กรุงเทพ--17 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมคณะทำงานพิเศษของอธิบดีอาเซียนเพื่อทบทวนบทบาทและหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Special Directors-General Working Group on the Review of the Role and Functions of the ASEAN Secretariat) ครั้งที่ 3 มีขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2542 ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานของบริษัทที่ปรึกษา PriceWaterhouseCoopers (PWC) ที่ได้ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนบทบาทและหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียนบนพื้นฐานของหลักการสำคัญ 4 ประการที่อาเซียนได้มอบหมายไว้คือ
(1) ปรับปรุงสำนัก เลขาธิการอาเซียนให้มีความตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น
(2) ปรับปรุงระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(3) ปรับเปลี่ยนโครงสร้างสำนักเลขาธิการอาเซียนให้มีประสิทธิภาพและ
(4) หากจำเป็นให้เพิ่มบุคลากรของสำนักเลขาธิการอาเซียนได้เพียงเล็กน้อย
บริษัท PWC ได้เสนอทางเลือกสำหรับบทบาทของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Role and Functions of the ASEAN Secretariat) 3 รูปแบบ คือ
(1) เน้นสนับสนุนงานของอาเซียนและมีหน้าที่จัดทำและรายงานผลการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียน (Reactive Secretariat)
(2) ทำหน้าที่สนับสนุนการประชุมและเป็นตัวประสานงาน (Coordinating Secretariat) หรือ
(3) มีหน้าที่หลักที่จะเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำพากิจกรรมของอาเซียนไปสู่เป้าหมาย (Proactive Secretariat) ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าในปัจจุบันบทบาทของสำนักเลขาธิการอาเซียนควรใช้ทางเลือกที่ 2 ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่ทางเลือกที่ 3 ในอนาคตได้
สำหรับโครงสร้างของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Organisation Structure) นั้นที่ประชุมเห็นว่า โครงสร้างฯ ปัจจุบันเป็นรูปแบบของ Functional Secretariat ที่เน้นการรวมฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันให้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญ (priority) ของอาเซียน การแยกหน้าที่ของตำแหน่งรองเลขาธิการอาเซียนให้ดูแลด้านสารัตถะและการบริหารสำนักงาน (operational matters and corporate services) และการขยายอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนให้เข้าไปมีส่วนดูแลความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงและการประชาสัมพันธ์มากขึ้น
ที่ประชุมขอให้บริษัท PWC นำรูปแบบโครงสร้างดังกล่าวไปพิจารณาเพิ่มเติม โดยมีข้อสังเกตบางประการ เช่น ความจำเป็นที่จะต้องรวมฝ่ายการคลังกับฝ่ายเศรษฐกิจหรือไม่ การคงบทบาทเดิมของสำนักเลขาธิการอาเซียนให้ดูแลด้านสารัตถะและการสนับสนุนการประชุม แต่ให้ระบุว่า จะให้เจ้าหน้าที่ระดับใดเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ความเป็นไปได้ที่จะให้เปิดรับตำแหน่งรองเลขาธิการอาเซียนจากบุคคลทั่วไป (Openly Recruited Staff - ORS) การระบุว่าตำแหน่งใดมีความจำเป็นและไม่มีความจำเป็น (core and non-core) ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ปัจจุบัน
ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการบริหารงานภายในของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Internal Management) และเห็นว่า ควรจัดตั้งฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในสำนักเลขาธิการอาเซียน ให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดทำแผนปฏิบัติการ (Operating Plan) ประจำทุกปี และแผนบริหาร 3 ปี (3-year Management Plan) ให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการฮานอย เน้นการทำงานที่เน้นผลงาน (Performance Oriented) และส่งเสริมการประชุมภายในระดับบริหารของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Executive Committee Meeting)
ที่ประชุมขอให้บริษัท PWC กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการอาเซียน บทบาทของสำนักงานอาเซียนแห่งชาติในแต่ละประเทศ เป้าหมายและระดับของการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียนเพื่อเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management) และงบประมาณ (Budget Administration) ของสำนักเลขาธิการอาเซียนด้วย--จบ--
การประชุมคณะทำงานพิเศษของอธิบดีอาเซียนเพื่อทบทวนบทบาทและหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Special Directors-General Working Group on the Review of the Role and Functions of the ASEAN Secretariat) ครั้งที่ 3 มีขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2542 ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานของบริษัทที่ปรึกษา PriceWaterhouseCoopers (PWC) ที่ได้ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนบทบาทและหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียนบนพื้นฐานของหลักการสำคัญ 4 ประการที่อาเซียนได้มอบหมายไว้คือ
(1) ปรับปรุงสำนัก เลขาธิการอาเซียนให้มีความตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น
(2) ปรับปรุงระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(3) ปรับเปลี่ยนโครงสร้างสำนักเลขาธิการอาเซียนให้มีประสิทธิภาพและ
(4) หากจำเป็นให้เพิ่มบุคลากรของสำนักเลขาธิการอาเซียนได้เพียงเล็กน้อย
บริษัท PWC ได้เสนอทางเลือกสำหรับบทบาทของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Role and Functions of the ASEAN Secretariat) 3 รูปแบบ คือ
(1) เน้นสนับสนุนงานของอาเซียนและมีหน้าที่จัดทำและรายงานผลการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียน (Reactive Secretariat)
(2) ทำหน้าที่สนับสนุนการประชุมและเป็นตัวประสานงาน (Coordinating Secretariat) หรือ
(3) มีหน้าที่หลักที่จะเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำพากิจกรรมของอาเซียนไปสู่เป้าหมาย (Proactive Secretariat) ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าในปัจจุบันบทบาทของสำนักเลขาธิการอาเซียนควรใช้ทางเลือกที่ 2 ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่ทางเลือกที่ 3 ในอนาคตได้
สำหรับโครงสร้างของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Organisation Structure) นั้นที่ประชุมเห็นว่า โครงสร้างฯ ปัจจุบันเป็นรูปแบบของ Functional Secretariat ที่เน้นการรวมฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันให้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญ (priority) ของอาเซียน การแยกหน้าที่ของตำแหน่งรองเลขาธิการอาเซียนให้ดูแลด้านสารัตถะและการบริหารสำนักงาน (operational matters and corporate services) และการขยายอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนให้เข้าไปมีส่วนดูแลความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงและการประชาสัมพันธ์มากขึ้น
ที่ประชุมขอให้บริษัท PWC นำรูปแบบโครงสร้างดังกล่าวไปพิจารณาเพิ่มเติม โดยมีข้อสังเกตบางประการ เช่น ความจำเป็นที่จะต้องรวมฝ่ายการคลังกับฝ่ายเศรษฐกิจหรือไม่ การคงบทบาทเดิมของสำนักเลขาธิการอาเซียนให้ดูแลด้านสารัตถะและการสนับสนุนการประชุม แต่ให้ระบุว่า จะให้เจ้าหน้าที่ระดับใดเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ความเป็นไปได้ที่จะให้เปิดรับตำแหน่งรองเลขาธิการอาเซียนจากบุคคลทั่วไป (Openly Recruited Staff - ORS) การระบุว่าตำแหน่งใดมีความจำเป็นและไม่มีความจำเป็น (core and non-core) ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ปัจจุบัน
ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการบริหารงานภายในของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Internal Management) และเห็นว่า ควรจัดตั้งฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในสำนักเลขาธิการอาเซียน ให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดทำแผนปฏิบัติการ (Operating Plan) ประจำทุกปี และแผนบริหาร 3 ปี (3-year Management Plan) ให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการฮานอย เน้นการทำงานที่เน้นผลงาน (Performance Oriented) และส่งเสริมการประชุมภายในระดับบริหารของสำนักเลขาธิการอาเซียน (Executive Committee Meeting)
ที่ประชุมขอให้บริษัท PWC กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการอาเซียน บทบาทของสำนักงานอาเซียนแห่งชาติในแต่ละประเทศ เป้าหมายและระดับของการประชุมต่าง ๆ ของอาเซียนเพื่อเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management) และงบประมาณ (Budget Administration) ของสำนักเลขาธิการอาเซียนด้วย--จบ--