรับเพิ่มขึ้นตามการปรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนตุลาคม 2547 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.31 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายนที่ระดับ 41.47 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.โดยเป็นการแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับค่าเงินสกุลหลักและค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ.ที่เปราะบาง ภายหลังการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนออกมาต่ำกว่าคาด กอปรกับเป็นผลจากข่าวลือการปรับค่าเงินหยวนของจีน อย่างไรก็ตาม เงินบาทในเดือนนี้ยังคงได้รับปัจจัยลบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่ม และปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
สำหรับค่าเงินบาทเฉลี่ยในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากเฉลี่ยอยู่ที่ 40.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เป็นผลจาก Setiment ของเงินเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ยังเปราะบางต่อเนื่อง โดยนักลงทุนมีความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณของสหรัฐฯ รวมทั้งมีข่าวที่จีนจะปรับค่าเงินหยวน ส่งผลให้กองทุนต่างประเทศเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อซื้อสกุลเงินเอเชีย และทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากที่สุดในรอบ 7 เดือน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนตุลาคม 2547 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ปรับเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.53 และ 1.52 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจาก ธปท. มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547 โดยในช่วงก่อนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สภาพคล่องในระบบมีค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถาบันการเงินได้รับค่าขายหุ้นของบริษัทไทยออยล์ อย่างไรก็ดี สภาพคล่องได้กลับดึงตัวในช่วงปลายเดือน เนื่องจากสถาบันการเงินต้องสำรองเงินไว้สำหรับเบิกถอนในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง
สำหรับในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.69 และ 1.66 ต่อปี ตามลำดับ โดยสภาพคล่องดึงตัวขึ้นจากการที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้นำเงินจากการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งมอบให้ภาครัฐ กอปรกับมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนของลูกค้า
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนตุลาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและกลาง โดยปรับการเพิ่มตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ทั้งนี้ ปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นและการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มไม่มากนัก
ในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับขึ้น โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนระยะสั้น ส่วนใหญ่เป็นการปรับเพิ่มตามผลการประมูลในตลาดแรก นอกจากนี้ การประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือนตุลาคมที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับเพิ่ม โดยนักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนธันวาคม
3. เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- สินเชื่อและเงินฝากขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนกันยายน โดยเงินฝากที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของประชาชนที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ กอปรกับเป็นผลจากฐานเงินฝากที่ลดลงจากการถอนเงินของประชาชนไปลงทุนซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ในช่วงก่อนหน้านี้
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 9.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยการชะลอตัวเนื่องจากการลดลงของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจเป็นสำคัญ
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนตุลาคมมียอดคงค้าง 6,278.7 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนตุลาคมและในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปีตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
- ฐานเงินขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่การขยายตัวของปริมาณเงินทรงตัว
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 728.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 32.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 17.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ตามการลดลงของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท.และ (3) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินลดลงเนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรเพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ในเดือนตุลาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.4 7.4 และ 6.9 ตามลำคับ ซึ่งเป็นอัตราที่ทรงตัวจากเดือนก่อน
2. อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
- เงินบาทปรับแข็งค่าตามค่าเงินในภูมิภาคจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่เปราะบาง
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินปรับสูงขึ้นตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกระยะปรับเพิ่มขึ้นตามการปรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนตุลาคม 2547 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.31 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายนที่ระดับ 41.47 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.โดยเป็นการแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับค่าเงินสกุลหลักและค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ.ที่เปราะบาง ภายหลังการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนออกมาต่ำกว่าคาด กอปรกับเป็นผลจากข่าวลือการปรับค่าเงินหยวนของจีน อย่างไรก็ตาม เงินบาทในเดือนนี้ยังคงได้รับปัจจัยลบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่ม และปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
สำหรับค่าเงินบาทเฉลี่ยในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากเฉลี่ยอยู่ที่ 40.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เป็นผลจาก Setiment ของเงินเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ยังเปราะบางต่อเนื่อง โดยนักลงทุนมีความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณของสหรัฐฯ รวมทั้งมีข่าวที่จีนจะปรับค่าเงินหยวน ส่งผลให้กองทุนต่างประเทศเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อซื้อสกุลเงินเอเชีย และทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากที่สุดในรอบ 7 เดือน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนตุลาคม 2547 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ปรับเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.53 และ 1.52 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจาก ธปท. มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547 โดยในช่วงก่อนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สภาพคล่องในระบบมีค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถาบันการเงินได้รับค่าขายหุ้นของบริษัทไทยออยล์ อย่างไรก็ดี สภาพคล่องได้กลับดึงตัวในช่วงปลายเดือน เนื่องจากสถาบันการเงินต้องสำรองเงินไว้สำหรับเบิกถอนในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง
สำหรับในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.69 และ 1.66 ต่อปี ตามลำดับ โดยสภาพคล่องดึงตัวขึ้นจากการที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้นำเงินจากการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งมอบให้ภาครัฐ กอปรกับมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนของลูกค้า
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนตุลาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและกลาง โดยปรับการเพิ่มตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ทั้งนี้ ปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นและการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มไม่มากนัก
ในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับขึ้น โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนระยะสั้น ส่วนใหญ่เป็นการปรับเพิ่มตามผลการประมูลในตลาดแรก นอกจากนี้ การประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือนตุลาคมที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับเพิ่ม โดยนักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนธันวาคม
3. เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- สินเชื่อและเงินฝากขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนกันยายน โดยเงินฝากที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของประชาชนที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ กอปรกับเป็นผลจากฐานเงินฝากที่ลดลงจากการถอนเงินของประชาชนไปลงทุนซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ในช่วงก่อนหน้านี้
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 9.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยการชะลอตัวเนื่องจากการลดลงของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจเป็นสำคัญ
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนตุลาคมมียอดคงค้าง 6,278.7 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนตุลาคมและในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปีตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--