1. ประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศ (25 กันยายน 2547 - 22 ตุลาคม 2547)
สหรัฐอเมริกา
สหรัฐฯ ประกาศตัวเลข GDP (advance)ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 3.7 (qoq, annualised) หรือร้อยละ 3.9 (yoy) ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เทียบกับไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 (qoq, annualised) หรือร้อยละ 4.8 (yoy)โดยปัจจัยผลักดันที่สำคัญมาจากการบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 (qoq, annualised) เทียบกับร้อยละ 1.6 ในไตรมาสที่ 2 แต่ในด้านการลงทุนชะลอตัวลง โดยขยายตัวร้อยละ5.2 (qoq, annualised) เทียบกับร้อยละ 19 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากภาคธุรกิจชะลอการสะสมสินค้าคงคลัง
ด้านอุปสงค์ยังคงขยายตัวดี โดยยอดการค้าปลีกในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (mom) หรือร้อยละ 7.6 (yoy) จากการที่ผู้บริโภคเริ่มจับจ่ายใช้สอยในช่วงใกล้เทศกาลสิ้นปี ประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลงช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค University of Michigan Confidence ในเดือนพฤศจิกายนปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 92.8 หลังจากการชนะเลือกตั้งของประธานาธิบดีบุชทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลงและการจ้างงานที่ฟื้นตัวดีขึ้น
การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เพิ่มขึ้น 337,000 ตำแหน่งในเดือนตุลาคมสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในภาคการก่อสร้าง ซึ่งเป็นการซ่อมแซมความเสียหายจากพายุเฮอริเคน และการจ้างงานในภาคบริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 (mom) หรือร้อยละ 3.2 (yoy)เป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร พลังงาน และรถยนต์
อนึ่ง ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 Fed ได้มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds และ Discount Rate อีกร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ เป็นไปตามที่ตลาดคาดโดยคณะกรรมการฯ ให้ความเห็นว่านโยบายการเงินยังคงสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น แต่เศรษฐกิจยังขยายตัวในลักษณะ moderate และภาวะการจ้างงานยังคงฟื้นตัว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อและเงินเฟ้อคาดการณ์ยังไม่เร่งตัวนัก ทั้งนี้ ความเสี่ยงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และด้านเงินเฟ้อในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้าค่อนข้างสมดุล (roughly equal) และให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคตไว้เช่นเดิมคือ "policy accommodation can be removed at a pace that is likely to be measured" อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าจะเปลี่ยนแปลงนโยบายตามภาวะเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา
กลุ่มประเทศยูโร
ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แม้ค่าเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม โดยกรรมการ ECB เห็นว่าการแข็งค่าของเงินยูโรจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของกลุ่มยูโรโซนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รวมทั้งเชื่อว่าการส่งออกจะยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี สำหรับประเด็นในเรื่องการแข็งค่าของเงินยูโรนั้น นาย Rodrigo Roto ประธาน IMF ได้ให้ความเห็นว่าระดับของค่าเงินยูโรในปัจจุบันสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมากกว่าเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ของสถาบัน IFO และที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมัน (Wise men) ที่เห็นว่า ECB ควรเข้าแทรกแซงค่าเงิน เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อการส่งออก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีหน้า
อนึ่ง ในประเด็นด้านการดำเนินนโยบายการเงินของ ECB ประธาน Bundesbank ได้ให้ความเห็นว่า นโยบายการเงินของ ECB ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่แล้ว "Monetary Policy is doing everything it can at the moment to create the conditions for more growth in Europe" ซึ่งแสดงเป็นนัยว่า ECB จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกตามที่นักลงทุนบางรายคาดการณ์ไว้
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดที่ประกาศออกมาในช่วงนี้ค่อนข้างให้ภาพเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกัน อาทิ ดัชนี PMI ภาคบริการของเดือนตุลาคมเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนและสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตกลับชะลอลงมาอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 เดือน แต่ยังคงชี้ถึงการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 Economic sentiment ในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 101.3 จากเดือนก่อนที่ 101 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนตุลาคมยังคงเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 (yoy) ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสำคัญซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมาย ECB ที่ร้อยละ 2.0
ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 3.9 (yoy) โดยเป็นการขยายตัวติดต่อกัน 10 ไตรมาส ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายลงทุน และการส่งออก ทั้งนี้ในระยะต่อไปอุปสงค์ในประเทศทั้งจากการบริโภคเอกชนและการลงทุนที่ฟื้นตัวจะเป็นปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในขณะที่อุปสงค์ภายนอกจะชะลอลง
ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ป่นได้ออกรายงานประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและคาดการณ์เงินเฟ้อรายครึ่งปีเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมโดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2547 (fiscal year) (เริ่มเมษายน 2547-มีนาคม 2548) เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.6 และปี FY 2548 ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยในส่วนของเงินเฟ้อนั้นคาดในปี FY 2547 เศรษฐกิจจะยังคงอยู่ในภาวะเงินฝืดต่อไปที่ร้อยละ -0.2 แต่ในปี FY 2548 จะสามารถเริ่มเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 0.1 ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปีที่เงินเฟ้อของญี่ปุ่นกลับมาเป็นบวก ทั้งนี้ เป็นผลจาก 1) output gap ที่แคบลงจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่า potential growth rate (ประมาณร้อยละ 1.8-2.0) และ 2) ราคาวัตถุดิบและพลังงานที่สูงขึ้นจะส่งผ่านไปยังระดับราคาต่างๆ
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาเงินเยนได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการที่ตลาดมีความกังวลต่อภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ อย่างมาก ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ.ปรับตัวอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยเงินเยนได้แข็งค่าที่สุดในรอบ 4 ปีครึ่งโดยอยู่ที่ 102.75 เยนต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ออกมาให้ความเห็นว่าการแข็งค่าของเงินเยนนั้นอาจไม่ยั่งยืน (become destabilizing) และเป็นสิ่งที่ธนาคารมีความกังวล อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางญี่ปุ่นยังไม่ได้เข้าแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
กลุ่มเอเชียตะวันออก
-เศรษฐกิจจีนเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งสะท้อนจากการขยายตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเริ่มผ่อนคลายลงบ้าง
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 15.7 (yoy)ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมาตรการจำกัดการให้สินเชื่อในบางภาคอุตสาหกรรมของรัฐบาล โดยการผลิตเหล็กและซีเมนต์มีแนวโน้มชะลอลงมาอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้การผลิตรถยนต์หดตัวมากถึงร้อยละ 14.2 อย่างไรก็ตาม การผลิตในภาคพลังงานขยายตัวเร่งขึ้น และการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกยังขยายตัวอยู่ในระดับสูง
การส่งออกเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 28.4 (yoy)ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.1 ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของสหรัฐฯ สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 29.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 22.1 ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ในขณะที่การนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกมีแนวโน้มชะลอลง
อัตราเงินเฟ้อของจีนเดือนตุลาคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.3 เทียบกับเดือนกันยายนที่อยู่ที่ร้อยละ 5.2 โดยปัจจัยสำคัญมาจากราคาอาหารที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ราคาเสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน และค่าขนส่งยังทรงตัว อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 8.4 (yoy)ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ตุลาคม 2539 โดยเป็นผลสำคัญมาจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น
ธนาคารกลางจีนได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมและเงินฝาก (สกุลเงินหยวน) ร้อยละ 0.27 โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มจากร้อยละ 5.31 เป็นร้อยละ 5.58 และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มจากร้อยละ 1.98 เป็นร้อยละ 2.25 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมา การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการลงทุนที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 10 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 29.5 (yoy) การลงทุนที่อยู่ในระดับสูงนี้ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าวัตถุดิบในประเทศสูงขึ้น และทำให้เกิดการขาดแคลนพลังงาน
-เศรษฐกิจไต้หวันไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 5.3 (yoy) ชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 ซึ่งทางการได้ปรับตัวเลขการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 เป็นร้อยละ 7.9 สำหรับปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลงมากจากร้อยละ 4.3 (yoy) ไตรมาสที่2 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และการส่งออกที่เริ่มชะลอลง
ทั้งนี้ ทางการได้ปรับประมาณการการการขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.87 เป็นร้อยละ 5.93 และคาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะชะลอลง โดยขยายตัวร้อยละ 4.56 (จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.49) นอกจากนี้ได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อปีนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 1.8 จากภาวะราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อปีหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.9
-เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 7.2 (yoy) เทียบกับร้อยละ 12.1 (yoy) ในไตรมาสก่อน และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.3 (yoy) โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องมาจากอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออก ล่าสุดในเดือนตุลาคมการส่งออกยังคงขยายตัวสูงที่ร้อยละ 16.1 (yoy) ในขณะที่ยอดค้าปลีกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ทางการฮ่องกงคาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 7.5 (yoy) แต่ในปี 2548 การขยายตัวของเศรษฐกิจจะชะลอลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.0 (yoy) ซึ่งปัจจัยเสี่ยงสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปยังคงมาจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งจะกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและผลกำไรของบริษัทต่างๆ
-เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 4.6 (yoy) หรือร้อยละ 0.6 (qoq,sa) ชะลอลงค่อนข้างมากจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 (yoy) เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังอ่อนแอ และภาคก่อสร้างชะลอลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงลดลงต่อเนื่องจาก 88.9 ในเดือนกันยายน เหลือ 88.0 ในเดือนตุลาคม ในขณะที่การส่งออกยังเป็นปัจจัยหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่มีแนวโน้มชะลอลงโดยอัตราขยายตัวในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม อยู่ที่ร้อยละ 28.8 22.4 และ 20.2 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากการชะลอตัวในภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ ทั้งนี้ ทางการเกาหลีใต้ได้พยายามดำเนินนโยบายทางด้านการเงินเพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศโดยธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 3.25 ในวันที่ 11 พฤศจิกายน หลังจากที่ได้ปรับลดร้อยละ 0.25 ก่อนหน้านี้ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคได้ปรับตัวลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ในเดือนตุลาคม จากร้อยละ 3.9 ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่เงินวอนแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.5 จากเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ระดับ 1,046 วอนต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน สอดคล้องกับทิศทางค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย โดยมีปัจจัยหลักจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.จากความกังวลเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง
กลุ่มอาเซียน
เศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวมากกว่าที่คาดในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ GDP ขยายตัวร้อยละ 7.5 (yoy) หรือหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 3 (qoq,annualised) ต่ำกว่าตัวเลข Advance Estimate GDP ที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่าขยายตัวร้อยละ 7.7 (yoy)และชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 ปัจจัยสำคัญของการชะลอตัวในไตรมาสที่ 3 มาจากการใช้จ่ายในการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอตัวตลอดจนการส่งออกเริ่มชะลอตัว ทางการสิงคโปร์จึงได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งปีลงจากร้อยละ8-9 เป็นร้อยละ 8-8.5 แต่ยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 ไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 3-5
ทั้งนี้ จากภาวะการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดโลกและการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางสิงคโปร์ โดยการปล่อยให้เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี โดยอยู่ที่ระดับ 1.6383 ต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547
ในช่วงที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ยังคงเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคม 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 (yoy) เทียบกับร้อยละ 6.9 ในเดือนกันยายน ซึ่งนับเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี โดยปัจจัยหลักที่ผลักดันเงินเฟ้อยังคงมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน และการปรับขึ้นค่าบริการต่างๆ อย่างไรก็ดี แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา แต่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ยังคงตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป โดยให้เหตุผลว่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นเป็นผลมาจากด้านอุปทานเป็นหลัก ขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงค่อนข้างเปราะบาง อนึ่งนักวิเคราะห์บางรายคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางฟิลิปปินส์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนธันวาคมนี้ เนื่องจากเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
สำหรับเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มชะลอลงเล็กน้อยจากสองไตรมาสแรก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยทางการฟิลิปปินส์คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 (yoy) หลังจากขยายตัวร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.2 ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
-เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มที่ดีแต่อาจชะลอลงบ้างตามเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยแนวโน้มรายได้การส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้จะมีสัญญาณแสดงถึงการชะลอตัวบ้างตามดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เริ่มชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 9.8 (yoy) ในเดือนกันยายนเทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 10.8 ใน 2 เดือนก่อนหน้า ส่วนการส่งออกและนำเข้าในเดือนกันยายนเร่งตัวขึ้นที่ร้อยละ 28.8 และ 34.9 ตามลำดับ อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มที่ดี ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.1 ในเดือนตุลาคม จาก 1.6 ในเดือนกันยายน เป็นผลจากการเพิ่มภาษีสรรพสามิตของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ
อนึ่ง ในขณะนี้ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจต่อนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิตของทางการมาเลเซียต่อเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนของจีน โดยปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 3.8 ริงกิตต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. แต่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ชี้แจงว่านโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิตยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีความสัมพันธ์กับเงินหยวน
-เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยขยายตัวร้อยละ 5.0 (yoy) เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยปัจจัยสำคัญมาจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศให้ขยายตัวดีทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน
สำหรับการส่งออกสินค้าในเดือนกันยายนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 41 (yoy) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17 โดยมาจากทั้งการส่งออกสินค้าประเภทน้ำมันและมิใช่น้ำมัน ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 54 (yoy) ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคมปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยอยู่ที่ร้อยละ 6.2 (yoy) เทียบกับเดือนกันยายนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.3 เนื่องจากราคาอาหารเริ่มชะลอลง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ โดยคาดว่า ณ สิ้นปีอัตราเงินเฟ้ออาจสูงกว่าร้อยละ 7
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
สหรัฐอเมริกา
สหรัฐฯ ประกาศตัวเลข GDP (advance)ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 3.7 (qoq, annualised) หรือร้อยละ 3.9 (yoy) ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เทียบกับไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 (qoq, annualised) หรือร้อยละ 4.8 (yoy)โดยปัจจัยผลักดันที่สำคัญมาจากการบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 (qoq, annualised) เทียบกับร้อยละ 1.6 ในไตรมาสที่ 2 แต่ในด้านการลงทุนชะลอตัวลง โดยขยายตัวร้อยละ5.2 (qoq, annualised) เทียบกับร้อยละ 19 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากภาคธุรกิจชะลอการสะสมสินค้าคงคลัง
ด้านอุปสงค์ยังคงขยายตัวดี โดยยอดการค้าปลีกในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (mom) หรือร้อยละ 7.6 (yoy) จากการที่ผู้บริโภคเริ่มจับจ่ายใช้สอยในช่วงใกล้เทศกาลสิ้นปี ประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลงช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค University of Michigan Confidence ในเดือนพฤศจิกายนปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 92.8 หลังจากการชนะเลือกตั้งของประธานาธิบดีบุชทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลงและการจ้างงานที่ฟื้นตัวดีขึ้น
การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เพิ่มขึ้น 337,000 ตำแหน่งในเดือนตุลาคมสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในภาคการก่อสร้าง ซึ่งเป็นการซ่อมแซมความเสียหายจากพายุเฮอริเคน และการจ้างงานในภาคบริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 (mom) หรือร้อยละ 3.2 (yoy)เป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร พลังงาน และรถยนต์
อนึ่ง ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 Fed ได้มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds และ Discount Rate อีกร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ เป็นไปตามที่ตลาดคาดโดยคณะกรรมการฯ ให้ความเห็นว่านโยบายการเงินยังคงสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น แต่เศรษฐกิจยังขยายตัวในลักษณะ moderate และภาวะการจ้างงานยังคงฟื้นตัว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อและเงินเฟ้อคาดการณ์ยังไม่เร่งตัวนัก ทั้งนี้ ความเสี่ยงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และด้านเงินเฟ้อในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้าค่อนข้างสมดุล (roughly equal) และให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคตไว้เช่นเดิมคือ "policy accommodation can be removed at a pace that is likely to be measured" อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าจะเปลี่ยนแปลงนโยบายตามภาวะเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา
กลุ่มประเทศยูโร
ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แม้ค่าเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม โดยกรรมการ ECB เห็นว่าการแข็งค่าของเงินยูโรจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของกลุ่มยูโรโซนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รวมทั้งเชื่อว่าการส่งออกจะยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี สำหรับประเด็นในเรื่องการแข็งค่าของเงินยูโรนั้น นาย Rodrigo Roto ประธาน IMF ได้ให้ความเห็นว่าระดับของค่าเงินยูโรในปัจจุบันสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมากกว่าเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ของสถาบัน IFO และที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมัน (Wise men) ที่เห็นว่า ECB ควรเข้าแทรกแซงค่าเงิน เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อการส่งออก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีหน้า
อนึ่ง ในประเด็นด้านการดำเนินนโยบายการเงินของ ECB ประธาน Bundesbank ได้ให้ความเห็นว่า นโยบายการเงินของ ECB ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่แล้ว "Monetary Policy is doing everything it can at the moment to create the conditions for more growth in Europe" ซึ่งแสดงเป็นนัยว่า ECB จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกตามที่นักลงทุนบางรายคาดการณ์ไว้
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดที่ประกาศออกมาในช่วงนี้ค่อนข้างให้ภาพเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกัน อาทิ ดัชนี PMI ภาคบริการของเดือนตุลาคมเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนและสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตกลับชะลอลงมาอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 เดือน แต่ยังคงชี้ถึงการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 Economic sentiment ในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 101.3 จากเดือนก่อนที่ 101 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนตุลาคมยังคงเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 (yoy) ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสำคัญซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมาย ECB ที่ร้อยละ 2.0
ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 3.9 (yoy) โดยเป็นการขยายตัวติดต่อกัน 10 ไตรมาส ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายลงทุน และการส่งออก ทั้งนี้ในระยะต่อไปอุปสงค์ในประเทศทั้งจากการบริโภคเอกชนและการลงทุนที่ฟื้นตัวจะเป็นปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในขณะที่อุปสงค์ภายนอกจะชะลอลง
ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ป่นได้ออกรายงานประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและคาดการณ์เงินเฟ้อรายครึ่งปีเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมโดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2547 (fiscal year) (เริ่มเมษายน 2547-มีนาคม 2548) เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.6 และปี FY 2548 ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยในส่วนของเงินเฟ้อนั้นคาดในปี FY 2547 เศรษฐกิจจะยังคงอยู่ในภาวะเงินฝืดต่อไปที่ร้อยละ -0.2 แต่ในปี FY 2548 จะสามารถเริ่มเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 0.1 ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปีที่เงินเฟ้อของญี่ปุ่นกลับมาเป็นบวก ทั้งนี้ เป็นผลจาก 1) output gap ที่แคบลงจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่า potential growth rate (ประมาณร้อยละ 1.8-2.0) และ 2) ราคาวัตถุดิบและพลังงานที่สูงขึ้นจะส่งผ่านไปยังระดับราคาต่างๆ
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาเงินเยนได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการที่ตลาดมีความกังวลต่อภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ อย่างมาก ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ.ปรับตัวอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยเงินเยนได้แข็งค่าที่สุดในรอบ 4 ปีครึ่งโดยอยู่ที่ 102.75 เยนต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ออกมาให้ความเห็นว่าการแข็งค่าของเงินเยนนั้นอาจไม่ยั่งยืน (become destabilizing) และเป็นสิ่งที่ธนาคารมีความกังวล อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางญี่ปุ่นยังไม่ได้เข้าแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
กลุ่มเอเชียตะวันออก
-เศรษฐกิจจีนเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งสะท้อนจากการขยายตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเริ่มผ่อนคลายลงบ้าง
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 15.7 (yoy)ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมาตรการจำกัดการให้สินเชื่อในบางภาคอุตสาหกรรมของรัฐบาล โดยการผลิตเหล็กและซีเมนต์มีแนวโน้มชะลอลงมาอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้การผลิตรถยนต์หดตัวมากถึงร้อยละ 14.2 อย่างไรก็ตาม การผลิตในภาคพลังงานขยายตัวเร่งขึ้น และการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกยังขยายตัวอยู่ในระดับสูง
การส่งออกเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 28.4 (yoy)ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.1 ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของสหรัฐฯ สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 29.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 22.1 ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ในขณะที่การนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกมีแนวโน้มชะลอลง
อัตราเงินเฟ้อของจีนเดือนตุลาคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.3 เทียบกับเดือนกันยายนที่อยู่ที่ร้อยละ 5.2 โดยปัจจัยสำคัญมาจากราคาอาหารที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ราคาเสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน และค่าขนส่งยังทรงตัว อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 8.4 (yoy)ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ตุลาคม 2539 โดยเป็นผลสำคัญมาจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น
ธนาคารกลางจีนได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมและเงินฝาก (สกุลเงินหยวน) ร้อยละ 0.27 โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มจากร้อยละ 5.31 เป็นร้อยละ 5.58 และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มจากร้อยละ 1.98 เป็นร้อยละ 2.25 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมา การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการลงทุนที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 10 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 29.5 (yoy) การลงทุนที่อยู่ในระดับสูงนี้ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าวัตถุดิบในประเทศสูงขึ้น และทำให้เกิดการขาดแคลนพลังงาน
-เศรษฐกิจไต้หวันไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 5.3 (yoy) ชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 ซึ่งทางการได้ปรับตัวเลขการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 เป็นร้อยละ 7.9 สำหรับปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลงมากจากร้อยละ 4.3 (yoy) ไตรมาสที่2 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และการส่งออกที่เริ่มชะลอลง
ทั้งนี้ ทางการได้ปรับประมาณการการการขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.87 เป็นร้อยละ 5.93 และคาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะชะลอลง โดยขยายตัวร้อยละ 4.56 (จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.49) นอกจากนี้ได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อปีนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 1.8 จากภาวะราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อปีหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.9
-เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 7.2 (yoy) เทียบกับร้อยละ 12.1 (yoy) ในไตรมาสก่อน และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.3 (yoy) โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องมาจากอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออก ล่าสุดในเดือนตุลาคมการส่งออกยังคงขยายตัวสูงที่ร้อยละ 16.1 (yoy) ในขณะที่ยอดค้าปลีกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ทางการฮ่องกงคาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 7.5 (yoy) แต่ในปี 2548 การขยายตัวของเศรษฐกิจจะชะลอลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.0 (yoy) ซึ่งปัจจัยเสี่ยงสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปยังคงมาจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งจะกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและผลกำไรของบริษัทต่างๆ
-เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 4.6 (yoy) หรือร้อยละ 0.6 (qoq,sa) ชะลอลงค่อนข้างมากจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 (yoy) เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังอ่อนแอ และภาคก่อสร้างชะลอลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงลดลงต่อเนื่องจาก 88.9 ในเดือนกันยายน เหลือ 88.0 ในเดือนตุลาคม ในขณะที่การส่งออกยังเป็นปัจจัยหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่มีแนวโน้มชะลอลงโดยอัตราขยายตัวในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม อยู่ที่ร้อยละ 28.8 22.4 และ 20.2 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากการชะลอตัวในภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ ทั้งนี้ ทางการเกาหลีใต้ได้พยายามดำเนินนโยบายทางด้านการเงินเพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศโดยธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 3.25 ในวันที่ 11 พฤศจิกายน หลังจากที่ได้ปรับลดร้อยละ 0.25 ก่อนหน้านี้ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคได้ปรับตัวลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ในเดือนตุลาคม จากร้อยละ 3.9 ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่เงินวอนแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.5 จากเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ระดับ 1,046 วอนต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน สอดคล้องกับทิศทางค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย โดยมีปัจจัยหลักจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.จากความกังวลเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง
กลุ่มอาเซียน
เศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวมากกว่าที่คาดในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ GDP ขยายตัวร้อยละ 7.5 (yoy) หรือหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 3 (qoq,annualised) ต่ำกว่าตัวเลข Advance Estimate GDP ที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่าขยายตัวร้อยละ 7.7 (yoy)และชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 ปัจจัยสำคัญของการชะลอตัวในไตรมาสที่ 3 มาจากการใช้จ่ายในการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอตัวตลอดจนการส่งออกเริ่มชะลอตัว ทางการสิงคโปร์จึงได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งปีลงจากร้อยละ8-9 เป็นร้อยละ 8-8.5 แต่ยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 ไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 3-5
ทั้งนี้ จากภาวะการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดโลกและการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางสิงคโปร์ โดยการปล่อยให้เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี โดยอยู่ที่ระดับ 1.6383 ต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547
ในช่วงที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ยังคงเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคม 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 (yoy) เทียบกับร้อยละ 6.9 ในเดือนกันยายน ซึ่งนับเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี โดยปัจจัยหลักที่ผลักดันเงินเฟ้อยังคงมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน และการปรับขึ้นค่าบริการต่างๆ อย่างไรก็ดี แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา แต่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ยังคงตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป โดยให้เหตุผลว่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นเป็นผลมาจากด้านอุปทานเป็นหลัก ขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงค่อนข้างเปราะบาง อนึ่งนักวิเคราะห์บางรายคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางฟิลิปปินส์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนธันวาคมนี้ เนื่องจากเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
สำหรับเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มชะลอลงเล็กน้อยจากสองไตรมาสแรก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยทางการฟิลิปปินส์คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 (yoy) หลังจากขยายตัวร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.2 ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
-เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มที่ดีแต่อาจชะลอลงบ้างตามเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยแนวโน้มรายได้การส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้จะมีสัญญาณแสดงถึงการชะลอตัวบ้างตามดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เริ่มชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 9.8 (yoy) ในเดือนกันยายนเทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 10.8 ใน 2 เดือนก่อนหน้า ส่วนการส่งออกและนำเข้าในเดือนกันยายนเร่งตัวขึ้นที่ร้อยละ 28.8 และ 34.9 ตามลำดับ อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มที่ดี ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.1 ในเดือนตุลาคม จาก 1.6 ในเดือนกันยายน เป็นผลจากการเพิ่มภาษีสรรพสามิตของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ
อนึ่ง ในขณะนี้ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจต่อนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิตของทางการมาเลเซียต่อเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนของจีน โดยปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 3.8 ริงกิตต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. แต่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ชี้แจงว่านโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิตยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีความสัมพันธ์กับเงินหยวน
-เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยขยายตัวร้อยละ 5.0 (yoy) เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยปัจจัยสำคัญมาจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศให้ขยายตัวดีทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน
สำหรับการส่งออกสินค้าในเดือนกันยายนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 41 (yoy) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17 โดยมาจากทั้งการส่งออกสินค้าประเภทน้ำมันและมิใช่น้ำมัน ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 54 (yoy) ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคมปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยอยู่ที่ร้อยละ 6.2 (yoy) เทียบกับเดือนกันยายนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.3 เนื่องจากราคาอาหารเริ่มชะลอลง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ โดยคาดว่า ณ สิ้นปีอัตราเงินเฟ้ออาจสูงกว่าร้อยละ 7
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--