กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการหารือกับ นายฮอร์ นัมฮอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา ในระหว่างการเยือนกัมพูชา อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2544 สรุปได้ดังนี้
1.1 การพัฒนาเส้นทางรถไฟสายปอยเปต-ศรีโสภณ-พนมเปญ
ฝ่ายไทยได้มอบรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการบรูณะเส้นทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-ปอตเปต-พนมเปญ ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับบริษัท Halcrow Group เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ตามโครงการความช่วยเหลือของรัฐบาลไทย ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวสรุปว่า การบรูณะซ่อมสร้างเส้นทางรถไฟดังกล่าวสามารถดำเนินการได้และจะเกื้อกูล ต่อการพัฒนากัมพูชาในอนาคต รวมทั้งจะเชื่อมโยงกัมพูชากับประเทศในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไทยหวังว่า รายงานการศึกษาฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนพัฒนาประเทศของกัมพูชา และเป็นข้อมูลสำหรับรัฐบาลกัมพูชาเพื่อขอการสนับสนุนจากประเทศหรือสถาบันการเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือในการซ่อมสร้างเส้นทางรถไฟดังกล่าว ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อจะศึกษาในรายละเอียดและร่วมกันหาแหล่งเงินสนับสนุนโครงการนี้ โดยอาจขอความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ญี่ปุ่นและจีน เพราะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเส้นทางคมนาคมที่ตกลงกันแล้วในกรอบของอาเซียน
1.2 การพัฒนาเส้นทางหมายเลข 5 ช่วงปอตเปต-ศรีโสภณ
ฝ่ายกัมพูชาขอให้ไทยพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการซ่อมสร้างถนนจาก ปอตเปตไปศรีโสภณ โดยอาจเป็นการให้เงินกู้หรือให้เปล่าก็ได้ ซึ่งฝ่ายไทยรับที่จะเสนอให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพราะจะเป็นประโยชน์ด้านการเชื่อมโยงกันทางด้านการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ
1.3 การจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-กัมพูชา
ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย- กัมพูชา ซึ่งหากสามารถจัดทำได้ก็จะเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจฉบับแรกระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะครอบคลุมในทุกๆ เรื่อง ทั้งนี้ ฝ่ายกัมพูชาเสนอว่า น่าจะให้มีการลงนามในกรอบความร่วมมือดังกล่าวโดยนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
1.4 การให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา
ฝ่ายไทยเสนอให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทแก่ข้าราชการกระทรวงการ ต่างประเทศกัมพูชาเพื่อศึกษาต่อในประเทศไทย ซึ่งฝ่ายกัมพูชารับทราบด้วยความขอบคุณ
1.5 การขยายเวลาและเปิดจุดผ่านแดนถาวรเพิ่มเติม
ฝ่ายกัมพูชาขอให้ฝ่ายไทยขยายเวลาและเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มเติม ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีสั่งการให้มีการทบทวนเกี่ยวกับการเปิดจุดผ่านแดนใหม่ทั้งหมด เพราะบางครั้งจุดประสงค์แตกต่างกัน ฝ่ายไทยต้องการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อส่งเสริม ด้านการค้าและท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกันประสบปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ หรือการที่อีกด้านมีการเปิดบ่อนคาสิโน จึงควรที่จะพิจารณากันในเรื่องผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ ปัญหา การปล่อยน้ำเสีย เป็นต้น
1.6 การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา
ฝ่ายกัมพูชาเห็นด้วยกับฝ่ายไทยที่เสนอให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 4 โดยในครั้งนี้เป็นวาระที่ฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ทั้งสองฝ่าย ได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศในทุกๆ ด้าน
1.7 ความร่วมมือในกรอบพหุภาคี
ฝ่ายไทยเห็นว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของเอเชียควรที่จะมีการพบปะหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยอาจจะเป็นเจ้าภาพในการเชิญรัฐมนตรีต่างประเทศจากเอเชียใต้ อาเซียน และเอเชียตะวันออก มาหารืออย่างเป็นทางการ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้แสดงความเห็นด้วยและสนับสนุนความคิดดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการหารือกับ นายฮอร์ นัมฮอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา ในระหว่างการเยือนกัมพูชา อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2544 สรุปได้ดังนี้
1.1 การพัฒนาเส้นทางรถไฟสายปอยเปต-ศรีโสภณ-พนมเปญ
ฝ่ายไทยได้มอบรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการบรูณะเส้นทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-ปอตเปต-พนมเปญ ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับบริษัท Halcrow Group เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ตามโครงการความช่วยเหลือของรัฐบาลไทย ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวสรุปว่า การบรูณะซ่อมสร้างเส้นทางรถไฟดังกล่าวสามารถดำเนินการได้และจะเกื้อกูล ต่อการพัฒนากัมพูชาในอนาคต รวมทั้งจะเชื่อมโยงกัมพูชากับประเทศในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไทยหวังว่า รายงานการศึกษาฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนพัฒนาประเทศของกัมพูชา และเป็นข้อมูลสำหรับรัฐบาลกัมพูชาเพื่อขอการสนับสนุนจากประเทศหรือสถาบันการเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือในการซ่อมสร้างเส้นทางรถไฟดังกล่าว ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อจะศึกษาในรายละเอียดและร่วมกันหาแหล่งเงินสนับสนุนโครงการนี้ โดยอาจขอความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ญี่ปุ่นและจีน เพราะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเส้นทางคมนาคมที่ตกลงกันแล้วในกรอบของอาเซียน
1.2 การพัฒนาเส้นทางหมายเลข 5 ช่วงปอตเปต-ศรีโสภณ
ฝ่ายกัมพูชาขอให้ไทยพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการซ่อมสร้างถนนจาก ปอตเปตไปศรีโสภณ โดยอาจเป็นการให้เงินกู้หรือให้เปล่าก็ได้ ซึ่งฝ่ายไทยรับที่จะเสนอให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพราะจะเป็นประโยชน์ด้านการเชื่อมโยงกันทางด้านการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ
1.3 การจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-กัมพูชา
ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย- กัมพูชา ซึ่งหากสามารถจัดทำได้ก็จะเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจฉบับแรกระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะครอบคลุมในทุกๆ เรื่อง ทั้งนี้ ฝ่ายกัมพูชาเสนอว่า น่าจะให้มีการลงนามในกรอบความร่วมมือดังกล่าวโดยนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
1.4 การให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา
ฝ่ายไทยเสนอให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทแก่ข้าราชการกระทรวงการ ต่างประเทศกัมพูชาเพื่อศึกษาต่อในประเทศไทย ซึ่งฝ่ายกัมพูชารับทราบด้วยความขอบคุณ
1.5 การขยายเวลาและเปิดจุดผ่านแดนถาวรเพิ่มเติม
ฝ่ายกัมพูชาขอให้ฝ่ายไทยขยายเวลาและเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มเติม ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีสั่งการให้มีการทบทวนเกี่ยวกับการเปิดจุดผ่านแดนใหม่ทั้งหมด เพราะบางครั้งจุดประสงค์แตกต่างกัน ฝ่ายไทยต้องการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อส่งเสริม ด้านการค้าและท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกันประสบปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ หรือการที่อีกด้านมีการเปิดบ่อนคาสิโน จึงควรที่จะพิจารณากันในเรื่องผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ ปัญหา การปล่อยน้ำเสีย เป็นต้น
1.6 การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา
ฝ่ายกัมพูชาเห็นด้วยกับฝ่ายไทยที่เสนอให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 4 โดยในครั้งนี้เป็นวาระที่ฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ทั้งสองฝ่าย ได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศในทุกๆ ด้าน
1.7 ความร่วมมือในกรอบพหุภาคี
ฝ่ายไทยเห็นว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของเอเชียควรที่จะมีการพบปะหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยอาจจะเป็นเจ้าภาพในการเชิญรัฐมนตรีต่างประเทศจากเอเชียใต้ อาเซียน และเอเชียตะวันออก มาหารืออย่างเป็นทางการ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้แสดงความเห็นด้วยและสนับสนุนความคิดดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-