ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของกรุงเทพฯเดือนกรกฎาคม 2548
กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เดือนกรกฎาคม 2548 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการของเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจำนวน 320 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เดือนกรกฎาคม
2548
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเท่ากับ 100 และกรกฎาคม 2548 เท่ากับ 110.0 สำหรับเดือนมิถุนายน 2548 เท่ากับ 108.1
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เดือนมิถุนายน 2548 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมิถุนายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
2.2 เดือนกรกฎาคม 2547 สูงขึ้นร้อยละ 5.4
2.3 เดือนมกราคม - เดือนกรกฎาคม 2548 เทียบกับช่วงเดือนกันของปี 2547
สูงขึ้นร้อยละ 3.4
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เดือนกรกฎาคม 2548
เทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 1.8 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มดัชนีราคาร้อยละ 0.6 และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 2.5 โดยมีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.6 ดังนี้
สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ไก่สด ความต้องการเพิ่มขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและการส่งออก
- ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลานิล ปลาจะละเม็ดดำ ปลากะพง ปลาแดง ปลาทู
กุ้งขาว กุ้งนาง กุ้งกุลาดำ ปลาหมึกกล้วย หอยแครง หอยลาย ปูม้า ปลาทูนึ่ง และกุ้งแห้ง
- ไข่ ได้แก่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด และไข่เค็ม ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยขณะที่
ความต้องการมีต่อเนื่อง
- นมและผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมสด นมข้นหวาน ครีมเทียม นมถั่วเหลือง
และเนยแข็ง
- ผลไม้ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก สับปะรด เงาะ
มะม่วง แตงโม องุ่น ฝรั่ง และชมพู่ ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง
- เครื่องประกอบอาหาร ได้แก่ ขนมหวาน น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว
น้ำตาลทรายแดง น้ำมันพืช น้ำปลา ซีอิ้ว และซอสมะเขือเทศ
สินค้าสำคัญที่มีราคาลดลง ได้แก่
- ผักสด ได้แก่ แตงกวา ผักคะน้า เห็ด มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว บวบ มะละกอดิบ ฟักเขียว ฟักทอง มะนาว พริกสด ต้นหอม หัวผักกาดขาว ขิง ตำลึง ดอกกุ้ยฉ่าย และพริกแห้ง ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำผลไม้
3.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.5
สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วราคาสูงขึ้น
ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก และน้ำมันสำเร็จรูปของตลาดสิงคโปร์
- ค่าโดยสารสาธารณะ ได้แก่ ค่าโดยสารรถประจำทางทั้งในท้องถิ่นและ
นอกท้องถิ่น จากการที่ ขสมก. และบขส. ได้ปรับอัตราค่าโดยสารสูงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2548 นอกจากนี้ค่าโดยสารเครื่องบินได้ปรับสูงขึ้นด้วย
- สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ได้แก่ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่น น้ำยา
ล้างจาน และสารกำจัดแมลง
- ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ได้แก่ สบู่ถูตัว ยาสีฟัน น้ำหอม แป้งทาผิว ผลิตภัณฑ์
ป้องกันและบำรุงผิว แปรงสีฟัน กระดาษชำระ และผ้าอนามัย
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5850 โทรสาร.0- 2507-5825