กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ปาฐกถาพิเศษ ของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “ยุทธศาสตร์เชิงรุกของไทยในเอเปค” จัดโดย ศูนย์ศึกษาเอเปค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ วันพุธที่ 10 ตุลาคม 2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ
เอเปคมีกิจกรรมที่หลากหลาย ครอบคลุมมิติทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นโอกาสและช่องทางให้ไทยใช้เวทีนี้ในการแสวงหาความร่วมมือที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางสังคม รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และช่วยให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน ดังนั้น การกำหนดยุทธศาสตร์และท่าทีที่เหมาะสมของไทยในเอเปคจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ยุทธศาสตร์ที่สำคัญมีดังนี้
ประการแรก ไทยจะใช้เอเปคเป็นเวทีช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยเอง เพื่อรองรับสภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งทำได้โดยผ่านความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่าง ๆ คือ
- ไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งมีศักยภาพทางเศรษฐกิจมหาศาลดังที่กล่าวแล้ว ผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ไทยได้รับประโยชน์จากการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก การเสริมสร้างเครือข่ายและ value chain และความร่วมมือในด้านนี้ยังช่วยปูทางให้สามารถแก้ปัญหาทางการค้าการลงทุนในระยะยาว
- เมื่อไทยประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ไทยได้ใช้ประโยชน์อย่างมากจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างสมาชิกเอเปค ซึ่งครอบคลุมผู้เล่นสำคัญส่วนใหญ่ในเศรษฐกิจโลก ไทยเป็นสมาชิกเอเปครายแรกที่รณรงค์ให้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในที่ประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 5 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ผลจากการประชุมดังกล่าวสามารถสื่อสารให้ สาธารณชนได้รับทราบถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของสมาชิกในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาความผันผวนของทุนและอัตราแลกเปลี่ยน การเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจ การพัฒนาตลาดทุน และการกำกับดูแลภาคการเงิน ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความมั่นใจของภาคธุรกิจต่อเศรษฐกิจไทย
- เอเปคเป็นกลไกหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ไทยสามารถแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเกื้อหนุนระบบการค้าพหุภาคี ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายการค้าระหว่างประเทศภายใต้องค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประเทศที่มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับปานกลางเช่นประเทศไทย
- ไทยได้ใช้เอเปคเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแก่ประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกที่กำลังพัฒนา เพื่อรองรับสภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลก จะเห็นได้ว่าตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นใน ภูมิภาคในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ไทยได้กระตุ้นให้เอเปคหันกลับมาให้ความสำคัญกับประเด็นที่สมาชิกส่วนใหญ่สามารถเห็นพ้องและดำเนินการร่วมกันได้ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งไทย เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและ วิชาการ (ECOTECH) ทั้ง 10 สาขา, การพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge-based Economy — KBE) การเสริมสร้างความสามารถและทักษะ (capacity building) ในด้านที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศกำลังพัฒนาในการที่จะเข้ามาสู่ระบบการค้าใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- ที่สำคัญมากคือ วิกฤตเศรษฐกิจทำให้เอเปคต้องหันมาพิจารณาหา มาตรการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถปรับตัวอยู่ได้ โดยมีการ เสริมสร้างโครงข่ายรองรับทางสังคม (social safety net) เพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน รวมทั้งการพยายามหามาตรการบรรเทาผลกระทบในอนาคตจากการที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า โครงการ social safety net ในกรอบเอเปคสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้า
ประการที่สอง ประเทศไทยสามารถมีบทบาทนำในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านต่างๆ เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรและภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม เช่น
- ในด้านการฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถและทักษะ (capacity building) โดยเน้นความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ไทยสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้าน e-APEC เพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนสำหรับโลกาภิวัตน์และการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์จากโลกาภิวัตน์และภาคเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายอินเตอร์เน็ตตำบลของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
- ในด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเอเปคมีความร่วมมือเป็นโครงการหลักอยู่แล้วนั้น ไทยจะส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปคในการเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs และสร้างความเชื่อมโยงกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภาคเศรษฐกิจใหม่ และสังคมบนพื้นฐานความรู้
- ในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และพร้อมจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาทักษะร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น
- และในด้านความร่วมมือทางวิชาการ รวมทั้งการค้นคว้า วิจัย และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในด้านต่าง ๆ
ประการที่สาม นอกจากการเสริมสร้างความสามารถเพื่อเตรียมพร้อมกับการเปิดเสรีแล้ว ไทยยังเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) และโดยที่การค้าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น ไทยจึงต้องผลักดันให้มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าส่งออกที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรม
ประการที่สี่ ประเทศไทยสามารถแสดงบทบาทในการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในกลุ่มเอเปคกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค เพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นในวงกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ต่อไป
ประการที่ห้า ในส่วนของความมั่นคงทางด้านการเงิน ควรผลักดันให้มีการดำเนินการต่อในเรื่อง Bilateral SWAP Arrangement ระหว่างสมาชิกเอเปค เพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินของกลุ่ม และป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทาง การเงินขึ้นอีกในภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยส่งเสริมให้เอเปคหารือเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค และหามาตรการบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งต้องการให้ เร่งกระบวนการปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินของโลก (International Financial Architecture) ต่อไป
ในการประชุมเอเปคในปีนี้ ประเด็นหนึ่งที่คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้คือปัญหาการก่อการร้ายสากล การเผชิญหน้าดังกล่าวบั่นทอนเสถียรภาพทั้งด้านความมั่นคง และด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบที่เห็นได้ทันทีต่อการท่องเที่ยว การขนส่ง การประกันภัย การค้า ตลาดเงินตลาดทุน การลงทุน และด้านอื่นๆ แม้ว่าเอเปคจะไม่ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านการเมือง แต่การประชุมเอเปคในปีนี้คงจะต้องพูดถึงการจำกัดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดตามมาจากเผชิญหน้าดังกล่าว และต้องแสวงหามาตรการเสริมสร้างความมั่นใจของประชาชนที่จะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขเช่นเดิม
กล่าวโดยสรุปแล้ว กลุ่มเอเปคเป็นตลาดที่มีพลวัตรและศักยภาพสูงมาก และประกอบด้วยสังคมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก การที่ไทยเข้าไปมีบทบาทอย่างแข็งขันในโครงการความ ร่วมมือต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นในหมู่ประชาชน นักธุรกิจ และภาคราชการของสมาชิกเอเปค ซึ่งยากที่ลำพังประเทศไทยจะบุกเบิกเข้าไปได้ นอกจากนั้น ความร่วมมือในกรอบเอเปคยังช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของไทยในการแข่งขันในเวทีโลก ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายขยายผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของไทยในต่างประเทศอย่างมาก
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมขอขอบคุณศูนย์ศึกษาเอเปคอีกครั้งหนึ่ง ที่ได้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศในการจัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้น ความร่วมมือในการจัดสัมมนาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญอย่างสูงกับการทำความ เข้าใจกับสาธารณชนต่อนโยบายต่างประเทศของไทย และกระทรวงการต่างประเทศยังเปิดกว้างให้ภาคประชาสังคมและนักวิชาการได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบาย ต่างประเทศของไทยด้วย ศูนย์ศึกษาเอเปคเป็นศูนย์กลางทางวิชาการเกี่ยวกับด้านเอเปค และร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการต่างประเทศในการดำเนินการเผยแพร่กิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ให้ประชาชนได้ทราบ นอกจากนั้น ยังร่วมมือกันพัฒนาฐานข้อมูล เอเปคให้เป็นระบบด้วย
ผมได้ใช้เวลาของท่านมาระยะหนึ่งแล้ว บัดนี้ ถึงเวลาที่เหมาะสม ผมขอเปิดการสัมมนาเรื่อง “ยุทธศาสตร์เชิงรุกของไทยในเอเปค” และขอให้การสัมมนาครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
ปาฐกถาพิเศษ ของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “ยุทธศาสตร์เชิงรุกของไทยในเอเปค” จัดโดย ศูนย์ศึกษาเอเปค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ วันพุธที่ 10 ตุลาคม 2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ
เอเปคมีกิจกรรมที่หลากหลาย ครอบคลุมมิติทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นโอกาสและช่องทางให้ไทยใช้เวทีนี้ในการแสวงหาความร่วมมือที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางสังคม รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และช่วยให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน ดังนั้น การกำหนดยุทธศาสตร์และท่าทีที่เหมาะสมของไทยในเอเปคจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ยุทธศาสตร์ที่สำคัญมีดังนี้
ประการแรก ไทยจะใช้เอเปคเป็นเวทีช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยเอง เพื่อรองรับสภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งทำได้โดยผ่านความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่าง ๆ คือ
- ไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งมีศักยภาพทางเศรษฐกิจมหาศาลดังที่กล่าวแล้ว ผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ไทยได้รับประโยชน์จากการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก การเสริมสร้างเครือข่ายและ value chain และความร่วมมือในด้านนี้ยังช่วยปูทางให้สามารถแก้ปัญหาทางการค้าการลงทุนในระยะยาว
- เมื่อไทยประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ไทยได้ใช้ประโยชน์อย่างมากจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างสมาชิกเอเปค ซึ่งครอบคลุมผู้เล่นสำคัญส่วนใหญ่ในเศรษฐกิจโลก ไทยเป็นสมาชิกเอเปครายแรกที่รณรงค์ให้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในที่ประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 5 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ผลจากการประชุมดังกล่าวสามารถสื่อสารให้ สาธารณชนได้รับทราบถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของสมาชิกในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาความผันผวนของทุนและอัตราแลกเปลี่ยน การเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจ การพัฒนาตลาดทุน และการกำกับดูแลภาคการเงิน ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความมั่นใจของภาคธุรกิจต่อเศรษฐกิจไทย
- เอเปคเป็นกลไกหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ไทยสามารถแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเกื้อหนุนระบบการค้าพหุภาคี ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายการค้าระหว่างประเทศภายใต้องค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประเทศที่มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับปานกลางเช่นประเทศไทย
- ไทยได้ใช้เอเปคเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแก่ประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกที่กำลังพัฒนา เพื่อรองรับสภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลก จะเห็นได้ว่าตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นใน ภูมิภาคในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ไทยได้กระตุ้นให้เอเปคหันกลับมาให้ความสำคัญกับประเด็นที่สมาชิกส่วนใหญ่สามารถเห็นพ้องและดำเนินการร่วมกันได้ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งไทย เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและ วิชาการ (ECOTECH) ทั้ง 10 สาขา, การพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge-based Economy — KBE) การเสริมสร้างความสามารถและทักษะ (capacity building) ในด้านที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศกำลังพัฒนาในการที่จะเข้ามาสู่ระบบการค้าใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- ที่สำคัญมากคือ วิกฤตเศรษฐกิจทำให้เอเปคต้องหันมาพิจารณาหา มาตรการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถปรับตัวอยู่ได้ โดยมีการ เสริมสร้างโครงข่ายรองรับทางสังคม (social safety net) เพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน รวมทั้งการพยายามหามาตรการบรรเทาผลกระทบในอนาคตจากการที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า โครงการ social safety net ในกรอบเอเปคสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้า
ประการที่สอง ประเทศไทยสามารถมีบทบาทนำในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านต่างๆ เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรและภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม เช่น
- ในด้านการฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถและทักษะ (capacity building) โดยเน้นความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ไทยสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้าน e-APEC เพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนสำหรับโลกาภิวัตน์และการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์จากโลกาภิวัตน์และภาคเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายอินเตอร์เน็ตตำบลของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
- ในด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเอเปคมีความร่วมมือเป็นโครงการหลักอยู่แล้วนั้น ไทยจะส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปคในการเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs และสร้างความเชื่อมโยงกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภาคเศรษฐกิจใหม่ และสังคมบนพื้นฐานความรู้
- ในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และพร้อมจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาทักษะร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น
- และในด้านความร่วมมือทางวิชาการ รวมทั้งการค้นคว้า วิจัย และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในด้านต่าง ๆ
ประการที่สาม นอกจากการเสริมสร้างความสามารถเพื่อเตรียมพร้อมกับการเปิดเสรีแล้ว ไทยยังเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) และโดยที่การค้าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น ไทยจึงต้องผลักดันให้มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าส่งออกที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรม
ประการที่สี่ ประเทศไทยสามารถแสดงบทบาทในการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในกลุ่มเอเปคกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค เพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นในวงกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ต่อไป
ประการที่ห้า ในส่วนของความมั่นคงทางด้านการเงิน ควรผลักดันให้มีการดำเนินการต่อในเรื่อง Bilateral SWAP Arrangement ระหว่างสมาชิกเอเปค เพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินของกลุ่ม และป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทาง การเงินขึ้นอีกในภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยส่งเสริมให้เอเปคหารือเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค และหามาตรการบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งต้องการให้ เร่งกระบวนการปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินของโลก (International Financial Architecture) ต่อไป
ในการประชุมเอเปคในปีนี้ ประเด็นหนึ่งที่คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้คือปัญหาการก่อการร้ายสากล การเผชิญหน้าดังกล่าวบั่นทอนเสถียรภาพทั้งด้านความมั่นคง และด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบที่เห็นได้ทันทีต่อการท่องเที่ยว การขนส่ง การประกันภัย การค้า ตลาดเงินตลาดทุน การลงทุน และด้านอื่นๆ แม้ว่าเอเปคจะไม่ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านการเมือง แต่การประชุมเอเปคในปีนี้คงจะต้องพูดถึงการจำกัดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดตามมาจากเผชิญหน้าดังกล่าว และต้องแสวงหามาตรการเสริมสร้างความมั่นใจของประชาชนที่จะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขเช่นเดิม
กล่าวโดยสรุปแล้ว กลุ่มเอเปคเป็นตลาดที่มีพลวัตรและศักยภาพสูงมาก และประกอบด้วยสังคมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก การที่ไทยเข้าไปมีบทบาทอย่างแข็งขันในโครงการความ ร่วมมือต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นในหมู่ประชาชน นักธุรกิจ และภาคราชการของสมาชิกเอเปค ซึ่งยากที่ลำพังประเทศไทยจะบุกเบิกเข้าไปได้ นอกจากนั้น ความร่วมมือในกรอบเอเปคยังช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของไทยในการแข่งขันในเวทีโลก ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายขยายผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของไทยในต่างประเทศอย่างมาก
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมขอขอบคุณศูนย์ศึกษาเอเปคอีกครั้งหนึ่ง ที่ได้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศในการจัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้น ความร่วมมือในการจัดสัมมนาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญอย่างสูงกับการทำความ เข้าใจกับสาธารณชนต่อนโยบายต่างประเทศของไทย และกระทรวงการต่างประเทศยังเปิดกว้างให้ภาคประชาสังคมและนักวิชาการได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบาย ต่างประเทศของไทยด้วย ศูนย์ศึกษาเอเปคเป็นศูนย์กลางทางวิชาการเกี่ยวกับด้านเอเปค และร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการต่างประเทศในการดำเนินการเผยแพร่กิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ให้ประชาชนได้ทราบ นอกจากนั้น ยังร่วมมือกันพัฒนาฐานข้อมูล เอเปคให้เป็นระบบด้วย
ผมได้ใช้เวลาของท่านมาระยะหนึ่งแล้ว บัดนี้ ถึงเวลาที่เหมาะสม ผมขอเปิดการสัมมนาเรื่อง “ยุทธศาสตร์เชิงรุกของไทยในเอเปค” และขอให้การสัมมนาครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-