- การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน (Technology in human
capital)
- การเพิ่มสัดส่วนแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ วิศวกรโรงงาน ใน
การควบคุมสายการผลิตให้มีคุณภาพ และลดส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในบางอุตสาหกรรมที่
เน้น High precision ในตัวผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพและลดข้อบกพร่องในตัวสินค้า จะช่วยเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขัน
โดยกลุ่มผู้ผลิตที่มีปัจจัยเหล่านี้ มักเป็นกลุ่มที่มีความได้เปรียบ จาก TFP Level สูง และมี TFPG ขยาย
ตัวดีกว่าอีกกลุ่มที่ไม่มี นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ผลิตกลุ่มที่มีการส่งออก มักจะมี TFPG ขยายตัวเร็ว หรือ TFPG สูงกว่า
กลุ่มที่เน้นเพียงตลาดในประเทศเพียงอย่างเดียว เนื่องจากผู้ผลิตต้องเร่งปรับคุณภาพสินค้า และกระบวนการผลิตเพื่อ
ลดต้นทุนในการแข่งขันกับผู้ผลิตประเทศอื่นทั่วโลก
ขณะที่ปัจจัยบางอย่างยังไม่มีความสัมพันธ์กับ TFP อย่างชัดเจน และอธิบายได้ยาก ได้แก่ ปัจจัยด้านการ
ใช้แรงงานมีฝีมือ ซึ่งพบว่า ในภาพรวม กลุ่มที่เน้นใช้แรงงานมีฝีมือในสัดส่วนสูงในกระบวนการผลิต กลับมีค่า TFPG
และ TFP Level ต่ำกว่ากลุ่มที่เน้นการใช้แรงงานไร้ฝีมือ อาจเนื่องจาก แรงงานมีฝีมือส่วนใหญ่จะมีค่าแรงสูง ซึ่ง
อาจไม่เหมาะสมกับโครงสร้างการผลิตของบางอุตสาหกรรมที่เน้นลดต้นทุน ที่อาจต้องการเพียงแค่แรงงานไร้ฝีมือ เพื่อ
ใช้ในการผลิตแบบ Mass production แต่ไม่ได้หมายความว่า การปรับเพิ่มผลิตภาพโดยรวมจะต้องเพิ่มสัดส่วนการ
ใช้แรงงานไร้ฝีมือ หรือลดสัดส่วนการใช้แรงงานมีฝีมือลงไป เช่นเดียวกับปัจจัยด้านการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ
(Automated machine) ซึ่งพบว่า กลุ่มที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในสัดส่วนสูง ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มที่เน้นเทคโนโลยี
สูง และมี TFP Level สูงอยู่แล้ว แต่การเติบโตของผลิตภาพหรือ TFPG จะช้ากว่ากลุ่มการผลิตที่ไม่เน้น Hi
technology เช่น กลุ่มการผลิตประเภท Resource-based ทำให้พบว่า ที่ผ่านมา TFP Level ของกลุ่ม
Technology intensive จะมีระดับสูงกว่ากลุ่ม Resouce base มาโดยตลอด เพียงแต่จะมีอัตราการเติบโตของ
TFP หรือ TFPG ต่ำกว่า
ผลิตภาพอุตสาหกรรมรายหมวด
ผลการวิเคราะห์ผลิตภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมแยกตามหมวดการผลิตที่สำคัญ จำนวน 49 หมวด พบ
ว่า การขยายตัวของผลิตภาพโดยรวมในแต่ละหมวดอุตสาหกรรม มักจะสัมพันธ์กับการขยายตัวของมูลค่าเพิ่มใน
อุตสาหกรรมหมวดนั้นในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างการขยายตัวของผลิตภาพโดย
รวม (TFPG) กับการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ที่สูงประมาณร้อยละ 71.5
การแบ่งหมวดอุตสาหกรรมลำดับตามผลิตภาพโดยรวม เป็นการพิจารณาจากด้านอุปทาน (Supply
side approach) โดยเปรียบเทียบศักยภาพของอุตสาหกรรมแต่ละหมวดจาก 3 องค์ประกอบร่วมกัน ได้แก่ การ
ขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม, TFPG และ TFP Level ซึ่งสามารถแบ่งอุตสาหกรรมแต่ละหมวด ได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มดี (good) เป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวทั้งมูลค่าเพิ่ม และ TFPG โดยมี TFP
Level อยู่ในระดับสูงเกิน 100 ได้แก่ หมวดสิ่งพิมพ์ ตู้แช่เย็น เบียร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ ยา แปรรูปสัตว์น้ำ
อุปกรณ์ถ่ายภาพ อิเล็กทรอนิกส์ และสีทา เป็นต้น
- กลุ่มแย่ (worse) เป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมที่มีการหดตัวทั้งมูลค่าเพิ่ม และ TFPG โดยมี TFP
Level อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ได้แก่ น้ำตาล เส้นใย สิ่งทอ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์ยาง เหล็ก ผงซักฟอกและสบู่
ผลิตภัณฑ์พลาสติก กระดาษลูกฟูก เป็นต้น
- กลุ่มที่น่าจะดีขึ้น (better) เป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมที่ยังมี TFP Level ต่ำกว่า 100 แต่มีการ
ขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม และ TFPG ในอัตราสูง ได้แก่ ปูนซีเมนต์ พลาสติกขั้นต้น เนื้อสัตว์แปรรูป เซรามิก(ไม่ใช้ก่อ
สร้าง) เคมีภัณฑ์พื้นฐาน และรองเท้า เป็นต้น
- กลุ่มที่อาจจะแย่ลง (worsen) เป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมที่มี TFP Level ในระดับสูงกว่า 100 แต่
มีการหดตัวของมูลค่าเพิ่ม และ TFPG ได้แก่ อัญมณี เฟอร์นิเจอร์ คอมพิวเตอร์ แปรรูปผักและผลไม้ และยางรถยนต์
เป็นต้น
การแบ่งหมวดอุตสาหกรรมตามระดับผลิตภาพ
ประเด็นที่ควรพิจารณา ได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมพื้นฐานหลายรายการ อาทิ เหล็ก เส้นใยสิ่งทอ เยื่อ
กระดาษ รวมถึงน้ำตาล ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของหลายผลิตภัณฑ์ ยังมีผลิตภาพโดยรวมต่ำมาก และถูกจัดอยู่ใน
กลุ่มแย่มาก โดยมีการหดตัวของ TFPG และ TFP Level อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะเหล็ก ที่มี TFP Level ต่ำ
สุด อยู่ในระดับเพียง 51.4 และยังหดตัวด้วย โดยทุกขนาดการผลิตและทุกประเภทการลงทุน ของผู้ผลิตในหมวด
อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก ต่างมี TFP Level ต่ำกว่า 100 ทั้งสิ้น ซึ่งหากอุตสาหกรรมพื้นฐานเหล่านี้ ยังไม่มีการ
ปรับปรุงศักยภาพอย่างเพียงพอ อาจเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ต่อไป และจากความเสีย
เปรียบด้านคุณภาพ และต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมพื้นฐานเหล่านี้ ทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุ
ดิบดังกล่าวเข้ามาทดแทน โอกาสในการปรับปรุงผลิตภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมพี้นฐานเหล่านี้ให้สูงขึ้น ก็เป็นไปได้
ยากมากขึ้น.
ปัจจัยได้เปรียบ/เสียเปรียบของหมวดอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงและต่ำ
หมวดที่มีศักยภาพสูง ปัจจัยที่ได้เปรียบ
1.สิ่งพิมพ์ -มีการใช้เครื่องจักรใหม่ ทันสมัยมากขึ้น ช่วยเพิ่มคุณภาพของการพิมพ์
ลดส่วนสูญเสียลง มูลค่าเพิ่มจึงสูงขึ้น
-ผู้ผลิตได้เปรียบจากขนาดการผลิตจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนต่อหน่วย
2.ตู้แช่เย็น -เน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับคุณภาพและกระบวนการผลิตมากขึ้น
-เพิ่มการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ ที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น
-มีการขยายการผลิต ช่วยประหยัดต่อขนาด
3.เบียร์ -ผู้ผลิตเน้นขยายตลาดส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะกัมพูชา สิงคโปร์ เร่งให้เกิด
การปรับประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนจากการขยายการลงทุน
4.เครื่องใช้ไฟฟ้า -กลุ่มร่วมทุนขยายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์
-มีการขยายการลงทุนเพิ่มเครื่องจักรใหม่ในบางกลุ่ม
-มีการเน้นบทบาทของการวิจัยและพัฒนามากขึ้น ในการพัฒนาคุณภาพสินค้า
และกระบวนการผลิต
5.สีทา น้ำมันชักเงา -การแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ผลิตต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ
-มีการเร่งสร้างแบรนด์เนมและส่งเสริมการขาย
-กลุ่มสีพ่นรถยนต์ ขยายตัวตามอุตสาหกรรมยานยนต์
-วัตถุดิบในประเทศกว่าร้อยละ 70 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
6.รถยนต์ -แผนสนับสนุนจากบริษัทแม่ที่เน้นไทยเป็นฐานส่งออก ทำให้เทคโนโลยีหลั่งไหลเข้ามามาก
-แรงงานมีการสะสมความรู้ ความชำนาญงาน และความสามารถดัดแปลงในสาย
การผลิตมาเป็นเวลานาน
-ตลาดในประเทศขนาดใหญ่ และโอกาสในตลาดส่งออก เอื้อให้เกิดความได้เปรียบ
ต่อขนาดการผลิต โดยเฉพาะรถกระบะ 1 ตัน
7.ผลิตภัณฑ์เวชกรรม(ยา) -มีการลงทุนพัฒนาด้านบุคลากร เพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถมากขึ้น
-เร่งฝึกอบรมฝีมือ และคุณภาพแรงงาน
-มีความเข้มงวดในด้านระดับการศึกษาสูงขึ้น
-ปัจจัยข้างต้น ส่งผลต่อการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานสูงถึงร้อยละ 10
-มีการลงทุนในประสิทธิภาพของเครื่องจักรสูงขึ้น
8.แปรรูปสัตว์น้ำ -ผู้ผลิตรายใหญ่และร่วมทุน มีการปรับกลยุทธการผลิตไปสู่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
-มีการปรับกระบวนการผลิต และมาตรฐานความปลอดภัยให้สูงขึ้น
-เป็นการเทียบกับฐานที่ต่ำ ในปี 2545 ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งแช่แข็งจากไทยมีปัญหา
ตรวจพบสารตกค้างในตลาดส่งออก
-ตลาดปลาทูน่ากระป๋องขยายตัวสูงแทนเนื้อวัว จากกระแสสุขภาพ
9.อิเล็กทรอนิกส์ -ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าลดลง จากผลการแข็งค่าของเงินบาท
-มีการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ที่มีเทคโนโลยีการผลิตดีขึ้น
-ตลาดโลกขยายตัว ส่งผลต่อขนาดการผลิตที่ใหญ่ขึ้น
หมวดที่มีศักยภาพต่ำ ปัจจัยที่เสียเปรียบ
1.น้ำตาล -หลายโรงงานยังขาดทุนต่อเนื่อง ขาดศักยภาพในการปรับปรุงการผลิต
-การใช้กำลังการผลิตต่ำมาก ส่งผลต่อความเสียเปรียบด้านขนาดการผลิตและต้นทุน
-ขาดการวิจัยและพัฒนาในการปรับปรุงคุณภาพ
-วัตถุดิบอ้อย ยังมีปัญหาขาดแคลนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพความหวาน
รวมทั้งผลผลิตต่อไร่ยังต่ำ เกิดปัญหาการแย่งอ้อย ซึ่งโรงงานเล็กมักเสียเปรียบ
การผูกขาดวัตถุดิบจากผู้ผลิตรายใหญ่-เครื่องจักรเสื่อมสภาพ และเสียหาย
กระทบต่อต้นทุนและคุณภาพ-ผลิตภาพแรงงานยังต่ำมาก เพราะเข้าออกตามฤดูกาล
2.เส้นใย สิ่งทอ -เครื่องจักรเสื่อมโทรม กัดกร่อนผลิตภาพการผลิต และทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
-ฝีมือแรงงานยังมีคุณภาพไม่เพียงพอ ผลิตภาพแรงงานจึงต่ำ
-ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น มูลค่าเพิ่มจึงลดลง-คู่แข่ง เช่น จีน อินโดนีเซีย อินเดีย
เวียดนาม ซึ่งได้เปรียบต้นทุน มีการพัฒนาการด้านระบบการผลิตและการจัดการ
อย่างรวดเร็ว สินค้านำเข้าจากจีนจึงมีคุณภาพสูงขึ้น และออกแบบได้ดี
จนสามารถรุกตลาดไทย
3.เยื่อกระดาษ -ขาดการปรับปรุงคุณภาพของปัจจัยทุนในการผลิต
-เครื่องจักรเริ่มเสื่อมสภาพมากขึ้น บั่นทอนทั้งผลิตภาพของทุนและแรงงานให้ตกต่ำลง
4.ผลิตภัณฑ์ยาง -ผู้ผลิตยังเน้นการเพิ่มขยายทุนในการผลักดันการผลิต มากกว่าปรับปรุงประสิทธิภาพ
ทำให้ผลิตภาพของทุนหดตัวอย่างรุนแรง ถึงร้อยละ 26.8 ในปี 2546
-ผู้ผลิตยังขาดการค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
-ราคาน้ำยางข้น และต้นทุนพลังงานปรับสูงขึ้น มูลค่าเพิ่มจึงลดลง
5.เหล็ก -ผู้ผลิตยังเสียเปรียบด้านขนาดการผลิต-วัตถุดิบและต้นทุนพลังงานสูงขึ้น
-ผู้ผลิตบางกลุ่มยังมีปัญหาด้านภาระหนี้สิน และขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ทำให้ขาดการปรับปรุงการผลิต เครื่องจักรจึงเก่า ประสิทธิภาพต่ำ
6.สินค้าอุปโภค เช่น สบู่ ผงซักฟอก แชมพู -ผู้ผลิตรายใหญ่ หันมาเน้นสินค้าเกรดต่ำลง เพื่อดึงลูกค้า
หลังถูกรุกจากสินค้านำเข้าจากจีนในตลาดล่าง และสินค้าเกรดต่ำ
จาก Discount store ส่งผลต่อการหดตัวของมูลค่าเพิ่มโดยรวม
-ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบหลักบางตัวของผงซักฟอก โดยเฉพาะ
โซเดียมซัลเฟต ที่ถูกจีนกว้านซื้อในตลาดโลก ต้นทุนจึงปรับสูงขึ้น
-สต๊อกสินค้าสำเร็จรูปเหลือค้างมากขึ้น
7.ผลิตภัณฑ์พลาสติก -ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังเน้นใช้แรงงานมากกว่าทุน แต่ไม่ได้มีการพัฒนาคุณภาพแรงงาน
อย่างเพียงพอ ประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งแรงงานและทุน จึงหดตัว
8.กระดาษลูกฟูก -ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น จากการผูกขาดโดยรายใหญ่
-SMEs ที่มีจำนวนสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 บางรายต้องลดคุณภาพสินค้าลงและขาย
ราคาต่ำ เพื่อหนีรายใหญ่
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. อุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่น เหล็ก เส้นใยสิ่งทอ เยื่อกระดาษ จำเป็นต้องได้รับการปรับศักยภาพให้
ทันกับความต้องการของหมวดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การสนับสนุนการเข้ามาลงทุนจากต่างชาติอย่างเข้มข้น ใน
อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีในไทยให้แข็งแกร่งมากขึ้น และเป็น
ฐานสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้พัฒนาอย่างมีคุณภาพ
2. ควรผลักดันให้เกิดการกระจายโอกาสด้านการตลาดไปสู่กลุ่มผู้ผลิตรายเล็ก และกลุ่ม Labor
intensive มากขึ้น พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดการปรับศักยภาพด้านการผลิต โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านเงินทุนในการ
เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรอย่างเต็มที่ ซึ่งกลุ่ม Labor intensive แม้จะเน้นการใช้แรงงานเข้มข้น แต่หาก
ประสิทธิภาพของปัจจัยทุนเสื่อมถอย ก็จะส่งผลต่อเนื่องให้ผลิตภาพแรงงานหดตัวเช่นกัน
3. ผู้ผลิตที่อยู่ในกลุ่ม Resource-base เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงใกล้เคียงกับกลุ่ม Technology
intensive โดยเฉพาะความได้เปรียบด้านต้นทุน แต่ยังมีสัดส่วนส่งออกต่ำกว่าประเภทอุตสาหกรรมอื่นๆ หากได้รับ
การสนับสนุนด้านการขยายตลาดส่งออก น่าจะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสแข่งขันสูง และอาจช่วยให้ผู้ผลิตเร่งปรับประสิทธิภาพ
การผลิตให้สูงขึ้น
4. สัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของผู้ผลิตในไทยส่วนใหญ่ ยังอยู่ในระดับต่ำมาก โดยเฉพาะ
ผู้ผลิตกลุ่มไทยล้วน กลุ่มรายเล็ก กลุ่ม Resource-base และ Labor intensive ทั้งที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนา
คุณภาพสินค้าและกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนในภาวะแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดด้านเงินทุน
ซึ่งภาครัฐควรพิจารณาให้เงินทุนสนับสนุนอย่างจริงจัง เนื่องจากถือเป็นการลงทุนสาธารณะ
5. การศึกษาผลิตภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมไทย ควรกระทำอย่างต่อเนื่องเป็นโครงการระยะยาว
เพื่อประโยชน์ต่อนโยบายการพัฒนาที่ตรงจุด และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในขีดความสามารถด้านการแข่งขันของผู้ผลิต.
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
capital)
- การเพิ่มสัดส่วนแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ วิศวกรโรงงาน ใน
การควบคุมสายการผลิตให้มีคุณภาพ และลดส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในบางอุตสาหกรรมที่
เน้น High precision ในตัวผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพและลดข้อบกพร่องในตัวสินค้า จะช่วยเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขัน
โดยกลุ่มผู้ผลิตที่มีปัจจัยเหล่านี้ มักเป็นกลุ่มที่มีความได้เปรียบ จาก TFP Level สูง และมี TFPG ขยาย
ตัวดีกว่าอีกกลุ่มที่ไม่มี นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ผลิตกลุ่มที่มีการส่งออก มักจะมี TFPG ขยายตัวเร็ว หรือ TFPG สูงกว่า
กลุ่มที่เน้นเพียงตลาดในประเทศเพียงอย่างเดียว เนื่องจากผู้ผลิตต้องเร่งปรับคุณภาพสินค้า และกระบวนการผลิตเพื่อ
ลดต้นทุนในการแข่งขันกับผู้ผลิตประเทศอื่นทั่วโลก
ขณะที่ปัจจัยบางอย่างยังไม่มีความสัมพันธ์กับ TFP อย่างชัดเจน และอธิบายได้ยาก ได้แก่ ปัจจัยด้านการ
ใช้แรงงานมีฝีมือ ซึ่งพบว่า ในภาพรวม กลุ่มที่เน้นใช้แรงงานมีฝีมือในสัดส่วนสูงในกระบวนการผลิต กลับมีค่า TFPG
และ TFP Level ต่ำกว่ากลุ่มที่เน้นการใช้แรงงานไร้ฝีมือ อาจเนื่องจาก แรงงานมีฝีมือส่วนใหญ่จะมีค่าแรงสูง ซึ่ง
อาจไม่เหมาะสมกับโครงสร้างการผลิตของบางอุตสาหกรรมที่เน้นลดต้นทุน ที่อาจต้องการเพียงแค่แรงงานไร้ฝีมือ เพื่อ
ใช้ในการผลิตแบบ Mass production แต่ไม่ได้หมายความว่า การปรับเพิ่มผลิตภาพโดยรวมจะต้องเพิ่มสัดส่วนการ
ใช้แรงงานไร้ฝีมือ หรือลดสัดส่วนการใช้แรงงานมีฝีมือลงไป เช่นเดียวกับปัจจัยด้านการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ
(Automated machine) ซึ่งพบว่า กลุ่มที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในสัดส่วนสูง ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มที่เน้นเทคโนโลยี
สูง และมี TFP Level สูงอยู่แล้ว แต่การเติบโตของผลิตภาพหรือ TFPG จะช้ากว่ากลุ่มการผลิตที่ไม่เน้น Hi
technology เช่น กลุ่มการผลิตประเภท Resource-based ทำให้พบว่า ที่ผ่านมา TFP Level ของกลุ่ม
Technology intensive จะมีระดับสูงกว่ากลุ่ม Resouce base มาโดยตลอด เพียงแต่จะมีอัตราการเติบโตของ
TFP หรือ TFPG ต่ำกว่า
ผลิตภาพอุตสาหกรรมรายหมวด
ผลการวิเคราะห์ผลิตภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมแยกตามหมวดการผลิตที่สำคัญ จำนวน 49 หมวด พบ
ว่า การขยายตัวของผลิตภาพโดยรวมในแต่ละหมวดอุตสาหกรรม มักจะสัมพันธ์กับการขยายตัวของมูลค่าเพิ่มใน
อุตสาหกรรมหมวดนั้นในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างการขยายตัวของผลิตภาพโดย
รวม (TFPG) กับการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม ที่สูงประมาณร้อยละ 71.5
การแบ่งหมวดอุตสาหกรรมลำดับตามผลิตภาพโดยรวม เป็นการพิจารณาจากด้านอุปทาน (Supply
side approach) โดยเปรียบเทียบศักยภาพของอุตสาหกรรมแต่ละหมวดจาก 3 องค์ประกอบร่วมกัน ได้แก่ การ
ขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม, TFPG และ TFP Level ซึ่งสามารถแบ่งอุตสาหกรรมแต่ละหมวด ได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มดี (good) เป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวทั้งมูลค่าเพิ่ม และ TFPG โดยมี TFP
Level อยู่ในระดับสูงเกิน 100 ได้แก่ หมวดสิ่งพิมพ์ ตู้แช่เย็น เบียร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ ยา แปรรูปสัตว์น้ำ
อุปกรณ์ถ่ายภาพ อิเล็กทรอนิกส์ และสีทา เป็นต้น
- กลุ่มแย่ (worse) เป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมที่มีการหดตัวทั้งมูลค่าเพิ่ม และ TFPG โดยมี TFP
Level อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ได้แก่ น้ำตาล เส้นใย สิ่งทอ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์ยาง เหล็ก ผงซักฟอกและสบู่
ผลิตภัณฑ์พลาสติก กระดาษลูกฟูก เป็นต้น
- กลุ่มที่น่าจะดีขึ้น (better) เป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมที่ยังมี TFP Level ต่ำกว่า 100 แต่มีการ
ขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม และ TFPG ในอัตราสูง ได้แก่ ปูนซีเมนต์ พลาสติกขั้นต้น เนื้อสัตว์แปรรูป เซรามิก(ไม่ใช้ก่อ
สร้าง) เคมีภัณฑ์พื้นฐาน และรองเท้า เป็นต้น
- กลุ่มที่อาจจะแย่ลง (worsen) เป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมที่มี TFP Level ในระดับสูงกว่า 100 แต่
มีการหดตัวของมูลค่าเพิ่ม และ TFPG ได้แก่ อัญมณี เฟอร์นิเจอร์ คอมพิวเตอร์ แปรรูปผักและผลไม้ และยางรถยนต์
เป็นต้น
การแบ่งหมวดอุตสาหกรรมตามระดับผลิตภาพ
ประเด็นที่ควรพิจารณา ได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมพื้นฐานหลายรายการ อาทิ เหล็ก เส้นใยสิ่งทอ เยื่อ
กระดาษ รวมถึงน้ำตาล ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของหลายผลิตภัณฑ์ ยังมีผลิตภาพโดยรวมต่ำมาก และถูกจัดอยู่ใน
กลุ่มแย่มาก โดยมีการหดตัวของ TFPG และ TFP Level อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะเหล็ก ที่มี TFP Level ต่ำ
สุด อยู่ในระดับเพียง 51.4 และยังหดตัวด้วย โดยทุกขนาดการผลิตและทุกประเภทการลงทุน ของผู้ผลิตในหมวด
อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก ต่างมี TFP Level ต่ำกว่า 100 ทั้งสิ้น ซึ่งหากอุตสาหกรรมพื้นฐานเหล่านี้ ยังไม่มีการ
ปรับปรุงศักยภาพอย่างเพียงพอ อาจเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ต่อไป และจากความเสีย
เปรียบด้านคุณภาพ และต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมพื้นฐานเหล่านี้ ทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุ
ดิบดังกล่าวเข้ามาทดแทน โอกาสในการปรับปรุงผลิตภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมพี้นฐานเหล่านี้ให้สูงขึ้น ก็เป็นไปได้
ยากมากขึ้น.
ปัจจัยได้เปรียบ/เสียเปรียบของหมวดอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงและต่ำ
หมวดที่มีศักยภาพสูง ปัจจัยที่ได้เปรียบ
1.สิ่งพิมพ์ -มีการใช้เครื่องจักรใหม่ ทันสมัยมากขึ้น ช่วยเพิ่มคุณภาพของการพิมพ์
ลดส่วนสูญเสียลง มูลค่าเพิ่มจึงสูงขึ้น
-ผู้ผลิตได้เปรียบจากขนาดการผลิตจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนต่อหน่วย
2.ตู้แช่เย็น -เน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับคุณภาพและกระบวนการผลิตมากขึ้น
-เพิ่มการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ ที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น
-มีการขยายการผลิต ช่วยประหยัดต่อขนาด
3.เบียร์ -ผู้ผลิตเน้นขยายตลาดส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะกัมพูชา สิงคโปร์ เร่งให้เกิด
การปรับประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนจากการขยายการลงทุน
4.เครื่องใช้ไฟฟ้า -กลุ่มร่วมทุนขยายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์
-มีการขยายการลงทุนเพิ่มเครื่องจักรใหม่ในบางกลุ่ม
-มีการเน้นบทบาทของการวิจัยและพัฒนามากขึ้น ในการพัฒนาคุณภาพสินค้า
และกระบวนการผลิต
5.สีทา น้ำมันชักเงา -การแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ผลิตต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ
-มีการเร่งสร้างแบรนด์เนมและส่งเสริมการขาย
-กลุ่มสีพ่นรถยนต์ ขยายตัวตามอุตสาหกรรมยานยนต์
-วัตถุดิบในประเทศกว่าร้อยละ 70 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
6.รถยนต์ -แผนสนับสนุนจากบริษัทแม่ที่เน้นไทยเป็นฐานส่งออก ทำให้เทคโนโลยีหลั่งไหลเข้ามามาก
-แรงงานมีการสะสมความรู้ ความชำนาญงาน และความสามารถดัดแปลงในสาย
การผลิตมาเป็นเวลานาน
-ตลาดในประเทศขนาดใหญ่ และโอกาสในตลาดส่งออก เอื้อให้เกิดความได้เปรียบ
ต่อขนาดการผลิต โดยเฉพาะรถกระบะ 1 ตัน
7.ผลิตภัณฑ์เวชกรรม(ยา) -มีการลงทุนพัฒนาด้านบุคลากร เพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถมากขึ้น
-เร่งฝึกอบรมฝีมือ และคุณภาพแรงงาน
-มีความเข้มงวดในด้านระดับการศึกษาสูงขึ้น
-ปัจจัยข้างต้น ส่งผลต่อการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานสูงถึงร้อยละ 10
-มีการลงทุนในประสิทธิภาพของเครื่องจักรสูงขึ้น
8.แปรรูปสัตว์น้ำ -ผู้ผลิตรายใหญ่และร่วมทุน มีการปรับกลยุทธการผลิตไปสู่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
-มีการปรับกระบวนการผลิต และมาตรฐานความปลอดภัยให้สูงขึ้น
-เป็นการเทียบกับฐานที่ต่ำ ในปี 2545 ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งแช่แข็งจากไทยมีปัญหา
ตรวจพบสารตกค้างในตลาดส่งออก
-ตลาดปลาทูน่ากระป๋องขยายตัวสูงแทนเนื้อวัว จากกระแสสุขภาพ
9.อิเล็กทรอนิกส์ -ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าลดลง จากผลการแข็งค่าของเงินบาท
-มีการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ที่มีเทคโนโลยีการผลิตดีขึ้น
-ตลาดโลกขยายตัว ส่งผลต่อขนาดการผลิตที่ใหญ่ขึ้น
หมวดที่มีศักยภาพต่ำ ปัจจัยที่เสียเปรียบ
1.น้ำตาล -หลายโรงงานยังขาดทุนต่อเนื่อง ขาดศักยภาพในการปรับปรุงการผลิต
-การใช้กำลังการผลิตต่ำมาก ส่งผลต่อความเสียเปรียบด้านขนาดการผลิตและต้นทุน
-ขาดการวิจัยและพัฒนาในการปรับปรุงคุณภาพ
-วัตถุดิบอ้อย ยังมีปัญหาขาดแคลนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพความหวาน
รวมทั้งผลผลิตต่อไร่ยังต่ำ เกิดปัญหาการแย่งอ้อย ซึ่งโรงงานเล็กมักเสียเปรียบ
การผูกขาดวัตถุดิบจากผู้ผลิตรายใหญ่-เครื่องจักรเสื่อมสภาพ และเสียหาย
กระทบต่อต้นทุนและคุณภาพ-ผลิตภาพแรงงานยังต่ำมาก เพราะเข้าออกตามฤดูกาล
2.เส้นใย สิ่งทอ -เครื่องจักรเสื่อมโทรม กัดกร่อนผลิตภาพการผลิต และทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
-ฝีมือแรงงานยังมีคุณภาพไม่เพียงพอ ผลิตภาพแรงงานจึงต่ำ
-ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น มูลค่าเพิ่มจึงลดลง-คู่แข่ง เช่น จีน อินโดนีเซีย อินเดีย
เวียดนาม ซึ่งได้เปรียบต้นทุน มีการพัฒนาการด้านระบบการผลิตและการจัดการ
อย่างรวดเร็ว สินค้านำเข้าจากจีนจึงมีคุณภาพสูงขึ้น และออกแบบได้ดี
จนสามารถรุกตลาดไทย
3.เยื่อกระดาษ -ขาดการปรับปรุงคุณภาพของปัจจัยทุนในการผลิต
-เครื่องจักรเริ่มเสื่อมสภาพมากขึ้น บั่นทอนทั้งผลิตภาพของทุนและแรงงานให้ตกต่ำลง
4.ผลิตภัณฑ์ยาง -ผู้ผลิตยังเน้นการเพิ่มขยายทุนในการผลักดันการผลิต มากกว่าปรับปรุงประสิทธิภาพ
ทำให้ผลิตภาพของทุนหดตัวอย่างรุนแรง ถึงร้อยละ 26.8 ในปี 2546
-ผู้ผลิตยังขาดการค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
-ราคาน้ำยางข้น และต้นทุนพลังงานปรับสูงขึ้น มูลค่าเพิ่มจึงลดลง
5.เหล็ก -ผู้ผลิตยังเสียเปรียบด้านขนาดการผลิต-วัตถุดิบและต้นทุนพลังงานสูงขึ้น
-ผู้ผลิตบางกลุ่มยังมีปัญหาด้านภาระหนี้สิน และขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ทำให้ขาดการปรับปรุงการผลิต เครื่องจักรจึงเก่า ประสิทธิภาพต่ำ
6.สินค้าอุปโภค เช่น สบู่ ผงซักฟอก แชมพู -ผู้ผลิตรายใหญ่ หันมาเน้นสินค้าเกรดต่ำลง เพื่อดึงลูกค้า
หลังถูกรุกจากสินค้านำเข้าจากจีนในตลาดล่าง และสินค้าเกรดต่ำ
จาก Discount store ส่งผลต่อการหดตัวของมูลค่าเพิ่มโดยรวม
-ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบหลักบางตัวของผงซักฟอก โดยเฉพาะ
โซเดียมซัลเฟต ที่ถูกจีนกว้านซื้อในตลาดโลก ต้นทุนจึงปรับสูงขึ้น
-สต๊อกสินค้าสำเร็จรูปเหลือค้างมากขึ้น
7.ผลิตภัณฑ์พลาสติก -ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังเน้นใช้แรงงานมากกว่าทุน แต่ไม่ได้มีการพัฒนาคุณภาพแรงงาน
อย่างเพียงพอ ประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งแรงงานและทุน จึงหดตัว
8.กระดาษลูกฟูก -ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น จากการผูกขาดโดยรายใหญ่
-SMEs ที่มีจำนวนสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 บางรายต้องลดคุณภาพสินค้าลงและขาย
ราคาต่ำ เพื่อหนีรายใหญ่
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. อุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่น เหล็ก เส้นใยสิ่งทอ เยื่อกระดาษ จำเป็นต้องได้รับการปรับศักยภาพให้
ทันกับความต้องการของหมวดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การสนับสนุนการเข้ามาลงทุนจากต่างชาติอย่างเข้มข้น ใน
อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีในไทยให้แข็งแกร่งมากขึ้น และเป็น
ฐานสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้พัฒนาอย่างมีคุณภาพ
2. ควรผลักดันให้เกิดการกระจายโอกาสด้านการตลาดไปสู่กลุ่มผู้ผลิตรายเล็ก และกลุ่ม Labor
intensive มากขึ้น พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดการปรับศักยภาพด้านการผลิต โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านเงินทุนในการ
เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรอย่างเต็มที่ ซึ่งกลุ่ม Labor intensive แม้จะเน้นการใช้แรงงานเข้มข้น แต่หาก
ประสิทธิภาพของปัจจัยทุนเสื่อมถอย ก็จะส่งผลต่อเนื่องให้ผลิตภาพแรงงานหดตัวเช่นกัน
3. ผู้ผลิตที่อยู่ในกลุ่ม Resource-base เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงใกล้เคียงกับกลุ่ม Technology
intensive โดยเฉพาะความได้เปรียบด้านต้นทุน แต่ยังมีสัดส่วนส่งออกต่ำกว่าประเภทอุตสาหกรรมอื่นๆ หากได้รับ
การสนับสนุนด้านการขยายตลาดส่งออก น่าจะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสแข่งขันสูง และอาจช่วยให้ผู้ผลิตเร่งปรับประสิทธิภาพ
การผลิตให้สูงขึ้น
4. สัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของผู้ผลิตในไทยส่วนใหญ่ ยังอยู่ในระดับต่ำมาก โดยเฉพาะ
ผู้ผลิตกลุ่มไทยล้วน กลุ่มรายเล็ก กลุ่ม Resource-base และ Labor intensive ทั้งที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนา
คุณภาพสินค้าและกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนในภาวะแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดด้านเงินทุน
ซึ่งภาครัฐควรพิจารณาให้เงินทุนสนับสนุนอย่างจริงจัง เนื่องจากถือเป็นการลงทุนสาธารณะ
5. การศึกษาผลิตภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมไทย ควรกระทำอย่างต่อเนื่องเป็นโครงการระยะยาว
เพื่อประโยชน์ต่อนโยบายการพัฒนาที่ตรงจุด และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในขีดความสามารถด้านการแข่งขันของผู้ผลิต.
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-