กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือ เอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) สมัยที่ 57 ประจำปี 2544 จะมีขึ้นที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2544 โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Segment) ระหว่างวันที่ 19 - 21 เมษายน 2544 และการประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Segment) ระหว่างวันที่ 23 - 25 เมษายน 2544 และมี หัวข้อหลัก (theme topic) ของการประชุม คือ “Balanced development of urban and rural areas and regions within the countries of Asia and the Pacific ” นอกจากนี้ จะมีการจัดการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Roundtable) ในตอนเช้าของวันที่ 24 เมษายน 2544 ในลักษณะของการประชุมปิด (closed —door event) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนระดับรัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันในหัวข้อหลักดังกล่าว ทั้งนี้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และคณะผู้แทนไทยจะประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ในการประชุมคณะกรรมาธิการเอสแคปปีนี้ ประเทศไทยได้เสนอร่างข้อมติจำนวน 2 ร่าง ได้แก่ ร่างข้อมติว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค เพื่อการพัฒนา (Regional cooperation in information and communicaton technologies for development) และร่างข้อมติว่าด้วยปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ในเอเชียและแปซิฟิก (Regional call for action to fight HIV/AIDS in Asia and the Pacific) เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม เนื่องจากได้พิจารณา เห็นว่า เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communicaton technologies - ICT) จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ และปัญหาเอดส์ (HIV/AIDS) ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่คุกคามภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกและประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ ในภูมิภาคแล้วถึง 6.4 ล้านคน จะส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง ประกอบกับจะ มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคเอดส์ ในเดือนมิถุนายน 2544 นี้ ซึ่งหาก ที่ประชุมคณะกรรมาธิการเอสแคปเห็นชอบด้วยกับร่างข้อมติทั้งสองของไทย ก็จะเป็นอาณัติ (mandate) ให้สำนักเลขาธิการเอสแคปจัดสรรงบประมาณปกติ (regular budget) และระดมงบประมาณพิเศษ (extrabudgetary resources) มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในสาขาดังกล่าว ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ ให้แก่สมาชิกและสมาชิกสมทบของเอสแคปรวมทั้งประเทศไทยต่อไป
ร่างข้อมติว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน ภูมิภาคเพื่อการพัฒนา มีสาระสำคัญที่ร้องขอให้เลขาธิการบริหารเอสแคปให้ลำดับความสำคัญกับ การให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกและสมาชิกสมทบในภูมิภาคของเอสแคปในการพัฒนากรอบนโยบาย และกฎหมายด้าน ICT การเสริมสร้างสมรรถนะ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข่าวสารเกี่ยวกับ การใช้ประโยชน์และการพัฒนา ICT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบรรเทาความยากจน การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ตลอดจนดำเนินมาตรการ ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้ประโยชน์ของ ICT ในด้านการศึกษา สุขอนามัย การป้องกันอุบัติภัย การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมสถานภาพสตรี เยาวชนและผู้ด้อยโอกาส และการสร้าง รายได้และการจ้างงาน
ร่างข้อมติว่าด้วยปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ในเอเชียและแปซิฟิก มีสาระสำคัญที่เรียกร้องให้สมาชิกและสมาชิกสมทบในภูมิภาคของเอสแคปให้เพิ่มการประสานงานและ การเสริมสร้างความพยายามทั้งในระดับชุมชน ประเทศ ภูมิภาคและระหว่างประเทศในการป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อเอดส์และแก้ไขปัญหาผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนร้องขอให้เลขาธิการบริหารเอสแคปให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการต่อต้านการแพร่ กระจายของเชื้อเอดส์ในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในภูมิภาค และนำเสนอ ต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคเอดส์ เพื่อให้ทราบปัญหาและระดมความสนับสนุนแก่ภูมิภาคต่อไป
เอสแคปเป็นหนึ่งในห้าคณะกรรมาธิการประจำภูมิภาค (regional commissions) ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council - ECOSOC) แห่งสหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2490 (ค.ศ. 1947) ในชื่อของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับเอเชียและตะวันออกไกลหรืออีคาเฟ่ (Economic Commission for Asia and the Far East - ECAFE) โดยมี สำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ต่อมา ในเดือนมกราคม 2492 (ค.ศ. 1949) ได้ย้ายที่ตั้ง มาอยู่ที่ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ และในเดือนสิงหาคม 2517 (ค.ศ. 1974) ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) เพื่อสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศสมาชิก
เอสแคปเป็นคณะกรรมาธิการประจำภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบันมีสมาชิก (members) 52 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 48 ประเทศและประเทศนอกภูมิภาค 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ และมีสมาชิกสมทบ (associate members) 9 แห่ง ซึ่งเป็นดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองหรือมิได้เป็นรัฐอิสระหรือมิได้เป็นสมาชิก สหประชาชาติ ครอบคลุมประชากร 3.5 พันล้านคนหรือกว่าร้อยละ 60 ของประชากรโลก
เอสแคปถือเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติใน ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำ (team leader) ของสหประชาชาติสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคและเป็นเวทีหารือระหว่างรัฐบาลเพียงเวทีเดียวสำหรับประเทศต่าง ๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (a unique role as the only intergovernmental forum for all the countries of the Asian and Pacific region) นอกจากนี้ เอสแคปยังมีบทบาทในการเป็นตัวเร่ง (catalytic role) ในการส่งเสริมนโยบาย โดยการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล การติดตามแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน การวิจัยปัญหาทางด้านนโยบายในสาขาที่มีลำดับความสำคัญ การกำหนดมาตรฐานและเป้าหมายของการพัฒนาในภูมิภาค และการจัดเวทีระดับภูมิภาคสำหรับการหารือทางด้านนโยบายเพื่อการบรรลุฉันทามติ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมปฏิบัติการ (operational activities) ในภูมิภาค
เอสแคปได้ทบทวนโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและลำดับความสำคัญด้านการพัฒนาของภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการประชุมคณะกรรมาธิการเอสแคป สมัยที่ 48 ประจำปี 2535 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้นำแนวทาง thematic approach มาใช้กับการจัดโครงสร้างการประชุมและแผนงานของเอสแคป ในปัจจุบันโครงสร้างการประชุม (conference structure) ของเอสแคปภายหลังการทบทวนเมื่อปี 2540 จะประกอบด้วย คณะกรรมาธิการ (Commission) และองค์กรย่อย (subsidiary structure) ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ (Committees) 5 คณะและองค์กรพิเศษ (Special Bodies) 2 องค์กร ส่วนโครงสร้างแผนงาน (programme structure) ของเอสแคป ซึ่งจัดทำเป็นรายสองปีภายใต้กรอบงานของแผนงานระยะกลาง (medium-term plan) ของสหประชาชาติ จะประกอบด้วย 7 อนุแผนงาน (subprogrammes) ครอบคลุมกิจกรรมในสาขาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น การค้าและอุตสาหกรรม การวิจัยการพัฒนาและ การวิเคราะห์นโยบาย การพัฒนาสังคม ประชากรและการพัฒนาชนบทและเมือง สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การขนส่ง คมนาคม การท่องเที่ยวและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสถิติ กิจกรรมส่วนใหญ่ภายใต้แผนงานของเอสแคปจะเกี่ยวข้องกับการจัดประชุมองค์กรระหว่างรัฐบาลและองค์กรผู้เชี่ยวชาญของเอสแคป (parliamentary service) การจัดทำสิ่งพิมพ์ทั้งแบบประจำและไม่ประจำ (recurrent and non-recurrent publications) การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศและการประสานงานระหว่างองค์กร (International cooperation and inter-agency coordination and liaison) ความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) ซึ่งประกอบด้วยบริการที่ปรึกษา (advisory services) การจัดสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการและการประชุมทางวิชาการ (seminars, workshops and symposia)
คณะกรรมาธิการเอสแคปจะจัดการประชุมปีละ 1 ครั้ง เป็นการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิกและสมาชิกสมทบของเอสแคป เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่สำคัญๆ ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเสนอแนะขององค์กรย่อยและเลขาธิการบริหาร ตลอดจนเพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงานของสำนักเลขาธิการและอื่น ๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
การประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือ เอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) สมัยที่ 57 ประจำปี 2544 จะมีขึ้นที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2544 โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Segment) ระหว่างวันที่ 19 - 21 เมษายน 2544 และการประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Segment) ระหว่างวันที่ 23 - 25 เมษายน 2544 และมี หัวข้อหลัก (theme topic) ของการประชุม คือ “Balanced development of urban and rural areas and regions within the countries of Asia and the Pacific ” นอกจากนี้ จะมีการจัดการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Roundtable) ในตอนเช้าของวันที่ 24 เมษายน 2544 ในลักษณะของการประชุมปิด (closed —door event) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนระดับรัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันในหัวข้อหลักดังกล่าว ทั้งนี้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และคณะผู้แทนไทยจะประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ในการประชุมคณะกรรมาธิการเอสแคปปีนี้ ประเทศไทยได้เสนอร่างข้อมติจำนวน 2 ร่าง ได้แก่ ร่างข้อมติว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค เพื่อการพัฒนา (Regional cooperation in information and communicaton technologies for development) และร่างข้อมติว่าด้วยปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ในเอเชียและแปซิฟิก (Regional call for action to fight HIV/AIDS in Asia and the Pacific) เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม เนื่องจากได้พิจารณา เห็นว่า เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communicaton technologies - ICT) จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ และปัญหาเอดส์ (HIV/AIDS) ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่คุกคามภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกและประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ ในภูมิภาคแล้วถึง 6.4 ล้านคน จะส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง ประกอบกับจะ มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคเอดส์ ในเดือนมิถุนายน 2544 นี้ ซึ่งหาก ที่ประชุมคณะกรรมาธิการเอสแคปเห็นชอบด้วยกับร่างข้อมติทั้งสองของไทย ก็จะเป็นอาณัติ (mandate) ให้สำนักเลขาธิการเอสแคปจัดสรรงบประมาณปกติ (regular budget) และระดมงบประมาณพิเศษ (extrabudgetary resources) มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในสาขาดังกล่าว ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ ให้แก่สมาชิกและสมาชิกสมทบของเอสแคปรวมทั้งประเทศไทยต่อไป
ร่างข้อมติว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน ภูมิภาคเพื่อการพัฒนา มีสาระสำคัญที่ร้องขอให้เลขาธิการบริหารเอสแคปให้ลำดับความสำคัญกับ การให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกและสมาชิกสมทบในภูมิภาคของเอสแคปในการพัฒนากรอบนโยบาย และกฎหมายด้าน ICT การเสริมสร้างสมรรถนะ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข่าวสารเกี่ยวกับ การใช้ประโยชน์และการพัฒนา ICT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบรรเทาความยากจน การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ตลอดจนดำเนินมาตรการ ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้ประโยชน์ของ ICT ในด้านการศึกษา สุขอนามัย การป้องกันอุบัติภัย การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมสถานภาพสตรี เยาวชนและผู้ด้อยโอกาส และการสร้าง รายได้และการจ้างงาน
ร่างข้อมติว่าด้วยปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ในเอเชียและแปซิฟิก มีสาระสำคัญที่เรียกร้องให้สมาชิกและสมาชิกสมทบในภูมิภาคของเอสแคปให้เพิ่มการประสานงานและ การเสริมสร้างความพยายามทั้งในระดับชุมชน ประเทศ ภูมิภาคและระหว่างประเทศในการป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อเอดส์และแก้ไขปัญหาผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนร้องขอให้เลขาธิการบริหารเอสแคปให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการต่อต้านการแพร่ กระจายของเชื้อเอดส์ในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในภูมิภาค และนำเสนอ ต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคเอดส์ เพื่อให้ทราบปัญหาและระดมความสนับสนุนแก่ภูมิภาคต่อไป
เอสแคปเป็นหนึ่งในห้าคณะกรรมาธิการประจำภูมิภาค (regional commissions) ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council - ECOSOC) แห่งสหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2490 (ค.ศ. 1947) ในชื่อของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับเอเชียและตะวันออกไกลหรืออีคาเฟ่ (Economic Commission for Asia and the Far East - ECAFE) โดยมี สำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ต่อมา ในเดือนมกราคม 2492 (ค.ศ. 1949) ได้ย้ายที่ตั้ง มาอยู่ที่ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ และในเดือนสิงหาคม 2517 (ค.ศ. 1974) ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) เพื่อสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศสมาชิก
เอสแคปเป็นคณะกรรมาธิการประจำภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบันมีสมาชิก (members) 52 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 48 ประเทศและประเทศนอกภูมิภาค 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ และมีสมาชิกสมทบ (associate members) 9 แห่ง ซึ่งเป็นดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองหรือมิได้เป็นรัฐอิสระหรือมิได้เป็นสมาชิก สหประชาชาติ ครอบคลุมประชากร 3.5 พันล้านคนหรือกว่าร้อยละ 60 ของประชากรโลก
เอสแคปถือเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติใน ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำ (team leader) ของสหประชาชาติสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคและเป็นเวทีหารือระหว่างรัฐบาลเพียงเวทีเดียวสำหรับประเทศต่าง ๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (a unique role as the only intergovernmental forum for all the countries of the Asian and Pacific region) นอกจากนี้ เอสแคปยังมีบทบาทในการเป็นตัวเร่ง (catalytic role) ในการส่งเสริมนโยบาย โดยการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล การติดตามแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน การวิจัยปัญหาทางด้านนโยบายในสาขาที่มีลำดับความสำคัญ การกำหนดมาตรฐานและเป้าหมายของการพัฒนาในภูมิภาค และการจัดเวทีระดับภูมิภาคสำหรับการหารือทางด้านนโยบายเพื่อการบรรลุฉันทามติ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมปฏิบัติการ (operational activities) ในภูมิภาค
เอสแคปได้ทบทวนโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและลำดับความสำคัญด้านการพัฒนาของภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการประชุมคณะกรรมาธิการเอสแคป สมัยที่ 48 ประจำปี 2535 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้นำแนวทาง thematic approach มาใช้กับการจัดโครงสร้างการประชุมและแผนงานของเอสแคป ในปัจจุบันโครงสร้างการประชุม (conference structure) ของเอสแคปภายหลังการทบทวนเมื่อปี 2540 จะประกอบด้วย คณะกรรมาธิการ (Commission) และองค์กรย่อย (subsidiary structure) ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ (Committees) 5 คณะและองค์กรพิเศษ (Special Bodies) 2 องค์กร ส่วนโครงสร้างแผนงาน (programme structure) ของเอสแคป ซึ่งจัดทำเป็นรายสองปีภายใต้กรอบงานของแผนงานระยะกลาง (medium-term plan) ของสหประชาชาติ จะประกอบด้วย 7 อนุแผนงาน (subprogrammes) ครอบคลุมกิจกรรมในสาขาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น การค้าและอุตสาหกรรม การวิจัยการพัฒนาและ การวิเคราะห์นโยบาย การพัฒนาสังคม ประชากรและการพัฒนาชนบทและเมือง สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การขนส่ง คมนาคม การท่องเที่ยวและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสถิติ กิจกรรมส่วนใหญ่ภายใต้แผนงานของเอสแคปจะเกี่ยวข้องกับการจัดประชุมองค์กรระหว่างรัฐบาลและองค์กรผู้เชี่ยวชาญของเอสแคป (parliamentary service) การจัดทำสิ่งพิมพ์ทั้งแบบประจำและไม่ประจำ (recurrent and non-recurrent publications) การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศและการประสานงานระหว่างองค์กร (International cooperation and inter-agency coordination and liaison) ความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) ซึ่งประกอบด้วยบริการที่ปรึกษา (advisory services) การจัดสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการและการประชุมทางวิชาการ (seminars, workshops and symposia)
คณะกรรมาธิการเอสแคปจะจัดการประชุมปีละ 1 ครั้ง เป็นการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิกและสมาชิกสมทบของเอสแคป เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่สำคัญๆ ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเสนอแนะขององค์กรย่อยและเลขาธิการบริหาร ตลอดจนเพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงานของสำนักเลขาธิการและอื่น ๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-