แท็ก
อัตราแลกเปลี่ยน
สหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Unino : EMU) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีการประสานนโยบายทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อบรรลุสู่การมีเงินตราสกุลเดียวกัน (Single Currency) คือ European Currency Unit : ECU หรือเรียกเป็นทางการว่า เงินสกุยูโร (Euro Currency) ในปี 2542
ประเทศสมาชิก EMU จะใช้เงินสกุลยูโรในการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายแทนที่เงินสกุลของประเทศสมาชิก ซึ่งจะทำให้เงินสกุลยูโรกลายเป็นเงินสกุลหลักสกุลหนึ่งของโลก และมุ่งสู่เป้าหมายในการที่จะมีธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) โดยธนาคารกลางยุโรปเป็นผู้กำหนดนโยบายทางการเงิน ซึ่งมีภารกิจในการควบคุมเสถียรภาพของราคา
ธนาคารกลางยุโรปจะเริ่มทำหน้าที่ในวันที่ 1 มกราคม 2542 เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของรัฐสมาชิกทั้ง 11 ประเทศ ถูกกำหนดตายตัว โดยสำนักงานจะตั้งอยู่ ณ นครแฟรงค์เฟิร์ต สืบแทนสถาบันการเงินยุโรป (European Monetary Institute) ซึ่งทำหน้าเตรียมรองรับการใช้เงินสกุลเดียวมาตั้งแต่ปี 2537
เงินสกุลต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก ยังคงสภาพ คุณสมบัติ และค่าที่สามารถใช้เป็นสื่อในการซื้อขายแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี คือประมาณปี 2002 ในการที่จะทำให้เงินยูโรกลายเป็นเงินตราสกุลเดียวแทนเงินตราสกุลต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก
เกณฑ์ปฏิบัติในการเข้าร่วมระบบ EMU
การใช้เงินตราสกุลเดียวของยุโรป จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ในการปรับตัวเข้าหากันในด้านการดำเนินการทางเศรษฐกิจ โดยแต่ละประเทศต้องบรรลุเงื่อนไข (Convergence Criteria) 5 ประการภายในปี 2541 ดังนี้
1. อัตราเงินเฟ้อต้องไม่สูงเกินกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของ 3 ประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำสุดร้อยละ 1.5 (ไม่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของต่ำสุด 3 ประเทศบวกร้อยละ 1.5)
2. อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรของรัฐบาลระยะยาวจะต้องไม่สูงเกินกว่าอัตราเฉลี่ยต่ำสุด 3 ของประเทศ ร้อยละ 2
3. ฐานะทางการคลังต้องมั่นคง ซี่งโดยทั่วไปการขาดดุลงบประมาณไม่ควรสูงกว่าร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หากประเทศใดมีการขาดดุลสูงกว่าร้อยละ 3 ก็ควรแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องหรือใกล้เคียงมากที่สุด
4. หนี้สินภาครัฐบาล ควรต่ำกว่าร้อยละ 60 ของ GDP
5. ประเทศสมาชิกจะต้องคงการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลของตนให้อยู่ในกรอบของกลไกอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Mechanism : ERM) โดยไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศอย่างต่ำ 2 ปีความพร้อมของประเทศสมาชิก
1. ในการประชุมสุดยอดเดือนพฤษภาคม 2541 ได้มีการดำเนินการพิจารณาประเทศสมาชิกที่พร้อมจะเข้าระบบ EMU ตามเงื่อนไข (Convergence Criterial) 5 ประการ ซึ่งคาดว่าประเทศสมาชิกทั้ง 11 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เยอรมันนี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน สามารถเข้าระบบ EMU ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้
2. สวีเดน เดนมาร์ก และอังกฤษ ไม่แสดงความจำนงค์จะเข้าระบบ EMU เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนส่วนใหญ่ของทั้ง 3 ประเทศ ยังมีท่าทีต่อต้านและไม่เห็นด้วยในการเข้าสู่ระบบ EMU โดยเห็นว่าเป็นการเสียอธิปไตยทางการเงิน ในขณะที่กรีซกำหนดเป้าหมายจะเข้าระบบ ERM ในปี 2544
3. ประเทศที่จะเข้าร่วม EMU ในอนาคต ได้แก่ สาธารณรัฐเชก กรีก ไซปรัส เอสโตเนีย ฮังการี โปแลนด์ และสโลเวเนียผลกระทบของ EMU ต่อสหภาพยุโรป
1. ผลกระทบทางบวก
1.1 ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
1.2 ประหยัดจากค่าธรรมเนียมซื้อขายเงินตรา (Transaction Cost)
1.3 ลดการพึ่งพิงต่อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
1.4 ส่งเสริมการค้าภายในสหภาพยุโรป
1.5 เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ จากการที่ต้องคงความมีวินัย ทางด้านนโยบายการเงินและนโยบายการคลังตาม Convergence Criteria
2. ผลกระทบทางลบ
2.1 การเข้าสู่ระบบ EMU มีต้นทุนที่สูง
2.2 การลดลงของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของการว่างงานเนื่องจากการคุมเข้มของนโยบายการเงินและนโยบายการคลังตาม Convergence Criteria ซึ่งอาจกระทำได้โดยการขึ้นภาษีหรือลดงบประมาณลงผลกระทบของระบบ EMU ต่อเศรษฐกิจไทย
1. ผลกระทบทางบวก
1.1 แนวโน้มการค้าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปในระยะยาวภายหลังการเข้าสู่ระบบ EMU จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยทางด้านราคา (อัตราแลกเปลี่ยน) ซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของตลาดต่อยูโรดอลลาร์ และผลกระทบของเงินยูโรต่อระบบเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป
1.2 แนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญ อาทิ เงินดอลลาร์ และเงินเยนคาดว่าจะมีแนวโน้มที่แข็งค่าขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ โดยมีเหตุผลดังนี้
- ขนาดของเศรษฐกิจโดยเปรียบเทียบระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปตลาดโลกใกล้เคียงกันเงินยูโรจะถูกนำมาเป็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อให้พอเพียงต่อการค้ากับสหภาพยุโรป
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลยูโรจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในสหภาพยุโรป อัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรจึงถูกถ่วงน้ำหนักในลักษณะของตะกร้าเงิน ส่งผลให้ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมีไม่มาก
- การปฏิบัติตาม Convergence Criteria อย่างเคร่งครัด จะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เงินยูโร และเป็นเงินสกุลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่บรรดานักลงทุนจะหันมาถือครองในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถกระจายความเสี่ยงในการถือครองเงินสกุลต่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงเงินดอลลาร์สหรัฐ เพียงสกุลเดียว
- คาดว่าสหภาพยุโรปจะเน้นนโยบายการสร้างความยืดหยุ่นของการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในสหภาพยุโรปอย่างเข้มข้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศสมาชิกได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากประสิทธิภาพและราคาของแรงงาน รวมทั้งอัตราการว่างงานที่สูงในปัจจุบัน
- สหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะขยายขอบเขตของการใช้เงินยูโรออกไปอีกหลายประเทศในยุโรป ซึ่งจะยิ่งเป็นการเพิ่มขนาดทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ซึ่งในเบื้องต้นจะทำให้เงินลงทุนเพื่อการค้าของประเทศสมาชิกเคลื่อนย้ายไปสู่แหล่งเหล่านี้ก่อน แต่ในระยะยาวแล้วจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของยุโรป และจะเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของโลก
- ตราสารหนี้ที่ออกใหม่จะอยู่ในสกุลยูโร ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับปริมาณตราสารหนี้ที่อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ความต้องการถือเงินยูโรเพิ่มขึ้น
- ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินปอนด์สหราชอาณาจักรมีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยพื้นฐาน (Overvalued)
- จากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศต่าง ๆ โดย EUROMONEY ซึ่งพิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ การเมือง ภาระหนี้สิน ความน่าเชื่อถือ และสภาวะทางการเงินระหว่างประเทศ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับที่สูง
จากเหตุผลเบื้องต้น ในระยะยาวแล้ว เงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินสกุลหลักของโลกรวมทั้งเงินบาทของไทย และการปฏิบัติตาม Conergence Criteria อย่างเคร่งครัด จะส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปมีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ (Economic Growth Effect) ตลาดสหภาพยุโรปจะเป็นตลาดที่สำคัญของสินค้าส่งออกจากทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยนั้น การพัฒนาสินค้าของไทยให้มีมาตรฐาน คุณภาพ ตรงความต้องการของลูกค้าและมุ่งเน้นการผลิตที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ จะได้รับประโยชน์จาก Economic Growth Effect และแนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทที่อ่อนตัวลง ได้อย่างเต็มที่
2. ผลกระทบทางลบ
2.1 ผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขัน (Competitiveness Effect) เนื่องจากภายหลังการเข้าสู่ระบบ EMU ประเทศสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรปจะสามารถประหยัดต้นทุนในการดำเนินธุรกรรมทางการค้า ทั้งในด้านการประหยัดจากต้นทุนการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Transaction Cost) และต้นทุนจากการบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน (Exchage Rate Risk) ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบโดยตรงต่อผู้ส่งออกไทยที่มีตลาดและประเทศคู่แข่งขันอยู่ในสหภาพยุโรป ราคาของสินค้าไทยจะสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบ ดังนั้น หากสินค้าไทยไม่มีข้อได้เปรียบทางด้านราคาและคุณภาพอย่างชัดเจน จะมีแนวโน้มการส่งออกที่ลดลง
2.2 จากการดำเนินการปรับตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุ Convergence Criteria ของประเทศที่เข้าร่วมระบบ EMU ซึ่งเน้นการสร้างความน่าเชื่อถือของเงินยูโร โดยการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลดการขาดดุลเงินงบประมาณและอัตราเงินเฟ้อนั้น ในระยะสั้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราการว่างงาน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อความต้องการซื้อ (Demand) ของสหภาพยุโรป และส่งผลให้การส่งสินค้าออกของไทยไปยังสหภาพยุโรปได้รับประโยชน์จากการอ่อนตัวของเงินบาทได้ไม่เต็มที่
2.3 ในระยะเริ่มแรกของเงินยูโร อัตราแลกเปลี่ยนจะมีความผันผวนมาก เนื่องจากตลาดยังไม่เคยชินกับนโยบายของธนาคารกลาง (ECB) หากสินค้าที่ประเทศไทยค้าขายกับประเทศกล่มสหภาพยุโรปต้องใช้เงินยูโรในการชำระค่าสินค้า จะส่งผลให้ต้นทุนการบริหารความเสี่ยงของผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไทยเพิ่มขึ้น
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการคลัง
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/31 ธันวาคม 2541--
ประเทศสมาชิก EMU จะใช้เงินสกุลยูโรในการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายแทนที่เงินสกุลของประเทศสมาชิก ซึ่งจะทำให้เงินสกุลยูโรกลายเป็นเงินสกุลหลักสกุลหนึ่งของโลก และมุ่งสู่เป้าหมายในการที่จะมีธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) โดยธนาคารกลางยุโรปเป็นผู้กำหนดนโยบายทางการเงิน ซึ่งมีภารกิจในการควบคุมเสถียรภาพของราคา
ธนาคารกลางยุโรปจะเริ่มทำหน้าที่ในวันที่ 1 มกราคม 2542 เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของรัฐสมาชิกทั้ง 11 ประเทศ ถูกกำหนดตายตัว โดยสำนักงานจะตั้งอยู่ ณ นครแฟรงค์เฟิร์ต สืบแทนสถาบันการเงินยุโรป (European Monetary Institute) ซึ่งทำหน้าเตรียมรองรับการใช้เงินสกุลเดียวมาตั้งแต่ปี 2537
เงินสกุลต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก ยังคงสภาพ คุณสมบัติ และค่าที่สามารถใช้เป็นสื่อในการซื้อขายแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี คือประมาณปี 2002 ในการที่จะทำให้เงินยูโรกลายเป็นเงินตราสกุลเดียวแทนเงินตราสกุลต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก
เกณฑ์ปฏิบัติในการเข้าร่วมระบบ EMU
การใช้เงินตราสกุลเดียวของยุโรป จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ในการปรับตัวเข้าหากันในด้านการดำเนินการทางเศรษฐกิจ โดยแต่ละประเทศต้องบรรลุเงื่อนไข (Convergence Criteria) 5 ประการภายในปี 2541 ดังนี้
1. อัตราเงินเฟ้อต้องไม่สูงเกินกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของ 3 ประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำสุดร้อยละ 1.5 (ไม่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของต่ำสุด 3 ประเทศบวกร้อยละ 1.5)
2. อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรของรัฐบาลระยะยาวจะต้องไม่สูงเกินกว่าอัตราเฉลี่ยต่ำสุด 3 ของประเทศ ร้อยละ 2
3. ฐานะทางการคลังต้องมั่นคง ซี่งโดยทั่วไปการขาดดุลงบประมาณไม่ควรสูงกว่าร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หากประเทศใดมีการขาดดุลสูงกว่าร้อยละ 3 ก็ควรแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องหรือใกล้เคียงมากที่สุด
4. หนี้สินภาครัฐบาล ควรต่ำกว่าร้อยละ 60 ของ GDP
5. ประเทศสมาชิกจะต้องคงการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลของตนให้อยู่ในกรอบของกลไกอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Mechanism : ERM) โดยไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศอย่างต่ำ 2 ปีความพร้อมของประเทศสมาชิก
1. ในการประชุมสุดยอดเดือนพฤษภาคม 2541 ได้มีการดำเนินการพิจารณาประเทศสมาชิกที่พร้อมจะเข้าระบบ EMU ตามเงื่อนไข (Convergence Criterial) 5 ประการ ซึ่งคาดว่าประเทศสมาชิกทั้ง 11 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เยอรมันนี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน สามารถเข้าระบบ EMU ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้
2. สวีเดน เดนมาร์ก และอังกฤษ ไม่แสดงความจำนงค์จะเข้าระบบ EMU เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนส่วนใหญ่ของทั้ง 3 ประเทศ ยังมีท่าทีต่อต้านและไม่เห็นด้วยในการเข้าสู่ระบบ EMU โดยเห็นว่าเป็นการเสียอธิปไตยทางการเงิน ในขณะที่กรีซกำหนดเป้าหมายจะเข้าระบบ ERM ในปี 2544
3. ประเทศที่จะเข้าร่วม EMU ในอนาคต ได้แก่ สาธารณรัฐเชก กรีก ไซปรัส เอสโตเนีย ฮังการี โปแลนด์ และสโลเวเนียผลกระทบของ EMU ต่อสหภาพยุโรป
1. ผลกระทบทางบวก
1.1 ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
1.2 ประหยัดจากค่าธรรมเนียมซื้อขายเงินตรา (Transaction Cost)
1.3 ลดการพึ่งพิงต่อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
1.4 ส่งเสริมการค้าภายในสหภาพยุโรป
1.5 เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ จากการที่ต้องคงความมีวินัย ทางด้านนโยบายการเงินและนโยบายการคลังตาม Convergence Criteria
2. ผลกระทบทางลบ
2.1 การเข้าสู่ระบบ EMU มีต้นทุนที่สูง
2.2 การลดลงของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของการว่างงานเนื่องจากการคุมเข้มของนโยบายการเงินและนโยบายการคลังตาม Convergence Criteria ซึ่งอาจกระทำได้โดยการขึ้นภาษีหรือลดงบประมาณลงผลกระทบของระบบ EMU ต่อเศรษฐกิจไทย
1. ผลกระทบทางบวก
1.1 แนวโน้มการค้าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปในระยะยาวภายหลังการเข้าสู่ระบบ EMU จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยทางด้านราคา (อัตราแลกเปลี่ยน) ซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของตลาดต่อยูโรดอลลาร์ และผลกระทบของเงินยูโรต่อระบบเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป
1.2 แนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญ อาทิ เงินดอลลาร์ และเงินเยนคาดว่าจะมีแนวโน้มที่แข็งค่าขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ โดยมีเหตุผลดังนี้
- ขนาดของเศรษฐกิจโดยเปรียบเทียบระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปตลาดโลกใกล้เคียงกันเงินยูโรจะถูกนำมาเป็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อให้พอเพียงต่อการค้ากับสหภาพยุโรป
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลยูโรจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในสหภาพยุโรป อัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรจึงถูกถ่วงน้ำหนักในลักษณะของตะกร้าเงิน ส่งผลให้ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมีไม่มาก
- การปฏิบัติตาม Convergence Criteria อย่างเคร่งครัด จะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เงินยูโร และเป็นเงินสกุลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่บรรดานักลงทุนจะหันมาถือครองในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถกระจายความเสี่ยงในการถือครองเงินสกุลต่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงเงินดอลลาร์สหรัฐ เพียงสกุลเดียว
- คาดว่าสหภาพยุโรปจะเน้นนโยบายการสร้างความยืดหยุ่นของการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในสหภาพยุโรปอย่างเข้มข้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศสมาชิกได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากประสิทธิภาพและราคาของแรงงาน รวมทั้งอัตราการว่างงานที่สูงในปัจจุบัน
- สหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะขยายขอบเขตของการใช้เงินยูโรออกไปอีกหลายประเทศในยุโรป ซึ่งจะยิ่งเป็นการเพิ่มขนาดทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ซึ่งในเบื้องต้นจะทำให้เงินลงทุนเพื่อการค้าของประเทศสมาชิกเคลื่อนย้ายไปสู่แหล่งเหล่านี้ก่อน แต่ในระยะยาวแล้วจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของยุโรป และจะเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของโลก
- ตราสารหนี้ที่ออกใหม่จะอยู่ในสกุลยูโร ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับปริมาณตราสารหนี้ที่อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ความต้องการถือเงินยูโรเพิ่มขึ้น
- ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินปอนด์สหราชอาณาจักรมีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยพื้นฐาน (Overvalued)
- จากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศต่าง ๆ โดย EUROMONEY ซึ่งพิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ การเมือง ภาระหนี้สิน ความน่าเชื่อถือ และสภาวะทางการเงินระหว่างประเทศ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับที่สูง
จากเหตุผลเบื้องต้น ในระยะยาวแล้ว เงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินสกุลหลักของโลกรวมทั้งเงินบาทของไทย และการปฏิบัติตาม Conergence Criteria อย่างเคร่งครัด จะส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปมีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ (Economic Growth Effect) ตลาดสหภาพยุโรปจะเป็นตลาดที่สำคัญของสินค้าส่งออกจากทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยนั้น การพัฒนาสินค้าของไทยให้มีมาตรฐาน คุณภาพ ตรงความต้องการของลูกค้าและมุ่งเน้นการผลิตที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ จะได้รับประโยชน์จาก Economic Growth Effect และแนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทที่อ่อนตัวลง ได้อย่างเต็มที่
2. ผลกระทบทางลบ
2.1 ผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขัน (Competitiveness Effect) เนื่องจากภายหลังการเข้าสู่ระบบ EMU ประเทศสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรปจะสามารถประหยัดต้นทุนในการดำเนินธุรกรรมทางการค้า ทั้งในด้านการประหยัดจากต้นทุนการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Transaction Cost) และต้นทุนจากการบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน (Exchage Rate Risk) ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบโดยตรงต่อผู้ส่งออกไทยที่มีตลาดและประเทศคู่แข่งขันอยู่ในสหภาพยุโรป ราคาของสินค้าไทยจะสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบ ดังนั้น หากสินค้าไทยไม่มีข้อได้เปรียบทางด้านราคาและคุณภาพอย่างชัดเจน จะมีแนวโน้มการส่งออกที่ลดลง
2.2 จากการดำเนินการปรับตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุ Convergence Criteria ของประเทศที่เข้าร่วมระบบ EMU ซึ่งเน้นการสร้างความน่าเชื่อถือของเงินยูโร โดยการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลดการขาดดุลเงินงบประมาณและอัตราเงินเฟ้อนั้น ในระยะสั้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราการว่างงาน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อความต้องการซื้อ (Demand) ของสหภาพยุโรป และส่งผลให้การส่งสินค้าออกของไทยไปยังสหภาพยุโรปได้รับประโยชน์จากการอ่อนตัวของเงินบาทได้ไม่เต็มที่
2.3 ในระยะเริ่มแรกของเงินยูโร อัตราแลกเปลี่ยนจะมีความผันผวนมาก เนื่องจากตลาดยังไม่เคยชินกับนโยบายของธนาคารกลาง (ECB) หากสินค้าที่ประเทศไทยค้าขายกับประเทศกล่มสหภาพยุโรปต้องใช้เงินยูโรในการชำระค่าสินค้า จะส่งผลให้ต้นทุนการบริหารความเสี่ยงของผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไทยเพิ่มขึ้น
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการคลัง
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/31 ธันวาคม 2541--