กรุงเทพ--28 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวานนี้ (27 ธันวาคม 2547) นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการ ต่างประเทศได้บรรยายสรุปแก่คณะทูตานุทูตต่างประเทศและผู้แทนองค์การระหว่างประเทศประจำประเทศไทย เกี่ยวกับสถานการณ์ในจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ และการดำเนินการของ รัฐบาลไทย ในการให้ความช่วยเหลือชาวต่างประเทศและคนไทยที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ในประเทศไทยและต่างประเทศ ดังมีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. รัฐบาลไทยได้แสดงความขอบคุณต่อมิตรประเทศที่ได้ส่งสารแสดงความเสียใจต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่ ประเทศจีน ฝรั่งเศส รัสเซีย เม็กซิโก ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย ปากีสถาน และสิงคโปร์ นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และจีน ได้โทรศัพท์ถึง ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโดยตรง ซึ่งแสดงได้ถึงมิตรภาพที่แนบแน่นระหว่างไทยกับมิตรประเทศดังกล่าว
2. พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไทย เห็นว่าการให้ความ ช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมต่อผู้ประสบภัยครั้งนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนและเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งหน่วยงานต่างๆ จะดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาภัยพิบัติครั้งนี้โดยเร็วที่สุด
3. กระทรวงการต่างประเทศจะประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ต่างประเทศประจำประเทศไทย ในการดูแลชาว ต่างชาติ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดเครื่องบินพิเศษนำคณะทูตานุทูต 28 ประเทศ จำนวน 50 คน โดยประมาณ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศไปยังภูเก็ต เมื่อค่ำวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ชาวต่างชาติที่ประสบภัยเหล่านี้ นอกจากนี้ ในค่ำวันนี้ (27 ธ.ค. 2547)กระทรวงการต่างประเทศ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปเพิ่มอีกจำนวน 12 คน โดยจะเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ที่ประสบภัยดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยที่ยังไม่ได้ส่งผู้แทนไปยังพื้นที่เกิดเหตุในภาคใต้ ให้พิจารณาจัดส่งผู้แทนในโอกาสแรกเพื่อสามารถอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลสัญชาตินั้นๆ
4. สำหรับเรื่องการแสดงความพร้อมของประเทศต่างๆ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภัยพิบัติครั้งนี้ ฝ่ายไทยยินดีตอบรับและถือเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัยดังกล่าวยังขาดแคลนเวชภัณฑ์ อาหาร การสนับสนุนด้านค้นหาและกู้ภัย (search and rescue) อาทิ พาหนะในการขนส่งลำเลียง การปฐมพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และชันสูตรศพจากมิตรประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ หลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สวีเดน สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส สิงคโปร์ จีน รัสเซีย ออสเตรเลีย แคนาดา อิตาลี คูเวต สวิสเซอร์แลนด์ ปากีสถาน อินเดีย รวมทั้ง UNDP ต่างได้แสดงความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนตามความต้องการของฝ่ายไทย
5. นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ขอความร่วมมือจากนานาประเทศในการจัดส่งภาพถ่ายของผู้ต้องสงสัยว่าสูญหายไปยังฝ่ายไทยเพื่อช่วยในการตรวจสอบกับผู้เสียชีวิต และเสนอแนะว่าประเทศต่างๆ อาจพิจารณาส่งจิตแพทย์เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวต่างได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศ
6. ฝ่ายไทยจะให้การสนับสนุนและความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการลดขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบและการออกเอกสารต่างๆ เพื่อเอื้ออำนวยให้บุคคลเหล่านี้ สามารถเดินทางกลับประเทศตนได้โดยเร็ว นอกจากนี้ ฝ่ายไทยก็ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคคลเหล่านี้ด้วย
7. สำหรับประเทศที่จะส่งเครื่องบินพิเศษมารับบุคคลสัญชาติตน นั้น ฝ่ายไทยก็พร้อมที่จะอำนวยความสะดวกเท่าที่จะกระทำได้ ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมของท่าอากาศยานทั้งในจังหวัดภูเก็ตหรือสุราษฎร์ธานีหรือกรุงเทพฯ
8. ในกรณีที่มีบุคคลต่างชาติขัดสนในเรื่องของบัตรโดยสารเครื่องบินหรือเงิน ฝ่ายไทยได้แสดงความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งการจัดที่พักให้แก่บุคคลดังกล่าวในระหว่างที่จะเดินทางกลับประเทศของตน
9. สำหรับคนไทยในประเทศที่ประสบภัยพิบัติ อาทิ ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และมัลดีฟส์ เป็นต้น นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานว่า คนไทยจำนวน 11 คนในมัลดีฟส์ปลอดภัย และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ อยู่ระหว่างการให้ความช่วยเหลือ ในการเดินทางออกจากมัลดีฟส์ สำหรับคนไทยในศรีลังกา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย นั้น ยังไม่มีรายงานการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ด้วยเมื่อวานนี้ (27 ธันวาคม 2547) นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการ ต่างประเทศได้บรรยายสรุปแก่คณะทูตานุทูตต่างประเทศและผู้แทนองค์การระหว่างประเทศประจำประเทศไทย เกี่ยวกับสถานการณ์ในจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ และการดำเนินการของ รัฐบาลไทย ในการให้ความช่วยเหลือชาวต่างประเทศและคนไทยที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ในประเทศไทยและต่างประเทศ ดังมีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. รัฐบาลไทยได้แสดงความขอบคุณต่อมิตรประเทศที่ได้ส่งสารแสดงความเสียใจต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่ ประเทศจีน ฝรั่งเศส รัสเซีย เม็กซิโก ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย ปากีสถาน และสิงคโปร์ นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และจีน ได้โทรศัพท์ถึง ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโดยตรง ซึ่งแสดงได้ถึงมิตรภาพที่แนบแน่นระหว่างไทยกับมิตรประเทศดังกล่าว
2. พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไทย เห็นว่าการให้ความ ช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมต่อผู้ประสบภัยครั้งนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนและเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งหน่วยงานต่างๆ จะดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาภัยพิบัติครั้งนี้โดยเร็วที่สุด
3. กระทรวงการต่างประเทศจะประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ต่างประเทศประจำประเทศไทย ในการดูแลชาว ต่างชาติ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดเครื่องบินพิเศษนำคณะทูตานุทูต 28 ประเทศ จำนวน 50 คน โดยประมาณ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศไปยังภูเก็ต เมื่อค่ำวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ชาวต่างชาติที่ประสบภัยเหล่านี้ นอกจากนี้ ในค่ำวันนี้ (27 ธ.ค. 2547)กระทรวงการต่างประเทศ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปเพิ่มอีกจำนวน 12 คน โดยจะเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ที่ประสบภัยดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยที่ยังไม่ได้ส่งผู้แทนไปยังพื้นที่เกิดเหตุในภาคใต้ ให้พิจารณาจัดส่งผู้แทนในโอกาสแรกเพื่อสามารถอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลสัญชาตินั้นๆ
4. สำหรับเรื่องการแสดงความพร้อมของประเทศต่างๆ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภัยพิบัติครั้งนี้ ฝ่ายไทยยินดีตอบรับและถือเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัยดังกล่าวยังขาดแคลนเวชภัณฑ์ อาหาร การสนับสนุนด้านค้นหาและกู้ภัย (search and rescue) อาทิ พาหนะในการขนส่งลำเลียง การปฐมพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และชันสูตรศพจากมิตรประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ หลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สวีเดน สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส สิงคโปร์ จีน รัสเซีย ออสเตรเลีย แคนาดา อิตาลี คูเวต สวิสเซอร์แลนด์ ปากีสถาน อินเดีย รวมทั้ง UNDP ต่างได้แสดงความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนตามความต้องการของฝ่ายไทย
5. นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ขอความร่วมมือจากนานาประเทศในการจัดส่งภาพถ่ายของผู้ต้องสงสัยว่าสูญหายไปยังฝ่ายไทยเพื่อช่วยในการตรวจสอบกับผู้เสียชีวิต และเสนอแนะว่าประเทศต่างๆ อาจพิจารณาส่งจิตแพทย์เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวต่างได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศ
6. ฝ่ายไทยจะให้การสนับสนุนและความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการลดขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบและการออกเอกสารต่างๆ เพื่อเอื้ออำนวยให้บุคคลเหล่านี้ สามารถเดินทางกลับประเทศตนได้โดยเร็ว นอกจากนี้ ฝ่ายไทยก็ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคคลเหล่านี้ด้วย
7. สำหรับประเทศที่จะส่งเครื่องบินพิเศษมารับบุคคลสัญชาติตน นั้น ฝ่ายไทยก็พร้อมที่จะอำนวยความสะดวกเท่าที่จะกระทำได้ ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมของท่าอากาศยานทั้งในจังหวัดภูเก็ตหรือสุราษฎร์ธานีหรือกรุงเทพฯ
8. ในกรณีที่มีบุคคลต่างชาติขัดสนในเรื่องของบัตรโดยสารเครื่องบินหรือเงิน ฝ่ายไทยได้แสดงความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งการจัดที่พักให้แก่บุคคลดังกล่าวในระหว่างที่จะเดินทางกลับประเทศของตน
9. สำหรับคนไทยในประเทศที่ประสบภัยพิบัติ อาทิ ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และมัลดีฟส์ เป็นต้น นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานว่า คนไทยจำนวน 11 คนในมัลดีฟส์ปลอดภัย และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ อยู่ระหว่างการให้ความช่วยเหลือ ในการเดินทางออกจากมัลดีฟส์ สำหรับคนไทยในศรีลังกา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย นั้น ยังไม่มีรายงานการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-