แท็ก
กระทรวงการต่างประเทศ
สุขุมพันธุ์ บริพัตร
สาธารณรัฐประชาชนจีน
เอกอัครราชทูต
ท่าอากาศยาน
รัฐมนตรี
กรุงเทพ--4 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2542 ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนก่อนเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ห้องรับรองพิเศษ การท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เกี่ยวกับเหตุการณ์นักศึกษาพม่าบุกเข้ายึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐบาลพม่าได้ร้องขอตั้งแต่ต้นให้ประเทศไทยแก้ไขปัญหานักศึกษาบุกเข้ายึด-สถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยโดยเร็ว ดังนั้นจึงต้องถือว่าการที่รัฐบาลไทยสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว (ภายใน 25 ชั่วโมง) จึงเป็นไปตามที่ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลพม่า
2. เหตุการณ์การบุกยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปลายเหตุต้นเหตุของเรื่องเป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองภายในพม่าดังนั้นต้องถือว่าความขัดแย้งในพม่ามิใช่ปัญหาภายในของพม่าเท่านั้นหากเป็นปัญหาซึ่งมีนัยและผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างชัดเจนประเทศไทยคงจะต้อง "จับเข่าคุยกันกับพม่าอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่งในเรื่องนี้"
3. รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ไม่เห็นด้วยกับการก่อการร้ายหรือการใช้การก่อการร้ายเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองแต่กลุ่มการเมืองต่าง ๆ จะต้องใช้วิธีอื่นเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของตน
ทั้งนี้เพราะการก่อการร้ายเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่ไม่ได้ทำความผิดและผู้ที่ไร้เดียงสา
4. รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ยังได้กล่าวเตือนกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ว่าอย่าคิดว่าจะสามารถมาก่อการร้ายในประเทศไทยได้ตามใจชอบโดยไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ทั้งสิ้น และอย่าคิดว่า รัฐบาลไทยใจดีรัฐบาลไทยไม่กล้า ทั้งนี้ การก่อการร้ายในแต่ละกรณีเงื่อนไขไม่เหมือนกันรัฐบาลไทยจะดำเนินการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไป "ตามเนื้อผ้า"
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ รัฐบาลไทยมองว่าการแลกตัวประกันเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อยุติปัญหาโดยเร็ว ดังนั้น จึงกล้าตัดสินใจส่งรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ไปเป็นตัวแทนของตัวประกันทุกคน ในกรณีอื่นรัฐบาลไทยก็จะกล้าทำสิ่งที่จำเป็นต้องทำเช่นเดียวกันแต่สิ่งที่จะทำนั้นจะไม่เหมือนกับสิ่งที่ได้ทำไปในกรณีนี้เสมอไป--จบ--
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2542 ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนก่อนเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ห้องรับรองพิเศษ การท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เกี่ยวกับเหตุการณ์นักศึกษาพม่าบุกเข้ายึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐบาลพม่าได้ร้องขอตั้งแต่ต้นให้ประเทศไทยแก้ไขปัญหานักศึกษาบุกเข้ายึด-สถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยโดยเร็ว ดังนั้นจึงต้องถือว่าการที่รัฐบาลไทยสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว (ภายใน 25 ชั่วโมง) จึงเป็นไปตามที่ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลพม่า
2. เหตุการณ์การบุกยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปลายเหตุต้นเหตุของเรื่องเป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองภายในพม่าดังนั้นต้องถือว่าความขัดแย้งในพม่ามิใช่ปัญหาภายในของพม่าเท่านั้นหากเป็นปัญหาซึ่งมีนัยและผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างชัดเจนประเทศไทยคงจะต้อง "จับเข่าคุยกันกับพม่าอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่งในเรื่องนี้"
3. รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ไม่เห็นด้วยกับการก่อการร้ายหรือการใช้การก่อการร้ายเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองแต่กลุ่มการเมืองต่าง ๆ จะต้องใช้วิธีอื่นเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของตน
ทั้งนี้เพราะการก่อการร้ายเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่ไม่ได้ทำความผิดและผู้ที่ไร้เดียงสา
4. รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ยังได้กล่าวเตือนกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ว่าอย่าคิดว่าจะสามารถมาก่อการร้ายในประเทศไทยได้ตามใจชอบโดยไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ทั้งสิ้น และอย่าคิดว่า รัฐบาลไทยใจดีรัฐบาลไทยไม่กล้า ทั้งนี้ การก่อการร้ายในแต่ละกรณีเงื่อนไขไม่เหมือนกันรัฐบาลไทยจะดำเนินการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไป "ตามเนื้อผ้า"
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ รัฐบาลไทยมองว่าการแลกตัวประกันเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อยุติปัญหาโดยเร็ว ดังนั้น จึงกล้าตัดสินใจส่งรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ไปเป็นตัวแทนของตัวประกันทุกคน ในกรณีอื่นรัฐบาลไทยก็จะกล้าทำสิ่งที่จำเป็นต้องทำเช่นเดียวกันแต่สิ่งที่จะทำนั้นจะไม่เหมือนกับสิ่งที่ได้ทำไปในกรณีนี้เสมอไป--จบ--