1. เสถียรภาพในประเทศ
เครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แม้ราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูงได้สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อบ้าง สำหรับอัตราการว่างงานและหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
รายละเอียดของเครื่องขี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้ง
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนตุลาคม 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยะล 3.5 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคาในหมวดอาหารสดที่ผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นโดยเฉพาะผักและผลไม้ สำหรับราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เป็นผลจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) และราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 ทรงตัวจากเดือนก่อน
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนกันยายน 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ของกำลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรยังคงหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 5.8 จากสภาพอากาศที่แห้งแล้วกว่าปีก่อน ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 7.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน สาขาที่ขยายตัวดีได้แก่ การก่อสร้างการค้าส่งค้าปลีก และการผลิตอุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 17.7 10.0 และ 6.0 ตามลำดับ
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,984.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 42.2 พันล้านบาท ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยออกตั๋วเงินคลัง และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเป็นสำคัญ ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 45.6 ในเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 46.2 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
-หนี้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 มียอดคงค้าง 50.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเงินกู้และเงินเบิกเกินบัญชีของภาคธนาคาร ทั้งนี้ ผลของการเปลี่ยนแปลงค่าเงินในเดือนนี้มีเพียงเล็กน้อย
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.5 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.4 ในเดือนก่อน จากการเข้าเงินกู้ระยะสั้นของภาคธนาคาร
หนี้ภาคเอกชน มีจำนวน 35.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ภาคธนาคารเพิ่มขึ้น 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเงินกู้ระยะสั้นเพื่อปิดงบบัญชีของธนาคารญี่ปุ่นและเงินเบิกเกินบัญชีของธนาคารพาณิชย์ไทย รวมทั้งในเดือนนี้มีการโอนย้ายหนี้ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ซึ่งควบรวมกิจการกับธนาคารทหารไทย จากหนี้ภาครัฐมาเป็นหนี้ภาคธนาคารจำนวน 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่หนี้ภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารลดลงจากการชำระคืนเงินกู้และไถ่ถอนตราสารหนี้สุทธิ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคทางการ ลดลง 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการชำระคืนเงินกู้สุทธิของรัฐบาลและรัฐวิสากิจและการโอนย้ายหนี้ของ ITFCT ไปยังภาคธนาคาร
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 เท่ากับ 46.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออกสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศได้ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน และแม้ว่าดัชนีชี้วัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของประเทศ ซึ่งได้แก่เงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้น และสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าจะลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนเนื่องจากหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นและมูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่สัดส่วนทั้งสองก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
เครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แม้ราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูงได้สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อบ้าง สำหรับอัตราการว่างงานและหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
รายละเอียดของเครื่องขี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้ง
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนตุลาคม 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยะล 3.5 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคาในหมวดอาหารสดที่ผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นโดยเฉพาะผักและผลไม้ สำหรับราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เป็นผลจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) และราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 ทรงตัวจากเดือนก่อน
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนกันยายน 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ของกำลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรยังคงหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 5.8 จากสภาพอากาศที่แห้งแล้วกว่าปีก่อน ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 7.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน สาขาที่ขยายตัวดีได้แก่ การก่อสร้างการค้าส่งค้าปลีก และการผลิตอุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 17.7 10.0 และ 6.0 ตามลำดับ
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,984.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 42.2 พันล้านบาท ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยออกตั๋วเงินคลัง และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเป็นสำคัญ ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 45.6 ในเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 46.2 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
-หนี้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 มียอดคงค้าง 50.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเงินกู้และเงินเบิกเกินบัญชีของภาคธนาคาร ทั้งนี้ ผลของการเปลี่ยนแปลงค่าเงินในเดือนนี้มีเพียงเล็กน้อย
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.5 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.4 ในเดือนก่อน จากการเข้าเงินกู้ระยะสั้นของภาคธนาคาร
หนี้ภาคเอกชน มีจำนวน 35.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ภาคธนาคารเพิ่มขึ้น 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเงินกู้ระยะสั้นเพื่อปิดงบบัญชีของธนาคารญี่ปุ่นและเงินเบิกเกินบัญชีของธนาคารพาณิชย์ไทย รวมทั้งในเดือนนี้มีการโอนย้ายหนี้ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ซึ่งควบรวมกิจการกับธนาคารทหารไทย จากหนี้ภาครัฐมาเป็นหนี้ภาคธนาคารจำนวน 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่หนี้ภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารลดลงจากการชำระคืนเงินกู้และไถ่ถอนตราสารหนี้สุทธิ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคทางการ ลดลง 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการชำระคืนเงินกู้สุทธิของรัฐบาลและรัฐวิสากิจและการโอนย้ายหนี้ของ ITFCT ไปยังภาคธนาคาร
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 เท่ากับ 46.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออกสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศได้ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน และแม้ว่าดัชนีชี้วัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของประเทศ ซึ่งได้แก่เงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้น และสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าจะลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนเนื่องจากหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นและมูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่สัดส่วนทั้งสองก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--