ข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย
ฉบับที่ 60/2541
เรื่อง คำชี้แจงในการเลือกบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน)เป็นแกนในการรวมกิจการ
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบที่จะดำเนินการฟื้นฟูกิจการของบริษัทเงินทุน12 บริษัท และธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน)ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าแทรกแซงเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2541 และวันที่14 สิงหาคม 2541 โดยให้รวมกิจการเข้ากับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจจำกัด (มหาชน) (KTT) ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
เนื่องด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสื่อมวลชนได้แสดงข้อสงสัยถึงเหตุผลในการเลือกบงล. KTT เป็นแกนในการรวมกิจการ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงขอเรียนชี้แจงดังนี้
1. เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าแทรกแซงบริษัทเงินทุน 7 ราย ในวันที่ 18พฤษภาคม 2541 ได้มีข้อพิจารณาว่าทางการจำเป็นต้องแจ้งแผนการฟื้นฟูที่แน่นอนสำหรับบริษัทเงินทุนทั้ง 7ต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ฝากเงินเพราะการเข้าแทรกแซงแล้วปล่อยทิ้งค้างไว้โดยไม่มีแผนการณ์ในอนาคตที่ชัดเจนจะทำให้ผู้ฝากเงินเสียความมั่นใจและจะเกิดเหตุการณ์เงินฝากไหลออก
2. แผนการฟื้นฟูที่เหมาะสมที่สุดภายใต้ภาวะการณ์ปัจจุบันคือการรวมกิจการของบริษัทเงินทุนทั้ง 7 เข้ากับบริษัทเงินทุนที่มีฐานะดีกว่าและมีทีมบริหารที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะผสานระบบงานของทั้ง 7บริษัทเข้าด้วยกัน รวมทั้งต้องดูแลลูกหนี้ด้อยคุณภาพมีอยู่รวมเป็นจำนวนประมาณ50,000 ล้านบาท เพื่อให้ดำเนินกิจการต่อไปได้แล้วจึงยกฐานะขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
3. ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตัดสินใจเลือก บงล. KTT เป็นแกนในการรวมกิจการเพราะรัฐบาลโดยธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กล่าวคือ มีสัดส่วน 81%ของจำนวนหุ้นทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อขจัดข้อครหาหากคัดเลือกบริษัทเงินทุนของเอกชนมาเป็นแกนเพราะจะได้ยกฐานะขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ นอกจากนั้นการรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินเป็นจำนวนมากเช่นนี้ (ประมาณ 80,000 ล้านบาท)จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุนที่เป็นแกนในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่า75% ของจำนวนหุ้นทั้งสิ้นซึ่งในกรณีของบริษัทเงินทุนเอกชนจะต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า30 วัน และที่สำคัญคือจะไม่สามารถรักษาความลับในเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าแทรกแซงกิจการของ7 บริษัทเงินทุนเอาไว้ได้
4. ต่อมา เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าแทรกแซงบริษัทเงินทุนเพิ่มเติมอีก
5 บริษัท และธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 14 สิงหาคม 2541ได้มีความเห็นว่า ควรรวมเข้ากับกลุ่มของ บงล. KTT ด้วยเพื่อช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่มีเครือข่ายสาขา 100 สาขารวมทั้งสามารถดำเนินธุรกรรมอื่น ๆ เช่น การปริวรรตเงินตราการรับฝากเงินกระแสรายวัน และให้กู้ยืมเบิกเกินบัญชี ฯลฯ ได้ทันที 5.สำหรับในเรื่องฐานะของ บงล. KTT นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยขอเรียนว่า
5.1 บงล. KTT มีเงินกองทุนเพียงพอที่จะกันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
5.2 บงล. KTT มิได้ประสบปัญหาสภาพคล่องไม่มีเงินกู้ยืมจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง
จึงแถลงมาเพื่อทราบ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
27 สิงหาคม 2541
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ฉบับที่ 60/2541
เรื่อง คำชี้แจงในการเลือกบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน)เป็นแกนในการรวมกิจการ
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบที่จะดำเนินการฟื้นฟูกิจการของบริษัทเงินทุน12 บริษัท และธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน)ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าแทรกแซงเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2541 และวันที่14 สิงหาคม 2541 โดยให้รวมกิจการเข้ากับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจจำกัด (มหาชน) (KTT) ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
เนื่องด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสื่อมวลชนได้แสดงข้อสงสัยถึงเหตุผลในการเลือกบงล. KTT เป็นแกนในการรวมกิจการ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงขอเรียนชี้แจงดังนี้
1. เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าแทรกแซงบริษัทเงินทุน 7 ราย ในวันที่ 18พฤษภาคม 2541 ได้มีข้อพิจารณาว่าทางการจำเป็นต้องแจ้งแผนการฟื้นฟูที่แน่นอนสำหรับบริษัทเงินทุนทั้ง 7ต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ฝากเงินเพราะการเข้าแทรกแซงแล้วปล่อยทิ้งค้างไว้โดยไม่มีแผนการณ์ในอนาคตที่ชัดเจนจะทำให้ผู้ฝากเงินเสียความมั่นใจและจะเกิดเหตุการณ์เงินฝากไหลออก
2. แผนการฟื้นฟูที่เหมาะสมที่สุดภายใต้ภาวะการณ์ปัจจุบันคือการรวมกิจการของบริษัทเงินทุนทั้ง 7 เข้ากับบริษัทเงินทุนที่มีฐานะดีกว่าและมีทีมบริหารที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะผสานระบบงานของทั้ง 7บริษัทเข้าด้วยกัน รวมทั้งต้องดูแลลูกหนี้ด้อยคุณภาพมีอยู่รวมเป็นจำนวนประมาณ50,000 ล้านบาท เพื่อให้ดำเนินกิจการต่อไปได้แล้วจึงยกฐานะขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
3. ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตัดสินใจเลือก บงล. KTT เป็นแกนในการรวมกิจการเพราะรัฐบาลโดยธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กล่าวคือ มีสัดส่วน 81%ของจำนวนหุ้นทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อขจัดข้อครหาหากคัดเลือกบริษัทเงินทุนของเอกชนมาเป็นแกนเพราะจะได้ยกฐานะขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ นอกจากนั้นการรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินเป็นจำนวนมากเช่นนี้ (ประมาณ 80,000 ล้านบาท)จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุนที่เป็นแกนในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่า75% ของจำนวนหุ้นทั้งสิ้นซึ่งในกรณีของบริษัทเงินทุนเอกชนจะต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า30 วัน และที่สำคัญคือจะไม่สามารถรักษาความลับในเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าแทรกแซงกิจการของ7 บริษัทเงินทุนเอาไว้ได้
4. ต่อมา เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าแทรกแซงบริษัทเงินทุนเพิ่มเติมอีก
5 บริษัท และธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 14 สิงหาคม 2541ได้มีความเห็นว่า ควรรวมเข้ากับกลุ่มของ บงล. KTT ด้วยเพื่อช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่มีเครือข่ายสาขา 100 สาขารวมทั้งสามารถดำเนินธุรกรรมอื่น ๆ เช่น การปริวรรตเงินตราการรับฝากเงินกระแสรายวัน และให้กู้ยืมเบิกเกินบัญชี ฯลฯ ได้ทันที 5.สำหรับในเรื่องฐานะของ บงล. KTT นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยขอเรียนว่า
5.1 บงล. KTT มีเงินกองทุนเพียงพอที่จะกันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
5.2 บงล. KTT มิได้ประสบปัญหาสภาพคล่องไม่มีเงินกู้ยืมจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง
จึงแถลงมาเพื่อทราบ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
27 สิงหาคม 2541
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--