ภาวะเศรษฐกิจการเงินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกันยายน 2542 ยังคงซบเซาต่อเนื่องจากเดือนก่อน ๆ ขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจใด ๆ ชี้ได้ชัดเจนว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แม้ราคาผลิตผลภาคเกษตรกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย แต่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจยังไม่มั่นใจสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเท่าที่ควร โดยเฉพาะมีการแข่งขันด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น แม้ภาคธุรกิจจะค่อนข้างมั่นใจว่าประชาชนจะมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้นก็ตาม ภาคการเงินยังคงซบเซา อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำแต่ผู้ฝากเงินยังมีความมั่นใจในการฝากเงินไว้กับระบบธนาคารพาณิชย์ ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อได้น้อยลง ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือนนี้อยู่ที่ระดับร้อยละ 100.0
ภาคเกษตร
ปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนกันยายน 384.4 มิลลิเมตร เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน พืชสำคัญ (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปอ) เริ่มทะยอยออกสู่ท้องตลาด ราคาเริ่มขยับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการจากตลาดส่วนกลางมากกว่าเดือนก่อน โดยเฉพาะข้าว ตลาดในท้องถิ่นบางส่วนมีการเก็งกำไร เนื่องจากประเทศผู้บริโภคข้าวประสบภัยธรรมชาติ ข้าวโพดราคาสูงขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว ปอราคาสูงขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่วนมันสำปะหลังราคาทรงตัวต่อเนื่องกับเดือนก่อน
นอกภาคเกษตร
การสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือนกันยายน 2542 โดยสอบถามความเห็นผู้ประกอบการ 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 101 ราย ผลสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.8 สูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ (50%) และมีแนวโน้มดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการทางธุรกิจ อำนาจซื้อของประชาชน การลงทุนโดยตรง การจ้างงาน รวมทั้งความสามารถในการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการกลับลดลง
2) การแข่งขันทางธุรกิจด้านตลาดและราคาทั้งในและต่างประเทศสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
3) ภาวะการเงินเดือนกันยายนยังคงทรงตัว ธุรกิจมีภาระดอกเบี้ย สภาพคล่องทางการเงิน และการให้เครดิตกับลูกค้าใกล้เคียงกับเดือนก่อน
4) ตลาดเงินช่วง พ.ย. 42 - ม.ค. 43 ผู้ประกอบการเห็นว่าธุรกิจจะมีสภาพคล่องลดลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้น ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์มีแนวโน้มที่ค่าเงินบาทลดลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม การผลิตเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะถึงภาครัฐ ดังนี้
1. จากการที่ค่าเงินบาทอ่อนทำให้ต้นทุนในการประกอบธุรกิจสูงขึ้น ทำให้ราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศสูงขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
2. ขอให้รัฐมีมาตรการเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจให้มากขึ้น โดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียน
3. รัฐบาลควรอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มเติมต่อเนื่องจากโครงการมิยาซาวา เพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง
4. ประชาชนยังไม่มั่นใจในแนวโน้มธุรกิจ รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังขาดความชัดเจน
5. ควรกระตุ้นให้ราคาพืชผลเกษตรสูงขึ้น เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อให้เกษตรกร
อัตราเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกันยายนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนสิงหาคมและลดลงร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหมวดอาหารลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.2
ภาคการเงิน
เดือนกันยายน 2542 ในภาคฯ มีสาขาธนาคารพาณิชย์ 525 สำนักงาน เท่ากับเดือนก่อน โดยมียอดเงินฝากคงค้าง 236,112.3 ล้านบาท (ตัวเลขประมาณการ) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 และร้อยละ 0.07 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากผู้ฝากยังคงมั่นใจกับการฝากเงินกับธนาคารมากกว่าจะนำไปลงทุนในด้านอื่น ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำ ส่วนทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 236,136.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 และร้อยละ 10.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังในเรื่องปัญหาหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 101.1 มาเป็น 100.0 ในเดือนนี้ เป็นผลมาจากปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้นในขณะที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้ลดลง
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อจากการสำรวจจากธนาคารพาณิชย์ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากแบบมีงวดเวลาทั้ง 3 ประเภท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.25 ต่อปี สำหรับเงินฝากประจำ 3 เดือนลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.25-4.75 มาเป็นร้อยละ 4.00-4.75 ในเดือนนี้ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.25-5.00 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 4.00-5.00 และดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนลดจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.50-5.25 ต่อปีมาเป็นร้อยละ 4.25-5.00 ต่อปีในเดือนนี้ ด้านเงินฝากออมทรัพย์ลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี จากเดือนก่อนร้อยละ 3.75-4.25 ต่อปีมาเป็นร้อยละ 3.50-4.00 ต่อปีในเดือนนี้ สำหรับสาเหตุที่ทำในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีการปรับตัวลดลงเนื่องสภาพคล่องในระบบโดยรวมของธนาคารพาณิชย์ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากเงินรับฝากที่ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยังไม่อาจปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนใหญ่ยังทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนโดยดอกเบี้ย MOR อยู่ที่ร้อยละ 9.00-10.75 ต่อปี ดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ร้อยละ 8.50-10.50 ต่อปีและดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ร้อยละ 9.00-11.75 ต่อปี แต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงคือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนคือดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 ต่อปีในบางธนาคาร มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลูกค้าทั่วไปโดยรวมมีการปรับตัวเพิ่มจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 10.25-14.50 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 11.75-14.50 ต่อปีในเดือนนี้
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศเดือนนี้มีการโอนกลับมาในภาคฯ เป็นเงิน 1,992.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7
ภาคการคลัง
รายได้จากการจัดเก็บภาษีของภาคในเดือนกันยายนมีทั้งสิ้น 1,406.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.3 เนื่องจากเก็บภาษีสรรพสามิตได้เพิ่มขึ้น
การค้าชายแดนไทย-ลาว
เดือนกันยายนมีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 1,552.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.7 การส่งออกตลอดเดือน 1,387.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.0 และการนำเข้า 164.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 43.5 เนื่องจากการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ลดลงกว่าครึ่ง อย่างไรก็ตาม ไทยยังเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าลาว 1,223.8 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
ภาคเกษตร
ปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนกันยายน 384.4 มิลลิเมตร เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน พืชสำคัญ (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปอ) เริ่มทะยอยออกสู่ท้องตลาด ราคาเริ่มขยับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการจากตลาดส่วนกลางมากกว่าเดือนก่อน โดยเฉพาะข้าว ตลาดในท้องถิ่นบางส่วนมีการเก็งกำไร เนื่องจากประเทศผู้บริโภคข้าวประสบภัยธรรมชาติ ข้าวโพดราคาสูงขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว ปอราคาสูงขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่วนมันสำปะหลังราคาทรงตัวต่อเนื่องกับเดือนก่อน
นอกภาคเกษตร
การสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือนกันยายน 2542 โดยสอบถามความเห็นผู้ประกอบการ 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 101 ราย ผลสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.8 สูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ (50%) และมีแนวโน้มดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการทางธุรกิจ อำนาจซื้อของประชาชน การลงทุนโดยตรง การจ้างงาน รวมทั้งความสามารถในการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการกลับลดลง
2) การแข่งขันทางธุรกิจด้านตลาดและราคาทั้งในและต่างประเทศสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
3) ภาวะการเงินเดือนกันยายนยังคงทรงตัว ธุรกิจมีภาระดอกเบี้ย สภาพคล่องทางการเงิน และการให้เครดิตกับลูกค้าใกล้เคียงกับเดือนก่อน
4) ตลาดเงินช่วง พ.ย. 42 - ม.ค. 43 ผู้ประกอบการเห็นว่าธุรกิจจะมีสภาพคล่องลดลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้น ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์มีแนวโน้มที่ค่าเงินบาทลดลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม การผลิตเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะถึงภาครัฐ ดังนี้
1. จากการที่ค่าเงินบาทอ่อนทำให้ต้นทุนในการประกอบธุรกิจสูงขึ้น ทำให้ราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศสูงขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
2. ขอให้รัฐมีมาตรการเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจให้มากขึ้น โดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียน
3. รัฐบาลควรอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มเติมต่อเนื่องจากโครงการมิยาซาวา เพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง
4. ประชาชนยังไม่มั่นใจในแนวโน้มธุรกิจ รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังขาดความชัดเจน
5. ควรกระตุ้นให้ราคาพืชผลเกษตรสูงขึ้น เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อให้เกษตรกร
อัตราเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกันยายนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนสิงหาคมและลดลงร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหมวดอาหารลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.2
ภาคการเงิน
เดือนกันยายน 2542 ในภาคฯ มีสาขาธนาคารพาณิชย์ 525 สำนักงาน เท่ากับเดือนก่อน โดยมียอดเงินฝากคงค้าง 236,112.3 ล้านบาท (ตัวเลขประมาณการ) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 และร้อยละ 0.07 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากผู้ฝากยังคงมั่นใจกับการฝากเงินกับธนาคารมากกว่าจะนำไปลงทุนในด้านอื่น ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำ ส่วนทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 236,136.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 และร้อยละ 10.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังในเรื่องปัญหาหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 101.1 มาเป็น 100.0 ในเดือนนี้ เป็นผลมาจากปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้นในขณะที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้ลดลง
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อจากการสำรวจจากธนาคารพาณิชย์ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากแบบมีงวดเวลาทั้ง 3 ประเภท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.25 ต่อปี สำหรับเงินฝากประจำ 3 เดือนลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.25-4.75 มาเป็นร้อยละ 4.00-4.75 ในเดือนนี้ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.25-5.00 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 4.00-5.00 และดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนลดจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.50-5.25 ต่อปีมาเป็นร้อยละ 4.25-5.00 ต่อปีในเดือนนี้ ด้านเงินฝากออมทรัพย์ลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี จากเดือนก่อนร้อยละ 3.75-4.25 ต่อปีมาเป็นร้อยละ 3.50-4.00 ต่อปีในเดือนนี้ สำหรับสาเหตุที่ทำในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีการปรับตัวลดลงเนื่องสภาพคล่องในระบบโดยรวมของธนาคารพาณิชย์ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากเงินรับฝากที่ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยังไม่อาจปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนใหญ่ยังทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนโดยดอกเบี้ย MOR อยู่ที่ร้อยละ 9.00-10.75 ต่อปี ดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ร้อยละ 8.50-10.50 ต่อปีและดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ร้อยละ 9.00-11.75 ต่อปี แต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงคือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนคือดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 ต่อปีในบางธนาคาร มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลูกค้าทั่วไปโดยรวมมีการปรับตัวเพิ่มจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 10.25-14.50 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 11.75-14.50 ต่อปีในเดือนนี้
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศเดือนนี้มีการโอนกลับมาในภาคฯ เป็นเงิน 1,992.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7
ภาคการคลัง
รายได้จากการจัดเก็บภาษีของภาคในเดือนกันยายนมีทั้งสิ้น 1,406.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.3 เนื่องจากเก็บภาษีสรรพสามิตได้เพิ่มขึ้น
การค้าชายแดนไทย-ลาว
เดือนกันยายนมีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 1,552.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.7 การส่งออกตลอดเดือน 1,387.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.0 และการนำเข้า 164.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 43.5 เนื่องจากการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ลดลงกว่าครึ่ง อย่างไรก็ตาม ไทยยังเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าลาว 1,223.8 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-