แท็ก
เอเชีย
1. สถานการณ์ช่วงสองปีภายหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของประเทศไทยในยเอเชียตะวันออกก็ได้เริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังมีประเด็นที่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ควรให้ความสนใจมี ดังนี้
- การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่ช่วยยกระดับรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้กลับสู่ระดับอำนาจซื้อเดิมได้
- แม้อัตราการว่างงานได้เริ่มลดลงแล้ว แต่ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง
- จำนวนคนจน (ภายใต้เส้นวัดระดับความยากจน) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ชนชั้นกลางก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการ์ณที่เกิดขึ้น
- ประชาชนจำนวนไม่น้อยจำเป็นต้องพึ่งพิงเงินออมในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีผลให้ระดับความมั่นคงลดลง
2. คาดว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้จะขยายตัวในปี 2542 และ 2543 โดยเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 6 และแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจยของประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ จะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2-3 แม้แต่อินโดนีเซีย ซึ่งยังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเมือง และแนวทางในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ยังไม่มีความชัดเจน
3. กรอบแนวนโยบายเพื่อการฟื้นตัวที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เรื่องที่สำคัญ คือ การรักษาระดับการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและการเงิน การช่วยเหลือและสนับสนุนผู้มีรายได้น้อย และการบริหารจัดการฐานะการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
1) การปรับปรุงโครงสร้างภาคธุรกิจและการเงิน ความคืบหน้าของการแก้ปัญหาธนาคารและธุรกิจที่ประสบปัญหา เป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวและการขยายตัวที่ยั่งยืน
2) ต้องมีมาตรการที่จะช่วยกระจายผลที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจฟื้นต้วไปยังกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งในระยะสั้นจะช่วยลดภาวะความตึงเครียดและความขัดแย้งในสังคม แต่ในระยะปานกลางการกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง จะช่วยให้ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนา ผลกระทบจากวิกฤตทำให้ความยากจนเพิ่มขึ้น การบริโภคลดลงในทุกประเทศ แต่ก็ไม่รุนแรงดังที่คาดกันในระยะแรก เนื่องจาก
- การลดลงของอุปสงค์รวม ส่วนใหญ่อยู่ที่การลดลงของการลงทุน
- การเปลี่ยนแปลงของราคาโดยเปรียเทียบที่เกิดขึ้นจากการลดค่าเงิน เป็นผลดีต่อสินค้าออกเกษตรและสินค้า
ออกอื่น ๆ รายไดของคนในชนบทจีงไม่ลดลงมาก โดยเปรียบเทียบกับคนในเมือง
- นโยบายรัฐบาลที่ช่วยพยุงความต้องการในการบริโภคเอาไว้
- ภูมิภาคนี้มีการออมในระดับที่ค่อนข้างสูง ประชาชนจึงยังสามารถอาศัยเงินออมในการดำรงชีวิตได้
3) ความมั่นคงของฐานะการคลังในระยะปานกลาง ความล้มเหลวของสถาบันการเงินและภาคธุรกิจในประเทศไทย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าแทรกแซง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ การดำเนินการดังกล่าวทำให้เกิดภาระทางงบประมาณแก่รัฐบาล ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการเพิ่มทุนของธนาคารและการแบ่งรับภาระระหว่างลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ร่วมลงทุนใหม่ รวมทั้งมูลค่าทุนเรือนหุ้นที่รัฐบาลจะได้รับเมื่อขายหุ้นธนาคารที่รัฐบาลเข้าแทรกแซง
นอกจากนี้ การรับประกันเงินฝากที่รัฐได้ดำเนินไปจะเป็นภาระนหี้สินของรัฐบาล ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับธนาคารอันเนื่องมากจากหนี้เสีย และการแบ่งรับภาระของรัฐบาล สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อ GDP ในปี 2542 ของเกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับปี 2539 ภาระดอกเบี้ยต่อรายได้ของประเทศเหล่านี้อยู่ในช่วงร้อยละ 16 สำหรับประเทศไทย จนถึงร้อยละ 32 สำหรับกรณีของฟิลิปปินส์
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล (สรุปจากรายงานการประชุมระดับ รมช.คลัง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
และแปซิฟิก ครั้งที่ 5 ณ. ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2542)
--วารสารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 17/2542 วันที่ 15 กันยายน 2542--
- การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่ช่วยยกระดับรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้กลับสู่ระดับอำนาจซื้อเดิมได้
- แม้อัตราการว่างงานได้เริ่มลดลงแล้ว แต่ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง
- จำนวนคนจน (ภายใต้เส้นวัดระดับความยากจน) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ชนชั้นกลางก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการ์ณที่เกิดขึ้น
- ประชาชนจำนวนไม่น้อยจำเป็นต้องพึ่งพิงเงินออมในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีผลให้ระดับความมั่นคงลดลง
2. คาดว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้จะขยายตัวในปี 2542 และ 2543 โดยเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 6 และแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจยของประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ จะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2-3 แม้แต่อินโดนีเซีย ซึ่งยังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเมือง และแนวทางในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ยังไม่มีความชัดเจน
3. กรอบแนวนโยบายเพื่อการฟื้นตัวที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เรื่องที่สำคัญ คือ การรักษาระดับการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและการเงิน การช่วยเหลือและสนับสนุนผู้มีรายได้น้อย และการบริหารจัดการฐานะการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
1) การปรับปรุงโครงสร้างภาคธุรกิจและการเงิน ความคืบหน้าของการแก้ปัญหาธนาคารและธุรกิจที่ประสบปัญหา เป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวและการขยายตัวที่ยั่งยืน
2) ต้องมีมาตรการที่จะช่วยกระจายผลที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจฟื้นต้วไปยังกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งในระยะสั้นจะช่วยลดภาวะความตึงเครียดและความขัดแย้งในสังคม แต่ในระยะปานกลางการกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง จะช่วยให้ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนา ผลกระทบจากวิกฤตทำให้ความยากจนเพิ่มขึ้น การบริโภคลดลงในทุกประเทศ แต่ก็ไม่รุนแรงดังที่คาดกันในระยะแรก เนื่องจาก
- การลดลงของอุปสงค์รวม ส่วนใหญ่อยู่ที่การลดลงของการลงทุน
- การเปลี่ยนแปลงของราคาโดยเปรียเทียบที่เกิดขึ้นจากการลดค่าเงิน เป็นผลดีต่อสินค้าออกเกษตรและสินค้า
ออกอื่น ๆ รายไดของคนในชนบทจีงไม่ลดลงมาก โดยเปรียบเทียบกับคนในเมือง
- นโยบายรัฐบาลที่ช่วยพยุงความต้องการในการบริโภคเอาไว้
- ภูมิภาคนี้มีการออมในระดับที่ค่อนข้างสูง ประชาชนจึงยังสามารถอาศัยเงินออมในการดำรงชีวิตได้
3) ความมั่นคงของฐานะการคลังในระยะปานกลาง ความล้มเหลวของสถาบันการเงินและภาคธุรกิจในประเทศไทย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าแทรกแซง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ การดำเนินการดังกล่าวทำให้เกิดภาระทางงบประมาณแก่รัฐบาล ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการเพิ่มทุนของธนาคารและการแบ่งรับภาระระหว่างลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ร่วมลงทุนใหม่ รวมทั้งมูลค่าทุนเรือนหุ้นที่รัฐบาลจะได้รับเมื่อขายหุ้นธนาคารที่รัฐบาลเข้าแทรกแซง
นอกจากนี้ การรับประกันเงินฝากที่รัฐได้ดำเนินไปจะเป็นภาระนหี้สินของรัฐบาล ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับธนาคารอันเนื่องมากจากหนี้เสีย และการแบ่งรับภาระของรัฐบาล สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อ GDP ในปี 2542 ของเกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับปี 2539 ภาระดอกเบี้ยต่อรายได้ของประเทศเหล่านี้อยู่ในช่วงร้อยละ 16 สำหรับประเทศไทย จนถึงร้อยละ 32 สำหรับกรณีของฟิลิปปินส์
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล (สรุปจากรายงานการประชุมระดับ รมช.คลัง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
และแปซิฟิก ครั้งที่ 5 ณ. ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2542)
--วารสารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 17/2542 วันที่ 15 กันยายน 2542--