กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายก รัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์และนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาเพื่อมุ่งที่จะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อันจะนำไปสู่ประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน ก็คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายคมนาคม ขนส่งและสื่อสาร ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้ โครงสร้างเครือข่ายเหล่านี้ช่วยเกื้อหนุนการผลิต สร้างงาน สร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนทั่วทุกภาคของไทย
ยุทธศาสตร์และเป้าหมายของไทย : ศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาค
ในนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภานั้น รัฐบาลมิได้มุ่งที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายคมนาคมขนส่งและสื่อสารเฉพาะแต่ภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในการสร้าง เครือข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถ้อยแถลงนโยบาย ข้อ 5 (4) รัฐบาลได้ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงเป้าประสงค์ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบก ในภูมิภาค ด้วยเห็นว่า เรื่องนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งชาวไทยในประเทศและพลเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน ตามแนวคิดที่ว่า “เพื่อนบ้านที่มั่งคั่งก็จะนำไปสู่ความมั่งคั่งของทั้งภูมิภาค” ซึ่งหมายความว่า ประชาชนของประเทศที่มีชายแดนติดต่อกันต่างฝ่ายต่างเป็นเพื่อนบ้านของกันและกัน ความเจริญมั่งคั่งของแต่ละฝ่ายจะเกื้อหนุนกันและกัน ซึ่งในที่สุดก็จะนำไปสู่ความเจริญมั่งคั่งที่มากขึ้นของทุกฝ่ายและของทั้งภูมิภาค
นอกจากนั้น รัฐบาลยังมุ่งที่จะพัฒนาคุณภาพและปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการขนส่งทางอากาศของไทย เพื่อที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคด้วย ซึ่งเรื่องนี้ นอกจากจะเป็นการรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยอย่างต่อเนื่องอีกทางหนึ่งด้วย
ความร่วมมือด้านการคมนาคมทางบกในภูมิภาค
โดยทั่วไป ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องของการคมนาคมทางบกอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ทาง คือ ทางถนน และทางรถไฟ ซึ่งสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ก็มีความร่วมมือระหว่างกันและกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจีน ในทั้งสองทางดังกล่าว
ในส่วนของการเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขนส่งผ่านแดนทางถนนนั้น ประเทศสมาชิก อาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบันกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) แล้ว โดยกรอบความตกลงนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอนุญาตให้รถยนต์ขนส่ง ที่จดทะเบียนในประเทศสมาชิกหนึ่งสามารถขนส่งสินค้าผ่านประเทศตนไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ ซึ่งกรอบความตกลงนี้มีผลบังคับแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้เนื่องจากต้องรอการลงนามในพิธีสารแนบท้ายอีก 9 ฉบับ โดยพิธีสารที่สำคัญที่สุด คือ พิธีสาร 1: การกำหนดเส้นทางการขนส่งผ่านแดนและสิ่งอำนวยความสะดวก (Designation of Transit Transport Routes and Facilities) ซึ่งได้มีการกำหนดเส้นทางหลวงอาเซียนที่ครอบคลุมทั้งภูมิภาคและสอดคล้องกับเส้นทางหลวงเอเซียเรียบร้อยแล้ว ยกเว้นที่บริเวณชายแดนมาเลเซียกับสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องเส้นทางขนส่งระหว่างยะโฮร์บารูกับสิงคโปร์ โดยมาเลเซียเสนอให้ใช้เส้นทางเดียว ในขณะที่สิงคโปร์ได้ขอให้ระบุเป็น 2 เส้นทาง ในการนี้ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งของอาเซียน (STOM) ครั้งที่ 11 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ได้ขอให้ทั้งสองฝ่ายเร่งหาข้อยุติระหว่างกันโดยเร็วก่อนการประชุม STOM ครั้งต่อไป ในเดือนตุลาคม 2544
อนึ่ง พิธีสารฉบับนี้สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีสารทั้งหมด เนื่องจากเป็นพิธีสารที่กำหนดเส้นทางการขนส่งผ่านแดนตลอดทั้งภูมิภาค ซึ่งหากไม่มีการลงนามในพิธีสารฉบับนี้ กรอบความตกลงและพิธีสารฉบับอื่นในเรื่องนี้ ก็จะไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ข้อขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศนี้ มิใช่ข้อ ขัดแย้งในเรื่องของหลักการแต่เป็นข้อขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์และค่าผ่านทางในการประกอบธุรกิจขนส่ง สำหรับพิธีสารฉบับอื่นๆ ซึ่งได้แก่ การกำหนดที่ทำการพรมแดน ประเภทและปริมาณรถยนต์ ข้อกำหนดทางเทคนิคของรถยนต์ ระบบการประกันภัยทางรถยนต์ภาคบังคับของอาเซียน จุดข้ามแดนสำหรับรถไฟและสถานีชุมทาง ระบบศุลกากรผ่านแดน มาตรการด้านตรวจโรคคนและพืช นั้น ได้มีการทยอยลงนามกันไปบ้างแล้วหลายฉบับ
พร้อมกันนี้ อาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกรอบความตกลงอีก 2 ฉบับคือ (1) ร่างกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter-State Transport) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดน (ไม่รวมถึงผู้ประกอบการขนส่งผ่านแดน) ของประเทศสมาชิกหนึ่งสามารถเข้าไปดำเนินการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางถนนในประเทศสมาชิกอื่นได้ และ (2) ร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอนุญาตให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จดทะเบียนในประเทศสมาชิกหนึ่งสามารถประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบในอีกประเทศหนึ่งได้
ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ เป็นความร่วมมือในลักษณะของการจัดทำความตกลงพหุภาคีของอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง อันเปรียบเสมือน software ซึ่งจะไม่สามารถเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ หากไม่มีถนนที่เชื่อมต่อกันจริงๆ ซึ่งในเรื่องนี้ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ยังคงมีถนนที่ขาดหายไปหรือมีอยู่แต่ไม่ได้มาตรฐานในบางช่วงในกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม ในการนี้ อาเซียนจึงได้มีความร่วมมือกันในการสำรวจ ออกแบบและหาแหล่งสนับสนุนทางการเงิน เพื่อสร้างหรือปรับปรุงสายทางเหล่านั้นด้วย
สำหรับการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟนั้น กรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง (ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation: AMBDC) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2538 ซึ่งมาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี AMBDC ครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในลักษณะของกรอบความร่วมมือที่เป็นอิสระจากอาเซียน (stand alone) ด้วยการมีประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ (ขณะนั้นลาว พม่าและกัมพูชายังไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน) และจีนเข้าร่วม โดยแม้ว่าได้มีการตกลงที่จะร่วมมือกันใน 8 สาขา กล่าวคือ โครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม โทรคมนาคมและพลังงาน) การค้าและการลงทุน เกษตรกรรม ป่าไม้และแร่ธาตุ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม (SMEs) การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่โครงการหลักคือ การเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง (Singapore-Kunming Rail Link) ซึ่งได้มีการศึกษาเบื้องต้นแล้ว ด้วยการที่มาเลเซียออกเงิน ๒ ล้านริงกิต ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาของมาเลเซียทำการศึกษา และได้มีการตกลงเลือกเส้นทางแล้ว คือ เส้นทางจากสิงคโปร์-มาเลเซีย-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-พนมเปญ-โฮจิมินห์-ฮานอย-คุนหมิง และเส้นทางเชื่อมจากลาวเข้าสู่เส้นทางหลักข้างต้น รวมถึงเส้นทางเชื่อมไทยกับพม่าทางด่านเจดีย์สามองค์ เส้นทางรถไฟนี้เชื่อมประเทศในลุ่มน้ำโขงทั้งหมด 6 ประเทศ รวมกับมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็น 8 ประเทศ โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางทั้งสิ้น 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยการสร้างส่วนที่ขาดหายไปเป็นเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เชื่อมอรัญประเทศกับปอยเปต เชื่อม พนมเปญกับโฮจิมินห์ และเชื่อมเวียงจันทน์กับตอนกลางของเวียดนาม) และการสร้างทางรถไฟเชื่อมไทยกับพม่า เป็นเงิน 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (จากสถานีน้ำตกในจังหวัดกาญจนบุรีไปด่านเจดีย์สามองค์ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการเชื่อมเส้นทางต่อจากนั้นไปบรรจบกับเส้นทางรถไฟเดิมในพม่าอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปัญหาสำคัญของการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟข้างต้นนี้ ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง/ปรับปรุงเส้นทางที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งเรื่องนี้ไทยได้รับหน้าที่สำคัญในการหาทางออก โดยกระทรวงการคลังของไทยได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะผู้เชี่ยวชาญทางการเงินของ AMBDC เพื่อแสวงหารูปแบบทางการเงินเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ของ AMBDC ซึ่งรวมถึงโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์- คุนหมิงด้วย พร้อมกันนี้ ไทยก็ได้รับเกียรติให้เป็นประธานและจัดการประชุมสำคัญของกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง ในปี 2544 นี้ ซึ่งประกอบด้วย การประชุมคณะกรรมการอำนวยการ (Steering Committee) ของ AMBDC ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2544 ที่โรงแรม เลอเมอริเดียน กรุงเทพฯ และการประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) ของ AMBDC ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2544 ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งจะมีผู้แทนของทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน รวมทั้งญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งคาดว่าจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของแกนนำกรอบความร่วมมือนี้ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีในเดือนตุลาคม ศกนี้ ที่จังหวัดเชียงรายด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายก รัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์และนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาเพื่อมุ่งที่จะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อันจะนำไปสู่ประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน ก็คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายคมนาคม ขนส่งและสื่อสาร ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้ โครงสร้างเครือข่ายเหล่านี้ช่วยเกื้อหนุนการผลิต สร้างงาน สร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนทั่วทุกภาคของไทย
ยุทธศาสตร์และเป้าหมายของไทย : ศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาค
ในนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภานั้น รัฐบาลมิได้มุ่งที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายคมนาคมขนส่งและสื่อสารเฉพาะแต่ภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในการสร้าง เครือข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถ้อยแถลงนโยบาย ข้อ 5 (4) รัฐบาลได้ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงเป้าประสงค์ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบก ในภูมิภาค ด้วยเห็นว่า เรื่องนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งชาวไทยในประเทศและพลเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน ตามแนวคิดที่ว่า “เพื่อนบ้านที่มั่งคั่งก็จะนำไปสู่ความมั่งคั่งของทั้งภูมิภาค” ซึ่งหมายความว่า ประชาชนของประเทศที่มีชายแดนติดต่อกันต่างฝ่ายต่างเป็นเพื่อนบ้านของกันและกัน ความเจริญมั่งคั่งของแต่ละฝ่ายจะเกื้อหนุนกันและกัน ซึ่งในที่สุดก็จะนำไปสู่ความเจริญมั่งคั่งที่มากขึ้นของทุกฝ่ายและของทั้งภูมิภาค
นอกจากนั้น รัฐบาลยังมุ่งที่จะพัฒนาคุณภาพและปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการขนส่งทางอากาศของไทย เพื่อที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคด้วย ซึ่งเรื่องนี้ นอกจากจะเป็นการรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยอย่างต่อเนื่องอีกทางหนึ่งด้วย
ความร่วมมือด้านการคมนาคมทางบกในภูมิภาค
โดยทั่วไป ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องของการคมนาคมทางบกอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ทาง คือ ทางถนน และทางรถไฟ ซึ่งสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ก็มีความร่วมมือระหว่างกันและกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจีน ในทั้งสองทางดังกล่าว
ในส่วนของการเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขนส่งผ่านแดนทางถนนนั้น ประเทศสมาชิก อาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบันกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) แล้ว โดยกรอบความตกลงนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอนุญาตให้รถยนต์ขนส่ง ที่จดทะเบียนในประเทศสมาชิกหนึ่งสามารถขนส่งสินค้าผ่านประเทศตนไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ ซึ่งกรอบความตกลงนี้มีผลบังคับแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้เนื่องจากต้องรอการลงนามในพิธีสารแนบท้ายอีก 9 ฉบับ โดยพิธีสารที่สำคัญที่สุด คือ พิธีสาร 1: การกำหนดเส้นทางการขนส่งผ่านแดนและสิ่งอำนวยความสะดวก (Designation of Transit Transport Routes and Facilities) ซึ่งได้มีการกำหนดเส้นทางหลวงอาเซียนที่ครอบคลุมทั้งภูมิภาคและสอดคล้องกับเส้นทางหลวงเอเซียเรียบร้อยแล้ว ยกเว้นที่บริเวณชายแดนมาเลเซียกับสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องเส้นทางขนส่งระหว่างยะโฮร์บารูกับสิงคโปร์ โดยมาเลเซียเสนอให้ใช้เส้นทางเดียว ในขณะที่สิงคโปร์ได้ขอให้ระบุเป็น 2 เส้นทาง ในการนี้ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งของอาเซียน (STOM) ครั้งที่ 11 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ได้ขอให้ทั้งสองฝ่ายเร่งหาข้อยุติระหว่างกันโดยเร็วก่อนการประชุม STOM ครั้งต่อไป ในเดือนตุลาคม 2544
อนึ่ง พิธีสารฉบับนี้สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีสารทั้งหมด เนื่องจากเป็นพิธีสารที่กำหนดเส้นทางการขนส่งผ่านแดนตลอดทั้งภูมิภาค ซึ่งหากไม่มีการลงนามในพิธีสารฉบับนี้ กรอบความตกลงและพิธีสารฉบับอื่นในเรื่องนี้ ก็จะไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ข้อขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศนี้ มิใช่ข้อ ขัดแย้งในเรื่องของหลักการแต่เป็นข้อขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์และค่าผ่านทางในการประกอบธุรกิจขนส่ง สำหรับพิธีสารฉบับอื่นๆ ซึ่งได้แก่ การกำหนดที่ทำการพรมแดน ประเภทและปริมาณรถยนต์ ข้อกำหนดทางเทคนิคของรถยนต์ ระบบการประกันภัยทางรถยนต์ภาคบังคับของอาเซียน จุดข้ามแดนสำหรับรถไฟและสถานีชุมทาง ระบบศุลกากรผ่านแดน มาตรการด้านตรวจโรคคนและพืช นั้น ได้มีการทยอยลงนามกันไปบ้างแล้วหลายฉบับ
พร้อมกันนี้ อาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกรอบความตกลงอีก 2 ฉบับคือ (1) ร่างกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter-State Transport) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดน (ไม่รวมถึงผู้ประกอบการขนส่งผ่านแดน) ของประเทศสมาชิกหนึ่งสามารถเข้าไปดำเนินการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางถนนในประเทศสมาชิกอื่นได้ และ (2) ร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอนุญาตให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จดทะเบียนในประเทศสมาชิกหนึ่งสามารถประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบในอีกประเทศหนึ่งได้
ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ เป็นความร่วมมือในลักษณะของการจัดทำความตกลงพหุภาคีของอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง อันเปรียบเสมือน software ซึ่งจะไม่สามารถเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ หากไม่มีถนนที่เชื่อมต่อกันจริงๆ ซึ่งในเรื่องนี้ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ยังคงมีถนนที่ขาดหายไปหรือมีอยู่แต่ไม่ได้มาตรฐานในบางช่วงในกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม ในการนี้ อาเซียนจึงได้มีความร่วมมือกันในการสำรวจ ออกแบบและหาแหล่งสนับสนุนทางการเงิน เพื่อสร้างหรือปรับปรุงสายทางเหล่านั้นด้วย
สำหรับการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟนั้น กรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง (ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation: AMBDC) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2538 ซึ่งมาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี AMBDC ครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในลักษณะของกรอบความร่วมมือที่เป็นอิสระจากอาเซียน (stand alone) ด้วยการมีประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ (ขณะนั้นลาว พม่าและกัมพูชายังไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน) และจีนเข้าร่วม โดยแม้ว่าได้มีการตกลงที่จะร่วมมือกันใน 8 สาขา กล่าวคือ โครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม โทรคมนาคมและพลังงาน) การค้าและการลงทุน เกษตรกรรม ป่าไม้และแร่ธาตุ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม (SMEs) การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่โครงการหลักคือ การเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง (Singapore-Kunming Rail Link) ซึ่งได้มีการศึกษาเบื้องต้นแล้ว ด้วยการที่มาเลเซียออกเงิน ๒ ล้านริงกิต ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาของมาเลเซียทำการศึกษา และได้มีการตกลงเลือกเส้นทางแล้ว คือ เส้นทางจากสิงคโปร์-มาเลเซีย-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-พนมเปญ-โฮจิมินห์-ฮานอย-คุนหมิง และเส้นทางเชื่อมจากลาวเข้าสู่เส้นทางหลักข้างต้น รวมถึงเส้นทางเชื่อมไทยกับพม่าทางด่านเจดีย์สามองค์ เส้นทางรถไฟนี้เชื่อมประเทศในลุ่มน้ำโขงทั้งหมด 6 ประเทศ รวมกับมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็น 8 ประเทศ โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางทั้งสิ้น 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยการสร้างส่วนที่ขาดหายไปเป็นเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เชื่อมอรัญประเทศกับปอยเปต เชื่อม พนมเปญกับโฮจิมินห์ และเชื่อมเวียงจันทน์กับตอนกลางของเวียดนาม) และการสร้างทางรถไฟเชื่อมไทยกับพม่า เป็นเงิน 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (จากสถานีน้ำตกในจังหวัดกาญจนบุรีไปด่านเจดีย์สามองค์ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการเชื่อมเส้นทางต่อจากนั้นไปบรรจบกับเส้นทางรถไฟเดิมในพม่าอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปัญหาสำคัญของการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟข้างต้นนี้ ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง/ปรับปรุงเส้นทางที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งเรื่องนี้ไทยได้รับหน้าที่สำคัญในการหาทางออก โดยกระทรวงการคลังของไทยได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะผู้เชี่ยวชาญทางการเงินของ AMBDC เพื่อแสวงหารูปแบบทางการเงินเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ของ AMBDC ซึ่งรวมถึงโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์- คุนหมิงด้วย พร้อมกันนี้ ไทยก็ได้รับเกียรติให้เป็นประธานและจัดการประชุมสำคัญของกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง ในปี 2544 นี้ ซึ่งประกอบด้วย การประชุมคณะกรรมการอำนวยการ (Steering Committee) ของ AMBDC ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2544 ที่โรงแรม เลอเมอริเดียน กรุงเทพฯ และการประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) ของ AMBDC ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2544 ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งจะมีผู้แทนของทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน รวมทั้งญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งคาดว่าจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของแกนนำกรอบความร่วมมือนี้ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีในเดือนตุลาคม ศกนี้ ที่จังหวัดเชียงรายด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-