Box C: กลยุทธ์เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ธุรกิจเอกชน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 25, 1998 17:20 —กระทรวงการคลัง

 Box C: กลยุทธ์เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ธุรกิจเอกชน
_________________________________________________________________________________
I. มาตรการด้านภาษี
_________________________________________________________________________________
1. ขจัดอุปสรรคทางภาษีในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้หลักเกณฑ์ ดำเนินการแล้ว
ที่รัดกุม ทั้งนี้ เฉพาะแผนการปรับโครงสร้างหนี้ที่สอดคล้องกับ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
หลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้รวมถึงเจ้าหนี้ทุกราย 1 ตุลาคม 2541)
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้นั้น ๆ
มาตรการชั่วคราว (มีผลบังคับใช้จนถึง 31 ธ.ค. 2542) :
- อนุญาตให้เจ้าหนี้นำหนี้ส่วนที่ได้ตัดส่วนสูญเสียมาหักลดหย่อนภาษี
เงินได้ของเจ้าหนี้
- ยกเว้นหรืออนุญาตให้ลูกหนี้เลื่อนการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล
ออกไปสำหรับรายได้ส่วนที่ลูกหนี้ได้รับจากการที่เจ้าหนี้ปลดหนี้ให้
- ยกเว้นภาษีทุกประเภทสำหรับธุรกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างลูก
หนี้และเจ้าหนี้ (ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์
และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- ยกเลิกภาษีสำหรับดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกเป็นรายได้ แต่ไม่ได้รับ
จริง และจำกัดภาระภาษีในการประนอมหนี้ที่เกิดจากการลดอัตรา
ดอกเบี้ยของเจ้าหนี้
2. มาตรการถาวรเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ธุรกิจเอกชน
- ยกเว้นการเก็บภาษีในกรณีการควบและรวมกิจการ และการซื้อสิน
ทรัพย์โดยไม่ใช่เงินสด ในกรณีที่เป็นการควบทั้งบริษัท
(ร้อยละ 100)
- ยกเลิกการเก็บภาษีเงินได้จากธุรกรรมการขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่
มีหลักทรัพย์ในครอบครอง (การขายชอร์ต)
- ยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการโอน
สินทรัพย์ให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV)
___________________________________________________________________________________
II. กรอบการดำเนินการสำหรับการประนอมหนี้ภาคเอกชน
___________________________________________________________________________________
3. จัดทำกรอบการดำเนินงาน (terms of reference) ดำเนินการแล้ว
ของคณะกรรมการส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ และประกาศ
กรอบการประนอมหนี้ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ
- ประเมินโอกาสการอยู่รอดของลูกหนี้และตัดสินชี้ขาดในเรื่องการ
สนับสนุนให้ลูกหนี้ดำเนินกิจการต่อไป
- คัดเลือกสถาบันการเงินที่เป็นแกนนำ และคณะกรรมการ
เจ้าหนี้ (steering committee) ในกรณีการประนอมหนี้ที่ซับซ้อน
และมีเจ้าหนี้จำนวนมาก
- สถาบันการเงินที่เป็นแกนนำในการปรับโครงสร้างหนี้ กำหนด
เป้าหมายและระยะเวลาในการดำเนินการ การจัดการ และ
การประสานงานระหว่างเจ้าหนี้ และการเจรจาต่อรองกับลูกหนี้
- เจ้าหนี้ตกลงร่วมกันกำหนดช่วงเวลาของการ “หยุดกระทำการ”
ใด ๆ ต่อลูกหนี้ ในระหว่างการเจรจาประนอมหนี้
- กำหนดให้ลูกหนี้จัดส่งข้อมูล และรายงานงบการเงินที่ได้สอบทาน
แล้วตามความจำเป็น
- สินเชื่อที่เจ้าหนี้ได้ปล่อยให้ภายใต้เงื่อนไขพิเศษในช่วงการหยุด
กระทำการจะต้องมีสิทธิเรียกร้องเหนือเจ้าหนี้รายอื่น
- คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ติดตามดูแล
การดำเนินการให้เป็นไปตามความตกลงปรับโครงสร้างหนี้
4. คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ภายใน สิงหาคม - กันยายน 2541
หรือสถาบันการเงินแกนนำจ้างเจ้าหน้าที่ และแต่งตั้งที่ปรึกษา
ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศตามความจำเป็น
5. ดำเนินการให้สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย ประมาณว่าจะดำเนินการได้
ทุกแห่งลงนามในความตกลงการปรับโครงสร้างหนี้ ภายใน 30 กันยายน 2541
6. กำหนดกระบวนการในการติดตามดูแล และหากจำเป็น ภายใน 30 กันยายน 2541
ให้ดำเนินการกำหนดตารางเวลาเพื่อกำกับให้การดำเนินการปรับ
โครงสร้างหนี้เป็นไปตามแนวทางที่ตกลงร่วมกัน รวมถึงการเป็นตัวกลาง
ไกล่เกลี่ยชี้ขาดระหว่างเจ้าหนี้ที่มีปัญหาด้วย
7. กำหนดรายชื่อธุรกิจที่จะทำการประนอมหนี้ประมาณ 200 ราย ภายใน 31 ธันวาคม 2541
โดยให้รวมถึงรายใหญ่ 100 รายที่ได้มีการยื่นเสนอต่อคณะกรรมการ (ประมาณว่าจะดำเนินการได้)
เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่านผู้แทนในคณะกรรมการฯ
8. ในกรณีที่คณะกรรมการเจ้าหนี้ตัดสินใจจะยื่นขอฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้ ภายใน 31 ธันวาคม 2541
ให้ถือว่าระยะเวลาความคืบหน้าในการดำเนินการภายใต้คณะกรรมการ
เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
ฟื้นฟูกิจการ
9. - อนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุนรวม กองทุนเฉพาะกิจเพื่อทำการ ดำเนินการแล้ว
ซื้อหรือบริหารหุ้นของกิจการลูกหนี้ที่สถาบันการเงินนั้นรับซื้อมา
- ในกรณีที่มีความจำเป็นให้ดำเนินการทบทวนปรับปรุงกฎหมาย ภายใน 30 กันยายน 2541
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนกระบวนการแปลงหนี้เป็นทุน
__________________________________________________________________________________
III. มาตรการอื่นเพื่อปรับปรุงระบบการเปิดเผยข้อมูลและกำกับดูแลธุรกิจ
__________________________________________________________________________________
10. ยกระดับการบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของการบัญชีสากล ภายในปี 2542
11. เพิ่มความรับผิดชอบของบริษัทจดทะเบียนต่อผู้ถือหุ้น โดยกำหนดให้
คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แต่งตั้งคณะ
กรรมการตรวจสอบเพื่อกำกับตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทจด
ทะเบียน โดยที่กรรมการที่รับผิดชอบในการบริหารบริษัทหรือกรรมการ
ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะไม่มีสิทธิเป็นกรรมการในคณะกรรม
การตรวจสอบดังกล่าว
- สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนอยู่แล้วในปัจจุบัน ภายในปี 2542
- สำหรับบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนใหม่ทุกราย มีผลบังคับใช้ทันที
- ธุรกิจขนาดเล็ก (สินทรัพย์รวมน้อยกว่า 40 ล้านบาท)
ผ่อนผันให้ 3 ปี
- ธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ถือเป็นเงื่อนไขในการจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ